วัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกมีอะไรบ้าง

   ปัจจุบันนี้ภาษาในทวีปเอเชียบางกลุ่มมีผู้ใช้มากขึ้นเช่นภาษาของจีน โดยเฉพาะภาษาแมนดาริน ขณะเดียวกันภาษาบางกลุ่มกลับมีจำนวนผู้ใช้น้อยลงเช่นกลุ่มภาษาตุงกูสิกที่ใช้กันทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ส่วนอินเดียมีภาษาถิ่นมากมายและเคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเป็นเวลานาน รัฐบาลจึงให้ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฮินดีเป็นภาษาทางราชการ 

          ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้รับอิทธิพลและเชื่อมโยงกับจีนอย่างมาก บรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกทั้งหมดได้เคยใช้ตัวอักษรจีนในบางช่วงของประวัติศาสตร์ ในบางภูมิภาคของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มีระบบการเขียนหนังสือเกี่ยวโยงกันในทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกก็เหมือนกับประวัติศาสตร์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือได้รับอิทธิพลและเกี่ยวพันโยงในกับจีนอย่างมากตัวอย่าง

เช่นบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกทั้งหมดได้เคยใช้ตัวอักษรจีนในบางช่วงของประวัติศาสตร์ในบางภูมิภาคของจีนญี่ปุ่นและเกาหลีซึ่งมีระบบการเขียนหนังสือ

เกี่ยวโยงกันในทางประวัติศาสตร์นั้นบางครั้งจะได้รับการอ้างอิงถึงรวมกันเป็นกลุ่ม ประเทศหรือภูมิภาคต่อไปนี้ บางครั้งก็ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออก ปัจจัยสำคัญที่สุดที่เป็นตัวกำหนดการจำแนกภูมิภาคดังกล่าวนี้คือ มุมมองทางด้านการเมืองที่แต่ละบุคคลมีต่อประเทศหรือภูมิภาคนั้นๆ เป็นหลัก

 พื้นที่ส่วนที่เหลือของจีน คือ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์, มณฑลชิงไห่, เขตปกครองตนเองทิเบต (จัดอยู่ในภูมิภาค เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียกลาง ก็ได้)

มองโกเลีย (จัดอยู่ในภูมิภาค เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียกลาง ก็ได้)

ประเทศเวียดนาม (จัดอยู่ในภูมิภาค เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ได้)

รัสเซียตะวันออกไกล (Russia Far East) (จัดอยู่ในภูมิภาค เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียเหนือ ก็ได้)

ประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน หรือประมาณ 40% ของของชาวเอเชียทั้งหมด หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรในเอเชียตะวันออกอยู่ที่ 230 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 5 เท่า

 ประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกก็เหมือนกับประวัติศาสตร์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ได้รับอิทธิพลและเกี่ยวพันโยงในกับจีนอย่างมาก ตัวอย่างเช่น บรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกทั้งหมดได้เคยใช้ตัวอักษรจีนในบางช่วงของประวัติศาสตร์ ในบางภูมิภาคของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งมีระบบการเขียนหนังสือเกี่ยวโยงกันในทางประวัติศาสตร์นั้น บางครั้งจะได้รับการอ้างอิงถึงรวมกันเป็นกลุ่มว่า CJK (หรือ CLKV เมื่อรวมเวียดนามด้วย

1. ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ลมที่พัดผ่านเกิดจากศูนย์กลางความกดดันอากาศสูงที่ไซบีเรีย ลมที่พัดผ่านมีคุณสมบัติและทิศทางแตกต่างกัน ดังนี้ ลมตะวันออกเฉียงเหนือคุณสมบัติเป็นลมหนาวเย็นเมื่อพัดผ่านแผ่นดินทางตอนเหนือของจีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ จึงเป็นลมเย็นและแห้งแล้ง ลมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คุณสมบัติเป็นลมหนาวเย็น เมื่อพัดผ่านประเทศมองโกเลีย และดินแดนตอนในของจีนจึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวหนาวเย็นและแห้งแล้ง

2. ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิของอากาศอุ่นขึ้น จะเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ

3. ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม แผ่นดินบริเวณทะเลทรายธาร์ในอินเดียเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ลมเคลื่อนที่ผ่านญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ รวมทั้งไต้หวัน จึงทำให้ระยะนี้มีฝนตกชุกโดยทั่วไป ส่วนมองโกเลียมีฝนบ้างเล็กน้อย หรือไม่มีฝนเลย เนื่องจากความห่างไกลจากทะเล

4. ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน เป็นช่วงที่ปริมาณฝนเริ่มลดลงจากลมตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณดินแดนที่ตั้งอยู่เหนือเส้นขนานที่ 30 จะเริ่มหนาวเย็น ต้นไม้เริ่มทิ้งใบ เรียกว่า ฤดูใบไม้ร่วงปรากฎมากในภาคเหนือของจีน

1. ที่ลาบสูงมองโกเลีย อยู่ทางทิศเหนือของภูมิภาคเป็นที่ราบสูงหินเก่าที่ถูกโอบล้อมด้วยภูเขาหินใหม่ ทิวเขาที่สำคัญ คือ ทิวเขาอันไต ทิวเขาเทียนซาน ทิวเขาหนานซาน

