ประเภท ของแผนที่ ประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

– แผนที่ลายเส้น (Line maps) รายละเอียดที่ปรากฏบนแผนที่ลายเส้นอาจเป็น เส้นตรง เส้นโค้งหรือท่อนเส้นใดๆ ก็ได้

– แผนที่รูปถ่าย (Photomap) เป็นแผนที่ที่ทำจากรูปถ่ายทางอากาศของสภาพภูมิประเทศทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อนำมาใช้แทนแผนที่ หรือเพิ่มเติมแผนที่ให้สมบูรณ์ในแผนที่รูปถ่าย มีข้อมูลเกี่ยวกับเส้นกริด รายละเอียดข้อมูลชายขอบระวางแผนที่ เส้นชั้นความสูง ชื่อภูมิศาสตร์ แนวแบ่งเขต และข้อมูลอื่นๆ ที่อาจพิมพ์เพิ่มเติมได้นอกจากนี้ลักษณะของภูมิประเทศ ทางราบ อาจพิมพ์สีต่างๆ ทับลงไปอีกก็ได้

– แผนที่ผสม (Annotated maps) รายละเอียดที่ปรากฏจะผสมระหว่างรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพภูมิประเทศกับรายละเอียดที่วาดหรือเขียนขึ้น

•  แผนที่ตามขนาดมาตราส่วน

– แบ่งในทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็ก มีขนาดมาตราส่วนเล็กกว่า 1:1,000,000 แผนที่มาตราส่วนปานกลาง มีขนาดมาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000 และแผนที่มาตราส่วนใหญ่ มีขนาดมาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000

– แบ่งในกิจการทหาร ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็ก มีขนาดมาตราส่วนตั้งแต่ 1:600,000 และเล็กกว่าแผนที่มาตราส่วนปานกลาง มีขนาดมาตราส่วนใหญ่กว่า 1:600,000 แต่เล็กกว่า 1:75,000 และแผนที่มาตราส่วนใหญ่มีขนาดมาตราส่วนตั้งแต่ 1:75,000 และใหญ่กว่า

• แผนที่ตามลักษณะการใช้งานและชนิดของรายละเอียดที่แสดงไว้ในแผ่นแผนที่ แผนที่ทั่วไปเป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

– แผนที่แบบราบ (Planimetric map) ได้แก่ แผนที่ซึ่งแสดงรายละเอียดทั่วไปของพื้นผิวพิภพในทางราบมีประโยชน์ในการแสดงตำแหน่งและการหาระยะทางในทางราบ

– แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) ได้แก่ แผนที่ซึ่งแสดงรายละเอียดทั่วไปของพื้นผิวพิภพในทางราบและทางดิ่ง (ความสูงต่ำของภูมิประเทศ)นอกจากแผนที่ 3 ประเภทข้างต้นแล้วในบางกรณีอาจพบว่ามีการจำแนกแผนที่ออกเป็นแผนที่พิเศษ(Special map) และแผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic map) ซึ่งส่วนมากสร้างขึ้นโดยใช้แผนที่ทั่วไปเป็นพื้นฐาน แล้วนำข้อมูลที่ต้องการแสดงวางทับ ตัวอย่างเช่น

– แผนที่โฉนดที่ดิน (Cadastral map) ใช้แสดงขอบเขตการถือครองที่ดินของผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ละแปลง เป็นแผนที่มาตราส่วนใหญ่มีการจัดสร้างโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และใช้รูปถ่ายทางอากาศ

– แผนที่เศรษฐกิจ (Economic map) ใช้แสดงลักษณะการกระจายหรือความหนาแน่นของประชากรหรือผลผลิตต่างๆ เส้นทางการค้า การขนส่ง เขตกสิกรรม เขตอุตสาหกรรม แหล่งทรัพยากรต่างๆ เช่น แหล่งแร่ธาตุ และป่าไม้ เป็นต้น

– แผนที่สถิติ (Statistical map) ใช้ในการแสดงรายการทางสถิติ เป็นแผนที่มาตราส่วนเล็กครอบคลุมพื้นที่มาก แบ่งย่อยได้ 3 ชนิด ได้แก่ แผนที่จุด (Dot map) แสดงข้อมูลด้วยจุด แผนที่เส้นค่าเท่า (Isopleth map) เช่นแผนที่ความกดอากาศเท่า อุณหภูมิเท่า เป็นต้น แผนที่โคโรเพลท (Choropleth map) ใช้แสดงความแตกต่างของข้อมูลด้วยสี หรือความอ่อนเข้มของสี ในชุดข้อมูลลักษณะเดียวกัน

