งานทัศนศิลป์ตะวันตก มีลักษณะ

ศิลปะตะวันตก หมายถึง ศิลปกรรมของกลุ่มประเทศในยุโรป (ปัจจุบันรวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย) มีรากฐานมาจากศิลปะของอียิปต์ และกรีก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมยุคโบราณของโลก และพัฒนาขึ้นมาภายใต้อิทธิพลของคริสต์ศาสนา เป็นต้นแบบของศิลปะสากลในปัจจุบัน

                ประวัติศาสตร์ของยุโรปแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 4 ยุค คือ

1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic)

2. ยุคโบราณ (Ancient Age)

3. ยุคกลาง (Middle Age)

4. ยุคใหม่ (Modern Age)

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic) ประมาณ 40,000 - 4,000 ปี ก่อน ปีค.ศ.

ศิลปะตกแต่งเครื่องประดับ การแกะสลัก ระบายสี จิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรมแกะสลัก ปั้น และบนวัสดุ

-ถ้ำอัลตามิรา (AltamireCave) ภาคเหนือของสเปน ภาพสัตว์ต่าง ๆ เช่น กวางเรนเดียร์ ม้า วัวไบซัน รูปแบบคล้ายของจริง สัตว์ท่าทางเคลื่อนไหวสีแดงและตัดเส้นดำ

-ถ้ำลาสโกซ์ (LascauxCave) ลุ่มน้ำดอร์โดน ฝรั่งเศส ภาพวัวป่า ม้าป่า

อนุสาวรีย์หิน  (Megalithic) ภาษากรีก mega - ใหญ่, lithi - หิน. พบในยุโรปตะวันตก เช่น ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อังกฤษ แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ

1.  หินตั้ง (Menhirs or Standing Stone) men-ใหญ่, hir-ยาว

2.  โต๊ะหิน (Dolmen)        

3.  หินตั้งเรียงกันเป็นแถว (Alignment)      

4.  หินล้อมรอบเป็นวงกลม (Stonehenge or Cromlech)

จิตรกรรมถ้ำอัลตามิรา

วีนัสออฟวิลเลนดอฟ

โต๊ะหิน

หินล้อมรอบเป็นวงกลม

ศิลปะอียิปต์ (Egyptian Art)

                อียิปต์ (Egypt)เชื่อในเรื่องโลกหน้า สวรรค์ นรก และการกลับฟื้นคืนชีพมาใหม่ เชื่อว่าคนที่ตายไปแล้ววิญญาณ (Ka) จะออกจากร่างไปให้สุริยเทพพิพากษา เมื่อหมดเวรกรรมแล้ววิญญาณจะกลับมาเข้าร่างเดิมใหม่ จึงเกิดประเพณีการรักษาศพ (Mummy) เพื่อรอรับวิญญาณ   ฟาโรห์ เป็นตัวแทนของเทพเจ้าเชื่อในลัทธิวิญญาณนิยม นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เทพสูงสุดคือรา (เร) เป็นสุริยเทพ รูปลักษณะของเทพเจ้า ส่วนใหญ่มีลักษณะผสมระหว่างมนุษย์กับสัตว์

สรุปลักษณะทั่วไปของสถาปัตยกรรม

1.ปิรามิดเป็นสิ่งก่อสร้างของฟาโรห์เท่านั้น

2.ง่าย คงทนถาวร เพื่อรอคอยเจ้าของ

3.นำประติมากรรมและจิตรกรรมมาตกแต่ง

4.ใช้หินเป็นวัสดุก่อสร้าง

5.ใช้ระบบเสาและคาน

จิตรกรรม รูปคนบิดเบี้ยว-ศรีษะเห็นด้านข้าง ดวงตาและลำตัวเหมือนมองจากด้านหน้า ขาและเท้าเห็นด้านข้าง ไม่ใช้แสงเงา    สีฝุ่น

สถาปัตยกรรม วัสดุเก่าแก่คือ หญ้าและต้นกก ไม้และอิฐ

ประติมากรรม การสลักหินแบบลอยตัวใช้หินแท่งเดียวสี่เหลี่ยม ประติมากรรมรูปมนุษย์ไม่แสดงท่าทางเอี้ยวตัวหรือบิดกาย

จิตรกรรม Fresco สีจากธรรมชาติ (ดิน) ผสมยางไม้ น้ำ พู่กันขนสัตว์ ต้นพืช สีที่ใช้ = แดง เหลือง น้ำเงิน เขียว ดำ ขาวการจัดองค์ประกอบไม่นิยมพื้นที่ว่าง เรื่องมิติไม่นิยม หลักทัศนียภาพไม่รู้จักใช้ ซ้อนทับกัน รูปคนลักษณะพิเศษไม่แสดงอารมณ์บนใบหน้า สีแบน ไม่เล่นแสงเงาและอักษรภาพ (Hieroglyphic)

เรื่องราวอารยธรรมของอียิปต์ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นยุคก่อน ประวัติศาสตร์ และก่อนราชวงศ์ (Pre-dynastic) ของอียิปต์ ชาวอียิปต์ได้สร้างศิลปวัฒนธรรมขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาในด้านคุณธรรม และตอบสนองความเชื่อว่าวิญญาณของคนตายจะกลับคืนสู่ร่างกายใหม่ จึงเป็นมูลเหตุของการทำมัมมี่ (mummy) หีบบรรจุศพทำด้วยหิน สร้างอาคารรูปทรงพีระมิด (Pyramids) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่เมืองกีซา ในกรุงไคโร ภายในพีระมิดเป็นที่บรรจุพระศพกษัตริย์คูฟู (Khufu) ฐานพีระมิดยาวด้านละ 756 ฟุต สูง 481 ฟุต กินเนื้อที่ 32 ไร่ สร้างด้วยหินนักกว่าก้อนละ 2 ตัน จำนวน 2,500,000 ก้อนประมาณว่าใช้กำลังคม 1,000,000 คน ผลัดกันสร้างทั้งกลางวัน และกลางคืน ใช้เวลาราว 20 ปี จึงเสร็จ ภายในห้องพีระมิด นอกจากจะบรรจุพระศพของกษัตริย์แล้ว ยังเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติอันมีค่า ผนังภายในตกแต่งด้วยภาพเขียนสี บรรยายด้วยอักษรโบราณ ทำให้ทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาวอียิปต์ชาวอียิปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี กลับด้านบน