2. ที่ราบสูงทิเบต อยู่ทางทิศใต้ของภูมิภาคเป็นที่ราบสูงหินใหม่ที่โอบล้อมด้วยภูเขาหินใหม่ได้แก่ ทิวเขาคุนหลุนซาน ทิวเขาโกราโกรัม ทิวเขาหิมาลัย

3. แอ่งทาริม เป็นแอ่งที่ราบที่ถูกโอบล้อมด้วยภูเขาเทียซานทิวเขาทาราโครัม ที่ราบสูงคุนลุน

4. ทิวเขาและที่สูง สภาพทั่วไปเป็นเขาและทิวเขาหินใหม่ที่มีอายุทางธรณีวิทยาในยุคเทอร์เชียรรี จึงยังคงพบปรากฎการณ์ของแผ่นดินไหวในบริเวณดังกล่าว

5. ที่ราบลุ่มน้ำ เอเชียตะวันออกมีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ลำน้ำไหลลงมหาสมุทรแปซิฟิก

6. เกาะและหมู่เกาะ เอเชียตะวันออกมีหมู่เกาะที่สำคัญชื่อเกาะไหหลำ

7. คาบสมุทรเกาหลี อยู่ระหว่างทะเลเหลืองกับทะเลญี่ปุ่น

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 18-54 องศาเหนือที่ชายแดนจีนกับรัสเซีย บริเวณแม่น้ำอามูร์ และระหว่างลองติจูดที่ 74-145 องศาตะวันออกที่หมู่เกาะคูริลประเทศญี่ปุ่น โดยมีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับดินแดนของสหพันธรัฐรัสเซีย

ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแปซิฟิก

ทิศตะวันตก ติดต่อกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียกลาง

ทิศใต้ ติดต่อกับภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    พัฒนาการประวัติศาสตร์ในดินแดนในเอเชียตะวันออก

   เอเชียตะวันออกญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และมองโกเลีย ซึ่งเป็มีอาณาเขตครอบคลุมประเทศ จีน ญี่นดินแดนที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจีนที่มี แหล่งกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำฮวงเหอต่อมาจึงแพร่หลายออกไปสู่ดินแดนใกล้เคียง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชาติสำคัญในดินแดนเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น มีดังนี้

   พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จีน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔)

ภายหลังจากที่ราชวงศ์ฮั่นสลายลง เมื่อ พ.ศ. ๗๖๔ ดินแดนจีนได้แตกแยกโดยมีผู้นำแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ที่เรียกว่าสมัยสามก๊ก(พ.ศ. ๗๖๔-๘๐๘) ได้แก่

  กลุ่มโจโฉ ปกครองอาณาบริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือ

 กลุ่มซุนกวน ซึ่งสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ฮั่น ปกครองบริเวณลุ่มน้ำแยงชีและกลุ่มเล่าปปกครองบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน ทั้งสามกลุ่มต่างสู้รบ เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ จนกระทั่งในที่สุดทายาทของกลุ่มโจโฉสามารถรวม อาณาจักรและตั้งราชวงศ์ ได้สำเร็จเมื่อประมาณ พ.ศ.๘๐๘ แต่กษัตริย์ราชวงศ์นี้ไม่สามารถรวบรวม อาณาจักรได้นาน เพราะเกิดการขัดแย้งทางการเมือง ภายในทำให้มีผู้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับการรุกรานจากกกลุ่มชนทางตอนเหนือ ได้แก่ พวกตุรกี ฮั่นและมองโกล   ในที่สุดหยางเฉิน เป็นผู้นำในการรวบรวมอาณาจักรโดยปราบปรามแคว้นต่างๆ แต่ผู้ที่ตั้ง เป็นจักรพรรดิและสถาปนาราชวงศ์สุยได้สำเร็จคือหางตี้ ซึ่งเป็นโอรสของพระองค์ ราชวงศ์ซึ่งสถาปนาเมื่อ พ.ศ.๑๑๒๔ ทำการปกครองจีน    ต่อมาอาณาจักรถูกรุกรานจากเผาต่างๆที่มาจากทางเหนือทำให้อาณาจักรเสื่อมลงเป็นเหตุให้หลี หยวน หรือจักรพรรดิ ถัง ไท จื่อ สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิตั้งราชวงศ์ถังได้ในปี พ.ศ.๑๑๖๑ สมัยราชวงศ์ถังซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซีอาน ถือว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของจีนเนื่องจากราชวงศ์นี้ได้สร้างความเจริญในด้านต่าง ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจการต่างประเทศยุคนี้มี กบฏเกิดขึ้นหลายครั้ง ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๑๔๕๐