 

2) หลักการใช้แผนที่  แผนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ทางด้านการปฏิบัติงาน การศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยาและอื่นๆ ทำให้มนุษย์สามารถประกอบภารกิจได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นงานสำรวจชั้นข้อมูลฐาน ขั้นปฏิบัติงานจริง ด้านการเรียนการสอน รัฐสามารถใช้สภาพภูมิรัฐศาสตร์ในการบริหารประเทศที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองการทหาร พัฒนาการทางสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ทราบได้ว่าการทำความเข้าใจแผนที่นั้นมีอยู่ที่ผู้ใช้ทุกระดับ ผู้ใช้แผนที่จึงจำเป็นที่ต้องเข้าใจในส่วนประกอบ ความหมายของสัญลักษณ์ และข้อมูลที่ผู้จัดทำต้องการสื่อสารให้ผู้ใช้ทราบ หลักการใช้แผนที่ก็คือการทำความเข้าใจในส่วนประกอบต่างๆ และเนื้อหาของแผนที่ที่มีอยู่ทั้งในและนอกขอบระวาง ซึ่งผู้ใช้ควรทำความเข้าใจข้อมูลและความหมายของสัญลักษณ์ให้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายของการใช้แผนที่ตามเป้าประสงค์ของผู้จัดทำแผนที่แต่ละประเภท

 

3) คำจำกัดความ (Definition)  แผนที่ คือ การจำลองสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกมาย่อส่วนให้เล็กลงตามมาตราส่วนที่ต้องการบนแผ่นวัสดุที่เลือกสรรแล้ว สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกประกอบด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ รวมทั้งสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งแสดงให้ปรากฏด้วยสัญลักษณ์ เส้น สี และรูปทรงสัณฐานต่างๆ

 

4) องค์ประกอบของแผนที่ (Map components)  รูปแบบโดยทั่วไปของแผนที่จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม วัสดุที่เลือกนำมาใช้พิมพ์มีหลายชนิดจะต้องมีความคงทน ส่วนใหญ่พิมพ์ลงบนกระดาษ จากขอบริมแผ่นแผนที่ทั้งสี่ด้านประกอบด้วย เส้นกั้นของระวางแผนที่ ซึ่งใช้เส้นแสดงค่าพิกัดกริด หรือเส้นโค้งแสดงค่าพิกัดภูมิศาสตร์ละติจูด และลองจิจูด จากกรณีดังกล่าวทำให้แผนที่ถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ภายในขอบระวางแผนที่ และพื้นที่ภายนอกขอบระวางแผนที่ องค์ประกอบภายนอกขอบระวางแผนที่ เรียกว่า ขอบระวางแผนที่ และองค์ประกอบภายในขอบระวางแผนที่ ได้แก่ สัญลักษณ์ สี ชื่อภูมิศาสตร์ และระบบอ้างอิงการกำหนดตำแหน่ง เป็นต้น

 

5) ระบบอ้างอิงการกำหนดตำแหน่ง (Position reference system)  ระบบอ้างอิงการกำหนดตำแหน่ง เป็นระบบพิกัดตามที่กล่าวมาแล้วในเรื่องระบบพิกัดในแผนที่

 

6) ข้อมูลขอบระวาง (Border data)  ข้อมูลขอบระวาง หมายถึง พื้นที่ตั้งแต่เส้นขอบระวางแผนที่ไปถึงริมแผ่นแผนที่ทั้งสี่ด้าน ปรากฏอยู่บนที่ว่างภายนอกขอบระวาง ผู้ผลิตแผนที่จะแสดงรายละเอียดต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงชนิดของแผนที่สามารถใช้แผนที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับงาน โดยใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1: 50,000 จากกรมแผนที่ทหารเป็นตัวอย่าง ข้อมูลขอบระวางมีดังนี้

• ชื่อชุดแผนที่ (Series name)  เป็นการบอกชื่อชุดของแผนที่เพื่อจำกัดลงไปว่าแผนที่ชุดนั้นๆ ครอบคลุมบริเวณใด เพราะการทำแผนที่นั้นกว้างขวางมากอาจเป็นแผนที่โลก แผนที่ทวีป แผนที่ประเทศ หรือหลายประเทศ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องบอกชื่อชุดของแผนที่ โดยมีมาตราส่วนประกอบด้วย เช่น “ประเทศไทย 1:50,000” ชื่อชุดนี้พิมพ์ไว้ที่มุมซ้ายส่วนบนของแผนที่

• ชื่อระวางแผนที่ (Sheet name)  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของแผนที่แต่ละระวาง เพื่อเป็นการระบุลงไปอีกทีหนึ่งว่าแผนที่ชุดนี้คลุมบริเวณใดเช่น จังหวัดเชียงใหม่ หรือจังหวัดยะลา หรือถ้าคลุมพื้นที่อำเภอก็ใช้ชื่ออำเภอ คลุมพื้นที่หมู่บ้านก็ใช้ชื่อหมู่บ้านแล้วแต่ลักษณะเด่นของบริเวณที่แผนที่ระวางนั้นครอบคลุม ชื่อระวางแผนที่นี้พิมพ์ไว้ที่กึ่งกลางขอบบนของแผนที่ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ที่สุด ทั้งอักษรภาษาไทยและอักษรภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น “CHANGWAT CHIANG MAI จังหวัดเชียงใหม่” หรือ “CHANGWAT YALA จังหวัดยะลา” ชื่อระวางแผนที่นี้จะไม่ซ้ำกัน ซึ่งแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน1:50,000 ทั่วประเทศมีทั้งหมดจำนวน 830 ระวางและมีชื่อระวางแผนที่จำนวน 830 ชื่อ

• การจัดพิมพ์ (Edition note)  การจัดพิมพ์ทำให้ทราบว่าพิมพ์ครั้งที่เท่าใด โดยหน่วยพิมพ์ใด ตัวอย่างเช่น “พิมพ์ครั้งที่ 1 กรมแผนที่ทหาร Edition 1-RTSD” โดยพิมพ์ไว้ที่ขอบขวาบนและซ้ายล่างของแผนที่ซึ่งหมายความว่า พิมพ์ครั้งที่ 1 โดยกรมแผนที่ทหาร (Royal Thai Survey Department)

• หมายเลขระวาง (Sheet number)  เป็นหมายเลขที่กำหนดขึ้น โดยมีการกำหนดแน่นอนตามระบบของอเมริกัน เพื่อให้ทราบว่าแผนที่ระวางนั้นๆ เป็นของส่วนใดในภูมิประเทศจริงตามที่แสดงไว้ในแผนที่ดัชนี (Index chart) เพราะแต่ละระวางมีหมายเลขระวางไม่ซ้ำกัน ประกอบด้วยตัวเลขอารบิค 4 ตัว และเลขโรมัน (I II III หรือ IV) ตัวใดตัวหนึ่ง เช่น แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ได้ 4 ระวาง แสดงดังภาพ

ประเภท ของแผนที่ ประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

 

• หมายเลขประจำชุด (Series number)  บอกให้ทราบว่าแผนที่อยู่ในชุดใด เช่น ประเทศไทย มาตราส่วน 1:50,000 มีหมายเลขประจำชุดต่างกัน เช่น L708 ซึ่งเป็นระวางแผนที่ขนาดระวาง 10 ลิปดา x 15 ลิปดา หมายเลขชุด L7017 และ L7018 เป็นแผนที่ขนาดระวาง 15 ลิปดา x 15 ลิปดา หมายเลขประจำชุดนี้ เป็นการกำหนดหมายเลขชุดตามมาตรฐานสากลของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือตามข้อตกลงขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติคเหนือหรือ NATO (North Atlantic Treaty Organization) เช่น L708 และ L7017 มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

– ตัวอักษร L หมายถึง ภูมิภาคหนึ่งของทวีปเอเชีย ซึ่งตรงกับของประเทศไทย

– เลข 7 หมายถึง กลุ่มของมาตราส่วนที่กำหนดไว้แน่นอน คือ ใช้กับแผนที่มาตราส่วนระหว่างมาตราส่วน 1:70,000 ถึง 1:35,000

– เลข 0 หมายถึง ตัวเลขแสดงส่วนย่อยของภูมิภาค เช่น ภูมิภาค 0 มีตัวเลขแสดงส่วนย่อยของไทยกำหนดขอบเขตไว้แน่นอนเป็นเลข 0

– เลข 8 หรือเลข 17 หรือเลข 18 เป็นตัวเลขที่แสดงว่าแผนที่ชุดนั้นจัดทำเป็นครั้งที่เท่าใดในภูมิภาคเช่น ครั้งที่ 8 ครั้งที่ 17 หรือครั้งที่ 18

ฉะนั้นแผนที่ประเทศไทยจึงมีหมายเลขประจำชุดเป็น L708 หรือ L7017 ซึ่งเห็นได้ว่าองค์ประกอบที่ 1 2 และ 3 เหมือนกันเพราะมาตราส่วนเดียวกัน และภูมิภาคเดียวกัน ส่วนองค์ประกอบที่ 4 เปลี่ยนไปตามจำนวนครั้งที่จัดทำแผนที่ และหมายเลขประจำชุดนี้จะปรากฏอยู่มุมขวาบนของแผนที่

• สารบัญระวางติดต่อ (Index to adjoining sheet)  เป็นสารบัญที่แสดงให้ทราบว่าแผนที่ระวางใดเรียงรายอยู่โดยรอบแผนที่ระวางนั้น เพื่อให้สะดวกในการหาแผนที่ระวางถัดไปหรือข้างเคียงตัวอย่างเช่น แผนที่ระวาง 4746 I มีระวางต่างๆ อยู่โดยรอบ สารบัญระวางติดต่อนี้แสดงไว้ที่มุมล่างขวาของแผนที่ ดังภาพ

ประเภท ของแผนที่ ประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

• สารบัญแสดงเขตการปกครอง (Index to boundaries)  แสดงไว้ตรงมุมล่างด้านขวาเป็นกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆ แทนแผนที่ระวางนั้น ภายในมีเส้นแสดงอาณาเขตการปกครอง เพื่อให้ง่ายต่อการที่ดูว่าแผนที่ระวางนั้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอหรือจังหวัดใด โดยมีข้อความอธิบายไว้ใต้รูปสี่เหลี่ยมดังภาพ

ประเภท ของแผนที่ ประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

 

• พื้นหลักฐานและระดับพื้นหลักฐาน (Datum and Datum level)  บอกให้ทราบว่าระดับความสูงของตำบล ณ จุดต่างๆ เช่น ระดับพื้นหลักฐานทางดิ่งยึดถือระดับน้ำทะเลปานกลางที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนพื้นหลักฐานทางราบยึดถือตามหลักฐานของประเทศอินเดีย (Indian datum 1975) สำหรับแผนที่ชุด L7017 ส่วนแผนที่ชุด L7018 ใช้อ้างอิงตามหลักฐาน WGS1984 (World eodetic System) ของประเทศสหรัฐอเมริกา

• แผนภาพเดคลิเนชัน (Declination diagram)  แสดงแนวทิศเหนือหลัก 3 ทิศ คือ ทิศเหนือจริง ทิศเหนือกริด และทิศเหนือแม่เหล็ก

– ทิศเหนือจริง (True north) แนวทิศชี้ตรงไปที่ขั้วโลกเหนือ

– ทิศเหนือกริด (Grid north) แนวทิศชี้ขนานกับแนวเส้นกริดตั้ง

– ทิศเหนือแม่เหล็ก (Magnetic north) ชี้ไปยังขั้วเหนือสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งจะบ่ายเบนไปแต่ละปีไม่ซ้ำกัน ฉะนั้นในแผนภาพเดคลิเนชัน บอกค่าความบ่ายเบนของทิศเหนือแม่เหล็กประจำปีเอาไว้ ดังภาพ

ประเภท ของแผนที่ ประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

ทิศเหนือทั้ง 3 นี้ถ้าอยู่ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตร จะไม่บ่ายเบนมากและอาจทับกันได้ถ้ายิ่งใกล้ขั้วโลกแนวทิศเหนือทั้ง 3 ชนิดนี้ จะบ่ายเบนมากขึ้น แผนผังเดคลิเนชันนี้แสดงไว้ที่ขอบล่างของแผนที่

 

• มาตราส่วน (Scale)  มาตราส่วนแผนที่ เป็นการแสดงอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางที่วัดได้บนแผนที่ 1 หน่วยกับระยะทางที่วัดได้จริงบนภูมิประเทศ วิธีการแสดงมาตราส่วนแผนที่ทำได้ 3 วิธี คือ มาตราส่วนเส้นบรรทัดเรียกอีกชื่อว่ามาตราส่วนรูปภาพ มาตราส่วนเศษส่วน เช่น 1:50,000 มาตราส่วนคำพูด เช่น 1 เซนติเมตรในแผนที่ เท่ากับ ½ กิโลเมตรในระยะทางบนพื้นที่จริง มาตราส่วนเส้น (Graphic scale) หรือมาตราส่วนรูปแท่ง (Bar scale) มีลักษณะเป็นเส้นตรงกำกับด้วยค่าเท่ากับตามระยะบนพื้นผิวโลก เช่น ถ้ามาตราส่วนสัดส่วน 1: 50,000 มีความหมายตรงกับมาตราส่วนเส้นหรือมาตราส่วนรูปแท่ง ดังนี้ 1 ช่อง กว้าง 2 เซนติเมตร และมาตราส่วนสัดส่วน (Representative fraction) การบอกสัดส่วนเป็นตัวเลข เช่น 1: 50,000 หมายถึง ระยะ 1 ส่วนบนแผนที่ เท่ากับ 50,000 ส่วนบนพื้นผิวโลก

มาตราส่วนแสดงไว้ทั้งมาตราส่วนเศษส่วนและมาตราส่วนเส้นบรรทัดเพื่อประโยชน์ในการวัดระยะทางและพื้นที่ในแผนที่ มาตราส่วนบรรทัดจะแสดงไว้ทั้งระบบอังกฤษและระบบเมตริก ซึ่งจะจัดทำไว้ในหน่วยเมตร หลา ไมล์ และไมล์ทะเล ดังภาพ

ประเภท ของแผนที่ ประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

 

• ระดับสูง (Elevation)  ตามปกติแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 แสดงช่วงห่างของความสูงของเส้นชั้น 20 เมตร และมีเส้นชั้นแทรกชั้นละ 10 เมตร หลักฐานทางดิ่งคือระดับทะเลปานกลางเป็นหลัก

• เส้นโครงแผนที่ (Projection)  บอกให้ทราบว่าแผนที่ชุดนี้ใช้เส้นโครงแผนที่ชนิดใด เช่น แผนที่ชุดนี้ใช้เส้นโครงแผนที่ชนิดทรานสเวอร์ส เมอร์เคเตอร์ ซึ่งอยู่ในบริเวณละติจูด 84 องศาเหนือ ถึงละติจูด 80 องศาใต้

• คำแนะนำระดับสูง (Elevation Guide)  บอกให้ทราบว่าแผนที่ระวางนั้นมีลักษณะความสูง หรือต่ำอย่างไร และแสดงไว้ในรูปสี่เหลี่ยมทางมุมขวาล่างของแผนที่ ซึ่งมีชั้นแรเงาให้เห็นความแตกต่างเกี่ยวกับระดับสูงอย่างง่ายๆ

• ละติจูดและลองจิจูด (Latitude and Longitude)  เพื่อให้ทราบว่าแผนที่ระวางนั้นอยู่ระหว่างละติจูดและลองจิจูดใดมีตัวเลขบอกค่าละติจูดและลองจิจูดไว้ที่มุมแผนที่ทั้งสี่มุมในหน่วยองศา ลิปดา ตัวอย่างเช่น แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำดับชุด L7017 หมายเลขระวาง 4746 I พิกัดละติจูดและลองจิจูด ซึ่งอ่านได้ว่าอยู่ระหว่างละติจูด 19 องศา 15 ลิปดา ถึง 19 องศา 30 ลิปดา และลองจิจูด 98 องศา 45 ลิปดา ถึง 99 องศา 00 ลิปดา

• กริด (Grid)  ในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 มีเส้นกริดลากตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ เส้นกริดแต่ละเส้นมีระยะห่างเท่าๆ กัน เช่น ห่างกันทุก 1,000 เมตร และมีตัวเลขกำกับเส้นกริดไว้บริเวณขอบของแผนที่ เส้นกริดเหล่านี้มีประโยชน์ในการบอกที่ตั้งของจุดใดจุดหนึ่งในแผนที่อย่างละเอียด

• คำแนะนำผู้ใช้แผนที่ (User’s guide)  บอกไว้ที่มุมขวาตอนล่างสุดของแผนที่ว่า หากผู้ใช้แผนที่พบข้อมูลบกพร่องหรือความคลาดเคลื่อนใดๆ ในแผนที่ขอให้บันทึกแล้วส่งไปยัง กรมแผนที่ทหาร กรุงเทพฯ 10200 แล้วแผนที่นี้จะส่งกลับคืนมาให้ท่านใหม่

• คำแนะนำการกำหนดตำแหน่งโดยใช้ค่ากริด (Grid reference box)  ทำให้ทราบพิกัดของตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยละเอียด ตัวอย่างวิธีอ่านพิกัดให้ละเอียดถึง 100 เมตร ได้อธิบายไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมตอนล่าง โดยอ่านตัวเลขใหญ่ประจำเส้นกริดดิ่งทางซ้ายของจุด และประมาณระยะ (100 เมตร) จากเส้นกริดถึงจุดเป็นส่วนสิบตัวอย่างคือ 988 หมายความว่าเส้นกริดตั้งซ้ายสุด คือ 98 นับไปทางขวาถึงเส้นกริดตั้ง 99 แบ่งออกเป็นช่องเล็กๆ ให้ได้ 10 ช่องเท่าๆ กัน นับไปถึงจุดตำแหน่งที่ต้องการอ่านตรงกับช่องที่ 8 พอดี ก็อ่านค่าได้ 8 และ 773 หมายความว่าเส้นกริดนอนใต้จุดคือ 77 นับขึ้นไปถึงเส้นกริดนอน 78 แบ่งออกเป็นช่องเล็กๆ ได้ 10 ช่องเท่าๆ กัน นับไปถึงจุดตำแหน่งที่ต้องการอ่านตรงกับช่องที่ 3 พอดีก็อ่านค่าได้ 3 เพราะฉะนั้นถ้าจะอ่านพิกัดจากจัตุรัส 1,000 เมตร ดังรูปข้างล่างนี้ให้ละเอียดถึง 100เมตรจะได้ค่า ดังนี้ 988 773

ประเภท ของแผนที่ ประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

 

 

1. การสร้างสัญลักษณ์แผนที่  สัญลักษณ์ (Symbol) ได้แก่เครื่องหมายหรือสิ่งที่คิดขึ้นใช้แทนรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนพื้นภูมิประเทศ หรือใช้แทนข้อมูลอื่นใดที่ประสงค์จะแสดงไว้บนแผ่นแผนที่นั้น ในการสร้างสัญลักษณ์แผนที่มีกฎเกณฑ์ว่า สัญลักษณ์ที่ใช้ต้องเป็นแบบเรียบๆ ชัดเจน ขนาดเหมาะสมกับมาตราส่วนของแผนที่ เขียนได้ง่าย คนทั่วไปมองดูแล้วเข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยคำอธิบายสัญลักษณ์ การสร้างสัญลักษณ์ในแผนที่ทดแทนสิ่งต่างๆ 3 ลักษณะด้วยกันคือ

• ลักษณะทางกายภาพ (Physical features)  คือ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะรายละเอียดที่ขึ้นตามธรรมชาติโดยมิได้เกิดจากมนุษย์ ได้แก่

– ประเภทใช้แทนแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำลำคลอง หนองบึง บ่อสระ และที่ลุ่มต่างๆ

– ประเภทที่ใช้แสดงลักษณะความสูงต่ำของผิวพื้นภูมิประเทศ เช่น เนินเขา ภูเขา และที่ต่ำ

– ประเภทที่ใช้แทนพืชพันธุ์ไม้ต่างๆ เช่น ลักษณะป่าชนิดต่างๆ

– ประเภทที่ใช้แทนชายฝั่ง เช่น หน้าผา อ่าว หาดทราย เกาะ และปากน้ำ

• ลักษณะทางวัฒนธรรม (Cultural features)  คือ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนรายละเอียดที่ปรากฏในภูมิประเทศที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้นมา ได้แก่