ศิลปะเมโสโปเตเมีย (Mmesopotamia Art)

บริเวณที่เรียกว่าตะวันออกใกล้ (Near East) อียิปต์ อิสราเอล     ซีเรีย อีรัก อิหร่าน ตุรกี ดินแดนส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย เหลือความอุดมสมบูรณ์ตามบริเวณลุ่มแม้น้ำ เช่น แม่น้ำไนล์   แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส (ซีเรีย - อิรัก) มีชนเผ่าต่าง ๆ        อาศัยอยู่ตามเวลาแต่ละยุคสมัยอาณาจักรบาบิโลเนีย  มีกษัตริย์ที่สามารถพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าฮัมมูราบิ ทรงตรากฎหมายใหม่ศิลปกรรม  ส่วนใหญ่ก่อสร้างด้วยอิฐเผ่าไฟหรือดินผสมฟางตากแดดให้แห้งสถาปัตยกรรม  เนื่องจากวัสดุไม่คงทนถาวร สันนิษฐานว่ามีแผนผังสี่เหลี่ยมและมีการใช้เสาและประตูโค้ง (Arch) เพื่อรับน้ำหนักจักรวรรดิอัสสิเรีย  กษัตริย์สำคัญคือพระเจ้าอัสสุรนะสิรปาล

สถาปัตยกรรม  การวางผังพระราชวังจัดอย่างสลับซับซ้อน ใช้อิฐในการก่อสร้าง ใช้ระบบหลังคาโค้ง (Barrel   Vault)

ประติมากรรม  รูปวัวแกะสลักมีปีกแต่หัวเป็นคน เป็นสัญลักษณ์ คือ วัวหมายถึง แผ่นดิน ศีรษะคน หมายถึง กษัตริย์ ปีก หมายถึง ท้องฟ้าเป็นภาพนูนสูง สร้างเป็นรูปวัวมี 5 ขา ที่ทำเช่นนั้นเพราะหวังผลในการมองดูแต่ละจุดยืน สิงโตสลักได้สวยงามมีชิตสมจริง ภาพสิงโตบาดเจ็บ ( wounded lion)

ศิลปะกรีก (Greek Art)

ชาวกรีกเป็นมนุษย์เผ่าพันธุ์อินโด-ยูโรเปียนที่อพยพเคลื่อนย้ายลงสู่แหลมบอลข่าน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่ง 2,000 ปี ก่อน ค.ศ. จึงได้ตั้งหลักที่เป็นประเทศกรีซในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 รัฐใหญ่ที่สำคัญคือเอเธนส์ และสปาตา ชาวกรีกมีการศึกษาศิลปวิทยาจนมีความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์ ปรัชญา และการปกครอง ศิลปกรรมกรีกมีความเจริญสูงสุด เป็นแบบฉบับในทางศิลปะของมนุษยชาติตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน

            ศิลปกรรมของกรีกที่สำคัญได้แก่ งานสถาปัตยกรรม อาทิ วิหาร สนามกีฬา หอประชุม และสถานที่แสดงอุปรากร วิหารที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว มีความงดงามมากแม้จะสร้างมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 2,000 ปี ก็ไม่มีที่ติว่าควรจะ  แก้ไขข้อบกพร่องส่วนใดส่วนหนึ่งของวิหารพาร์เธนอน ภายในวิหารตกแต่งด้วยภาพแกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม

อิทธิพลของสภาพภูมิศาสตร์ที่มีต่อประวัติศาสตร์กรีก

ภูเขามาก ทำให้เกิดรัฐเล็กรัฐน้อย ภูเขาเป็นแหล่งวัสดุหินอ่อน สภาพพื้นดิน ขาดความอุดมสมบูรณ์ทะเล เป็นแหลมยื่นไปในทะเลนับถือธรรมชาติ นับถือเทพเจ้าหลายองค์ (Polytheism)  นักปรัชญา โซเครติส เพลโต อริสโตเติล

ประติมากรรม  นิยมสลักรูปหินอ่อน 2 แบบคือ

1.คูรอส (Kouros) รูปผู้ชายเปลือยเต็มตัวในท่ายืน

2.โคเร (Kore) รูปผู้หญิงเต็มตัว ใส่เสื้อผ้าเรียบร้อยในท่ายืน

ดวงตาใหญ่ เบิกโพลง มีรอยยิ้มคล้ายการกลั้นยิ้ม - ยิ้มแบบอาร์เคอิด (Archaic Smile)

สถาปัตยกรรม  วัสดุใช้หินปูนและหินอ่อนสิ่งก่อสร้างสาธารณะ วิหาร

โธลอส (Tholos) สิ่งก่อสร้างที่มีแผนผังเป็นรูปวงกลม หลังคารูปกรวย มีฐานเป็นบันไดล้อม 3 ชั้น มีเสาล้อมรอบภายในสุสาน