      ภายหลังจากราชวงศ์ถึงระหว่าง พ.ศ. ๑๔๕๐-๑๕๐๓ อาณาจักร จีนอันกว้างขวางได้แตก แยกเป็นแคว้นถึงสิบแคว้นมีกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระในที่สุดนายพลเจา กวง หยิน สามารถตั้งตัวเป็นจักรพรรดิซ่ง ไทย สือ ผู้สถาปนาราชวงศ์ซ่ง(พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๘๒๒) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไคฟงและเมืองฮังโจวราชวงศ์นี้แม้ว่าได้ทำการปรับปรุงเศรษฐกิจ การปกครองและการศึกษา  แต่เนื่องจากต้องใช้จ่ายเงินในการป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าที่อยู่ทางตอนเหนือ โดยเฉาะพวกมองโกลและเกิดภาวการณ์เพิ่มประชากร ทำให้มีผลกระทบเช่นความอดอยาก การขาดแคลนที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ราชวงศ์นี้เสื่อมลง

      ชาวมองโกลได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวน (พ.ศ.๑๘๒๒-๑๙๑๑)มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองข่านพาลิก(ปัจจุบันคือกรุงปักกิ่ง)ในรัชกาลจักรพรรดิกุบไลข่านจีน ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อสิ้นรัชกาล ราชวงศ์หยวนก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องจากการต่อต้านโดยชาวจีนประกอบกันเกิดภาวะเงินเฟ้อและ ภัยธรรมชาติ

     ในที่สุด จู หยวน จัง อดีตพระในพระพุทธศาสนาจึงยึดอำนาจ พร้องทั้งสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิหุง อู่ แห่งราชวงศ์หมิงใน พ.ศ.๑๙๑๑ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหนานจิง ภายหลังจึงยึดกรุงปักกิ่งได้สำเร็จจีนสมัยราชวงศ์หมิง มีการขยายตัวทางการค้า เนื่องจากบ้านเมืองมีความสงบแต่ในตอนปลายราชวงศ์เกิดการแย่งชองราชบัลลังก์ในกลุ่มพระจึงทำให้ราชวงศ์หมิงค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง     จนในที่สุดเนอฮาชิ ชาวแมนจูซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมุกเดนในแหลมเลียวตุงได้รวบรวมกำลังเข้ายึดกรุงปักกิ่งสถาปนาราชวงศ์ชิง( พ.ศ.๒๑๘๗-๒๔๕๕)ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ราชวงศ์ชิงเริ่มเสื่อมลงเนื่องจาก    ได้รับการต้านจากชาวจีนที่ถือว่าราชวงศ์นี้เป็นชาวต่างชาติราชวงศ์แมนจูยังต้องเผชิญกับภาวะการเพิ่มประชากรและโจรสลัดในน่านน้ำทะเลจีนใต้ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนรวมทั้งการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งมีผลกระทบทำให้ยุคราชวงศ์ของจีนสิ้นสุดลงในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์จีนช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๒๔ มีพัฒนาการ ดังนี้

  จีนได้มีการปกครองในรูปแบบจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่งจักพรรดิแห่งราชวงศ์สุยได้ทำการประมวลกฎหมาย อาญาและปรับปรุงระบบการบริหารภายในซึ่งราชวงศ์ถึงได้นำมาเป็นอย่างแล้วปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โดยการแบ่งหน่วยงานส่วนกลางออกเป็น6กระทรวง ได้แก่

ส่วนในหัวเมือง ราชวงศ์ถังได้แบ่งหน่วยปกครองออกเป็นมณฑลและจังหวัด โดยแต่ละมณฑล จักรพรรดิโปรดส่งข้าหลวงไหปกครองและให้แยกอำนาจออกเป็น ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน ฝ่ายทหารและฝ่ายตุลาการทำให้อำนาจ ของจักรพรรดิกระจายออกไปยังมณฑลต่างๆ

     เมื่อสิ้นราชวงศ์ถัง จีนได้ตกอยู่ในภาวะแตกแยกทางการเมือง  จนกระทั่งราชวงศ์ซ่งขึ้นมามีอำนาจราชวงศ์นี้ พยายามเลียนแบบการบริหารและการปกครองแบบราชวงศ์ถังแต่เพื่อป้องกันการกบฏจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่งได้เสริมสร้างอำนาจส่วนกลางให้ควบคุม หัวเมืองรัดกุมขึ้น เช่น ให้ฝ่ายทหารหัวเมืองขึ้นอยู่กับฝ่ายพลเรือน จึงเป็นเหตุให้หัวเมืองต่างๆอ่อนแอดังนั้น เมื่ออาณาจักรจีนถูกรุกรานจากพวกมองโกลและพวกแมนจู หัวเมืองจึงไม่อาจต้านทานกำลังจากผู้รุกรานเหล่านี้จนในที่สุดราชวงศ์ซ่ง จึงหมดอำนาจลงแล้วชาวมองโกลจึงเข้ามาปกครองจีนชาวมองโกลเป็นนักรบที่เข้มแข็ง สามารถใช้กองกำลังขยายอาณาจักรได้อย่างกว้างขวาง แต่ไม่คุ้นเคยกับการปกครองอาณาจักร

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างได้สัดส่วน กันมีประเทศที่เป็นยักษ์ใหญ่ทางอุตสาหกรรมคือญี่ปุ่น และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ได้แก่เกาหลีใต้ และไต้หวันส่วนประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจยังอยู่ที่ภาคเกษตรกรรมก็คือ จีน เกาหลีเหนือ และมองโกเลีย

ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้แก่

1.1การเพาะปลูก พืชอาหารที่สำคัญได้แก่ข้าวเจ้า ปลูกมากบริเวณภาคใต้ที่ลาบลุ่มชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน นอกจากนี้ก็ปลูกได้ทั่วประเทศญี่ปุ่นยกเว้นทางภาคเหนือ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เพราะมีฝนตกชุกและอากาศร้อน ส่วนข้าวสาลีข้าวฟ่าง เกาเหลียงถั่วเหลืองมันฝรั่งมีปลูกมากในเขตแมนจูเรีย เป็นต้น

1.2การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ที่ทำกันมากในภูมิภาคตะวันออก ได้แก่การเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนไปตามบริเวณทุ่งหญ้าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ สัตว์ที่เลี้ยงมากได้แก่โค ม้า แกะ แพะ ลา จามาลี อูฐ สามารถใช้ประโยนช์จากสัตว์ได้แก่ใช้เนื้อนมเป็นอาหาร

 เป็นอาชีพที่สำคัญของชาวเอเชียตะวันออกมาตั้งแต่โบราณ ทั้งนี้มีการทำประมงน้ำจืด คือ การเลี้ยงปลาในบริเวณแหล่งน้ำชลประทานกันอย่างแพร่หลาย แหล่งประมงน้ำจืดของจีน  ได้แก่ ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนล่าง และทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณมณฑลฟูเกี้ยน และกวางตุ้ง ซึ่งมีแหล่งน้ำลำธาร หนอง บึง และทะเลสาบอยู่มากมาย นอกจากนี้ ก็มีการเลี้ยงปลาน้ำจืด กันอย่างประปราย ทั้งในเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน    สำหรับการทำประมงน้ำเค็ม ทุกประเทศในภูมิภาค (ยกเว้นประเทศมองโกเลีย) เป็นแหล่งประมงน้ำเค็มที่สำคัญของโลก โดยเฉพาะญี่ปุ่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการทำประมงมากที่สุดในโลก โดยเรือการประมงของญี่ปุ่นนอกจากจะทำการจับปลาในเขตน่านน้ำของตนแล้ว ยังแล่นเรือออกไปจับปลาในเขตน่านน้ำสากล และลงทุนทำประมงกับประเทศอื่นๆไปทั่วโลกอีกด้วย    ทางด้านประเทศจีน ส่วนใหญ่จะเป็นประมงชายฝั่ง เพราะชาวจีนไม่นิยมออกเรือไปจับปลาไกลๆ แหล่งประมงสำคัญ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งนับตั้งแต่อ่าวหางโจวทางตอนกลางของประเทศ

 เป็นอาชีพที่ไม่มีความสำคัญมากนักต่อภูมิภาคนี้ เกี่ยวกับไม้สน และไม้ไผ่ที่ปลูกเอง ส่วนประเทศจีนการทำป่าไม้จะมีอยู่บ้างในเขตบางจูเรียและมลฑลเสฉวน ปัจจุบันนี้ในประเทศญี่ปุ่นได้ไปลงทุนทำอุตสาหกรรมป่าไม้นอกประเทศ เช่น ที่เกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 เนื่องจากสินค้าอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้ถูกส่งออกไปจำหน่ายตีตลาดไปทั่วโลก รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี ซึ่งประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ เช่นกัน

1 ญี่ปุ่น มีการอุตสาหกรรมทั่วทุกจังหวัดของประเทศ เขตอุตสาหกรรม ใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 4 เขต คือ

1.1 เขตโตเกียว-โยะโกะฮะมะ การผลิตเครื่องโลหะเคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แก้ว กระดาษ การทอผ้า การผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น

1.2เขตโคเบะ-โอซะกะ เช่น การถลุงเหล็ก ถลุงโลหะ ทอผ้า การต่อเรือ นอกจากนี้ ก็มีการผลิตเครื่องโลหะ เครื่องเหล็ก เครื่องไม้ การผลิตถ้วยชามและอุปกรณ์ไฟฟ้า

1.3 เขตนะโงะยะ  การผลิตกระดาษ ผลิตน้ำมันพืช เครื่องถ้วยชาม เคมีภัณฑ์ และยังมีอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบิน เครื่องคอมพิวเตอร์ ผลิตรถยนต์

1.4 เขตคีวชูตอนเหนือ เป็นเขตอุตสาหกรรมหนักของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเครื่องจักร ปูนซีเมนต์ การต่อเรือ เคมีภัณฑ์ และปิโตเคมี

2 จีน เป็นประเทศที่มีวัตถุดิบมาก และในปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิตทันสมัย จึงทำให้อุตสาหกรรมของจีนเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยจีนสามารถผลิตผ้าฝ้ายได้มากที่สุดในโลก โรงงานอุตสาหกรรมหนักของจีนส่วนใหญ่ จะตั้งอยู่เขตแมนจูเรียและเมืองใหญ่ๆ เช่น ปักกิ่ง เทียนสิน เซี่ยงไฮ้ จุงกิง เป็นต้น

3 เกาหลีใต้ เป็นประเทศที่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรวดเร็วจนกลายเป็นผู้ส่งออก อันดับ 2 ของเอเชียรองจากญี่ปุ่น อุตสาหกรรมที่สำคัญของเกาหลีใต้ ได้แก่ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ รถยนต์ การต่อเรือ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ เครื่องเหล็ก อุปการณ์โทรคมนาคม และเครื่องจักรต่างๆ

