การอ่าน ฉันท์ ให้ ถูก ต้อง ผู้อ่านต้องมีความรู้เรื่อง ใด ก่อน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

การอ่านออกเสียง

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  การอ่านทำนองเสนาะ หมายความว่าอย่างไร

       ก.   วิธีการอ่านที่มุ่งให้ผู้ฟังได้รับความบันเทิงจากเนื้อหาของเรื่องและลีลาการอ่าน

       ข.   วิธีการอ่านที่มีรูปแบบเฉพาะ เน้นความไพเราะ

            และจังหวะในการอ่าน

       ค.   วิธีการอ่านโดยการสอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึกลงไป

            ในบทร้อยกรอง

       ง.   วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของ

            บทร้อยกรอง

   2.  การอ่านโคลงให้ความสำคัญต่อสิ่งใดมากที่สุด

       ก.   การเน้นเสียงให้เกิดภาพพจน์และอารมณ์

       ข.   การออกเสียงคำเอกคำโทตามที่ปรากฏ

       ค.   การคุมเสียงในการออกเสียงท้ายบาท

       ง.   การออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี

   3.  การอ่านออกเสียงภาษาไทยให้ยึดหลักการอ่านตามเอกสารในข้อใด

       ก.   หลักการอ่านและพิจารณาวรรณกรรม

       ข.   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

       ค.   หลักการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

       ง.   ตำราหลักภาษาไทย

   4.  ข้อใดกล่าวถึงหลักการอ่านบทร้อยแก้วได้ถูกต้องที่สุด

       ก.   อ่านเว้นวรรคตอนตามความยาวของประโยค

       ข.   อ่านเน้นเสียงสูงต่ำแสดงอารมณ์ของผู้อ่าน

       ค.   อ่านโดยแสดงลีลาท่าทางประกอบ

       ง.   อ่านออกเสียงเหมือนเสียงพูด

   5.  การอ่านฉันท์ให้ถูกต้อง ผู้อ่านต้องมีความรู้เรื่องใดก่อน

       ก.   ครุ ลหุ และคณะฉันท์     

       ข.   วรรคตอนของฉันท์

       ค.   ชนิดของฉันท์                 

       ง.   คำและพยางค์

   6.  ผู้ที่มีแก้วเสียงดี มีลักษณะอย่างไร

       ก.   เสียงไพเราะเป็นกังวานเหมือนเสียงลูกแก้วกระทบกัน

       ข.   เสียงนุ่มทุ้มให้อารมณ์ความรู้สึก

       ค.   เสียงใสดังกังวานไม่แหบแห้ง

       ง.   เสียงไพเราะไม่แหบเครือ

   7.       ดอกใหญ่และเกสร           สุวคนธะมากมาย

         อยู่ทนบ่วางวาย                 มธุรสขจรไกล

         อีกทั้งสะพรั่งหนาม             ดุจะเข็มประดับไว้

         ผึ้งเขียวสิบินไขว่                 บ่มิใคร่จะห่างเหิน

                                             มัทนะพาธา

       ข้อความนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด

       ก.   วิชชุมมาลาฉันท์ 8           ข.   อินทรวงศ์ฉันท์ 12

       ค.   วสันตดิลกฉันท์ 14          ง.   อินทรวิเชียรฉันท์ 11

  อ่านโคลงต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 8-9

              คชยานขัตติเยศเบื้อง           ออกถวัลย์

         โถมปะทะไป่ทัน                     เหยียบยั้ง

         สารทรงราชรามัญ                   ลงล่าง แลนา

         เสยส่ายท้ายทันต์ทั้ง                 คู้ค้ำคางเขิน

                                                  ลิลิตตะเลงพ่าย

   8.  ข้อความนี้จัดเป็นบทอ่านประเภทใด

       ก.   บทหวาดเสียว                ข.   บทโลดโผน

