สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตใน Phylum Chordata

  1. มีโนโตคอร์ดตลอดชีวิตหรือในช่วงหนึ่งของชีวิตโดยมีตำแหน่งอยู่ระหว่างเส้นประสาทใหญ่ด้านบนเหนือทางเดินอาหาร
  2. มีช่องเหงือกที่คอหอยในระยะตัวอ่อน แต่เมื่อโตเต็มที่แล้ว บางพวกยังมีเหงือก บางพวกช่องเหงือกจะปิดมีปอดหายใจแทน
  3. มีเส้นประสาทใหญ่อยู่ด้านบนเหนือทางเดินอาหาร
  4. มีช่องว่างในลำตัวที่อยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นมีโซเดิร์ม (mesoderm)

ไฟลัมคอร์ดาตา แบ่งเป็น 3 Subphylum คือ

  1. ซับไฟลัม ยูโรคอร์คาตา (Subphylum Urochordata)
  2. ซับไฟลัม เซฟาโลคอร์ดาตา (Subphylum Cephalochordata)
  3. ซับไฟลัม เวอร์เตบราตา (Subphylum Vertebrata)

Ex. – ซับไฟลัมเวอร์เตบราตา (Vertebrata) ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด

– ซับไฟลัมยูโรคอร์ดาตา (Urochordata) ได้แก่ เพรียงหัวหอม เพรียงลอย เพรียงสาย

– ซับไฟลัมเซฟาโลคอร์ดาตา (Cephalochordata) ได้แก่ แอมฟิออกซัส

ความสำคัญ

  1. ปลากระดูกแข็ง เป็นโปรตีนราคาถูก คุณภาพสูง
  2. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบ อึ่งอ่าง เขียด เป็นอาหารของมนุษย์

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร


ที่มา: https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-satw
วันที่ 6/6/57

ได้แก่  เพรียงหัวหอม  (tunicate)  แอมฟิออกซัส  (lancelet)  ปลาปากกลม  (jawless fish)  ปลากระดูกอ่อน   ปลากระดูกแข็ง  สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ  สัตว์เลื้อยคลาน  สัตว์ปีก  และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

 

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร

                                                                                                  เพรียงหัวหอม

      

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร

 แอมฟิออกซัส

ลักษณะสำคัญ  คือ

1. การมีโนโตคอร์ด (notochord) พวกคอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโนโตคอร์ดอย่างน้อยช่วงหนึ่งของชีวิต พวกคอร์เดตชั้นต่ำ เช่น แอมฟิออกซัสจะมีโนโตคอร์ด ตลอดชีวิต พวกคอร์เดตชั้นสูงเช่นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจะมีโนโตคอร์ดในระยะตัวอ่อนเท่านั้น พอเจริญเติบโตจะเกิดกระดูกสันหลังขึ้นมาแทนที่โนโตคอร์ด ลักษณะของโนโตคอร์ดจัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นมีโซเดิร์ม ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่ค่อนข้างอ่อนคล้ายวุ้น แต่มีเปลือกหุ้ม (sheath) หุ้มอีกชั้นทำให้มีลักษณะเป็นแท่งแข็งแรง แต่ยืดหยุ่นได้ดี และไม่แบ่งเป็นปล้อง แท่งโนโตคอร์ดเป็นโครงสร้างค้ำจุนที่อยู่ทางด้านหลังใต้ระบบประสาทส่วนกลางแต่อยู่เหนือทางเดินอาหาร notochord = a rod-shaped supporting axis, or backbone

2. การมีช่องเหงือก (pharyngeal gill slits) คอร์เดตทุกชนิดโดยเฉพาะพวกที่อยู่ในน้ำจะมีช่องเหงือกตลอดชีวิต ส่วนพวกที่อาศัยอยู่บนบกจะพบช่องเหงือกในระยะตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ช่องเหงือกจะปิดซึ่งอาจจะพบร่องรอยเพียงเล็กน้อย (ในคนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นท่อยูสเตเชียนเชื่อมระหว่างหูส่วนกลางกับหลอดลมบริเวณคอ) การเกิดช่องเหงือกจะเกิดขึ้นในบริเวณคอหอยของตัวอ่อน โดยบริเวณคอหอยจะโป่งออกไปนอกผิวตัวทางด้านข้างและมีรอยแตกเป็นช่องเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะหายใจ พวกแอมฟิออกซัส ปลาปากกลม ปลาฉลาม ตลอดจนปลากระดูกแข็งจะดูดน้ำเข้าทางปากและผ่านออกทางช่องเหงือก ทำให้เกิดการหายใจขึ้น พวกสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่บนบกและหายใจด้วยปอดจะมีช่องเหงือกในระยะตัวอ่อน และ (อาจจะ) ทำหน้าที่หายใจในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น

3. การมีระบบประสาทด้านหลัง (Dorsal Hollow Nerve Cord) คอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโครงสร้างนี้ตลอดชีวิตมีลักษณะเป็นท่อยาวตลอดลำตัวทางด้านหลัง เส้นประสาททางด้านหัวอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นสมอง ส่วนทางด้านท้ายเจริญเป็นไขสันหลัง (spinal cord) การเกิดระบบประสาทนี้เกิดขึ้นในระยะตัวอ่อน โดยการม้วนตัวเข้าหากันของเนื้อเยื่อชั้นเอคโตเดิร์มทางด้านหลังกลายเป็นท่อฝังอยู่ใต้ผิวหนัง

ที่มาของข้อมูล :  http://www.skn.ac.th/skl/skn422/nature/Chordata.htm

ตัวอย่าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

 

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร

                                                                                           แทสมาเนียนเดวิล                                                        

ตัวอย่าง ปลากระดูกอ่อน-กระดูกแข็ง

 

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร

                                         ปลาฉลาม                                    

                   

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร
       

                                       ปลาโรนินปลา                             

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร

 โมลาร์หรือปลาพระอาทิตย์

ตัวอย่าง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

 

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร

 กระท่าง เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดเดียวที่พบในประเทศไทย บริเวณดอยอินทนนท์

ตัวอย่าง สัตว์มีกระดูกสันหลัง

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร
 

ปลาปากกลมและลักษณะปากของปลาปากกลม (lamprey)

           ตัวอย่าง สัตว์เลื้อยคลาน

 

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะอย่างไร

ตะพาบม่านลาย