4 ไต้หวัน เนื่องจากไต้หวันมีทรัพยากรณ์ธรรมชาติที่ไม่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้นอุตสาหกรรมของไต้หวันจึงเป็นอุตสหกรรมเบาและการแปลรูปผลิตภัณฑ์ทาง การเกษตร เช่น การผลิตอาหารสำเร็จรูป การทำอาหารกระป๋อง นอกจากนี้มีการผลิตอุปการณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจารอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ของเล่นสำหรับเด็ก

กรุงโตเกียว (ญี่ปุ่น) และฮ่องกงของจีนได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของการค้าที่สำคัญที่สุดอีกแห่ง หนึ่งของโลก ในขณะที่ไทเป (ไต้หวัน) โซล (เกาหลีใต้) สินค้าที่สำคัญของภาคนี้คือ สินค้าอุตสาหกรรมชนิดต่างๆ ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน และในขณะที่สินค้าเข้า จะเป็นพวกวัตถุดิบต่างๆและอาหาร

    ความเชื่อและศาสนา ในช่วงสามก๊ก สังคมจีนเกิดความยุ่งยากเนื่องจากการสู้รบทำให้ผู้คนแสวงหาที่พึ่งทางจิตใจ พระพุทธศาสนาได้รับการ ฟื้นฟูพระสงฆ์ในยุคนั้นมีความรู้ ในพระธรรมวินัยและให้วิธีการเผยแผ่ศาสนาโยวิธีสังคมสงเคราะห์      พระภิกษุชื่อเสียงได้แก่ พระภิกษุฟาเลียน ที่เดินไปอินเดียโดยทางบกผ่านดินแดนเดเชียกลาง แต่เดินทางกลับจีนทางทะเลและพระภิกษุถังชำจั๋งเดินทางบกไปกลับจากอินเดียพระภิกษุเหบ่นนี้ได้พระไตรปิฎกและพระสูตรเป็นภาษาจีนทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลาย

    ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายเข้ามาตามเส้นทางการค้า ทางตะวันตก เช่น ที่มณฑลยูนนาน และซินเกียง เนนอกจากนี้ยังความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ เช่น ดาราศาสตร์ เครื่องจักรกลและการแพทย์แต่ต่อมารัฐบาลระแวงชาวตะวันตกว่าเป็นผู้รุกรานจีน ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ชิงคริสต์ศาสนาจึงได้รับการต่อต้าน

อารยธรรมตะวันออกสมัยโบราณ

  ขุดพบเมืองโบราณที่เมืองฮารัปปา และเมืองที่โมเฮนจาดาโร เป็นพยานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญของชนเผ่าที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือพวกดราวิเดียน พวกพื้นเมืองของอินเดีย ลักษณะสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมสินธุ : เป็นอารยธรรมแบบเมือง จุดเด่นของอารยธรรมสินธุอยู่ที่การก่อสร้างและวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ สิ่งก่อสร้างที่ขุดพบในเมืองสองเมืองข้างต้น มีการแบ่งเขตภายในเมืองออกเป็นสัดส่วน เป็นที่ตั้งอาคารสำคัญๆไว้อย่างเป็นหมวดหมู่

  การดำเนินชีวิตของประชากร : ทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา ความเชื่อ : เชื่อว่าชาวสินธุนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ส่วนใหญ่เป็นเทพผู้หญิงหรือเทพมารดา  แม่พระธรณี อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุบางส่วนคล้ายกับอารยธรรมเมโส  พบเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าสินธุในแถบเมโส อารยธรรมสินธุเสื่อมลง อาจเพราะถูกภัยธรรมชาติ ขณะเดียวกันเป็นช่วงที่พวกอารยันได้เข้ามารุกรานอินเดียว และขับไล่พวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปแถบลุ่มแม่น้ำคงคา อารยันบางกลุ่มก็ได้ปะปนกับพวกดราวีเดียนจนเกิดเป็นกลุ่มคนใหม่เรียกว่า ฮินดู

 การตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาอารยธรรมของอารยัน

การตั้งถิ่นฐานของพวกอารยัน : แรกเริ่มยังไม่รู้จักการตั้งถิ่นฐาน เร่ร่อน แต่รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก สังคมแรกๆประกอบด้วย นักรบ สามัญชน พระ และแบ่งแยกเป็นเผ่า การพัฒนาของพวกอารยธรรมอารยัน : ช่วงแรกเผ่าอารยันถูกเล่าต่อๆกันเป็นนิทาน ตอนหลังเปลี่ยนเป็นการสวดสรรเสริญบรรพบุรุษ คำสวดของอารยันยุคแรกเรียกว่า พระเวท (Veda) เป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ต่อมาเป็นศาสนาฮินดู ประกอบด้วยคัมภีร์ย่อย 3 เล่ม

 ฤคเวท ร้อยกรอง สวดบูชาพระเจ้า มี 1,028 บท

 ยชุรเวท บูชาและวิธีบูชาเทพเจ้า เป็นส่วนประกอบของฤคเวท

 สามเวท ร้อยกรองรวมตั้งแต่บทบูชาและบทสวด รวมเรียกว่า ไตรเวท พระเวทนี้ถือว่าเป็นวรรณคดี