       ค.   บทตื่นเต้น                    ง.   บทสู้รบ

   9.  การอ่านข้อความนี้ มีวิธีอ่านอย่างไร

       ก.   อ่านให้เสียงดังเต็มเสียง แสดงสีหน้าท่าทางประกอบ

       ข.   ใช้น้ำเสียงเร้าใจ ปรับเสียงหนักเบาตามบทอ่าน

       ค.   เน้นคำที่ควรเน้นอ่านให้กระชับ

       ง.   ปรับเสียงให้เนิบช้ากว่าปกติ

10.  การอ่านที่แสดงอารมณ์โกรธ ควรอ่านอย่างไร

       ก.   น้ำเสียงหนักแน่นเน้นเสียงดัง

       ข.   น้ำเสียงหนักแน่น ไม่ห้วน

       ค.   น้ำเสียงต่ำเน้นเสียง

       ง.   น้ำเสียงสั่นเครือ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

การอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกในการวิเคราะห์วิจารณ์

       ก.   ตั้งคำถามเกี่ยวกับองค์ประกอบหรือข้อเท็จจริงในเรื่องแล้วหาคำตอบ

       ข.   หาความรู้เกี่ยวกับประเภทและลักษณะของหนังสือ     เรื่องนั้นให้เข้าใจ

       ค.   อ่านเรื่องนั้นอย่างถี่ถ้วน แล้วหาแนวคิดหลักหรือแก่น

            ของเรื่อง

       ง.   หาความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นให้มากที่สุด

   2.  ข้อใดกล่าวถึงวรรณคดีได้ถูกต้องที่สุด

       ก.   หนังสือทั่วไปทุกชนิดที่แต่งดี มีคุณค่าช่วยยกระดับ     จิตใจผู้อ่าน

       ข.   หนังสือที่แต่งดีตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6

       ค.   หนังสือที่สะท้อนภาพชีวิตของคนในสังคมแต่ละสมัย

       ง.   หนังสือที่แต่งดีด้วยเนื้อเรื่องและศิลปะการประพันธ์

   3.  ทุกวันนี้คนที่ตำน้ำพริกกินนั้นน้อยลงไปทุกทีแล้ว เพราะฉะนั้นการที่จะรักษาวัฒนธรรมเรื่องน้ำพริกเอาไว้ในครอบครัวก็เห็นจะยากเข้าทุกวัน ผมจึงเห็นว่าทางที่ดีที่สุดต้องเขียนไว้เป็นหนังสือแทนที่จะต้องจดจำกันไว้ด้วยสมอง เพราะจะลืมง่าย ข้อความนี้บอกอะไรแก่ผู้อ่าน

       ก.   จุดมุ่งหมายในการแต่ง      ข.   องค์ประกอบของเรื่อง

       ค.   รูปแบบการประพันธ์        ง.   แก่นของเรื่อง

   4.  ผู้วิจารณ์หนังสือ ควรแสดงความคิดเห็นอย่างไร

       ก.   วิจารณ์ในแง่ลบไม่ต้องแสดงความคิดเห็นในแง่บวก

       ข.   วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เขียน

       ค.   วิจารณ์เพื่อให้เห็นข้อบกพร่องอย่างชัดเจน

       ง.   วิจารณ์ตามข้อเท็จจริง

   5.  การอ่านเพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์ เราสามารถพัฒนาไปสู่การอ่านขั้นตอนใด

       ก.   การประเมินค่า              ข.   การสรุปความ

       ค.   การนำไปใช้                  ง.   การวิพากษ์

   6.  ข้อใดเป็นการพิจารณารูปแบบการประพันธ์

       ก.   การเขียนนวนิยายไทยได้รับอิทธิพลมาจากยุโรป

       ข.   นวนิยายไทยเรื่องแรกคือเรื่องความไม่พยาบาท

       ค.   เรื่องผู้ดีเป็นนวนิยายไทย

       ง.   ดอกไม้สดแต่งเรื่องผู้ดี

   7.  การเขียนบันเทิงคดี มีจุดมุ่งหมายอย่างไร

       ก.   เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม

       ข.   เพื่อให้ข้อคิดคติเตือนใจ

       ค.   เพื่อให้เกิดจินตนาการ

       ง.   เพื่อความสนุก

   8.  การศึกษาประวัติผู้แต่ง มีความจำเป็นอย่างไรต่อการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรม

       ก.   ช่วยให้วิเคราะห์จุดมุ่งหมายในการแต่งเรื่องได้ง่ายขึ้น

       ข.   ช่วยให้วิเคราะห์แนวคิดของผู้แต่งได้ง่ายขึ้น

       ค.   ช่วยให้ทราบความเป็นมาของเรื่องมากขึ้น

       ง.   ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่อ่านชัดเจนยิ่งขึ้น

   9.  หนังสือเรื่องใดไม่ใช่วรรณคดีในบทเรียนของนักเรียน

       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

       ก.   คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

       ข.   บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา

       ค.   มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร

       ง.   ลิลิตตะเลงพ่าย

10.  คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เป็นงานประพันธ์ประเภทใด

       ก.   ตำรายาของแพทย์แผนไทย

       ข.   บทร้อยกรองประเภทฉันท์

       ค.   ตำราในสาขาการแพทย์

       ง.   สารคดีเกี่ยวกับแพทย์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

การเขียนเรียงความ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  การเขียนเรียงความที่ดี จะต้องมีลักษณะอย่างไร

       ก.   เขียนอย่างมีเอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ

       ข.   เขียนเนื้อเรื่องที่แบ่งได้เป็นสัดส่วนชัดเจน

       ค.   เขียนให้เกิดเอกภาพและจินตนาการ

       ง.   เขียนด้วยภาษาระดับทางการ

   2.  เรียงความเป็นงานเขียนที่มีลักษณะอย่างไร

       ก.   เป็นงานเขียนที่มุ่งถ่ายทอดความรู้ ความคิด

            และประสบการณ์ของผู้เขียน

       ข.   เป็นงานเขียนที่เน้นโครงสร้างหรือองค์ประกอบ

       ค.   เป็นงานเขียนที่เน้นการให้ความรู้ตามหลักวิชา

       ง.   เป็นงานเขียนที่ผู้เขียนเขียนขึ้นตามจินตนาการ

   3.  การเขียนเรียงความ ควรเลือกเรื่องที่จะเขียนอย่างไร

       ก.   เลือกเรื่องไกลตัว และมีความแปลกใหม่

       ข.   เลือกเรื่องที่ลี้ลับและไม่มีใครพิสูจน์ได้

       ค.   เลือกเรื่องที่สนใจ และหาข้อมูลได้ง่าย

       ง.   เลือกเรื่องที่คนในสังคมกำลังสนใจ

   4.  การพิจารณาเนื้อหาสาระในการเขียนเรียงความ มีหลักในการพิจารณาอย่างไร

       ก.   พิจารณาจากการใช้สำนวนโวหารที่สอดคล้อง

            และสื่อความหมายได้ดี

       ข.   พิจารณาจากจุดประสงค์ที่ตั้งไว้และความสอดคล้อง     ของเนื้อเรื่อง

       ค.   พิจารณาจากการใช้ประโยคที่กระชับ เข้าใจง่าย

       ง.   พิจารณาจากการสะกดคำ การใช้คำ

   5.  การเขียนเรียงความในลักษณะการเล่าประสบการณ์

       คือเรียงความประเภทใด

       ก.   เรียงความเชิงพรรณนาโวหาร

       ข.   เรียงความเชิงแสดงความรู้

       ค.   เรียงความเชิงโน้มน้าวใจ

       ง.   เรียงความเชิงบรรยาย

   6.  การเขียนเรียงความในลักษณะการสั่งสอนอบรม คือเรียงความประเภทใด

       ก.   เรียงความเชิงพรรณนาโวหาร

       ข.   เรียงความเชิงแสดงความรู้

       ค.   เรียงความเชิงโน้มน้าวใจ

       ง.   เรียงความเชิงบรรยาย

   7.  การกำหนดหัวข้อในการเขียนเรียงความ จะต้องคำนึง

       ถึงสิ่งใดเป็นอันดับแรก

       ก.   จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจหรือไม่

       ข.   จะใช้เวลาในการเขียนเท่าใด

       ค.   จะหาข้อมูลการเขียนที่ใด

       ง.   จะเขียนเรื่องอะไร

   8.  การเขียนเรียงความเรื่องภัยจากโรคเอดส์ ควรเขียนสรุปจบด้วยวิธีใดจึงจะเหมาะสม และเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน

       ก.   สรุปด้วยการฝากคำถามให้คิด

       ข.   สรุปด้วยการสั่งสอน และฝากให้คิด

       ค.   สรุปด้วยการชี้ให้เห็นภัยที่เกิดจากโรคเอดส์

       ง.   สรุปด้วยการอธิบายให้เข้าใจภัยจากโรคเอดส์

   9.  การพัฒนางานเขียนเรียงความให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด ผู้เขียนจะต้องทำสิ่งใดก่อน

       ก.   วางแผนการเขียนด้วยตนเอง

       ข.   เลียนแบบงานเขียนของผู้อื่น

       ค.   สรุปเรื่องราวแนวคิดที่มีผู้เขียนเอาไว้

       ง.   ศึกษาตัวอย่างงานเขียนอย่างหลากหลาย

10.  กุหลาบ เป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว เป็นการเขียนคำนำเรียงความโดยใช้กลวิธีใด

       ก.   เริ่มต้นด้วยการให้ความหมาย

       ข.   เริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่อง

       ค.   เริ่มต้นด้วยการอธิบาย     

       ง.   เริ่มต้นด้วยคำถาม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

การเขียนเชิงวิชาการ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

       ก.   ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล

       ข.   กำหนดจุดมุ่งหมาย

       ค.   เลือกหัวข้อรายงาน

       ง.   วางโครงเรื่อง

   2.  วิธีการบันทึกข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประกอบการเขียนรายงานเชิงวิชาการนิยมใช้วิธีใด

       ก.   เขียนบันทึกรายวัน

       ข.   บันทึกรูปภาพทั่วไป

       ค.   บันทึกเสียงการสนทนา

       ง.   จดบันทึกตามความเป็นจริง

   3.  ส่วนประกอบของรายงานเชิงวิชาการ ส่วนใดมีความสำคัญน้อยที่สุด

       ก.   ใบรองปก

       ข.   สารบัญ

       ค.   คำนำ

       ง.   ปกใน

   4.  การกำหนดว่าจะเขียนเรื่องอะไร เขียนแนวไหน และประเด็นใด จัดอยู่ในขั้นตอนใดของการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

