เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

คำถามยอดฮิตอันดับสองรองจากแอร์ยี่ห้อไหนดีของลูกค้าสยามเจริญแอร์เราคือ “แอร์ตัวนี้...กินไฟไหม” คำตอบของเราจะอ้างอิงค่าไฟรายปีจากฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ออกโดยกระทรวงพลังงาน เพราะฉนั้นหากท่านมีแอร์อยู่แล้ว แนะนำให้ดูค่าไฟจากฉลากประหยัดไฟบริเวณหน้ากากแอร์ของท่านได้เลยครับ ทั้งนี้ค่าไฟที่แสดงดังกล่าวมักจะอ้างอิงจากการใช้งานปกติโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8 ชั่วโมง/วันครับ หรือท่านสามารถกรอกค่าต่าง ๆ ผ่านเครื่องคำนวณด้านล่างเพื่อดูค่าไฟได้ทันที

แบบฟอร์มคำนวณค่าไฟแอร์

หากท่านต้องการคำนวณค่าไฟโดยคร่าวเองท่านสามารถลองเติมตัวเลขเข้าแบบฟอร์มคำนวณด้านล่างนี้ได้เลยครับ

หรือถ้าท่านอยากทราบที่มาว่าค่าไฟที่ระบบคำนวณนั้นมาอย่างไร ลองอ่านในหัวข้อถัดไปได้เลยครับ


สูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าแอร์

สำหรับที่มาของสูตร

ค่าที่ท่านต้องหามาเข้าสูตรมี 5 ค่าครับ

  1. BTU
  2. ค่า SEER
  3. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน
  4. จำนวนวันที่ใช้งาน
  5. ค่าไฟต่อหน่วยตามการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

แล้วนำไปเข้าสูตรด้านล่างนี้ครับ

BTU / ค่า SEER / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน x จำนวนวันที่ใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

เช่นค่าไฟแอร์ยี่ห้อแคเรียร์ รุ่น X-Inverter Plus รหัสรุ่น 42TVAB018/38TVAB018

  1. ขนาด 18,000 BTU  
  2. ค่า SEER 22.5 (หาดูได้จากแคตตาล็อกหรือหน้าสินค้าของเราครับ)
  3. ใช้วันละ 8 ชั่วโมง
  4. คำนวณต่อเดือนตีไป 30 วัน
  5. ค่าไฟฟ้าสมมุติหน่วยละ 3.2484 บาท (ใช้น้อยกว่า 150 หน่วยต่อเดือน)

ก็จะได้เป็น

18000 / 22.5 / 1000 x 8 x 30 x 3.2484 = 624 บาท

ค่าไฟแคเรียร์ รุ่น X-Inverter Plus ขนาด 18000 BTU ก็จะประมาณ 624 บาท/เดือนครับ ถ้าอยากทราบรายปีก็เอาไปคูณ 12 ก็จะได้เป็น 7,488 บาท/ปี

อย่างไรก็ตามหากท่านดูจากฉลากประหยัดไฟ ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะเป็นค่าเฉลี่ยคือ 3.96 ครับ เนื่องจากค่าไฟฟ้ามีการแปรผันตามอัตราก้าวหน้า ถ้าเราลองมาคำนวณตามค่าเฉลี่ย 3.96 ก็จะได้ดังนี้ครับ

18000 BTU / ค่า SEER 22.5 / ค่าคงที่ 1000 x 8 ชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย 3.96 = 9250.56 หรือปัดเศษ 9,251 บาท/ปี ตามฉลากเป๊ะๆเลยครับ


อัตราการคิดค่าไฟฟ้า

จากการไฟฟ้านครหลวง

หากท่านกำลังสงสัยว่าแล้วตัว "ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย" ของบ้านท่านมันหน่วยละกี่บาทกันแน่ ท่านสามารถดูตารางด้านล่างนี้ได้เลยครับ

1.1 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

จำนวนหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง)หน่วยละ (บาท)
15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1 – 15) 2.3488
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25) 2.9882
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35) 3.2405
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100) 3.6237
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150) 3.7171
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) 4.2218
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) 4.4217

1.2 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน

จำนวนหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง)หน่วยละ (บาท)
150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1 – 150) 3.2484
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) 4.2218
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) 4.4217

1.3 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff )

On PeakOff Peak
แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ 5.1135 2.6037
แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ 5.7982 2.6369

อ้างอิงตารางค่าไฟต่อหน่วยจาก การไฟฟ้านครหลวง

หากท่านมีคำถามใด ๆ เพิ่มเติม ที่สยามเจริญแอร์พอจะช่วยท่านได้ โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเราครับ

ขอบคุณครับ

ดูเหมือนว่าในช่วงนี้หลายคนต้องทำงานอยู่ที่บ้าน แถมยังต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนสุดๆ และแน่นอนว่าคงเปิดแอร์ทำงานกันทั้งวันใช่ไหมคะ? ชิลไปไหนเลยรวบรวมวิธีที่จะช่วยให้เพื่อนๆ ประหยัดค่าไฟจากการเปิดแอร์มาฝากค่ะ คราวนี้ก็จะได้เปิดแอร์ทำงานกันแบบเย็นฉ่ำได้ทั้งวัน ไม่ต้องกังวลว่าค่าไฟจะพุ่งกระฉูด จะมีวิธีอะไรบ้างตามไปดูเลยค่า 

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท



เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

  • เช็คว่าขนาดแอร์เหมาะสมกับตัวห้องไหม?

ขนาดของแอร์ BTU = พื้นที่ห้อง(ตร.ม.) x 800 คิดได้กี่ BTU ก็ห้ามซื้อต่ำกว่านี้เดี๋ยวไม่เย็นนะ แต่ถ้าห้องรับแดดทั้งวันก็คูณ 1,000 ไปเลย! เช่น ห้องทำงานขนาด 3x4 เมตร = 12 ตร.ม. ถ้าอยู่ติดผนังรับแดดเช่นทิศตะวันตก ก็คูณ 1,000 เท่ากับว่าเราควรซื้อแอร์ขนาด 12,000 BTU ขึ้นไปค่ะ ถ้าแอร์ไม่เหมาะสมกับขนาดห้องอาจช่วยได้ด้วยการเปิดพัดลม

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

  • เปิดพัดลมช่วย

อุณหภูมิที่เราจะอยู่สบายที่สุดก็คืออุณหภูมิแบบเมดิเตอร์เรเนียน คือ ราว 24 - 26 องศาเซลเซียส  โดยการตั้งอุณหภูมิแอร์ไว้ที่ 25 องศา อาจไม่ใช่อุณหภูมิที่ประหยัดไฟที่สุด แต่เป็นเพียงอุณหภูมิที่เรากำลังเย็นพอดีและแอร์ก็กินไฟไม่มากจนเกินไป ซึ่งจริงๆ แล้วเราอาจปรับให้เป็น 27-28 องศา แล้วเปิดพัดลมช่วยก็จะประหยัดกว่า

* หมายเหตุ แอร์บ้านปกติจะใช้อยู่ที่ 9000 - 12000 BTU ซึ่งจะใช้กำลังไฟประมาณ 750 - 1,200 วัตต์ พัดลมจะใช้กำลังไฟอยู่ที่ 50 วัตต์ เท่ากับว่า เปิดพัดลม 15 ตัวถึงจะเท่าเปิดแอร์ตัวเดียว 

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

  •  เปิดพัดลมดูดอากาศร้อนออกไปก่อนเปิดแอร์ 

อากาศร้อนจะลอยอยู่ด้านบนของห้อง ถ้าเรามีพัดลมดูดอากาศก็เปิดให้ดูดอากาศร้อนออกไปก่อนแล้วค่อยเปิดแอร์จะช่วยประหยัดไฟ หรือก่อนเปิดแอร์ประมาณ 15 นาที ควรเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศบริสุทธิ์จากข้างนอกเข้าไปแทนที่อากาศภายในห้อง เป็นการช่วยระบายความร้อนที่อาจสะสมอยู่ในห้อง แถมยังช่วยยังช่วยลดกลิ่นอับต่างๆ ได้ด้วยค่ะ 

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความร้อน 

การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความร้อนภายในห้องทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรีดผ้า,ทำอาหารด้วยกระทะไฟฟ้า, หม้อต้มน้ำร้อน หรือแม้กระทั่งการยกอาหารร้อนๆ เข้าไปทานในห้อง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้แอร์ทำงานหนัก ถ้าหลีกเลี่ยงได้จะเป็นการช่วยให้แอร์ทำงานหนักลดลงได้มากเลยค่ะ 

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

  • หลีกเลี่ยงการนำความชื้นเข้าห้อง 

ปกติแล้วแอร์จะใช้พลังงานในการทำความเย็นอยู่ที่ 30% ส่วนอีก 70% เป็นพลังงานที่ใช้กำจัดความชื้นเพื่อทำให้สภาพอากาศภายในห้องแห้ง เราจึงควรหลีกเลี่ยงการนำสิ่งของที่ก่อให้เกิดความชื้นเข้ามาในห้อง เช่น ต้นไม้หลายต้นๆ (แต่ถ้าอยากมีต้นไม้ไว้ในห้อง อาจจะเลือกเป็นต้นไม้ฟอกอากาศเหลือในห้องสัก 1-2 ต้นก็ได้นะ) รวมไปถึงการตากผ้า เช่น ผ้าเช็ดตัว!

