ได้รับสิทธิของเด็กมีประโยชน์อย่างไร

สิทธิเด็ก 

Show

    สิทธิเด็ก หมายถึง สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของเด็กที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

    ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กได้ให้ความหมายคำว่า เด็ก หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

    สิทธิเด็กมี 4 ประการ คือ 

  1. สิทธิที่จะมีชีวิต
  2. สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง
  3. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา
  4. สิทธิที่จะมีส่วนร่วม

  •     ตัวอย่างการละเมิดสิทธิเด็ก

    มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กได้รายงานการละเมิดสิทธิเด็กไว้ในรายงานการวิจัยแนวทางในการคุ้มครอง ช่วยเหลือพัฒนาสภาพแรงงานเด็กต่างชาติในประเทศไทยว่า เด็กต่างชาติถูกเอาเปรียบด้านแรงงานทั้งในเรื่องค่าแรงที่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ถูกใช้แรงงานหนัก มีระยะเวลาทำงานที่ยาวนานและไม่ได้รับการคุ้มครองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากปัญหาที่ตัวเด็กที่ไม่สามารถมาเรียกร้องสิทธิของตนเอง เนื่องจากเกรงกลัวนายจ้าง และกลัวความผิดที่ลักลอบเข้าเมือง ทำใหเด็กต้องยอมทันกลับสภาพปัญหาและบางคนต้องหนีออกจากบ้านนายจ้าง โดยไม่ได้เรียกร้องสิทธิค่าจ้างตามที่ตนเองควรจะได้รับ

  •     แนวทางปกป้องคุ้มครองตนเองหรือผู้อื่นจากการละเมิดสิทธิเด็ก

    เพื่อปกป้องคุ้มครองตนเองหรือผู้อื่นจากการละเมิดสิทธิเด็ก สิ่งที่เด็กควรกระทำ คือ

  1. ไม่ออกนอกที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน เว้นแต่ไปกับผู้ปกครอง
  2. ไม่ไปคบหากับบุคคลที่จะชักนำไปหาทางเสื่อมเสีย
  3. ระมัดระวังไม่กระทำการใดๆ ที่จะเป็นสาเหตุให้มีการประพฤติไปในทางเสียหาย เช่น ไม่เล่นการพนัน ไม่เสพสารเสพติด
  4. หลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือคำชักชวนจากคนแปลกหน้า เพราะอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ไม่ดี
  5. แจ้งผู้ปกครอง ครู หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเมื่อถูกละเมิดสิทธิหรือพบเห็นผู้อื่นถูกะเมิดสิทธิ 

อ้างอิง : ศิโรจน์ ผลพันธิน, และ กิตติมา สังข์เกษม (บรรณาธิการ). (2558). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.5 . กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด

การคุ้มครองเด็ก

สิทธิที่จะได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอาใจใส่เพื่อเด็กทุกคน

  • พร้อมใช้งานใน:
  • English
  • ไทย

ความท้าทาย

เด็กมักจะได้รับประสบการณ์ความรุนแรงที่แอบแฝงในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการแสวงประโยชน์และการล่วงละเมิด ในสถานที่ที่พวกเขาควรได้รับการปกป้องคุ้มครองที่สุด ไม่ว่าจะเป็นบ้าน โรงเรียน และโลกออนไลน์ ความรุนแรงต่อเด็กอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในทางกายภาพ ทางจิตใจและอารมณ์ หรือทางเพศ โดยในหลายกรณี เด็กคือเหยื่อของคนที่พวกเขาให้ความไว้วางใจ

เด็กในประเทศไทยจำนวนมากยังคงพบอุปสรรคในการเข้าถึงการคุ้มครอง โดยเฉพาะเด็กพิการ เด็กข้ามชาติ และเด็กไร้สัญชาติ  นอกจากนั้น ร้อยละ 58 ของพ่อแม่ผู้ปกครองยังใช้วิธีการลงโทษด้วยความรุนแรง และเด็กผู้หญิงหนึ่งในห้าคนต้องแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย

โรคโควิด-19 ได้เพิ่มความเสี่ยงให้แก่เด็กจากการถูกแยกจากครอบครัว โดยเด็กประมาณ  55,000 คน กำลังเติบโตขึ้นโดยปราศจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ และต้องอยู่อาศัยในสถานสงเคราะห์ ซึ่งมักขาดการกำกับดูแล

