เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท ให้ ภาพ และเสียง

Successfully reported this slideshow.

Your SlideShare is downloading. ×

เครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท ให้ ภาพ และเสียง

เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท ให้ ภาพ และเสียง

เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท ให้ ภาพ และเสียง

  1. 1. เครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน
  2. 2. เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นเครื่องที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ เช่น เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน พลังงานแสงสว่าง พลังงานเสียง พลังงานกล และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่นๆได้หลายรูปในเวลาเดียวกัน
  3. 3. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน                 เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน โดยใช้หลักการคือ เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดตัวนำที่มีความต้านทานสูงๆ ลวดตัวนำนั้นจะร้อนจนสามารถนำความร้อนออกไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น เตารีด หม้อหุงข้าว อุปกรณ์สำคัญคือ 1 . ขดลวดความร้อน หรือแผ่นความร้อน มักทำจากโลหะผสมระหว่างนิเกิลกับโครเมียม เรียกว่า นิโครม 2 . เทอร์โมสตาร์ท หรือสวิตซ์ความร้อนอัตโนมัติ ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้ร้อนเกินไป 3 . แผ่นไมกา หรือ แผ่นใยหิน ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า
  4. 4. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานแสงสว่าง   เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าไปเป็นพลังงานความร้อนที่ไส้หลอด แล้วจึงเปลี่ยนพลังงานความร้อนไปเป็นพลังงานแสง เช่น หลอดไฟชนิดต่างๆ หลักการทำงานของหลอดเรืองแสง             เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไอปรอทจะคายพลังงานไฟฟ้าให้อะตอมไอปรอท ทำให้อะตอมของไอปรอทอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้นและอะตอมของปรอทจะคายพลังงานออกมาเพื่อลดระดับพลังงาน  ในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งอยู่ในช่วงของแสงที่มองไม่เห็น เมื่อรังสีนี้กระทบสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวหลอด สารเรืองแสงจะเปล่งแสงสีต่างๆตามชนิดของสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ในหลอดนั้น
  5. 5.   เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานเสียง   เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง เช่น เครื่องรับวิทยุ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง     เครื่องรับวิทยุ    เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง โดยรับคลื่นวิทยุ จากสถานีส่งแล้วใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขยายสัญญาณเสียงที่มีอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าให้แรงขึ้นเมื่อผ่านสัญญาณไฟฟ้านี้ไปยังลำโพงจะทำให้ลำโพงสั่นสะเทือนเปลี่ยนเป็นเสียงที่สามารถรับฟังได้
  6. 6.   เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานกล มีการเปลี่ยนรูปพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดยอาศัยหลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น    พัดลม  เครื่องดูดฝุ่น  เครื่องซักผ้า      ตู้เย็น    เป็นต้น อุปกรณ์สำคัญคือ 1 . มอเตอร์ 2 . เครื่องควบคุมความเร็ว
  7. 7. สมาชิกในกลุ่ม <ul><li>1 . ด . ช . พงศ์พนัส เพิ่มการ เลขที่ 8 </li></ul><ul><li>2 . ด . ช . วิชก์ สมเครือ เลขที่ 11 </li></ul><ul><li>3 . ด . ญ . เบญจมาศ อ้อยผาดวง เลขที่ 22 </li></ul><ul><li>4 . ด . ญ . ประภาสิริ เนียมหอม เลขที่ 23 </li></ul><ul><li>5 . ด . ญ . ศศิวิมล บัวเทศ เลขที่ 30 </li></ul><ul><li>6 . ด . ญ . สุดารัตน์ เชี่ยวเวช เลขที่ 34 </li></ul>ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1

Successfully reported this slideshow.

เครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท ให้ ภาพ และเสียง

  1. 1. เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่ เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปอื่น เพื่อนาไปใช้ใน ชีวิตประจาวัน ได้แก่ - อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานแสง - อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน - อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล - อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง
  2. 2. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง  อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสง ได้แก่ หลอดไฟฟ้า หลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไฟโฆษณา โธมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์ หลอดไฟฟ้า ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2422 โดยใช้คาร์บอนเส้นเล็กๆ เป็นไส้หลอดและต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้น จนเป็นหลอดไฟฟ้าที่ใช้ใน ปัจจุบัน
  3. 3. หลอดไฟฟ้า  หลอดไฟฟ้า มีส่วนประกอบดังนี้
  4. 4. • ไส้หลอด ครั้งแรก เอดิสันใช้คาร์บอนเส้นเล็ก ๆ เป็นไส้หลอด ซึ่งมีปัญหาคือ ไส้ หลอดขาดง่ายเมื่อได้รับความร้อน ปัจจุบันไส้หลอดทาด้วยทังสเตน ซึ่งเป็นโลหะที่ หาง่าย ราคาไม่แพง มี ความต้านทานสูง มีจุดหลอดเหลวสูงมาก เมื่อได้รับความ ร้อนจึงไม่ขาดง่าย ลักษณะของไส้หลอด ขดไว้เหมือนสปริง มีขนาดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกาลังไฟฟ้าของหลอดไฟฟ้า กล่าวคือ หลอดที่มีกาลังไฟฟ้าต่าไส้หลอดจะ ใหญ่ ความต้านทานน้อย ส่วนหลอดที่มีกาลังไฟฟ้าสูง ไส้หลอดจะเล็ก มีความ ต้านทานมาก • หลอดแก้ว ทาจากหลอดแก้วใส ทนความร้อนได้ดี ภายในสูบอากาศออกจนหมด แล้วบรรจุแก๊สไนโตรเจน และอาร์กอนเพียงเล็กน้อยไว้แทนที่ แก๊สที่บรรจุไว้นี้จะ ช่วยให้ทังสเตนที่ได้รับความร้อนไม่ระเหิดไปจับที่ผิวในของหลอดไฟฟ้า ซึ่งจะทาให้ หลอดไฟฟ้าดา • ขั้วต่อไฟ เป็นจุดต่อวงจรไฟฟ้าภายในหลอด
  5. 5. หลักการทางานของหลอดไฟฟ้า  การที่หลอด ไฟฟ้าให้แสงสว่างได้เป็นไปตามหลักการดังนี้ เมื่อ กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอด ซึ่งมีความต้านทานสูง พลังงานไฟฟ้าจะ เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ทาให้ไส้หลอดร้อนจัดจนเปล่งแสง ออกมาได้ ซึ่งมีการเปลี่ยนรูปพลังงานดังนี้ พลังงานไฟฟ้า ----> พลังงานความร้อน ----> พลังงานแสง
  6. 6. หลอดฟลูออเรสเซนต์  หลอดฟลูออเรสเซนต์ (fluorescent) หรือหลอดเรืองแสง เป็น อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงสว่างที่นิยมใช้กันมาก มีรูปร่าง หลายแบบเช่น ทรงกระบอกสั้น ยาว ครึ่งวงกลม หรือวงกลม หลอด ฟลูออเรสเซนต์ มีส่วนประกอบดังนี้
  7. 7. • ขั้วต่อไฟ เป็นจุดต่อวงจรไฟฟ้าของหลอดฟลูออเรสเซนต์ • ไส้หลอด ทาด้วยโลหะทังสเตนอยู่ที่ปลายหลอดทั้งสองข้าง • หลอดแก้ว ภายในหลอดสูบอากาศออกจนหมด แล้วใส่ไอปรอทไว้ เล็กน้อย ผิวหลอดแก้วด้านใน ฉาบด้วยสารวาวแสง (fluorescent coating) ชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะให้สีต่าง ๆ กันออกไป
  8. 8. อุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบกับหลอดฟลูออเรสเซนต์  สตาร์ตเตอร์ (starter) ทาหน้าที่เป็นสวิตซ์อัตโนมัติในขณะหลอดฟลูออ เรสเซนต์ยังไม่ติด และหยุดทางานเมื่อหลอดติดแล้ว แบลลัสต์ (ballast) ทาหน้าที่เพิ่มความต่างศักย์ เพื่อให้หลอดฟลูออเรส เซนต์ติดในตอนแรก และทาให้กระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟลดลงเมื่อหลอดติดแล้ว พร้อมทั้งควบคุมให้กระแสไฟฟ้าคงตัว
  9. 9.  การใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ทุกชนิดต้องต่อวงจรเข้ากับสตาร์ตเตอร์และ แบลลัสต์ แล้วจึงต่อเข้ากับสายไฟฟ้าในบ้าน ดังรูป