โรงมหรสพ (Theatre) สร้างที่นั่งเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป

ศิลปกรรมสมัยคลาสสิค

สถาปัตยกรรม อโครโปลิส (Acropolis) เนินดินหรือภูเขาเล็ก ปกติใช้เป็นป้อมปราการและต่อมากลายเป็นที่สิงสถิตของ เทพเจ้าวิหารพาร์เธนอน (Parthenon)       วิหารอีเรคเธอุม (Erectheum)

วิหารโพรไพเล            (Propylae) โรงมหรสพ (Theatre) /อะกอรา (Agora) / สเตเดียม /   ฮิปโปโดรม

ประติมากรรม  รูปคนแสดงท่าทางเคลื่อนไหวมากขึ้น การทำกล้ามเนื้อถูกต้องตามหลักกายวิภาค

ประติมากรคนสำคัญในสมัยคลาสสิค

1.พิดิอัส (Phidias) สลักรูปหญิงนุ่งห่มเสื้อผ้าเบาบางแนบเนื้อคล้ายเปียกน้ำ

2.โพลีไคลตุส รูปชายเปลือย

3.ไมรอน  รูปเทพนิยาย นักกีฬา ท่าทางเคลื่อนไหว ขว้างจาน

4.แพร็กซิเทลิส วิธีการยืน การวางท่าแบบให้เส้นเป็นรูปตัว "S"

สรุป ลักษณะเด่นของ Greek Art

แนวคิด เป็นเรื่องความดีงาม คุณธรรมคือความรู้มีสุนทรียภาพสูง มีทักษะสูง เป็นยุคทองทางอารยธรรมของโลกก่อนคริสต์ศักราช สร้างระบบคิดเป็นวิทยาศาสตร์ เช่น สัดส่วนทองบูชาเทพเจ้า แต่แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายธรรมะและอธรรม คือคนดีบูชาเทพเจ้าฝ่ายดีงาม เทพเจ้าดีงามจะคอยปกป้องจากเทพฝ่ายชั่วร้ายงานศิลปกรรมเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมและประติมากรรม ส่วนงานจิตรกรรมนั้นเป็นรอง ไปอยู่ในจุลศิลป์งานประติมากรรม นิยมสร้างรูปคนเหมือน เทพเจ้า นักกีฬา แสดงความงามของรูปทรงที่สมบูรณ์ งดงามไปพร้อมกับจิตใจที่งามมีนักปราชญ์เกิดขึ้นมากมาย ระบบปกครองเป็นสาธารณรัฐ

งานทางด้านประติมากรรมของกรีก นิยมสร้างสรรค์แนวเหมือนจริง (Realistic) โดยเฉพาะสรีระของคนเรา ชาวกรีกถือว่ามีความงดงามยิ่ง ชาวกรีกจึงนิยมปั้นและแกะสลักรูปคนเปลือยกายไว้มากมาย งานประติมากรรมลอยตัวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เทพธิดาวีนัส (Venus) รูปเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) รูปนักกีฬาไมรอน (Myron) ประติมากรรมโลหะสัมฤทธิ์รูปเด็กหนุ่ม เป็นรูปเปลือยที่มีส่วนสัดของร่างกาย ตลอดจนการจัดวางท่วงท่าได้อย่างงดงาม

สมัยเฮลเลนนิสติค

ประติมากรรม  ชอบแสดงอารมณ์รุนแรง ท่าทางเคลื่อนไหวบิดเอี้ยวกายมากขึ้น

ซับซ้อน เนื้อหาจากศาสนา เทพนิยา นักกีฬา นักรบ รูปเลาคูนและบุตร รูปเทพีในค์แห่งซาโมเธรส (Nike) เทพีแห่งชัยชนะ รูปอโพรไดท์แห่งเกาะเมลอส (Aphrodite of Melos) (-วีนัสเดอไมโล)

สถาปัตยกรรม  หัวเสาแบบคอรีนเธียน    วิหาร     โรงละคร

ศิลปะโรมัน (Roman Art)

            ศิลปะโรมันส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากกรีก ซึ่งมีองค์ประกอบที่ประณีต งดงาม แต่ศิลปะของโรมันเน้นความใหญ่โตมโหฬาร มีความหรูหรา สง่างาม มั่นคงแข็งแรง สถาปัตยกรรมโรมันมีชื่อเสียงมาก โรมันเป็นชาติแรกที่คิดค้นสร้างคอนกรีตได้ สามารถใช้คอนกรีตหล่อขึ้นเป็นโครงสร้างรูปโดมช่วยทำให้การก่อสร้างอาคารมีขนาดใหญ่ขึ้น สถาปัตยกรรมของโรมันที่มีชื่อเสียงได้แก่ วิหารแพนเธออน (Pantheon) โคลอสเซียม (Colosseum) เป็นสนามกีฬารูปกลมรีขนาดใหญ่มหึมาสามารถจุคนดูได้ถึง 50,000 คน นอกจากงานสถาปัตยกรรมดังกล่าวแล้ว ชาวโรมันยังสร้างสะพานโค้งข้ามแม่น้ำและส่งน้ำข้ามหุบเขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก คือ ประตูชัย (Arch of Triumph) สร้างขึ้นเพื่อสรรเสริญ และฉลองชัยของทหารโรมัน โดยสร้างเป็นประตูโค้งขนาดใหญ่สำหรับให้ทหารเดินทัพผ่านเมื่อออกสงครามหรือภายหลังได้รับชัยชนะ ประดับด้วยภาพประติมากรรมนูนสูงอย่างสง่างาม