       ก.   ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล

       ข.   กำหนดจุดมุ่งหมาย

       ค.   เลือกหัวข้อรายงาน

       ง.   วางโครงเรื่อง

   5.  การเขียนเชิงวิชาการ มีลักษณะอย่างไร

       ก.   เขียนแสดงความคิดเห็นเป็นระบบ ใช้ภาษาที่กระชับรัดกุม

       ข.   เขียนอย่างมีหลักการ ใช้ภาษาที่ถูกต้องประณีตสวยงาม

       ค.   เขียนตรงไปตรงมา มุ่งเสนอข้อคิดเห็นเป็นสำคัญ

       ง.   เขียนเป็นระบบแบบแผน ใช้ภาษาที่เป็นทางการ

   6.  เชิงอรรถเขียนอยู่ในส่วนใดของรายงาน

       ก.   ส่วนเนื้อหา

       ข.   ภาคผนวก                  

       ค.   ส่วนหน้า

       ง.   ส่วนท้าย

   7.  งานเขียนข้อใด ไม่ใช่การเขียนเชิงวิชาการ

       ก.   สารคดีเชิงวิชาการ

       ข.   รายงานการทดลอง

       ค.   การเขียนบันทึก

       ง.   รายงานการวิจัย

   8.  การเรียบเรียงข้อมูลเพื่อนำเสนอเป็นรายงานที่ถูกต้อง

       ให้ปฏิบัติอย่างไร

       ก.   เขียนแสดงความคิดเห็นโดยใช้ข้อมูลที่ค้นคว้า

            มาเป็นส่วนประกอบ

       ข.   เรียบเรียงข้อมูลที่ค้นคว้ามาโดยใช้สำนวนผู้เขียนเอง

       ค.   นำข้อมูลที่จดบันทึกไว้มาตัดต่อให้สัมพันธ์กัน

       ง.   เขียนสรุปข้อมูลที่ค้นคว้ามา

   9.  ดัชนีในรายงานเชิงวิชาการ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

       ก.   แสดงจุดประสงค์ในการเขียนรายงาน

       ข.   รายละเอียดในการลำดับเนื้อหา

       ค.   บอกลำดับเนื้อหา

       ง.   บัญชีคำ

10.  ข้อมูลภาคสนามมีที่มาอย่างไร

       ก.   จารึก จดหมายเหตุที่ไปสืบค้นมา

       ข.   การสังเกต สัมภาษณ์ ทดลอง

       ค.   เอกสารที่มีผู้รวบรวมไว้

       ง.   ตำราที่มีผู้เขียนขึ้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

การเขียนสารคดี

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  “เป็นการตั้งกรอบความคิดในการเขียนสารคดีว่าจะบรรจุเนื้อหาอะไรให้ผู้อ่านได้บ้าง”

       ข้อความนี้เป็นหลักการเขียนสารคดีข้อใด

       ก.   การตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียน

       ข.   การรวบรวมข้อมูล

       ค.   การวางโครงเรื่อง

       ง.   การเลือกเรื่อง

   2.  การสอดแทรกความบันเทิงในการเขียนสารคดีมากไป

       จะเป็นผลเสียอย่างไร

       ก.   ทำให้แบบแผนการเขียนสารคดีไม่มีความหมาย

       ข.   ทำให้ความน่าสนใจในเชิงวิชาการลดลง

       ค.   ทำให้ลักษณะของสารคดีผิดเพี้ยนไป

       ง.   ทำให้คุณค่าของสารคดีน้อยลง

   3.  การแทรกเกร็ด ตำนาน นิทาน เรื่องขำขันในสารคดีท่องเที่ยวเป็นผลดีอย่างไร

       ก.   เป็นการสร้างความสมบูรณ์ให้กับเนื้อเรื่อง

       ข.   เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

       ค.   เป็นการเสริมความรู้ให้ผู้อ่าน

       ง.   เป็นการเร้าใจผู้อ่าน

   4.  สารคดีท่องเที่ยวเปรียบได้กับงานเขียนประเภทใดในสมัยก่อน

       ก.   จดหมายเหตุรายวัน

       ข.   บันทึกความทรงจำ

       ค.   บทเห่                         

       ง.   นิราศ

   5.  สารคดีเป็นงานเขียนที่มีจุดมุ่งหมายอย่างไร

       ก.   ให้ความรู้บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงที่เกิดเรื่องขึ้น

       ข.   ให้ความรู้ ข้อคิด ข้อเท็จจริงและคติเตือนใจ

       ค.   ให้ความรู้และความเพลิดเพลิน

       ง.   ให้ความรู้เรื่องราวที่เป็นสาระ

   6.  การเขียนสารคดีเกี่ยวกับสัตว์ มีวิธีการเขียนอย่างไร

       ก.   เขียนให้เห็นภาพและลีลาการเคลื่อนไหว

       ข.   เขียนโดยแทรกอารมณ์ความรู้สึก

       ค.   เขียนโดยเน้นความสมจริง

       ง.   เขียนโดยเน้นข้อเท็จจริง

   7.  ข้อใด ไม่ใช่การเขียนสารคดีเกี่ยวกับสัตว์

       ก.   บรรยายกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่สัตว์เข้าไปเกี่ยวข้อง

       ข.   บรรยายคุณธรรม จริยธรรมของสัตว์

       ค.   บรรยายธรรมชาติของสัตว์

       ง.   บรรยายลักษณะของสัตว์

   8.  สิ่งใดเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนสารคดีท่องเที่ยว

       ก.   ศิลปะในการเล่าเรื่องและการให้ข้อคิด

       ข.   ประวัติความเป็นมาของสถานที่

       ค.   ประสบการณ์การเดินทาง

       ง.   ความรู้ความคิด

   9.  ภาษาที่ใช้ในการเขียนสารคดี มีลักษณะอย่างไร

       ก.   ใช้ภาษาตามความนิยมในแต่ละยุคเพื่อไม่ให้

            เป็นที่น่าเบื่อหน่าย

       ข.   ใช้ภาษาหลายรูปแบบผสมกันเพื่อดึงดูดความสนใจ

            ของผู้อ่าน

       ค.   ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักภาษา มีความตรงไปตรงมากะทัดรัด

       ง.   ใช้ภาษาแบบแผนตามแบบการเขียนเรื่องทางวิชาการ

10.  การเขียนในข้อใดต่างไปจากพวก

       ก.   เขียนเพื่อโน้มน้าวให้เกิดความร่วมมือในด้านต่างๆ

       ข.   เขียนด้วยข้อความที่ยั่วยุให้ผู้อ่านคิดหาคำตอบ

       ค.   เขียนด้วยเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีต

       ง.   เขียนโดยการตั้งข้อสังเกตบางประการ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

การประเมินคุณค่างานเขียน

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  การประเมินคุณค่า หมายความว่าอย่างไร

       ก.   การจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน

       ข.   การเปรียบเทียบเรื่องที่อ่าน

       ค.   การพิจารณาเรื่องที่อ่าน

       ง.   การตัดสินเรื่องที่อ่าน

   2.  บทสนทนาในเรื่องสั้นมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบใด

       ก.   โครงเรื่อง               

       ข.   แก่นเรื่อง

       ค.   ตัวละคร                 

       ง.   ฉาก

อ่านกวีนิพนธ์ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 3-5

กวีนิพนธ์ เพลงชิงช้า

            ฉันจะไกว ไกวชิงช้า ไกวช้าช้า

            ไกวเธอไป ไปถึงฟ้า เวหาหาว

            ค่อยโยนไกว โยนเธอไป ถึงดวงดาว

            ผมเธอยาว ยาวสยาย จดปลายฟ้า

            ไกวตอนเช้า ถึงดวงดาว ในยามค่ำ

            ให้งามขำ เก็บดาวใส่ตะกร้า

            เลือกดาวดวงแพรวทำแก้วตา

            และเอามาฝากคนตาบอดเอย

                                             ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

   3.  กวีนิพนธ์ที่ยกมานี้มีความงามด้านการประพันธ์ในข้อใดเด่นชัดที่สุด

       ก.   การใช้คำที่ให้อารมณ์และความรู้สึก

       ข.   การใช้คำง่ายแต่มีความหมายลึกซึ้ง

       ค.   การใช้คำที่มีเสียงเสนาะ

       ง.   การใช้โวหารภาพพจน์

   4.  ข้อความในข้อใดมีคุณค่าเพื่อสังคม

       ก.   ไกลเธอไป ไปถึงฟ้า เวหาหาว

       ข.   ค่อยโยนไกว โยนเธอไป ถึงดวงดาว

       ค.   เลือกดาวดวงแพรวทำแก้วตา

       ง.   และเอามาฝากคนตาบอดเอย

   5.  ข้อความในข้อใดเป็นอุปมาโวหาร

       ก.   ค่อยโยนไกว โยนเธอไป ถึงดวงดาว

       ข.   ผมเธอยาว ยาวสยาย จดปลายฟ้า

       ค.   ไกวตอนเช้า ถึงดวงดาว ในยามค่ำ

       ง.   ให้งามขำ เก็บดาวใส่ตะกร้า

   6.  การประเมินคุณค่าเรื่องสั้น ต้องพิจารณาสิ่งใดเป็นสำคัญ

       ก.   ความสมจริงในการนำเสนอปัญหาสังคมอย่างเป็น     รูปธรรมในงานเขียน

       ข.   ความบันเทิงและข้อคิดให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต     และสังคม

