การโอนที่ดินให้ลูกคนใดคนหนึ่ง

การโอนที่ดินให้บุตรโดยชอบทางกฎหมาย

ในกรณีเป็นบ้านพร้อมที่ดินที่เป็นชื่อมารดา,บิดาร่วมกันคุณพ่อและคุณแม่เป็นเจ้าของ

บทความวันที่ 25 พ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 198233 ครั้ง


การโอนที่ดินให้บุตรโดยชอบทางกฎหมาย

          ในกรณีเป็นบ้านพร้อมที่ดินที่เป็นชื่อมารดา,บิดาร่วมกันคุณพ่อและคุณแม่เป็นเจ้าของบ้านพร้อมที่ดิน (หลังโฉนดชื่อพ่อกับแม่) และติดจำนองกับธนาคารอยู่ หลังจากนั้นคุณพ่อเสียชีวิต แม่ผ่อนต่อไม่ไหว ให้ทางผมผ่อนบ้านต่อแทน อยากจะสอบถามว่า ในกรณีดังกล่าว แม่จะทำการโอนบ้านและที่ดินให้ผมได้หรือไม่ โดยการไถ่ถอนจำนองจากธนาคารแล้วมาโอนให้ผม (คุณพ่อที่มีชื่อในโฉนดได้เสียชีวิตแล้ว)

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
         สามารถทำได้ครับ  แต่คุณแม่ของคุณต้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของคุณพ่อก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

          มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้
          (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
          (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
          (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ
          การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

ความคิดเห็น

  • «
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
  • »

  • «
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
  • »

แสดงความเห็น

การโอนที่ดินให้ลูกคนใดคนหนึ่ง

การรับมรดกที่ดิน นั้นก็คือ เมื่อผู้ที่มีชื่อในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส. หรือ น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข.) ได้ถึงแก่กรรมไป ในทางกฎหมายแล้วที่ดินเหล่านั้นก็จะถือเป็นมรดก ซึงจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตายโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้

การรับมรดกที่ดิน ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม มี 7 ลำดับ ดังนี้ต่อไปนี้

  1. ผู้สืบสันดาน(บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
  2. ภรรยาหรือสามี (ต้องได้จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น)
  3. บิดาและมารดา
  4. พี่น้องร่วมสายเลือด ทั้งบิดาและมารดาเดียวกัน
  5. พี่น้องร่วมบิดา หรือ มารดาเดียวกัน
  6. ปู่ย่า ตายาย
  7. ลุง ป้า น้า อา

ตามกฎหมายแล้ว ใครมีสิทธิรับมรดกขึ้นอยู่กับผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าของมรดกได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนตายหรือไม่ ถ้าทำไว้ทรัพย์มรดกก็จะตกเป็นของบุคคลที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม ซึ่งอาจเป็นญาติหรือผู้อื่นที่ไม่ใช่ญาติของเจ้าของมรดกก็ได้ แต่ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์ของมรดกก็จะตกเป็นของทายาทตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม ซึ่งเป็นญาติชั้นสนิทหรือชั้นห่างของเจ้ามรดกนั้นเอง

สำหรับส่วนแบ่งมรดกของญาติโดยธรรมมีหลักอยู่ว่า ญาติลำดับเดียวกัน จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน หากคู่มรดกมีคู่สมรสและมีลูก คู่สมรสจะมีสิทธิเท่ากับลูกคนหนึ่ง แต่หากเจ้ามรดกไม่มีลูก แต่มีพ่อแม่หรือมีพี่น้องพ่อเดียวแม่เดียวกันและมีคู่สมรส คู่สมรสได้ครึ่งนึง อีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้กับญาติ หากเจ้ามรดกไม่มีทายาทลำดับที่ 1,2,3,4 แต่มีทายาทลำดับที่ 5 คือพี่น้องพ่อเดียวกันหรือแม่เดียวกัน หรือลำดับที่ 6,7 คือปู่ย่าตายาย และลุง ป้า น้า อา คู่สมรสได้มรดก 2 ใน 3 ส่วน อีก 1 ใน 3 ส่วน ให้แก่ญาติไปแบ่งกัน ส่วนกรณีถ้าไม่มีทายาทซึ่งเป็นญาติ มรดกจะตกแก่คู่สมรสทั้งหมด

สำหรับขั้นตอนและหน่วยงานเพื่อการขอจดทะเบียนรับมรดก ผู้มีสิทธิได้รับมรดกกรณีเป็นที่ดินจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโดนมรดกที่ดินนั้นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ในกรณีที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดิน น.ส.3 ข. และสำนักงานที่ดินอำเภอ ในกรณีที่มีเอกสารสิทธิเป็น น.ส.3 ก., น.ส. 3 ถ้าท้องที่ใดที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกเลิกอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอเกี่ยวกับปฏิบัติการตามกฎหมายที่ดินแล้ว ไม่ว่าที่ดินจะเป็นโฉนดที่ดิน น.ส. 3ก. หรือ หรือ น.ส.3 หรือ น.ส.3 ข.จะต้องไปขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน จังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินตั้งอยู่

