การใช้รูปภาพสัญลักษณ์

การใช้รูปภาพสัญลักษณ์

การแก้ปัญหาเป็นงานหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ต้องใช้ข้อมูลและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องผ่านกระบวนการคิดและลงมือทำจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ การแก้ปัญหาจะต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนจึงจะประสบความสำเร็จ โดยการแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา สามารถทำได้โดยการเขียนบอกเล่า วาดภาพ หรือใช้สัญลักษณ์

1. การจัดลำดับขั้นตอนโดยการเขียนบอกเล่า

เป็นวิธีการวางแผนการแก้ไขปัญหาโดยการเขียนลำดับการทำงานโดยใช้ภาษาหรือข้อความที่เข้าใจง่ายกะทัดรัด สามารถสื่อถึงสิ่งที่ต้องทำได้อย่าง ชัดเจน

ตัวอย่าง : ญาญ่าจัดลำดับขั้นตอนการซักผ้าโดยการเขียนบอกเล่า

1. เติมน้ำใส่กะละมัง           2. ใส่ผงซักฟอก        3. ใส่ผ้าในกะละมัง

4. ขยี้ผ้า                          5. บิดผ้า                   6. ตากผ้า

2. การจัดลำดับขั้นตอนโดยการวาดภาพ

โดยปกติการแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องคิดก่อนลงมือปฏิบัติ นักแก้ปัญหาทั่วไปจะวาดภาพหรือจินตนาการลำดับวิธีการแก้ไขปัญหาในสมองก่อน การแสดงลำดับขั้นตอนการแก้ไขปัญหาหรือการทำงานด้วยการใช้รูปภาพจึงเป็นวิธีการที่คล้ายกันเพียงแต่จะเขียนออกมาเป็นภาพซึ่งสามารถทำให้จดจำได้ง่ายกว่าการเขียนเป็นข้อความ

ตัวอย่าง : ญาญ่าจัดลำดับขั้นตอนการซักผ้าโดยการวาดภาพ

การใช้รูปภาพสัญลักษณ์

3. การจัดลำดับขั้นตอนการใช้สัญลักษณ์

เป็นการใช้สัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมายในแต่ละลำดับขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสัญลักษณ์แต่ละชนิดจะต้องมีความหมายที่แตกต่างกัน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างการเขียนผังงาน (Flow chart) โดยจะมีสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานในการเขียนผังงาน และแต่ละลำดับขั้นตอนจะต้องมีลูกศรกำหนดทิศทางการทำงานในแต่ละขั้นตอน

การใช้รูปภาพสัญลักษณ์

ตัวอย่าง : ญาญ่าจัดลำดับขั้นตอนการซักผ้าโดยการใช้สัญลักษณ์

การใช้รูปภาพสัญลักษณ์

ในการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบต่างๆ โปรแกรมที่ดีต้องเริ่มจากการออกแบบ Flowchart ที่ดี สำหรับเด็กที่เริ่มเรียนเขียนโปรแกรมต้องเรียนการเขียน Flowchart  ก่อน เพื่อฝึกลำดับความคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน หากเป็นเด็กเล็กการใช้แบบฝึกหัดของ Flowchart ก็จะช่วยฝึกลำดับความคิด และใช้ตรรกะในการแก้ปัญหาอย่างง่ายๆ ได้ด้วย ซึ่งการเขียน Flowchart คุณพ่อคุณแม่สามารถนำเรื่องราวในชีวิตประจำวันมาเล่นกับลูก เพื่อสร้างเด็กให้เป็นนักคิดและปูพื้นฐานสู่การเรียนในอนาคตได้ด้วยค่ะ

แค่เริ่มต้นก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมล่ะค่ะ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Flowchart กันก่อนค่ะ

การใช้รูปภาพสัญลักษณ์

ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือ ข้อความ ทำได้ยากกว่าเมื่อใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์

เราลองมาดูว่าเมื่อเด็กๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Flowchart แล้วเด็กจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง

  • เด็กๆสามารถรู้จักการตัดสินใจ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • ในโลกของการทำงานแทบทุกองค์กรใช้ Flowchart ในการทำงาน
  • ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
  • ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไข ดัดแปลง โปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
  • ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น
  • ช่วยวางแผนชีวิตประจำวันและการทำงานได้ง่ายมากขึ้น

รู้จักความหมายและประโยชน์ของ Flowchart กันไปแล้วคราวนี้เราลองมาดูสัญลักษณ์ของ Flowchart กันบ้างค่ะ

การใช้รูปภาพสัญลักษณ์
Photo Credit : http://krusurawut101.net/techno-m3/?page=les01.1

นี่ก็เป็นสัญลักษณ์ของ Flowchart ซึ่งสัญลักษณ์ของ Flowchart ที่เห็นเป็นสัญลักษณ์ที่มืออาชีพนำมาใช้งานจริงๆ  เลยนะคะ จะเห็นว่าแต่ละสัญลักษณ์จะมีชื่อและความหมายที่แตกต่างกันค่ะ แม้จะเห็นมีสัญลักษณ์ที่หลากหลายแต่จริงๆ แล้วการเขียน Flowchart เด็กๆ ไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์ครบทุกสัญลักษณ์ก็ได้นะคะ เพราะความสำคัญจริงๆ อยู่ที่การเรียบเรียงคำสั่งและการสร้างเงื่อนไขในการทำงานนั่นเองค่ะ

