ผิดสัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์

ผิดสัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์

มีผู้สอบถามเข้ามาว่าเช่าซื้อรถยนต์มาแล้วผ่อนไปสักระยะหนึ่ง  ผ่อนต่อไม่ไหวหรือ ด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ไม่สามารถจะผ่อนต่อไปได้ จึงได้นำรถยนต์ไปคืนให้กับทางผู้ให้เช่าซื้อแล้ว ผู้เช่าซื้อยังจะต้องรับผิดในค่าขาดราคาอยู่อีกหรือไม่ แต่ก่อนจะตอบคำถามดังกล่าว  ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สัญญาเช่าซื้อรถยนต์เลิกกัน แล้วหรือไม่  และหากเลิกกันแล้ว สัญญาเช่าซื้อเลิกกันด้วยเหตุใด  กล่าวคือ  หากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและไม่ส่งมอบรถยนต์คืนให้กับผู้ให้เช่าซื้อย่อมทำให้ผู้ให้เช่าซื้อขาดประโยชน์ที่จะใช้รถ ผู้เช่าซื้อต้องชดใช้ค่าเสียหาย

หากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย ไม่ใช่เป็นการเลิกสัญญาเพราะความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อจะฟ้องผู้เช่าซื้อให้รับผิดค่าขาดราคาตามข้อสัญญาไม่ได้  แต่ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิฟ้องให้ผู้เช่าซื้อรับผิดในค่าใช้ทรัพย์

ค่าใช้ทรัพย์ เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยายโดยผู้เช่าซื้อไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนผู้ให้เช่าซื้อให้ถูกต้อง ผู้ให้เช่าซื้อย่อมเสียหายเนื่องจากการไม่ได้ใช้รถในระยะเวลาดังกล่าว ผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้ทรัพย์พร้อมดอกเบี้ย

กล่าวโดยสรุป หากผู้เช่าซื้อคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อไปโดยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและผู้เช่าซื้อก็รับไว้สัญญาเลิกกันโดยปริยาย ไม่ได้เลิกกันโดยข้อสัญญา หรือไม่ได้เลิกกันเพราะฝ่ายผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ผู้ให้เช่าซื้อก็ฟ้องให้ผิดในค่าขาดราคาไม่ได้ 

ท่านที่สนใจ สามารถดูข้อกฎหมาย และคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ดังนี้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่

1. คำพิพากษาฎีกาที่ 13184/2558  สัญญาเช่าซื้อเลิกกันเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและไม่ส่งมอบรถยนต์เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะใช้รถยนต์เช่าซื้อตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถยนต์เช่าซื้อ จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้โจทก์ อันเป็นผลตามบทบัญญัติของมาตรา 391 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่โจทก์จะประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์หรือไม่นั้น ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว

2.ฎีกาที่ 2063/2559 คู่สัญญาตกลงสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย ในวันที่ 26 สิงหาคม 2540 ผู้ให้เช่าซื้อหรือโจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้ ค่าขาดราคา ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่อาจเรียกร้องให้รับผิดได้เฉพาะในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบ จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดค่าขาดราคา  

3.ฎีกาที่ 12448/2557 สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกันโดยปริยายวันที่ 9 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้ง มิใช่เป็นการเลิกสัญญาเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา  คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นการชดใช้คืนย่อมทำได้ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสาม จำเลยที่ 1 จึงมีเพียงความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ ส่วนค่าเสียหายอื่นที่เป็นค่าขาดราคารถ ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเลิกกันและค่าติดตามยึดรถ โจทก์ไม่อาจเรียกร้องได้

ผิดสัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์มีอายุความกี่ปี

รถระหว่างผิดสัญญาเช่าซื้อ มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. ม.164 ไม่ใช่ 1 ปีฐานละเมิด เจ้าของเรียกรถคืนเป็นการใช้สิทธิติดตามถ้ารถคืนไม่ได้ให้

ผิดสัญญาเช่าซื้อ เป็นคดีอะไร

ตอบ ถ้าผู้เช่าซื้อ มีทรัพย์สินในนามของตน ก็จะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด หรืออายัดเงินเดือนได้ แต่ถ้าไม่มีทรัพย์สิน ก็ไม่สามารถดำเนินการบังคับคดีได้ และก็ไม่ติดคุก เนื่องจากเป็นคดีแพ่ง มิใช่คดีอาญา

ผลของการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้นมีอะไรบ้าง

ผลของการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อตามมาตรา 574 , 391. 1. คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม (มาตรา 391 วรรคแรก) 2. ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบค่าเช่าซื้อที่ชำระมาแล้ว (มาตรา 574) 3. ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อ (มาตรา 574)

ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาได้ต้องทำอย่างไร

ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 ข้อ 4. กาหนดว่า “ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ในกรณีผู้เช่าซื้อ ผิด นัดค่าเช่าซื้อรายงวด 3 งวดติดๆ กันและผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชาระ นั้นภายในเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือและผู้เช่าซื้อละเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือ ...