วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีอะไร บ้าง

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษา วิเคราะห์ และตีความจากร่องรอยหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักเหตุผลอธิบายเหตุการณ์ และความเป็นมาต่างๆ ในอดีต ให้มีความใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด 

การศึกษาประวัติศาสตร์ ช่วยให้เราเข้าใจปัจจุบันมากยิ่งขึ้น วิธีการทางประวัติศาสตร์ จึงถูกใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยภูมิหลังในอดีต เพื่อให้ผู้ศึกษาพิจารณาหลักฐานอย่างรอบด้านก่อนสรุปผล อีกทั้งยังเป็นกระบวนการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับชุดข้อมูลด้วย สำหรับวิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน มีดังนี้

1. การกำหนดหัวข้อ
ถือเป็นขั้นตอนแรกที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องกำหนดเป้าหมาย และขอบเขตที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน ว่าต้องการศึกษาเรื่องอะไร เพราะเหตุใด อยู่ในความสนใจหรือไม่ แล้วจึงตั้งคำถามต่อสิ่งที่ต้องการศึกษา รวมถึงการประเมินเรื่องเวลา และทุนสำหรับวิจัย 

วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีอะไร บ้าง

2. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ตั้งสมมติฐานไว้สำหรับหัวข้อที่ต้องการศึกษา แล้วเริ่มค้นคว้าข้อมูล ความแตกต่างของการสืบค้นทางประวัติศาสตร์ ไม่สามารถใช้ชุดแบบสอบถามได้ แต่ต้องลงมือศึกษาหลักฐานต่างๆ ทั้งหลักฐานชั้นต้น และชั้นรอง เพื่อรวบรวมข้อมูลให้รอบด้าน และตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

3. ประเมินคุณค่าหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์จะใช้วิธีการประเมินคุณค่าของหลักฐานที่เรียกว่า การวิพากษ์ โดยพิจารณาว่าหลักฐานแต่ละชิ้นน่าเชื่อถือหรือไม่ สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้หรือไม่ ตรวจสอบความแท้-เทียม อายุความเก่าแก่ ซึ่งบางครั้งอาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี หรือใช้การพิสูจน์หลักฐานด้วยวิทยาศาสตร์

วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีอะไร บ้าง

4. การตีความวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อคัดเลือกหลักฐานได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการตีความเจตนาที่แท้จริงของหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่ใช้ ขนาด รูปร่าง ลักษณะทางศิลปะ สภาพสังคม ฯลฯ วิเคราะห์ว่าหลักฐานและข้อมูลที่ได้รับแฝงคติความเชื่ออย่างไรบ้าง

5. การเรียบเรียงนำเสนอ
ขั้นตอนสุดท้ายของวิธีทางประวัติศาสตร์ เมื่อสรุปผลการศึกษาวิจัยได้แล้ว แบ่งออกเป็นการนำเสนอระดับพื้นฐาน เชิงบรรยาย งานเขียน และการนำเสนอระดับวิเคราะห์ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี

วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีอะไร บ้าง

ประวัติศาสตร์ทั้งกระแสหลักและกระแสรอง สามารถถูกปรับเปลี่ยนหรือถูกหักล้างลงได้ หากมีหลักฐานหรือชุดข้อมูลที่ใหม่กว่า น่าเชื่อถือกว่าปรากฏขึ้นมาสนับสนุน 

ทุกเรื่องราวประวัติศาสตร์ย่อมมีความเป็นมา และนัยที่ซ่อนไว้ในแต่ละยุคสมัย ทำให้การเขียนประวัติศาสตร์แต่ละฉบับ ย่อมมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ประโยชน์ของวิธีการทางประวัติศาสตร์จึงเป็นการศึกษาวิจัยที่ช่วยให้เราเข้าสู่กระบวนการที่ "เข้าใกล้" ความจริงที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมากที่สุดนั่นเอง

ได้มีนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ได้ให้คำจำกัดความคำว่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไว้หลายความหมายด้วยกัน  ได้แก่
               สุเทพ  สุนทรเภสัช (2522) ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  เป็นเรื่องศึกษาเกี่ยวกับหมู่บ้านเพียงแห่งเดียวเมืองขนาดเล็กหรือขนาดกลางหรือไม่ก็เป็นอาณาเขตทางภูมิศาสตร์ที่ไม่ใหญ่เกินกว่าจังหวัดหรือมณฑลหน่วยของการศึกษาท้องถิ่นอาจจะเป็นหมู่บ้านหนึ่งหรือหลายๆ หมู่บ้านที่มีความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือเมืองขนาดเล็กหรือไม่ก็อาจเป็นแคว้น ภาค หรือมณฑล ที่สมาชิกของชุมชนท้องถิ่นนั้นต่างก็มีความสำนึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางวัฒนธรรมสังคมและการเมือง
           ธิดา  สาระยา (2529)  กล่าวว่า การลงไปศึกษาประวัติศาสตร์ของสังคมท้องถิ่นที่มีมวลชนเป็นตัวเคลื่อนไหว คือ  ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หรืออีกนัยหนึ่ง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คือ กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมที่เน้นมวลชน เป็นประวัติศาสตร์ที่คนภายในท้องถิ่นเชื่อว่าเป็นจริงซึ่งในที่นี้จะใช้คำว่าประวัติศาสตร์จากภายใน (History  from  the  inside)  ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตและมี  dynamic  เสมอ  ประวัติศาสตร์จากภายในมิได้คาดหมายหาข้อเท็จจริงจากข้อมูล  แต่เป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น  ประวัติศาสตร์แบบนี้จึงเกิดจากแรงสะท้อนทางความคิดของคนในสังคม  ซึ่งปรากฏในรูปของตำนาน นิทานพื้นบ้าน เรื่องปรัมปรามาแล้วแต่อดีตและโดยการสัมภาษณ์ สืบสวนในปัจจุบัน
        ศรีศักร  วัลลิโภดม (2533) กล่าวว่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  เป็นการศึกษาเรื่องราวของท้องถิ่นอันเป็นบริเวณที่มีชุมชนอยู่รวมกันและมีความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจ  สังคมระบบความเชื่อ พิธีกรรมและการเมือง  การปกครอง จนกล่าวได้ว่าทำให้ผู้คนในท้องถิ่นนั้น ๆ มีอะไรหลายๆอย่างร่วมกันและคล้ายคลึงกันจนมีจิตสำนึกว่าเป็นคนถิ่นเดียวกัน  การศึกษาเช่นนี้เน้นอดีตมาจนถึงปัจจุบันโดยแสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมเกิดขึ้นในท้องถิ่นหนึ่งๆได้อย่างไร เช่น ท้องถิ่นนั้นมีสภาพแวดล้อมอย่างไร  ตั้งอยู่ตำแหน่งไหนภายในเขตอำเภอใด  จังหวัดไหนและภูมิภาคใดมีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่แสดงความเป็นมาทางวัฒนธรรมอย่างไรบ้าง บรรดากลุ่มชนที่อยู่รวมกันเป็นชุมชนที่สืบมาจนปัจจุบันเป็นพวกไหน  อยู่ในท้องถิ่นมาแต่ดั้งเดิมหรือเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นเมื่อเข้ามาอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันแล้ว  มีความขัดแย้งหรือมีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อย่างใดเกิดขึ้น
             อานันท์  กาญจนพันธ์  ( 2545)  กล่าวว่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  คือ  การหาพื้นที่ยืนของชุมชนที่อยู่นอกรัฐชาติเพราะรัฐชาติพยายามทำให้เราอยู่ภายใต้กรอบที่เขากำหนดให้  ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือการศึกษาที่อยากรู้ว่าผู้คนในชาติยืนอยู่ในพื้นที่รัฐชาติทั้งหมดหรือพื้นที่อื่นที่เขาสร้างได้เองบ้าง  โดยการแสวงหาผ่านการศึกษาทางประวัติศาสตร์ ว่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาผู้คนที่หลากหลายในสังคมไทยเขายืนอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ใช่ของรัฐชาติตรงไหนบ้าง มีบางพื้นที่ที่อยู่นอกรัฐชาติพื้นที่เหล่านี้คือพื้นที่ ของความเป็นคน เพราะพื้นที่ของรัฐชาติคือพื้นที่ของการเป็นประชากร  ทุกคนไม่อยากเป็นราษฎรธรรมดา อยากมีอะไรที่มีความเป็นมนุษย์เล็ดรอดออกมาได้บ้างเป็นคำถามหนึ่งที่เราอยากเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะช่วยให้เรารู้ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ ประวัติศาสตร์ของการอยู่เป็นผู้คนเป็นอย่างไร
             จากความหมายของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์จะเห็นได้ว่า ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นยังไม่สามารถสรุปเป็นมาตรฐานให้เข้าใจในแนวเดียวกันได้  แต่พอสรุปได้ว่า  ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  เป็นการศึกษาพัฒนาการของสังคมมวลชนในระดับท้องถิ่นซึ่งอาจเป็นชนบทหรือเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ทั้งด้านสังคม  การเมือง  เศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นโดยแสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาเกิดขึ้นในท้องถิ่นหนึ่งๆ  ได้อย่างไร