       ค.   ความบันเทิงและเหตุการณ์สำคัญที่มีผลต่อสภาพสังคม

       ง.   ข้อคิดและการจรรโลงใจ

   7.  การประเมินคุณค่างานเขียนต้องเริ่มต้นในขั้นตอนใด

       ก.   ศึกษาประเภทของหนังสือ

       ข.   อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน

       ค.   ประเมินคุณค่า

       ง.   ตีความ

อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 8-10

       หน้าตาฮิตเลอร์นั้นเหมือนฝรั่งอย่างธรรมดาที่สุด      ถึงจะพบเห็นหลายหนก็จะจำไม่ได้หรือถึงจะจำได้ก็ลืม       ได้ง่ายเช่นเดียวกัน ฮิตเลอร์จึงยืมลักษณะพิเศษของคนที่มีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์สองคนมาใส่ไว้บนใบหน้าของตน คือ ผมปรกหน้าของโปเลียน และหนวดของชาร์ลี  แชปลิน จนถึงทุกวันนี้คนก็ยังจำฮิตเลอร์ได้ด้วยของสองสิ่งนี้เท่านั้น หน้าตาอันแท้จริงของฮิตเลอร์จะเป็นอย่างไรก็ไม่มีใครจำได้เสียแล้ว

         ปู่ของฮิตเลอร์นั้นไม่ทราบว่าเป็นใคร เพราะย่าของ ฮิตเลอร์มีอาชีพเป็นหญิงรับใช้เร่ร่อน แกก็ไม่รู้เหมือนกัน  อยู่ๆ ก็ท้องขึ้นมาเฉยๆ พ่อของฮิตเลอร์มีเมีย 3 คน เมียคนที่ 3 ซึ่งเป็นแม่ของฮิตเลอร์นั้นอ่อนกว่าพ่อฮิตเลอร์ 23 ปี  ซึ่งออกจะอ่อนกว่ากันมากไปหน่อย แต่ก็น่าเห็นใจพ่อของฮิตเลอร์อยู่ ฮิตเลอร์เกิดใน ค.ศ. 1889 ชีวิตตอนต้นของ      ฮิตเลอร์ดูแล้วก็เหมือนของในถังขยะ เพราะทำอะไรก็หาดีได้ยาก เมื่อเป็นนักเรียนก็โง่ เรียนไม่ได้ไกล เป็นทหารก็เป็นได้แค่สิบตรีเท่ากับผมผู้เขียนเรื่องนี้ ฮิตเลอร์เคยเข้าเรียนวิจิตรศิลป์เพราะฝันอยากจะเป็นช่างเขียนที่มีชื่อเสียง  แต่เรียนไปแล้วก็ไม่สำเร็จ แค่ภาพแอ็บสแตรคก็เขียนไม่ได้  จึงยึดอาชีพช่างทาสีบ้าน เพราะใจรักทางนี้จริงๆ ไม่ได้ ป้ายสีลงบนผืนผ้าใบก็ขอให้ได้ทาสีบนผนังบ้านก็ยังดี   หากศิลปินบางคนในเมืองไทยทุกวันนี้มีมานะอย่างฮิตเลอร์ก็คงจะเอาดีได้ในสักวันหนึ่ง รัฐบุรุษต่างๆ ที่เคยพบปะพูดจากับฮิตเลอร์นั้น มักจะต้องตะลึงในการขาดความรู้และความหยาบคายของฮิตเลอร์”