– การใช้ที่ดิน เช่น พื้นที่การเกษตร เหมืองแร่ และพื้นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม

– การคมนาคม เช่น ทางรถยนต์ ทางรถไฟ ทางคนเดิน ทางเกวียน และเส้นทางการบิน

– ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน บ้าน หมู่บ้าน ตัวเมือง ตลอดจนสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น โรงเรียน และวัด

• ลักษณะข้อมูลพิเศษ (Special features)

- เป็นสัญลักษณ์ที่คิดขึ้นเพื่อใช้แสดงแทนข้อมูลที่ผู้ผลิตต้องการแสดงเป็นพิเศษ สัญลักษณ์ประเภทนี้

- ใช้กับแผนที่เฉพาะเรื่อง หรือแผนที่ข้อมูลพิเศษ เช่น แผนที่ดิน แผนที่ป่าไม้ และแผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น

• มาตราส่วนแผนที่ (Map scale)

– ความหมายของมาตราส่วน  ในงานทางด้านแผนที่ คำว่า มาตราส่วน เป็นชื่อที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปของคำว่ามาตราส่วนแผนที่ซึ่งหมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางระหว่างจุด 2 จุดใดๆ ในแผนที่กับระยะทางระหว่างจุด 2 จุดนั้นในภูมิประเทศจริงโดยถือว่าระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย

ประเภท ของแผนที่ ประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

ตัวอย่าง ในกรณีของแผนที่ภูมิประเทศระบุขนาดมาตราส่วนแผนที่เป็น 1:50,000 หน่วยบนพื้นภูมิประเทศจริง ถ้าหากการวัดระยะในแผนที่มีหน่วยการวัดเป็นเซนติเมตร ระยะทางซึ่งยาว 1 เซนติเมตรในแผนที่จะแทนขนาดความยาว 50,000 เซนติเมตร (หรือ 500 เมตร) ในพื้นที่ภูมิประเทศจริง

 

– ประเภทและชนิดของมาตราส่วนแผนที่ มาตราส่วนแผนที่ที่ใช้ในงานแผนที่โดยทั่วไปมี 2 ประเภท

• มาตราส่วนตามแนวดิ่ง (Vertical scale)

ประเภท ของแผนที่ ประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

ตัวอย่าง การใช้มาตราส่วนตามแนวดิ่ง ในงานการเขียนภาพหน้าตัดขวาง (Cross section) หรือภาพตัดด้านข้าง (Profile) ของภูมิประเทศ

 

• มาตราส่วนตามแนวราบ (Horizontal scale)

ประเภท ของแผนที่ ประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

ตัวอย่าง การกำหนดมาตราส่วนตามแนวราบ ในแผนที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งของสิ่งต่างๆ ตามแนวราบ หรือในแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ

 

• การคำนวณหามาตราส่วน (Scale calculation)  โดยปกติมาตราส่วนแผนที่มีกำหนดไว้บนแผนที่เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้งาน แต่ในบางครั้งแผนที่ที่ใช้งาน หากไม่มีขนาดของมาตราส่วนกำหนดไว้ ผู้ใช้แผนที่จำเป็นต้องคำนวณหามาตราส่วน ซึ่งต้องอาศัยวิธีการคำนวณอย่างง่ายๆ ดังนี้

– วิธีการหามาตราส่วนแผนที่ด้วยการเปรียบเทียบระยะในแผนที่และระยะในภูมิประเทศ

การคำนวณหามาตราส่วนแผนที่ด้วยวิธีนี้ เริ่มจากการที่ต้องทราบว่าแผนที่ที่ต้องการหามาตราส่วนนั้นครอบคลุมพื้นที่บนภูมิประเทศบริเวณใดบ้าง จากนั้นสังเกตหาจุดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ทั้งในแผนที่และในภูมิประเทศจริง ทำการวัดระยะระหว่างจุดดังกล่าวแล้วนำค่ามาเปรียบเทียบกันโดยใช้สมการดังต่อไปนี้

ประเภท ของแผนที่ ประกอบ ไป ด้วย อะไร บ้าง

 

 