เริ่มต้นฝึกเขียน Flowchart จากกิจวัตรประจำวัน

การใช้รูปภาพสัญลักษณ์
Photo Credit : https://www.pexels.com

เริ่มต้นคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะให้เด็กได้ลองฝึกเขียน     Flowchart ในเรื่องราวง่ายๆ อย่างเหตุการณ์ที่เด็กๆ พบในชีวิตประจำวัน  อย่างการตื่นนอนแล้วไปโรงเรียน เบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะให้เด็กๆ ได้ลองคิดก่อนว่า หากจะไปโรงเรียนต้องเริ่มต้นจากอะไรแล้วมีลำดับขั้นตอนอะไรบ้าง เมื่อได้ลำดับขั้นตอนในใจแล้ว  จากนั้นก็ลองเริ่มลงมือเขียน Flowchart อย่างง่ายๆ ซึ่งตรงนี้สิ่งที่สำคัญก็คือการเข้าใจในการเรียบเรียงคำสั่งและการใช้สัญลักษณ์ของ Flowchart นั่นเองค่ะ

การใช้รูปภาพสัญลักษณ์
Flowchart แสดงขั้นตอนการไปโรงเรียน

นี่ก็เป็นตัวอย่างการเขียน Flowchart การไปโรงเรียนที่เป็นการทำงานแบบตามลำดับ แบบนี้ไม่ยากเพียงแต่ต้องเด็กจะต้องจัดลำดับความคิดได้ก็จะสามารถเขียน  Flowchart ออกมาได้ค่ะ 

หรือหากเด็กๆ เกิดอยากกินมาม่าคราวนี้ก็อาจจะให้ลองเขียน Flowchart การทำมาม่าในแบบฉบับของเด็กๆ กันค่ะ

การใช้รูปภาพสัญลักษณ์
Flowchart แสดงขั้นตอนการทำมาม่า

นี่ก็เป็น Flowchart ขั้นตอนการทำมาม่า จะเห็นว่าหลักการง่ายๆ คือเด็กจะต้องคิดแล้วเรียงลำดับก่อนหลังให้ได้ก่อน จากนั้นจึงค่อยลงมือเขียน Flowchart  

การเขียน Flowchart แบบมีทางเลือก

การใช้รูปภาพสัญลักษณ์
Photo Credit : https://www.pexels.com

คราวนี้เรามาลอง Flowchart ในรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น คราวนี้พี่น้ำจะให้ลองเขียน Flowchart การเดินทางไปโรงเรียนโดยรถโดยสารสาธารณะ คราวนี้เด็กๆ ลองวางแผนการเดินทางของตัวเองกันเลยนะคะ

การใช้รูปภาพสัญลักษณ์
นี่ก็เป็นตัวอย่างรูปแบบ Flowchart โครงสร้างแบบมีทางเลือก
การใช้รูปภาพสัญลักษณ์
ส่วนนี่ก็เป็นตัวอย่าง Flowchart แสดงขั้นตอนการเดินทางไปโรงเรียนโดยรถโดยสารสาธารณะ

อย่าง Flowchart  การเดินทางไปโรงเรียนโดยรถโดยสารสาธารณะ ในตัวอย่างนี้จะเห็นว่า Flowchart   ที่เห็นจะเป็น Flowchart โครงสร้างแบบมีทางเลือกที่มีสัญลักษณ์เงื่อนไขเพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งในเงื่อนไขก็จะมีตัวแปรเข้ามากำหนดความเปลี่ยนแปลง และมีทางเลือกที่กำหนดขึ้นนั่นเองค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นขั้นตอนง่ายๆ เพื่อให้เด็กได้ลองเขียน Flowchart ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งพี่น้ำเชื่อว่าสิ่งที่เด็กๆ จะได้หลังการฝึกเขียน Flowchart   ก็คือเด็กจะสามารถคิดได้ แก้ปัญหาเป็น ซึ่งนี่ล่ะค่ะที่จะเป็นทักษะความรู้ ที่จะนำไปใช้ในการเรียนและการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ว่าแล้วก็ลองมาเริ่มต้นฝึกเขียน Flowchart กันเลยค่ะ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถนำโจทย์ง่ายๆ เหล่านี้ไปฝึกเล่นกับลูกได้

ตัวอย่างโจทย์

  • ลำดับขั้นตอนการหุงข้าว
  • ลำดับขั้นตอนการปลูกต้นไม้
  • ลำดับขั้นตอนการทอดไข่เจียว
  • ลำดับขั้นตอนการซักผ้า
  • ลำดับขั้นตอนการไปซื้อขนมที่เซเว่น
  • ลำดับขั้นตอนการอ่านหนังสือ
  • ลำดับขั้นตอนการเตรียมตัวไปเที่ยวต่างจังหวัด

ลองดูแล้วเป็นยังไงบ้างคะ มาถึงตรงนี้แล้วพี่น้ำเริ่มอยากจะเห็น Flowchart ของน้องๆ กันแล้ว Flowchart ของน้องๆ เป็นอย่างไรบ้าง ลองมาแชร์กันค่ะ

Comments

comments