  10. 10. หลักการทางานของหลอดฟลูออเรสเซนต์
  11. 11.  เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไอปรอท จะคายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ไอปรอท ซึ่งจะทาให้อะตอม ของไอปรอทอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น (exited state) เป็นผลให้อะตอมปรอทคาย พลังงานออกมาเพื่อ ลดระดับพลังงานในตัวเองในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งมองไม่ เห็น เมื่อรังสีชนิดนี้ไปกระทบกับสารวาวแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวด้านในของหลอดฟลูออเรส เซนต์ สารเหล่านี้จะเปล่งแสงได้ โดยให้แสงสีต่างๆตามชนิดของสารวาวแสงที่ฉาบไว้ ภายในหลอดนั้น เช่น แคดเมียมบอเรท (Cadmium borate) ให้ แสงสีชมพู แคดเมียมซิลิเคท (Cadmium silicate) ให้แสงสีชมพูอ่อน แมกนีเซียมทังสเตท (Magnesium tungstate) ให้แสงสีขาวอมฟ้า แคลเซียมทังสเตท (Calcium tungstate) ให้แสงสีน้าเงิน ซิงค์ซิลิเคท (Zinc silicate) ให้แสงสีเขียว ซิงค์ เบริลเลียมซิลิเคท (Zinc Beryllium silicate) ให้แสงสีเหลืองนวล นอกจากนี้ยัง อาจผสมสารวาวแสงเหล่านี้ เพื่อให้ได้แสงสีผสมที่แตกต่างกันออกไปได้อีกด้วย
  12. 12. ข้อเปรียบเทียบระหว่างหลอดไฟฟ้ากับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากัน • หลอดไฟฟ้าสว่างน้อยกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ เมื่อมีจานวนวัตต์ เท่ากัน • หลอดไฟฟ้ามีอายุการใช้งานสั้นกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ • ขณะใช้งานอุณหภูมิของหลอดไฟฟ้าสูงกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ • หลอดไฟฟ้าเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งน้อยกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ เพราะหลอดฟลูออเรสเซนต์ต้องต่อวงจรเข้ากับแบลลัสต์และ สตาร์ตเตอร์เสมอ
  13. 13. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์  หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหลอดตะเกียบ หลอดคอมแพค ฟลูออเรสเซนต์มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีแบลลัสต์ภายใน สามารถใช้แทน หลอดไฟฟ้าแบบมีเขี้ยวและแบบเกลียวได้ อีกชนิดหนึ่งเป็นแบบที่มี แบลลัสต์อยู่ภายนอกจะมีขาเสียบ เพื่อต่อเข้ากับแบลลัสต์ สมบัติที่ สาคัญของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ คือ ช่วยประหยัดพลังงาน ไฟฟ้า และมีอายุการใช้งาน ที่ยาวนานกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์
  14. 14. หลอดไฟโฆษณา  หลอดไฟโฆษณา เป็นหลอดแก้วขนาดเล็กที่ถูกลนไฟดัดให้เป็นรูปภาพหรือตัวอักษรต่าง ๆ ไม่มีไส้หลอดไฟ แต่ที่ปลายทั้ง 2 ข้างจะมีขั้วไฟฟ้าทาด้วยโลหะต่อกับแหล่ง กาเนิด ไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์สูงประมาณ 10,000 โวลต์ ภายในหลอดชนิดนี้จะสูบอากาศออกู จนเป็น สูญญากาศ แล้วบรรจุแก๊สบางชนิดที่จะให้แสงสีต่าง ๆ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหล ผ่าน เช่น แก๊สนีออน จะให้แสงสีแดง หรือส้ม แก๊สฮีเลียมให้แสงสีชมพู แก๊สอาร์กอนให้ แสงสีขาวอมน้าเงิน แก๊สคริปตอนให้แสงสีม่วงอ่อน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้แสงสีขาว แก๊สซีนอนให้แสงสีฟ้า แก๊สไนโตรเจนให้แสงสีม่วงแก่ นอกจากนี้ถ้าใช้แก๊สต่าง ๆ ผสมกัน ก็จะได้แสงสีต่าง ๆ กันออกไปอีกด้วย จากความต่างศักย์ที่ สูงมาก ๆ นี้จะทาให้แก๊สที่ บรรจุอยู่ภายในหลอดเกิดการแตกตัวเป็นไอออนและนาไฟฟ้าได้ ซึ่งจะร้อนและติดไฟให้ แสงสีต่าง ๆ ได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ตัวเลขที่ปรากฏบนหลอดไฟฟ้า และหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งบอกกาลังไฟฟ้าเป็นวัตต์ (W) เป็นการบอกถึงปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปใน 1 วินาที เช่น 18 W หมายถึง หลอดไฟฟ้าชนิดนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าไป 18 จูล ใน 1 วินาที ดังนั้นหลอดไฟฟ้าและหลอด ฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้กาลังไฟฟ้ามากเมื่อใช้งานจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามาก
  15. 15. ข้อแนะนาเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง  หลอดฟลูออเรสเซนต์รุ่นใหม่ซึ่งเป็นหลอดที่มีประสิทธิภาพสูง ( หลอดผอม ) ให้ ความสว่างสูง เท่ากับหลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา แต่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า น้อยกว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่า ตัวหลอดจะเล็กกว่าหลอดธรรมดา มีขนาด 18 วัตต์ ใช้แทนขนาด 20 วัตต์ และขนาด 36 วัตต์ ใช้แทนขนาด 40 วัตต์ สามารถ นาไปสวมเข้ากับขั้วและขาหลอดเดิมได้ทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยน แบลลัสต์ และ สตาร์ตเตอร์ หลอดไฟชนิดดังกล่าวจะประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 10 หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดไฟชนิดใหม่ มีลักษณะเป็นหลอด ฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็ก ที่ได้พัฒนาเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน โดยใช้ แทนหลอดไฟฟ้าได้ มีอายุการใช้งานมากกว่าหลอดไฟฟ้าถึง 8 เท่า ใช้พลังงาน ไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดไฟฟ้า 4 เท่า เป็นหลอดที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 75 ปัจจุบันมี 2 ประเภทคือ ประเภทที่มีแบลลัสต์ และสตาร์ตเตอร์รวมอยู่ภายใน หลอด สามารถนาไปใช้แทนหลอดไฟฟ้าชนิดเกลียวได้ทันทีโดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ อื่น มีหลายขนาดให้เลือกใช้คือ
  16. 16. • ขนาด 9 วัตต์ ให้แสงสว่างเท่ากับหลอดไฟฟ้า ขนาด 40 วัตต์ • ขนาด 13 วัตต์ ให้แสงสว่างเท่ากับหลอดไฟฟ้า ขนาด 60 วัตต์ • ขนาด 18 วัตต์ ให้แสงสว่างเท่ากับหลอดไฟฟ้า ขนาด 75 วัตต์ • ขนาด 25 วัตต์ ให้แสงสว่างเท่ากับหลอดไฟฟ้า ขนาด 100 วัตต์ จะเห็นได้ว่าหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ มีคุณสมบัติดีกว่า ช่วยประหยัด ค่าไฟฟ้า หากใช้ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ชนิดที่มีแบลลัสต์ภายใน ขนาด 13 วัตต์ 1 หลอด แทนหลอดไฟฟ้าขนาด 60 วัตต์ จานวน 1 หลอด จะประหยัดค่า ไฟฟ้าได้ ประมาณปีละ 142 บาท หลอดคอม - แพคฟลูออเรสเซนต์อีกชนิดหนึ่ง เป็นหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์แบลลัสต์ภายนอก ซึ่งมีหลักการเดียวกับหลอด คอมแพคฟลูออเรสเซนต์แบลลัสต์ภายใน แต่หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ แบลลัสต์ ภายนอก สามารถเปลี่ยนหลอดได้ง่ายเมื่อหลอดชารุด ตัวหลอดมี ลักษณะงอโค้งเป็นรูปตัวยู ภายในขั้วของหลอดจะมีสตาร์ตเตอร์อยู่ภายใน และมี แบลลัสต์อยู่ภายนอก การติดตั้งใช้งานต้องมีขาเสียบ เพื่อใช้กับแบลลัสต์ที่แยก ออกมา มีขนาดให้เลือกใช้ตั้งแต่ 5 วัตต์ 7 วัตต์ 9 วัตต์ และ 11 วัตต์
  17. 17. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงาน ไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง เช่น เครื่องรับวิทยุ เครื่องบันทึกเสียง เครื่อง ขยายเสียง
  18. 18.  เครื่องรับวิทยุ เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง โดยเครื่องรับวิทยุอาศัย การรับคลื่นวิทยุจากสถานีส่ง แล้วใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขยายสัญญาณเสียงที่ อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าให้แรงขึ้นจนเพียงพอที่ทาให้ลาโพงเสียงสั่นสะเทือน เป็นเสียงให้เราได้ยิน ดังแผนผัง