 ยุคพระเวท หน่วยการปกครองที่เล็กที่สุดคือ ครอบครัว เทพที่ได้รับการนับถือมากที่สุดคือ พระอินทร์

     ระบบวรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ มาจากส่วนหัวของพระเจ้า นักบวช กษัตริย์ มาจากอกพระเจ้า ผู้ปกครองประเทศ และนักรบ แพศย์ มาจากส่วนขาของพระเจ้า สามัญชน ชาวนา นายช่าง ศูทร มาจากส่วนเท้าพระเจ้า ทาสชาวอารยันมีการรวมตัวกันเป็นเผ่า มีหัวหน้าเผ่าเรียกว่า ราชา (Raja)

     ยุคมหากาพย์ เป็นสมัยการขายตัวของพวกอารยัน มีหลักฐานที่สำคัญสองเล่มคือ มหากาพย์ภารตะ และมหากาพย์รามยณะ การเมือง : ยุคมหากาพย์มีการเมือง 2 ลักษณะคือ ราชาธิปไตยและสภาอำมาตย์ในระบบรัฐสภา ด้านเศรษฐกิจ : มีการใช้เหรียญทองแดง มีการทำเหมืองโลหะ มีการค้ากับชาวต่างชาติ          วรรณะพราหมณ์มีอำนาจมากขึ้น ด้านศาสนา : ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ(อริยสัจ4)การรุกรานของชาวต่างชาติในอารยธรรมอินเดีย ได้แก่ เปอร์เซียและกรีก

 การเกิดและการเสื่อมของจักรวรรดิในสมัยราชวงศ์โมริยะ

เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ 2 ปี จันทรคุปต์ ผู้เป็นหัวหน้าเผ่าโมริยะ ได้รวบรวมแคว้นเล็กๆในดินแดนลุ่มแม่น้ำคงคาไว้ทั้งหมดและขับไล่ชาวต่างชาติออกไปจากอินเดีย จากนั้นขยายอำนวจจนสามารถผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำสินธุเอาไว้ได้ ก่อนจะสถาปนาราชวงศ์โมริยะขึ้นปกครองอินเดีย สมัยต่อมาคือ พระเจ้าพินทุสาร และ พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเน้นการเผยแพร่ศีลธรรม และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมและประติมากรรม

     ราชวงศ์สังกะ : ปกครองต่อจากราชวงศ์โมริยะ เป็นราชวงศ์ของชาวต่างชาติราชวงศ์แรกที่ปกครองอินเดีย เป็นผสมระหว่างกรีกและอินเดีย ราชวงศ์สังกะเจริญทั้งทางด้านบรรณคดีและด้านศิลปกรรม

     ราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ที่มีชื่อคือ พระเจ้ากนิษกะ ทรงได้รับการยกย่องด้านการอุปถัมป์พุทธศาสนา โดยทรงสนับสนุนนิยายมหายาน

 การพัฒนาอารยธรรมในสมัยคุปตะ

     ราชวงศ์คุปตะ ถือว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมอินเดีย เพราะมีความเจริญสูงสุดในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ปรัชญา วรรณคดี ศิลปะ ลัทธิฮินดู รวมถึงวิทยาการต่างๆ หลังสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่สอง อาณาจักรคุปตะเริ่มเสื่อมและสิ้นสุดลง โดยอยู่ใต้อำนาจของพวกเร่ร่อนที่รุกรานคือ พวกฮั่น

     ราชวงศ์หรรษา มีกษัตริย์ชื่อ พระเจ้าหรรษาวัฒนา ทรงรวบรวมแคว้นให้เหมือนสมัยคุปตะและขับไล่ฮั่นออกไป ทรงอุปถัมป์พุทธศาสนา หลังจากพระเจ้าหรรษาสิ้นพระชนม์อาณาจักรก็แตกและถูกมุสลิมรุกราน ได้แก่พวกเตอร์กและมองโกล ภายใต้การนำของจักรพรรดิดิบาบูร์ หลังจากนั้นจึงตั้งราชวงศ์โมกุลขึ้นและเผนแผ่ศาสนาอิสลาม

     ราชวงศ์โมกุล เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดียก่อนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จักรพรรดิบาบูร์เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมากลายเป็นจักวรรดิที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย มีนครเดลฮี (เดลลี) เป็นเมืองหลวง หลังจากนั้นเริ่มเสื่อมลงจากความกดขี่ทางด้านเชื้อชาติและศาสนา เกิดสงครามระหว่างรัฐบ่อย การปกครองอ่อนแอ เศรษฐกิจก็เสื่อม อังกฤษจึงอาศัยความอ่อนแอดังกล่าวเข้ายึดอินเดีย

อารยธรรมจีนสมัยเริ่มราชวงศ์ จีนเชื่อว่าการปกครองของกษัตริย์แต่ละราชวงศ์เป็นอาณัติจากสวรรค์ (Mandate of Heaven) กษัตริย์เป็นโอรสแห่งสวรรค์ที่ส่งลงมาปกครองมนุษย์