และเมื่อเด็กใช้เวลาในโลกออนไลน์มากขึ้น พวกเขาจึงมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการถูกแสวงประโยชน์และการล่วงละเมิดทางเพศ โดยเด็กอายุ 12-17 ปี ประมาณ 400,000 คน ตกเป็นเหยื่อของการถูกแสวงประโยชน์และการล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์ในปีที่ผ่านมา โดยมีเพียงร้อยละ 1-3 เท่านั้นที่แจ้งความกับตำรวจ 

การดำเนินการของยูนิเซฟ

ยูนิเซฟทำงานร่วมกับรัฐบาลในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการคุ้มครองเด็กเพื่อป้องกัน เฝ้าระวัง และตอบสนองต่อความรุนแรงและการแสวงประโยชน์ รวมทั้งการล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์ นอกจากนั้น ยังทำงานร่วมกันเพื่อปฏิรูปนโยบายและพัฒนากำลังเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์และระบบการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น 

ยูนิเซฟทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครัว เพื่อค้นหาและให้การสนับสนุนเด็กที่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง และช่วยพัฒนานโยบายปกป้องและคุ้มครองเด็กในสถาบันที่ให้ที่พักพิงกับเด็ก รวมทั้งในระบบการศึกษา โดยยูนิเซฟยังทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการป้องกันความรุนแรงและส่งเสริมความยืดหยุ่นและความรู้ด้านดิจิทัล และการรณรงค์และการสื่อสารสาธารณะเพื่อให้ผู้ดูแล เด็ก และชุมชน ได้เรียนรู้วิธีการสังเกตและป้องกันการล่วงละเมิด รวมทั้งเพื่อเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางสังคมและทางเพศที่เป็นอันตรายและยังคงส่งเสริมหรือยอมรับความรุนแรง

ยูนิเซฟทำงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่บริการคุ้มครองเด็กและกระบวนการยุติธรรมสำหรับเยาวชน เพื่อปรับปรุงการจัดการรายกรณี (case management) โดยเฉพาะสำหรับเด็กข้ามชาติและเด็กไร้สัญชาติ รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การฟื้นฟู และการกลับคืนสู่สังคมสำหรับผู้กระทำผิดที่เป็นเยาวชน และเด็กที่ประสบการล่วงละเมิด  นอกจากนั้น ยูนิเซฟยังผลักดันข้อตกลงระหว่างไทยกับเมียนมา กัมพูชา และลาว ในการคุ้มครองเด็กข้ามชาติ 

เป้าหมายของยูนิเซฟ: เด็กจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่สุด ได้รับการปกป้องคุ้มครองที่ดีขึ้นจากการใช้ความรุนแรง การแสวงประโยชน์ การละเลยทอดทิ้ง และการล่วงละเมิด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

กฎหมายสิทธิเด็กมีความสำคัญอย่างไรบ้าง

สิทธิเด็กเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน เด็กเป็นกลุ่มที่ต้องการการปกป้องคุ้มครองมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากความสามารถของสภาวะต่างๆ ทั้งร่างกาย สติปัญญาและจิตใจที่ไม่เท่ากับผู้ใหญ่ จึงต้องได้รับการคุ้มครองเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้มีพัฒนาการและการเจริญเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม ประชาคมระหว่างประเทศเห็นความสำคัญ ...

เด็กในข้อใดได้รับสิทธิที่จะได้รับการพัฒนา

2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา – มีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการศึกษาที่ดี และภาวะโภชนาการที่เหมาะสม 3.สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง - ให้รอดพ้นจากการทำร้าย การล่วงละเมิด การละเลย การนำไปขาย การใช้แรงงานเด็ก และการแสวงประโยชน์โดยมิชอบในรูปแบบอื่นๆ และ

สิทธิในการมีส่วนร่วมหมายถึงอะไร

สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation) หมายถึง สิทธิของเด็กในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งในระดับชุมชนและระดับชาติ หรือเข้าร่วมสมาคมต่างๆ รวมทั้งสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง เช่น สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร สิทธิในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระในเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อตนเอง เป็นต้น

เด็กเร่ร่อนควรได้รับสิทธิในด้านใดบ้าง

เด็กเร่ร่อน ปัญหาสังคมไทยที่ไม่ควรมองข้าม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๒ ได้บัญญัติรับรองสิทธิ ของเด็กและเยาวชนไว้ ดังนี้ “เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็น