  19. 19.  เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกเสียงเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็น พลังงานเสียง โดยขณะบันทึกใช้การพูดผ่านไมโครโฟน ซึ่งจะเปลี่ยน เสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วบันทึกลงในแถบบันทึกเสียงซึ่งฉาบด้วย สารแม่เหล็กในรูปของสัญญาณแม่เหล็ก เมื่อนาแถบบันทึกเสียงที่บันทึก ไว้มาเล่น สัญญาณแม่เหล็กจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า และสัญญาณไฟฟ้าจะถูกขยายให้แรงขึ้นด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า สัญญาณไฟฟ้าจะถูกส่งไปถึงลาโพง ทาให้ลาโพงสั่นสะเทือนกลับเป็น เสียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
  20. 20.  เครื่องขยายเสียง เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง โดยการ ใช้ไมโครโฟนเปลี่ยนเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วขยายสัญญาณไฟฟ้า ให้แรงขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จนทาให้ลาโพงสั่นสะเทือนเป็น เสียง เครื่องขยายเสียงมีส่วนประกอบดังนี้ • ไมโครโฟน เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า • เครื่องขยายสัญญาณไฟฟ้า ขยายสัญญาณไฟฟ้าให้แรง ขึ้น • ลาโพง เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง
  21. 21. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยน พลังงานไฟฟ้าเป็น พลังงานความร้อน เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า กระทะ ไฟฟ้า เตาไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า หม้อต้มน้าไฟฟ้าเครื่องเป่าผม เครื่องปิ้ง ขนมปังไฟฟ้า เป็นต้น
  22. 22. ส่วนประกอบสาคัญของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน • ขดลวดหรือแผ่นความร้อน หรือขดลวดนิโครม ซึ่งเป็นโลหะ ผสมระหว่าง นิเกิลกับ โครเมียม มีความต้านทานไฟฟ้าสูง ลวดนิโครมมี จุดหลอมเหลวสูง ทาให้ขดลวดไม่ขาด เมื่อเกิดความร้อน ที่ขดลวด ขด ลวดความร้อนในเครื่องใช้ไฟฟ้าจะขดอยู่ในที่รองรับที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เพื่อป้องกัน ไฟฟ้ารั่ว ซึ่งสามารถถ่ายเทความร้อนที่ขดลวดให้แก่ภาชนะ หรือวัตถุอื่นได้ • เทอร์โมสตัท (Thermostat) หรือสวิตซ์ความร้อนอัตโนมัติ ทาหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิ หรือระดับความร้อนของเครื่องใช้ไฟฟ้า โดย จะตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเครื่องใช้นั้นร้อนถึงจุดกาหนด
  23. 23.  เทอร์โมสตัท มีส่วนประกอบเป็นโลหะต่างชนิดกัน 2 แผ่นประกบกัน เมื่อได้รับ ความร้อน จะขยายตัวได้ต่างกัน เช่น เหล็กกับทองเหลือง โดยให้แผ่นโลหะที่ ขยายตัวได้น้อย (เหล็ก) อยู่ด้านบน ส่วนแผ่นโลหะที่ขยายตัวได้มาก (ทองเหลือง) อยู่ด้านล่าง เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านแผ่นโลหะทั้งสองมากขึ้น จะทาให้มีอุณหภูมิ สูงขึ้นจนแผ่นโลหะทั้งสองโค้งงอ เป็นเหตุให้จุดสัมผัสแยกออกจากกัน เกิดเป็น วงจรเปิด กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านไม่ได้ และเมื่อแผ่นโลหะทั้งสองเย็นลงก็จะสัมผัส กันเหมือนเดิม เกิดเป็นวงจรปิด กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านแผ่นโลหะทั้งสองได้อีกครั้ง วนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป
  24. 24. หลักการทางานของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนมีหลักการคือเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ความต้านทานไฟฟ้าสูง พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ดังนั้น จึงให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดนิโครมหรือแผ่นความร้อนซึ่งมีความต้านทาน ไฟฟ้าสูง พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนมากแล้วถ่ายเท พลังงานความร้อนไปยังภาชนะ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน ใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นหลายเท่า กระแสไฟฟ้าที่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้มีปริมาณ มากจึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เช่น คอยตรวจสอบสภาพของสายไฟ และ เต้าเสียบให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอเพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ขณะ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าควรดูแลใกล้ชิด และอย่าใช้ใกล้กับสารไวไฟ เมื่อเลิกใช้แล้ว ต้องถอดเต้าเสียบออกทุกครั้ง
  25. 25. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลได้ ต้องใช้มอเตอร์ เป็นอุปกรณ์ในการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล เช่น เครื่องซัก ผ้า เครื่องสูบน้า พัดลม จักรเย็บผ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  26. 26. ส่วนประกอบและหลักการทางานของมอเตอร์  มอเตอร์ประกอบด้วยขดลวดตัวนาอยู่ในสนามแม่เหล็กทางานได้โดยอาศัย หลักการที่ว่า เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดตัวนาที่พันรอบแกนเหล็กใน สนามแม่เหล็กจะเกิดอานาจ แม่เหล็ก ผลักกับสนามแม่เหล็ก ทาให้ขดลวดหมุนได้ การควบคุมให้มอเตอร์หมุนช้าหรือเร็ว ทาได้โดยการเพิ่มหรือลดความต้านทาน ไฟฟ้า ถ้าความต้านทานไฟฟ้ามาก มอเตอร์จะหมุนช้า ถ้าลดความต้านทานไฟฟ้า ลง มอเตอร์จะหมุนเร็วขึ้น ข้อควรระวังในการใช้มอเตอร์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ คือ ถ้าไฟตก มอเตอร์จะไม่หมุน แต่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดตัวนาอยู่ ซึ่งอาจ ทาให้ขดลวดร้อนและไหม้ได้ ดังนั้นจึงต้องถอดเต้าเสียบออกจากเต้ารับทุกครั้งที่ไฟ ตก และเมื่อเลิกใช้งาน
  27. 27. จัดทาโดย  ด.ญ.ทัศนันท์ เครือมา เลขที่ 16 3/5  ด.ญ.ปิ่นเพ็ชร พันธ์ปัญญา เลขที่ 17 3/5  ด.ญ.กฤติยา ไชยา เลขที่ 15 3/5  ด.ช. อิทธิมล ยาเตชะ เลขที่ 13 3/5

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียงและภาพมีอะไรบ้าง

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียงและภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้จะมีอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ เปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าและสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ออกสู่ลำโพงเป็นเสียงและออกจอเป็นภาพ เช่น โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดใดที่ทำให้เกิดเสียง

เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานเสียง : เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงงานเสียง เช่น เครื่องรับวิทยุ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง กระดิ่งไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น

เปลี่ยนเป็นพลังงานเสียงและภาพมีอะไรบ้าง

5. ให้พลังเสียงและภาพ คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียงและภาพ ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเล่นวีดีโอ เป็นต้น

เครื่องใช้ไฟฟ้าหมายถึงอะไร

A : เครื่องใช้ไฟฟ้าคืออะไร เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่สามารถเปลี่ยนรูปพลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานรูปอื่นตามที่ต้องการได้ง่าย เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ตามบ้านเรือน เช่น เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลม หลอดไฟฟ้า เครื่องซักผ้า เป็นต้น