     ราชวงศ์เฉีย ราชวงศ์แรก สันนิษฐานว่าอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำฮวงโห เป็นนครรัฐเล็กๆ เกษตรกรรม และได้เริ่มทำปฏิทินขึ้นใช้

     ราชวงศ์เซียง (ที่เดียวกับเฉีย) เริ่มรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ เป็นอักษรภาพ มีการตั้งชุมชนขึ้นมาในลักษณะนครรัฐ มีจักรพรรดิปกครองคล้ายระบบศักดินา จักรพรรดิดำนงตำแหน่งประมุขในด้านการปกครอง การทหาร และการศาสนา คนในสมัยนี้ยกย่องบูชาบรรพบุรุษและเชื่อในเทพเจ้าที่สถิตอยู่ตามธรรมชาติ ตอนปลายราชวงศ์เริ่มอ่อนอำนาจลงเนื่องจากความแตกแยกภายใน

ราชวงศ์โจว ถือว่าเป็นยุคทองของปรัชญา เป็นราชวงศ์ที่มีอายุยาวนานที่สุด หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาคือ ชุนชิวจิง เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ฤดูวสันต์ ด้านการปกครอง K. ดำรงตำแหน่งที่เรียกตัวเองว่า โอรสของสวรรค์ เป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งประเทศ มีนักปราชญ์คนสำคัญหลายท่าน ขงจื๊อ วางรากฐานการศึกษาของจีน ปรัชญาขงจื๊อมีลักษณะอนุรักษ์นิยม สั่งสอนให้ประพฤติและปกครองโดยชอบธรรม เล่าจื๊อ ให้ข้อคิดทางด้านสังคมและการเมือง เต๋า แปลว่า วิถีหรือทาง ลัทธิเต๋าเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบสังคมนิยม สอนให้คนสนใจธรรมชาติให้มากที่สุด ส่วน เม่งจื๊อ เห็นว่ารัฐบาลควรทำตัวเป็นเยี่ยงอย่างแก่ประชาชน

สมัยการก่อตัวเป็นจักรรวรรดิและยุคทองของอารยธรรมจีน

    ราชวงศ์จิ๋นและฉิน จิ๋นซีฮ่องเต้ ได้ปราบปรามแคว้นต่างๆให้อยู่ในอำนาจ และวางรากฐานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้จีน สิ่งสำคัญที่ทำให้สร้างอำนาจได้อย่างรวดเร็วคือ การนำหลักปรัชญาที่เรียกว่า ระบบฟาเจียหรือระบบนิตินิยม มาใช้ในการปกครอง ระบบนี้ยึดหลักกฏหมายเป็นเครื่องกำหนดและควบคุมความประพฤติของคนในสังคม คือ การให้รางวัลและการลงโทษอย่างรุนแรง หลังจากที่ K.จิ๋นสิ้นพระชนม์ บ้านเมืองเริ่มอ่อนแอ จึงมีหัวหน้าชาวนาชื่อ หลิวปัง สถาปนาตนเป็น เกาสู คนใหม่คือ ราชวงศ์ฮั่น

     ราชวงศ์ฮั่น ฮั่นปกครองจีนนานถึง 400 ปี มีองค์สำคัญคือ พระเจ้าฮั่น หวูตี ยุคนี้มีความเจริญสูงสุดในประวัติศาสตร์จีนโดยได้ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ปราบปรามชนเผ่าต่างๆ สมัยนี้มีนักปรัชญาที่สำคัญคือ สูมาเชียน มีการขยายการค้าและสินค้าไปยังยุโรป เรียกเส้นทางการติดต่อนี้ว่า เส้นทางสายไหม เมื่อสิ้นราชวงศ์ฮั่นสถานการณ์บ้านเมืองก็ยังไม่สงบสุขเกิดการรบชิงอำนาจตลอดเวลา แผ่นดินจีนในยุคนี้จึงแบ่งออกเป็น 3 ภาค หรือที่เราเรียกว่า สามก๊ก

ราชวงศ์สุย จีนมีการรวมตัวกันอีกครั้งหลังจากตกอยู่ในการจลาจลมานานสุยหวั่นตี่ตั้งราชวงศ์และปรับปรุงบ้านเมืองหลายด้าน มีการสร้างถนน ขุดคลอง สร้างกำแพงเมือง และงานด้านสาธารณสุข ราชวงศ์ถัง สมัยนี้เจริญมากในด้านศิลปกรรมและวรรณกรรมจนได้ชื่อว่าเป็น ยุคทองของอารยธรรมจีน K.ถังไทซุง ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง มีการรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาในจีน กวีที่เด่นที่สุดในยุคนี้คือ หลีไป๋ และตูฟู ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมอำนาจเนื่องจากความขัดแย้งภายในแคว้น จนในที่สุดได้แคกออกเป็น 5 ราชวงศ์และไม่สามารถรวมดินแดนเหมือนเดิมได้ แต่ในที่สุด ค.ศ.960 แม่ทัพเจากวงหยิน ได้รวบรวมจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง

     ราชวงศ์ซ้อง ก่อตั้งโดยเจากวงยิน ต่อมาได้ตั้งชื่อตนว่า จักรพรรดิไถ้จือ ราชวงศ์ซ้องปกครองจีนนานถึง 300 ปี การปกครองสมัยนี้นำนโยบายจากราชวงศ์ถังมาใช้ บุคคลที่จะเข้ารับราชการต้องมีความสามารถ และผ่านการสอบจิ๋นซี ที่จัดว่าเป็นการสอบที่ยากที่สุด นักปราชญ์ที่มีชื่อที่สุดคือ ชูสี ให้ความสำคัญกับเต๋าและพุทธศาสนา ราชวงศ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นราชวงศ์ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมากจนละเลยทางด้านการทหารทำให้ถูกมองโกลเข้ารุกรานและสูญเสียอำนาจให้มองโกลในที่สุด

ราชวงศ์หงวนหรือมองโกล กุบไลข่าน ได้ยึดอำนาจจากราชวงศ์ซ้องและปกครองแผ่นดินจีน นับเป็นครั้งแรกที่จีนตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนต่างชาติ กุบไลข่านได้พัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญเป็นอย่างมาก ทรงยอมรับลัทธิขงจื๊อและพยายามทำตนให้เข้ากับชาวจีน สมัยนี้มีชาวต่างขาติเข้ามาในแผ่นดินจีนเป็นอย่างมาก เช่น พ่อค้า มิชชันนารี ที่มีชื่อเสียงสุดคือ มาร์โคโปโล ที่ได้บันทึกเรื่องราวของจีนเอาไว้ ในที่สุดพวกจีนได้รวมตัวกันก่อจลาจลขับไล่พวกมองโกล

ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง กลับมามีอำนาจหลังจากไล่มองโกลออกไป และย้ายเมืองหลวงไปที่กรุงปักกิ่ง ช่วงนี้มีการนำเอาศิลปวัฒนธรรมแบบเก่าในสมัยราชวงศ์ถังมาใช้ ศิลปะที่มีชื่อมากในยุคนี้คือ เครื่องเคลือบ ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู ราชวงศ์สุดท้ายของจีนก่อนสถาปนาเป็นสาธารณรัฐ เป็นชนต่างชาติที่เข้ามาปกครองจีน โดยปกครองจีนตามระบบเก่า คือ ใช้หลักทฤษฎีการปกครองตามลัทธิขงจื๊อ และพยายามรักษาอารยธรรมดั้งเดิมของจีนเอาไว้แทบทุกอย่าง สมัยนี้จักพรรดิเฉียนหลุนโปรดให้มีการก่อสร้างพระราชวังฤดูร้อน เป็นศิลปะอิตาเลียนผสมฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ดร.ซุนยัดเซ็นหัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋งได้เข้ายึดอำนาจจากแมนจูและสถาปนาการปกครองจีนเป็นแบบสาธารณรัฐ

พื้นฐานอารยธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความเจริญทางด้านวัตถุ วัฒนธรรมฮัวบินห์ : เป็นยุคหิน พบที่เวียดนาม พบความเจริญทางวัตถุหลายชนิด เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธ วัฒนธรรมบัคซอน : เป็นวัฒนธรรมยุคหินที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมฮัวบินห์ พบขวานสั้น เครื่องมือที่ทำด้วยกระดูก และเปลือกหอย วัฒนธรรมดองซอง : เป็นพัฒนาการของวัฒนธรรมในยุคโลหะ วัฒนธรรมหินใหญ่ : นำหินมาก่อนสร้าง หลุมศพก่อด้วยแท่งหินและแผ่นหิน วัฒนธรรมบ้านเชียง : เป็นยุคโลหะ

ความเจริญด้านสังคมและศาสนา : มักให้ความสำคัญกับสตรี มีการนับถือวิญญาณและภูติผีปีศาจ ทำให้ต้องเซ่นสรวงบูชาพลังลึกลับ และยังมีความเชื่อในเรื่องการบูชาบรรพบุรุษและเชื่อในเรื่องความตาย

   การรับอารยธรรมอินเดีย และจีน

ด้านศาสนา : ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย ศิวลึงค์ และพุทธศาสนา คำสอน ประเพณีต่างๆ

ด้านการเมืองการปกครอง : มีแนวคิด “สมมติเทพ” กษัตริย์เป็นเทพจุติมาเกิด

ด้านสังคม : มีการแบ่งชนชั้นเหมือนวรรณะแต่ไม่เคร่งเท่า คือกษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ ทาส

ด้านอักษร : มีภาษาสันสกฤตแทรกอยู่ด้วย และด้านวรรณคดี รามายณะ มหาภารตะ

ด้านศิลปกรรม : สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหาร จิตรกรรม ภาพตามผนังโบสถ์ ประติมากรรม เทวรูป อิทธิพลจากจีน (แพร่ได้สองทางคือ จากการค้าขายกับการอพยพ)

ด้านการเมืองการปกครอง : แนวคิดเรื่องศักดินาสวามิภักดิ์ ระบบเจ้าขุนมูลนาย

ด้านสังคม : การกำหนดปีด้วยสัตว์ ชวด หนู ฉลู วัว เครื่องแต่งกาย ประเพณี ตรุษจีน กินเจ ด้านการค้า : ความรู้เรื่องการค้าและการต่อเรือ