            งานประติมากรรมของโรมันมีไม่มาก ส่วนใหญ่ขนย้ายมาจากกรีก มีการสร้างสรรค์ขึ้นเองบ้างแต่เป็นส่วนน้อยนอกนั้นทำเลียนแบบกรีกทั้งหมด ผลงานที่พบในกรุงโรมได้แก่ ภาพเลาคูนกับบุตรชายกำลังถูกงูกัด เป็นผลงานที่นำมาจากกรีก นอกนั้นได้แก่ภาพประติมากรรมของบุคคลสำคัญในยุคนั้น เช่น รูปจูเลียสซีซาร์ รูปจักรพรรดิออกัสตัส รูปจักรพรรดิคาราคัลลา   รูปจักรพรรดิเนโร เป็นต้น

งานจิตรกรรมของโรมัน มีการค้นพบภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพดีมากมาย ส่วนใหญ่เป็นภาพที่แสดงถึงเรื่องราวในชีวิตประจำวันของชาวโรมันนอกนั้นเป็นภาพในเทพนิยาย เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ลักษณะของภาพยังมีความงามที่สมบูรณ์ เป็นภาพเขียนสีและประดับด้วยหินสี (Mosaic) อย่างประณีต สวยงาม ศาสนาและปรัชญา  ได้รับแบบอย่างมาจากกรีก เชื่อเกี่ยวกับโชคลาภ นับถือภูติผีปีศาจ ต่อมารับเอาความเชื่อเรื่องเทพเจ้าจากกรีก ชาวโรมันเคารพในอำนาจ เน้นเรื่องวินัยและระเบียบ

ประติมากรรม  นิยมประติมากรรมของกรีกไปประดับตกแต่งอาคารต่าง ๆ ต่อมาเมื่อประติมากรรมกรีกเริ่มลดลงจึงเกิดการทำลอกเลียนผลงานที่มีชื่อเสียง นิยมทำประติมากรรมภาพเหมือน

สถาปัตยกรรม  สมัยสาธารณรัฐคิดประดิษฐ์หัวเสาเรียกว่าคอมโพสีท (Composite) มีลักษณะผสมระหว่างไอโอนิค กับคลอรีนเธียน นำระบบวิธีการก่อสร้าง อาช กับ โวลท์ นำโวลท์มาใช้เป็นโครงสร้างหลังคาสร้างเป็นรูปโดมทำให้ได้เนื้อที่ภายในกว้างขวาง

1.วิหารและสุสาน (Temple and Tomb)

2.สถานที่อาบน้ำสาธารณะ (Public Baths or Thermae)

3.โรงมหรสพและสนามกีฬา (Theatres, Amphethea and Cercuses)

4.โฟรุมและบาสิลิกา (Forum and Basilica)

5.อาคารที่พักอาศัยทั่วไป

6.สะพานและท่อลำเลียงน้ำ (Bridges and Aqueduct)

7.การวางผังเมือง (Town - Planning)

โพรุม (Forum)ย่านชุมนุชน ตลาด สถานที่ราชการ สถานที่ราชการ วิหาร อาคารต่าง ๆ ล้อมรอบ

บาสิลิกา (Basilica)เป็นอาคารขนาดใหญ่ ใช้เป็นศาลยุติธรรม และสถานที่ทำการค้าขายของรัฐ ใช้เป็นที่ประกอบพิธีสำคัญ พิธีทางศาสนา

โรงละคร และสนามกีฬา (Theatres and Ampitheatres) โคลอสเซียม (Colosseum) ใช้ระบบอาช และโวลท์รับคาน ชั้นแรกเป็นแบบดอริค ชั้นสองเป็นแบบไอโอนิค ชั้นสามเป็นแบบคอรินเธียน ชั้นสี่เป็นเสาหลอกแบบผ่าครึ่งซีก (Pelaster) สนามกีฬา สนามแข่งม้า สนามแข่งรถ วิหาร แพนเธออน (Pantheon)สถานที่อาบน้ำสาธารณะประตูชัย(Triumphal Arch) ประเภทอนุสาวรีย์ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะจากสงคราม นิยมสร้างคร่อมถนนท่อลำเลียงน้ำและสะพาน การก่อสร้างใช้ระบบอาช หรือประตูโค้งสร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์เน้นเรื่องความสูงสง่าและดูมีอำนาจ นำระบบอาชและโวลท์มาใช้ทำให้เกิดโดมภายในอาคารนิยมตกแต่งอย่างหรูหราการพัฒนาระบบอาชและโวลท์ทำให้ดูไม่ทึบ ใช้ประโยชน์ภายในได้เต็มที่ประติมากรรม  สมัยจักรวรรดิต้นมีทั้งแบบเหมือนจริงและแบบอุดมคติ

ศิลปะไบแซนไทน์ (Byzantine Art) ประมาณ ค.ศ. 455

            ศิลปะไบแซนไทน์เป็นศิลปะที่มีลักษณะเชื่อมโยงความคิด และรูปแบบระหว่างตะวันตกกับตะวันออกเข้าด้วยกัน มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ศิลปะมีลักษณะใหญ่โต คงทนถาวร ประดับตกแต่งด้วยการใช้พื้นผิว (Texture) อย่างหลากหลาย  งานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดของไบแซนไทน์ คือการทำหลังคาเป็นรูปกลม (Cupula) ต่างจากหลังคาของศิลปะโรมัน ที่ทำเป็นรูปโค้ง (Arch) หลังคากลมแบบไบแซนไทน์ ภายนอกเรียกว่าโดม (Dome) หลังคากลมช่วยให้สามารถสร้างอาคารได้ใหญ่โตมากขึ้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นแบบฉบับของศิลปะดังกล่าว ได้แก่ โบสถ์เซนต์โซเฟีย ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล โบสถ์เซนต์มาร์โค ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี

ยุคทองสมัยแรก  - นำหัวเสาโรมันมาใช้ ใช้โวลท์ วัดเซนต์จัสติเนียนสร้าง หลังคารูปโดม

ประติมากรรม หัวเสารูปใบไม้ สัตว์ จิตรกรรม ประดับกระเบื้องสี (Mosaic) ภาพสีปูนเปียก

สมัยโรมันเนสก์ (Romanesque)

สถาปัตยกรรม  ใช้โครงสร้งประตูและหลังคาโค้ง แผนผังเป็นแบบไม้กางเขน เพดานโค้ง โครงสร้างหลังคาแบบกรอยด์โวลท์(Groined) วัสดุอิฐ หิน ผนังหนา ช่วยรับน้ำหนักเมืองปิซา           ใช้ประตูโค้งโรมัน   นิยมทำหอระฆัง  หน้าต่างวงกลมประติมากรรม     ภาพนูนต่ำนูนสูง ตกแต่งสถาปัตยกรรมรูปคนค่อนข้างยาว สูงชลูด ท่าทางเคลื่อนไหว บิด เอียงกาย

ยุคกลาง (Middle Age) ประมาณ ค.ศ. 300ค.ศ. 1300

ความเจริญทางด้านศิลปะในยุคกลาง เป็นการสร้างสรรค์โดยวัดและคริสต์ศาสนิกชน ซึ่งมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและศิลปวิทยา ศิลปะของคริสต์ศาสนาจึงเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับวัดคาทอลิก มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่สิ่งก่อสร้างจะมีขนาดเล็กลง นิยมสร้างด้วยหินและปูผิวด้วยอิฐ สร้างสุสานด้วยการเจาะหินหน้าผา  กลุ่มศิลปะที่อยู่ในยุคกลางได้แก่ ศิลปะโกติก สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะบารอก และรอกโกโก

ศิลปะโกธิก (Gothic Art)

            ศิลปะโกธิกนิยมแสดงเรื่องราวทางศาสนาในแนวเหมือนจริง (Realistic Art) ไม่ใช้สัญลักษณ์เหมือนศิลปะยุคก่อน งานสถาปัตยกรรมมีโครงสร้างทรงสูง มียอดหอคอยรูปทรงแหลมอยู่ข้างบน ทำให้ตัวอาคารมีรูปร่างสูงระหงขึ้นสู่เพดาน ซุ้มประตูหน้าต่างช่องลม มีส่วนโค้งแปลกกว่าศิลปะแบบใด ๆ

สถาปัตยกรรมใช้โครงสร้างอาร์ชแบบโค้งปลายแหลม (pointed Arch)ใช้เสาค้ำยันภายนอกอาคาร (flying buttresses) ส่วนช่องโล่งจากประตูถึงแท่งบูชาวงเก้าอี้ไว้สองข้างมีทางเดินขนานทั้งซ้ายขวา

อาคารสูง ยอดแหลมนิยมประดับกระจกสีที่หน้าต่าง

ประติมากรรมใช้ประดับตกแต่งโบสถ์ส่วนสำคัญอยู่เหนือประตูทางเข้าและเสาใช้ประดับตกแต่งสุสานคนสำคัญเรื่องราวในคริสตศาสนารูปคนสัดส่วนค่อนข้างยาว เป็นเส้นตรงรอยยับย่นของเสื้อผ้ามากชอบสร้างรูปลอยตัว

จิตรกรรมการทำกระจกสี (Stain Glass)ศิลปะกอธิค พบใน ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน เยอรมัน

สมัยเรอนาซอง ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance)

            คำว่าเรอนาซอง หมายถึง การเกิดใหม่ (rebirth) การฟื้นฟูขึ้นมาอีก การกลับมีชีวิตขึ้นมาใหม่สงครามครูเสดนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ยุโรปตะวันตกอย่างใหญ่หลวง ระบอบการปกครองแบบศักดินาหมดสิ้นไป แว่นแคว้นต่าง ๆ เริ่มมีความเป็นอิสระ ศิลปินได้นำเอาแบบอย่างศิลปะชั้นสูงในสมัยกรีกและโรมัน มาสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเต็มที่ งานสถาปัตยกรรมมีการก่อสร้างแบบกรีกและโรมันเป็นจำนวนมาก ลักษณะอาคารมีประตูหน้าต่างเพิ่มมากขึ้น ประดับตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมและประติมากรรมอย่างหรูหรา สง่างาม งานสถาปัตยกรรมที่      ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้นฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้แก่ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ในกรุงโรม เป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก วิหารนี้มีศิลปินผู้ออกแบบควบคุมงานก่อสร้างและลงมือตกแต่งด้วยตนเอง ต่อเนื่องกันหลายคน เช่น โดนาโต บรามันโต (Donato Bramante ค.ศ. 1440 - 1514) ราฟาเอล (Raphelค.ศ. 1483 -1520) ไมเคิลแองเจลโล (Michel Angelo ค.ศ. 1475 -1564) และโจวันนิ เบอร์นินี (Giovanni Bernini ค.ศ. 1598 -1680)

            งานจิตรกรรมและประติมากรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปินสร้างสรรค์ในรูปความงามตามธรรมชาติ และความงามที่เป็นศิลปะแบบคลาสสิกที่เจริญสูงสุด ซึ่งพัฒนาแบบใหม่จากศิลปะกรีกและโรมัน ความสำคัญของศิลปะสมัยฟื้นฟู มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะเทคนิคการเขียนภาพ การใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (Composition) หลักกายวิภาค (Anatomy) การเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective Drawing) การแสดงออกทางศิลปะมีความสำคัญในการพัฒนาชีวิต สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม จัดองค์ประกอบภาพให้มีความงาม มีความเป็นมิติ มีความสัมพันธ์กับการมองเห็น ใช้เทคนิคการเน้นแสงเงาให้เกิดดุลยภาพ มีระยะตื้นลึก ตัดกันและความกลมกลืน เน้นรายละเอียดได้อย่างสวยงาม ศิลปินที่สำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่สร้างสรรค์งานไว้เป็นอมตะเป็นที่ รู้จักกันทั่วโลก  ได้แก่ เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ผู้เป็นอัจริยะทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ กวี ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงของดาวินชี ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The last Supper) ภาพพระแม่บนก้อนหิน (The Virgin on the Rock) ภาพพระแม่กับเซนต์แอน (The Virgin and St. Anne) และภาพหญิงสาวผู้มีรอยยิ้มอันลึกลับ (mystic smile) ที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ ภาพโมนาลิซา (Mona Lisa)

            ไมเคิลแองเจลโล (Michel Angelo) เป็นศิลปินผู้มีความสามารถ และรอบรู้ในวิทยาการแทบทุกแขนง โดยเฉพาะรอบรู้ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ งานประติมากรรมสลักหินอ่อนที่มีชื่อเสียงและเป็นผลงานชิ้นเอก ได้แก รูปโมเสส (Moses) ผู้รับบัญญัติสิบประการจากพระเจ้า รูปเดวิด (David) หนุ่มผู้มีเรือนร่างที่งดงาม รูปพิเอตา (Pietta) แม่พระอุ้มศพพระเยซูอยู่บนตัก ภาพเขียนของไมเคิลแองเจลโลชิ้นสำคัญที่สุด เป็นภาพบนเพดานและฝาฝนังของโบสถ์ซิสติน (Sistine) ในพระราชวังวาติกัน ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน

            ราฟาเอล (Raphael) เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่งมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ มีผลงานจิตรกรรมที่สำคัญเป็นจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ ภาพแม่พระอุ้มพระเยซู (Sistine Madonna) ภาพงานรื่นเริงของทวยเทพ (Galatea)  ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแพร่หลายออกไปจากประเทศอิตาลีสู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อศิลปะในประเทศนั้น ๆ อย่างมากมาย ทำให้เกิดสกุลศิลปะ และศิลปินที่สำคัญในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นจำนวนมาก ผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เรากล่าวได้ว่ามนุษยชาติเป็นหนี้บุญคุณบรรพชนแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอยู่จนปัจจุบันนี้

ศิลปะบารอกและรอกโกโก (Baroque and Rococo Art)

คำว่า Baroque และ Rococo ในปัจจุบัน หมายถึง สิ่งที่มีการตกแต่งประดับประดาด้วยเครื่องอลังการ วิจิตรพิสดารจนเกินงาม เป็นศิลปะตอนปลายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเชื่อมต่อกับศิลปะยุคใหม่ ศิลปะแบบบารอกและรอกโกโก เป็นลักษณะการจัดองค์ประกอบของศิลปะที่เน้นรายละเอียดส่วนย่อยอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะการใช้ส่วนโค้ง ส่วนเว้า งานจิตรกรรม และประติมากรรม ยังคงเน้นรูปร่าง รูปทรงธรรมชาติ (Realistic) แต่ใช้สีรุนแรงขึ้น งานสถาปัตยกรรมประกอบด้วยเส้นโค้งมนตกแต่งโครงสร้างเดิม มีลวดลายอ่อนช้อย งดงาม อาคารที่ถือเป็นแบบฉบับของศิลปะบารอก และรอกโกโก ได้แก่ โบสถ์เซนต์แอกเนส (Church of St. Agnese) โบสถ์เซนต์คาร์โล (Church of St. Carlo) ที่กรุงโรม พระราชวังแวร์ซาย (Versailes palace) ในประเทศฝรั่งเศส โบสถ์ทั่วไปในยุโรปตอนเหนือ เช่นในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเยอรมนี เป็นต้น   กลับด้านบน

สมัยบาโรค (Baroque) ค.ศ. 1550 - 1750

ศูนย์กลางอยู่ที่โรม "บาโรค" หมายถึง ความผิดปกติ ไม่ถูกต้องตามระเบียบไม่สม่ำเสมอ ตามปกติเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งต่าง ๆ ในเชิงดูหมิ่นดูแคลนต่อสิ่งที่หรูหรา ฟุ้งเฟ้อจนเกินความพอดี       คาราวัคจีโอ (Caravaggio)   เบอร์นินี่ (Bernine )         

ประติมากร  การจัดลีลาท่าทาง เคลื่อนไหวอย่างรุนแรงของรูปสลัก รูปคน ของเบอร์นินี่ ถ้าไม่แสดงอาการพูดก็ต้องตะโกนหรือแสดงอาการต่าง ๆ

สถาปัตยกรรมบาโรคของอิตาลีพระราชวังลูฟว์พระราชวังแวร์ซายส์ (Versalles)

สเปน - เบลลาสเกซ หรือเวลาสเกซ (Velasques)

ศิลปกรรมเฟลมมิช รูเบนส์ (Rubens) ฟาน ไดค์ หรือ ฟาน เดค (Van Dyck)

ศิลปะก่อนเข้าสู่ศิลปะสมัยใหม่

ศิลปะโรโกโก (Rococo)คริสศตวรรษที่ 18รูปแบบศิลปกรรมโรโกโกแสดงถึงความต้องการและรสนิยมของชนชั้นสูง ศิลปะโรโกโกเสื่อมลงพร้อมการล่มสลายของราชวงศ์บูร์บองและการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศสคำว่า โรโกโก หมายถึง การตกแต่งภายในอาคารและรูปลักษณะของลวดลายที่ปรากฎในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ราว ค.ศ. 1700 จุดเด่นของศิลปะโรโกโก อยู่ที่การตกแต่งภายในและสิ่งของเล็ก ๆ การออกแบบเครื่องเรือน เครื่องมือเครื่องใช้ รูปทรงบอบบาง ประดับลวดลายเป็นเส้นคดเคี้ยวคล้ายคลื่นน้ำหรือขมวดคล้ายก้นหอย

ยุคใหม่ (Modern Age) ค.ศ. 1800 - ปัจจุบัน

ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) เริ่มขึ้นตอนปลายศตวรรษที่ 18 ในประเทศฝรั่งเศส สืบเนื่องจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะอย่างขนานใหญ่ ทั้งรูปแบบและจุดประสงค์ โดยเฉพาะสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ศิลปินยุคใหม่ต่างพากันปลีกตัวออกจากการยึดหลักวิชาการ (Academic) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มีรากฐานมาจากศิลปะกรีกและโรมัน มาใช้ความรู้สึกนึกคิดและความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนอย่างอิสระ แยกศิลปะออกจากศาสนาโดยสิ้นเชิง ศิลปะจึงเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลอย่างแท้จริง ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่ จึงทำให้เกิดรูปแบบศิลปะใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังจะได้กล่าวพอสังเขปดังนี้

ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic)

ลัทธิคลาสสิคใหม่มีแนวความคิดและการปฏิบัติอยู่ที่การลอกเลียนศิลปกรรมโบราณแทบทุกอย่าง โดยเฉพาะศิลปะของกรีกโบราณและอียิปต์ ชาก - ลุย เดวิด เป็นผู้นำลัทธินี้และ โอกุสต์ โคมินิกแองเกรส์

นีโอคลาสสิกเป็นรูปแบบศิลปะที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยใหม่กับสมัยเก่า ภาพเขียนจะสะท้อนเรื่องราวทางอารยธรรม เน้นความสง่างามของรูปร่างทรวดทรงของคนและส่วนประกอบของภาพ มีขนาดใหญ่โต แข็งแรง มั่นคง ใช้สีกลมกลืน มีดุลยภาพของแสง และเงาที่งดงาม ศิลปินที่สำคัญของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ได้แก่  ชาก  ลุย ดาวิด (ค.ศ. 1748-1825) ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง เช่น การสาบานของโฮราตี (The Oath of Horatij) การตายของมาราต์ (The Death of Marat) การศึกระหว่างโรมันกับซาไบน์ (Battle of the Roman and Sabines) เป็นต้น

ศิลปะแบบโรแมนติก (Romanticism)หรือจินตนิยม

ใช้เรียกการแสดงออกที่ทำให้เกิดความสะเทือนอารมณ์อย่างรุนแรงเกี่ยวกับความศรัทธา ความรัก ความชอบ ความโกรธ ความปิติยินดีความเกลียดชัง โดยแสดงอารมณ์เหล่านี้อย่างคลั่งไคล้เกินปกติวิสัยการแสดงออกทางจินตนาการหรือมโนภาพที่เต็มไปด้วยความเพ้อฝัน ความแปลกประหลาดน่าพิศวง ความน่าทึ่ง น่าตื่นเต้น เรื่องอันเร้าใจอย่างสุดขีด ความรุนแรง ความหวาดเสียวน่าสยดสยอง หรือเรื่องที่เกี่ยวกับอารมณ์ภายในใจอันปั่นป่วนอย่างรุนแรง แสงเงา และประมาตรที่มีการ ขัดแย้ง ค่อนข้างรุนแรง เพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้ชมให้บังเกิดความรู้สึกตามศิลปะแบบโรแมนติก เป็นศิลปะรอยต่อจากแบบนีโอคลาสสิก แสดงถึงเรื่องราวที่ตื่นเต้น เร้าใจ สะเทือนอารมณ์แก่ผู้พบเห็น ศิลปินโรแมนติกมีความเชื่อว่าศิลปะจะสร้างสรรค์ตัวของมันเองขึ้นได้ด้วยคุณค่าทางอารมณ์ของผู้ดูและ         ผู้สร้างสรรค์  ศิลปินที่สำคัญของศิลปะโรแมนติก ได้แก่ เจริโคต์ (Gericault) ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมาก คือ การอับปางของเรือเมดูซา (Raft of the Medusa)  เดอลาครัว (Delacroix) ชอบเขียนภาพที่แสดงความตื่นเต้น เช่น ภาพการประหารที่  ทิชิโอ ความตายของชาดาร์นาปาล การฉุดคร่าของนางรีเบกกา เป็นต้น  ฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชอบเขียนภาพแสดงการทรมาน การฆ่ากันในสงคราม คนบ้า ตลอดจนภาพเปลือย เช่น ภาพเปลือยของมายา (Maya the nude) เป็นต้น