ข้อควรระวัง การเปรียบเทียบระยะทางในแผนที่และระยะทางในภูมิประเทศจริงนั้น ต้องใช้ระยะทางที่วัดได้ในหน่วยมาตราเดียวกัน

ตัวอย่าง สมมติว่าวัดระยะทางในแผนที่ของจุด 2 จุดได้เท่ากับ 10 เซนติเมตร และวัดระยะระหว่างจุด2 จุดนั้น ในภูมิประเทศได้เท่ากับ 1,000 เมตร

คำนวณค่ามาตราส่วนแผนที่ (ชนิดมาตราส่วนแบบเศษส่วน)

มาตราส่วนแผนที่          = 10 (เซนติเมตร) / 1,000 (เมตร)

= 10 (เซนติเมตร) / 1,000 x 100 (เซนติเมตร)

= 1:10,000

หรือ ค่ามาตราส่วนแผนที่ชนิดคำพูด หาได้จาก

ระยะทางในแผนที่ 10 เซนติเมตรมีค่าเท่ากับระยะทางในภูมิประเทศจริง         = 1,000 เมตร

ระยะทางในแผนที่ 1 เซนติเมตร มีค่าเท่ากับระยะทางในภูมิประเทศจริง          = 1000/ 10

= 100 เมตร

หรือเขียนได้เป็น 1 เซนติเมตร ต่อ 100 เมตร

– วิธีการหามาตราส่วนแผนที่ด้วยการเปรียบเทียบจากแผนที่ที่ทราบมาตราส่วนอยู่ก่อนแล้ว

วิธีการนี้หมายความว่า แผนที่ที่ต้องการนำไปใช้ปฏิบัติงาน ไม่มีมาตราส่วนกำหนดไว้ การคำนวณหามาตราส่วนแผนที่กระทำได้โดยการเปรียบเทียบจากมาตราส่วนของแผนที่แผ่นที่ทั้งสองซึ่งครอบคลุมเนื้อที่บริเวณเดียวกันและทราบมาตราส่วน

วิธีทำ

1) เลือกจุด 2 จุดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ในแผนที่ทั้งสอง

2) วัดระยะห่างระหว่างจุด 2 จุดนั้นในแผนที่ทั้งสอง

3) นำระยะทางที่วัดได้ในแผนที่ ฉบับที่ทราบมาตราส่วนไปคำนวณหาระยะทางในภูมิประเทศ

4) นำระยะทางที่วัดได้ในแผนที่ฉบับที่ไม่ทราบมาตราส่วน ไปเปรียบเทียบกับระยะทางในภูมิประเทศที่คำนวณได้จากข้อ 3 เพื่อทราบมาตราส่วนตามที่ต้องการ

แผนที่ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบแผนที่.
1. ชื่อประเภทของแผนที่ ... .
2. ทิศทาง ... .
3. ขอบระวาง ... .
4. สัญลักษณ์ ... .
5. มาตราส่วน ... .
6. เส้นโครงบนแผนที่ ... .
7. พิกัดภูมิศาสตร์.

แผนที่เฉพาะเรื่องที่สําคัญ มีอะไรบ้าง

แผนที่เฉพาะเรื่อง (thematic map) เป็นแผนที่ที่แสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง แผนที่รัฐกิจ (political map) แผนที่ภูมิอากาศ (climatic map) แผนที่ธรณีวิทยา (geologic map) แผนที่การถือครองที่ดิน (cadastral map) แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ (natural vegetation map) แผนที่ท่องเที่ยว (tourist map) แผนที่รัฐกิจ (political map)

แผนที่ทั่วไปแสดงอะไร

แผนที่ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด 1. แผนที่ทั่วไป เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะโดยทั่วไป ได้แก่ แผนที่แสดงลักษณะภูมิภาคต่าง ๆ โดยจะแสดงด้วยสี เพื่อให้เห็นความแตกต่างของลักษณะแผ่นดิน

แผนที่แบ่งเป็นกี่ชนิด มีอะไรบ้าง ป.4

สามารถแบ่งแผนที่ตามลักษณะการใช้งานออกเป็น ๒ ชนิด คือ แผนที่ อ้างอิง และแผนที่เฉพาะเรื่อง 4 5 Page 6 แผนที่เฉพาะเรื่องเป็นแผนที่แสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้ดูหรืออ่านท าความเข้าใจได้ง่าย เช่น