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

  • ติดฟิล์มกันความร้อน

ติดฟิล์มกันความร้อน แบบใสๆ ก็มี แอดเคยซื้อที่โฮมโปรเมตรละ 150-450 บาทแล้วแต่ลาย แต่กันความร้อนได้ดีจริงๆ  หรืออย่างน้อยติดม่านก็ได้เพราะม่านจะช่วยลดการกระจายรังสีความร้อนจากแสงพระอาทิตย์ใม่ให้เข้ามาในห้องมากเกินไป และยังชวยกำจัดอุณภูมิความร้อนระหว่างวันได้เป็นอย่างดีด้วยค่ะ รับรองว่าเป็นการช่วยประหยัดไฟได้ดีสุดๆ 

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

  • ล้างแอร์ทุก 6 เดือน 

เมื่อเปิดแอร์ทุกวัน ฝุ่นจะเข้าไปสะสมทั้งในพัดลมและตัวคอยล์แอร์ ดังนั้นควรล้างแอร์ 2 ครั้งต่อปีจะช่วยลดค่าไฟได้ราว 10% เลยนะ หรือถ้าแอร์อายุเกิน 10 ปี แนะนำให้ซื้อใหม่ไปเลย เอาที่มี Inverter ซึ่งจะสามารถคำนวณอุณหภูมิได้แม่นยำกว่าแอร์เก่าเลยค่ะ 

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

  • ใครอยากลองคำนวณค่าไฟฟ้าลองเข้าไปทำที่ลิ้งได้เลยค่ะ

คำนวนค่าไฟ https://www.mea.or.th/aboutelectric/116/280/form/11

เปิดแอร์ค่าไฟเดือนละกี่บาท

เลือกดูแอร์ที่มีโปรโมชั่นได้ที่นี่ https://u.jd.co.th/5nywY7

เรียบเรียงจาก

https://www.daikin.com.au/articles/tips/top-5-tips-reduce-your-air-conditioning-bill-summer

https://seekster.co/blog/how-to-save-bill-for-air-conditioner/

https://sites.google.com/site/airconditioner55/extra-credit/kar-khanwn-btu

https://www.baanlaesuan.com/145949/diy/easy-tips/save-money-on-air-conditioning

บทความแนะนำเพิ่มเติม

วิธีลงทะเบียนว่างงาน : เปิดวิธีลงทะเบียนใช้สิทธิ “กรณีว่างงาน” รับเงินชดเชยเยียวยาพิษโควิด-19

พักชำระหนี้ : รวมมาตรการพักชำระหนี้

วิธีเก็บอาหารได้นานขึ้น : วิธีถนอมอาหารให้อยู่ได้นานขึ้นในช่วงกักตัว!

แอร์1ตัวค่าไฟกี่บาท

วิธีการคำนวณค่าไฟแอร์.

เปิดแอร์เสียค่าไฟชั่วโมงละกี่บาท

6. เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed speed ขนาด 9,000 - 22,000 บีทียู/ชม. ค่าไฟ 2.5 - 6 บาท/ชม. 7. พัดลมตั้งพื้น ขนาดใบพัด 12 - 18 นิ้ว ค่าไฟ 0.15 - 0.25 บาท/ชม. 8. โทรทัศน์ LED backlight TV ขนาด 43 - 65 นิ้ว ค่าไฟ 0.40 - 1 บาท/ชม.

ค่าแอร์เปิดทั้งวันกี่บาท

โดยปกติแล้วเราจะเปิดแอร์วันละประมาณ 8 ถึง 10 ชั่วโมง ค่าไฟก็จะอยู่ที่ 3.5 บาทต่อหน่วย เขาอาจจะต้องเสียค่าไฟถึงปีละประมาณ 15,000 บาทถึง 20,000 บาท เรียกได้ว่าค่าไฟที่เราใช้ในการเปิดแอร์ 1 ปีสามารถซื้อแอร์ได้ตัวใหม่ 1 เครื่องเลย มิเตอร์ไฟฟ้า 1 หน่วยเท่ากับไฟกี่วัตต์

แอร์ 1 เครื่องกินไฟกี่วัตต์

เช่น เปิด แอร์ขนาด 12,000 BTU/hour ที่มีค่า EER = 11 ไป 1 ชั่วโมง ใช้ไฟเท่ากับ 12,000/11 = 1,091 Wh. เรียกว่า แอร์ตัวนี้กินไฟเท่ากับ 1,091 W.