จิตรกรรม  จิตรกรสำคัญ คือ - เตโอดอร์เชริโกต์ (Theodore Gericault) ฝรั่งเศส

เดอลากรัว (Delacroix)    วิลเลียมเทอเนอร์ (William Turner) อังกฤษ

จอห์น คอนสเตเบิล (John Constable)   โกย่า (Goya) สเปน

ศิลปะสมัยใหม่ของไทย นับตั้งแต่ กลาง พ.ศ.2300 เป็นต้นมาเป็นงานที่มีลักษณะเป็นสากล และเป็นแบบอย่างของแต่ละคน มากว่าที่จะเป็นแบบอย่างศิลปะแห่งแคว้น ซึ่งเป็น แบบที่มีความแตกต่างกันจนยากที่จะกล่าวอย่างผิวเผินได้ วัสดุและเทคนิคใหม่ ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งผลผลิตของเครื่องจักรกล ได้สะท้อนไปสู่งานศิลปะทำให้รูปแบบของศิลปะมีความหลายหลายมากยิ่งขึ้น ใน ขณะเดียวกัน ความรู้ทางด้านจิตวิทยาและวิชาฟิสิกส์ได้จัดแจงรูปแบบความคิดของ ศิลปินที่มีต่อมนุษย์ และโลกทางกายภาพขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถที่จะอธิบายให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ได้ แม้ว่าแนวโน้มศิลปะหลาย ๆ แบบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 25จะได้พยายามลดคุณค่าแบบอย่างศิลปะส่วนตนไป บ้าง แต่แนวโน้มที่แพร่หลายไปนี้ก็เน้นหนักที่ความคิดริเริ่มเป็นสำคัญ ลักษณะ สำคัญของงานศิลปะสมัยใหม่ จึงเป็นปฏิกิริยาที่ศิลปินแต่ละคนแสดงออกต่อโลก รอบตัว การค้นหาอาณาจักรความฝันเฟื่องของแต่ละคน การสร้างโลกทัศน์ใหม่ ของตัวเองจากวัสดุ และเทคนิควิธีการที่แปลกใหม่ ไปจากเดิม เหล่านี้เป็นลักษณะ สำคัญของงานจิตรกรรม ประติมากรรมแห่งพุทธศตวรรษที่ 25แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีความสนใจในศิลปะวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม และได้รับอิทธิพลจากศิลปะใน แบบดั้งเดิมอีกด้วย

     สรุปแล้ว งานศิลปะสมัยใหม่ เป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปินแต่ละคน เน้นความ เป็นตัวของตัวเองของศิลปินแต่ละกลุ่มซึ่งมีมากมายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็มีแนวคิด เทคนิค วิธีการที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย บ้างก็สะท้อนสภาพสังคม บ้างก็แสดงมุมมองบางอย่างที่แตกต่างออกไป บ้างก็แสดงภาวะทางจิตของศิลปิน และกลุ่มชน บ้างก็แสดงความประทับใจในความงามตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการนำเอาวัสดุอุปกรณ์แบบใหม่ ๆรวมถึงเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในการสร้าง สรรค์งานมากขึ้น การบริโภค หรือการสนับสนุนงานศิลปะ ไม่จำกัดอยู่ที่ชนชั้นสูง ขุนนาง หรือผู้ร่ำรวยเท่านั้น แต่ยังตอบสนองต่อประชาชนทั่วไปอีกด้วย ไม่เพียงแต่ รูปแบบที่หลากหลายทางศิลปะเท่านั้นที่เกิดขึ้น รูปแบบศิลปะสมัยดั้งเดิมก็ยังได้รับ ความนิยม และสืบทอดต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบันด้วย

งานทัศนศิลป์รูปแบบตะวันตกมีลักษณะอย่างไร

งานทัศนศิลป์ตะวันตก มีลักษณะเด่นอย่างไร วิธีการสร้างสรรค์มีขอบเขตตายตัว ใช้วัสดุ อุปกรณ์อยู่ในขอบเขตที่จำกัด ลักษณะของผลงานแบ่งตามชนชาติและภาษา

งานทัศนศิลป์ตะวันตก มีอะไรบ้าง

ศิลปะโรโคโค (Rococo Art).
ศิลปะยุคฟื้นฟู ศิลปะบาโรก (Baroque Art) ศิลปะฟื้นฟูคลาสสิก หรือ “ศิลปะฟื้นฟูกรีกโรมัน” (Neo-Classical Art หรือ Neoclassicism) ... .
ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism Art) ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลัง (Post-Impressionism) ... .
ศิลปะสมัยใหม่ (Modern art).
ศิลปะร่วมสมัย (Contemporary art).

งานทัศนศิลป์ที่มีคุณค่าควรมีลักษณะอย่างไร

เป็นการรวบรวมในเรื่องของความประณีต ความละเอียด มีระเบียบ น่าทึ่ง มโหฬาร ประหลาด แปลกหูแปลกตา และเป็นสิ่งที่มีคุณงามความดี ทำให้ผู้เห็นเกิดความประทับใจไปอีกนาน สิ่งเหล่านี้รวมเรียกว่าคุณค่าทางความงาม โดยเกณฑ์ของความงามที่อยู่ในงานทัศนศิลป์ ซึ่งสามารถรับรู้และยอมรับได้โดยทั่วไป เป็นการประสานกันของส่วนประกอบต่างๆของความ ...

รูปแบบงานทัศนศิลป์ตะวันออกมีลักษณะอย่างไร

เป็นศิลปะที่ใช้การแยกความรู้สึก หรืออารมณ์ออกจากความจริง มีความประสานกลมกลืนของ องค์ประกอบ และทัศน-ธาตุมาก หรืออาจมีการเขียนภาพให้ดูพร่ามัว ไม่ชัดเจน มีการใช้ลีลาแบบซ้ําๆ กัน ผลงานเป็นงานที่แทบจะไม่มีเค้าโครงเดิมของธรรมชาติอยู่เลย การถ่ายทอดก็จะไม่สนใจเรื่องราวที่ตาเห็น ศิลปะกึ่งไร้รูปลักษณ์