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

การศึกษาท้องถิ่นเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งใด

การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นการศึกษาท้องถิ่นอันเป็นบริเวณที่มีชุมชนอยู่รวมกันและมีความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจ สังคมระบบความเชื่อ พิธีกรรมและการเมือง การปกครอง จนกล่าวได้ว่าทำให้ผู้คนในท้องถิ่นนั้น ๆ มีอะไรหลายๆ อย่างร่วมกันและคล้ายคลึงกันจนมีจิตสำนึกว่าเป็นคนถิ่นเดียวกัน การศึกษาเช่นนี้เน้นอดีตมาจนถึงปัจจุบันโดย ...

การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีความสําคัญอย่างไร

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คือ เครื่องมือหนึ่งที่ท าให้คนเห็นรากเหง้าของตนเอง เกิดส านึก ความเห็นคุณค่า ความภูมิใจ และศักดิ์ศรีของสิ่งที่ตนเองมีอยู่ที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษใน ท้องถิ่น ความภาคภูมิใจนี้ท าให้คนเรามีความเชื่อมั่นในตัวเองว่ามีของดีอยู่ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็น โลกาภิวัตน์ข้อมูลข่าวสารท่วมท้น เราจะมีโอกาส ...

หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีอะไรบ้าง

มีทั้งหลักฐานที่เป็นเอกสารสาคัญของท้องถิ่น เช่น บันทึกจานวนประชากรในช่วงปีต่างๆ หนังสือพิมพ์ ประจาท้องถิ่น ตลอดจนหนังสือที่มีผู้เรียบเรียงขึ้นภายหลัง เช่น หนังสือประวัติความเป็นมาของ ท้องถิ่น เป็นต้น

หากต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นขั้นตอนแรกที่จะต้องปฏิบัติคืออะไร

ขั้นตอนวิธีการสืบค้น ความเป็นมาของท้องถิ่น ขั้นตอนการสืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่น ๑. ตั้งประเด็นการสืบค้น ๒. รวบรวมข้อมูล ๓. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ๔. สรุปข้อมูลเป็นเรื่องราว ๕. นาเสนอเรื่องราวที่ค้นพบ Page 11 ขั้นตอนที่๑ ตั้งประเด็นการสืบค้น ตั้งประเด็นสืบค้นเพื่อกาหนด เป้าหมาย หรือประเด็นคาถาม ที่ต้องการศึกษา