การโอนที่ดินให้ลูกคนใดคนหนึ่ง

หลักฐานที่ต้องนำไปประกอบการขอรับมรดก คือ

  • โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
  • บัตรประจำตัว
  • ทะเบียนบ้าน
  • หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร
  • พินัยกรรม (ถ้ามี)
  • ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
  • ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
  • กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
  • ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
  • ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ

การรับมรดก กรณีเป็นผู้จัดการมรดก

  • คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก
  • หลักฐานการตายของเจ้ามรดก
  • ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก
  • โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน

  • ค่าคำขอ แปลงละ ๕ บาท
  • ค่าประกาศมรดก แปลงละ ๑๐ บาท
  • ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ ๕๐ บาท
  • ค่าจดทะเบียนโอนมรดก ร้อยละ ๒ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์
  • ในกรณีโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ ๐.๕

แนวทางการจัดการมรดกที่ดิน

สำหรับหลักปฏิบัติในการแบ่งที่ดินมรดกเมื่อได้มรดกมาแล้ว มีแนวทางในการจัดการมรดกดังนี้

ก. ลงชื่อทายาทที่มีสิทธิรับมรดกทุกคนไว้ตามส่วน คือยังไม่แบ่งมรดกแต่ใส่ชื่อไว้ก่อนว่าใครมีสิทธิในมรดกบ้าง และได้สิทธิแค่ไหน เป็นการกันไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งฮุบมรดกคนเดียว

ข. ทำรังวัดเนื้อที่ให้เป็นสัดส่วนแน่นอน แบ่งออกเป็นแปลงๆ ตามสิทธิของแต่ละคน อาจไม่จำเป็นต้องได้เนื้อที่เท่ากัน เช่น คนที่ได้ที่ด้านหน้าติดถนนเป็นส่วนที่ราคาสูงกว่าส่วนอื่นๆ ก็อาจได้เนื้อที่น้อยกว่าคนอื่น เป็นต้น พร้อมทั้งแบ่งส่วนทางเดินทางสาธารณะให้เรียบร้อย

ค. แบ่งการครอบครองตามสัดส่วนที่ได้ครอบครองกันมา เช่น มีบ้านในหมู่เครือญาติปลูกอยู่รวมกันหลายหลังในที่ผืนใหญ่ผืนเดียวกัน เมื่อเจ้าของที่ซึ่งเป็นเจ้าของมรดกตายไป ทายาทอาจแบ่งที่ดินตามลักษณะการครอบครองเดิม เช่น บ้านใครอยู่ตรงไหน ก็ได้ที่ส่วนนั้นไป

ง. ทำสัญญาแบ่งมรดกกัน ทายาทอาจทำสัญญาแบ่งมรดกกันว่าใครได้ส่วนไหน โดยไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกกันก็ได้ สัญญานี้ใช้บังคับได้แต่ต้องทำกันเป็นลายลักษณ์อักษร

จ.ขายมรดกเอาเงินมาแบ่งกัน ปกติศาลจะให้ทายาทพยายามตกลงแบ่งมรดกกันเองก่อน ต่อมาเมื่อตกลงกันไม่ได้แล้วจึงจะใช้วิธีนี้

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากหนังสือ “ที่ดิน เล่น ลงทุน ทำเงินและหากำไรอย่างชาญฉลาด”

คอนโดให้เช่า เฮ การคลัง-มหาดไทย แจง จ้ายเท่าอยู่จริง

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก

จะโอนที่ดินให้ลูกต้องทำอย่างไร

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน.
สำเนาทะเบียนบ้าน.
หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี).
ต้นฉบับโฉนดที่ดิน.
ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่า (หากมี).
กรณีสมรส และหากที่ดินที่ขายเป็นสินสมรส จะต้องมีหนังสือยินยอมให้ทำนิติกรรมของสามีด้วย.

โอนที่ดินให้ลูกต้องเสียภาษีไหม

ในกรณีพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน และต้องการยกที่ดินให้แก่ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือฝ่ายแม่ต้องการยกที่ดินให้ลูก (ซึ่งลูกนั้นชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายแม่เสมอ) จะเสียภาษีโอนที่ดิน 2565 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้ ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมิน

การโอนที่ดินให้ลูกลูกต้องอายุเท่าไร

การทำนิติกรรมต่างๆ เช่น การทำสัญญาซื้อ-ขาย บ้าน ที่ดิน การทำสัญญากู้ยืมเงิน ฯลฯ บุคคลนั้น ต้องมีอายุเกิน 20 ปี หรือเรียกว่า บรรลุนิติภาวะ

โอนมรดกให้หลานได้ไหม

กรณีโอนในฐานะมรดก สำหรับการโอนในฐานะมรดก จะเสียค่าโอนที่ดินเพียงค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนมรดกเท่านั้น โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้ กรณีที่ฝ่ายรับมรดกเป็นผู้สืบสายเลือดแท้ๆ (ลูก หลาน เหลน) หรือเป็นคู่สมรส จะคิดค่าธรรมเนียมเพียง 0.5% จากราคาประเมินเท่านั้น