               ที่มา : เรื่องยิว ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

   8.  ข้อความนี้เป็นงานเขียนประเภทใด

       ก.   เอกสารประวัติศาสตร์

       ข.   นวนิยาย

       ค.   เรื่องสั้น

       ง.   สารคดี

   9.  การประเมินคุณค่าข้อความนี้ ต้องพิจารณาองค์ประกอบใดบ้าง

       ก.   วิธีการนำเสนอ เนื้อหา ผู้แต่ง การใช้ภาษา คุณค่า

       ข.   ความเป็นมา เนื้อหา ผู้แต่ง การใช้ภาษา คุณค่า

       ค.   เนื้อหา วิธีการนำเสนอ การใช้ภาษา คุณค่า

       ง.   ความเป็นมา เนื้อหา ผู้แต่ง การนำเสนอ

10.  ข้อความนี้มีวิธีการเปิดเรื่องอย่างไร

       ก.   เปิดเรื่องโดยการนำรูปลักษณ์ซึ่งคนทั่วไปรู้จัก

            เจ้าของเรื่องมาเล่า

       ข.   เปิดเรื่องโดยการแนะนำให้รู้จักกับบุพการีเจ้าของเรื่อง

       ค.   เปิดเรื่องโดยการนำข้อมูลสาธารณะมาเล่า

       ง.   เปิดเรื่องโดยการนำประวัติส่วนตัวมาเล่า


หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  การมีคุณลักษณะของการเป็นผู้ดู ผู้ฟังที่ดีต้องปฏิบัติอย่างไร

       ก.   เลือกฟังและดูสิ่งที่ดีมีประโยชน์

       ข.   มีวิจารณญาณในการฟังและดู

       ค.   มีมารยาทในการฟังและดู

       ง.   ตั้งใจฟังและดู

   2.  การฟังสารที่เป็นความรู้ การพิจารณาในข้อใดสำคัญที่สุด

       ก.   การบันทึกความรู้ช่วยความจำเรื่องที่ฟัง

       ข.   การจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟัง

       ค.   การใช้ถ้อยคำของผู้ส่งสาร

       ง.   ประโยชน์ของสารที่ฟัง

   3.  การนำความรู้ซึ่งได้จากการฟังและดูไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ฟังและดูต้องทำอย่างไร

       ก.   พิจารณาข้อเท็จจริงและความรู้ความเหมาะสม

            ของผู้ส่งสาร

       ข.   พิจารณาความถูกต้องของสารและวิธีการส่งสาร

       ค.   พิจารณาความรู้และความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร

       ง.   พิจารณาความถูกต้องและคุณค่าของสาร

   4.  เหตุใดเราจึงต้องใช้มารยาทในการฟัง เมื่อไปฟังการพูดในที่สาธารณะ

       ก.   เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่คนทั่วไป

       ข.   เพื่อแสดงถึงความเป็นผู้มีวัฒนธรรม

       ค.   เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ฟังอื่นๆ

       ง.   เพื่อให้เกียรติผู้พูด

   5.  การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ มีกระบวนการอย่างไร

       ก.   ฟัง พิจารณาจุดเด่น จุดด้อย ประเมินค่า นำไปใช้

       ข.   ฟัง คิดไตร่ตรอง ตัดสินใจ ประเมินค่า นำไปใช้

       ค.   ฟัง คิดไตร่ตรอง ตัดสินใจ นำไปใช้

       ง.   ฟัง ตัดสินใจ นำไปใช้

   6.  ผู้ส่งสารโน้มน้าวใจ จะใช้ภาษาที่มีลักษณะอย่างไร

       ก.   ภาษาเร้าอารมณ์ให้คล้อยตาม

       ข.   ภาษาที่สร้างจินตนาการ

       ค.   ภาษาที่ใช้สนทนา

       ง.   ภาษาภาพพจน์

   7.  นางสาวปานดาวเป็นนักกีฬายกน้ำหนัก เลือกฟังและดูรายการเกี่ยวกับอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง นางสาวปานดาวมีจุดมุ่งหมายอย่างไรในการฟัง

       ก.   ฟังเพื่อประกอบอาชีพ

       ข.   ฟังเพื่อเพิ่มพูนความรู้

       ค.   ฟังเพื่อพัฒนาตนเอง

       ง.   ฟังเพื่อความบันเทิง

   8.  สารจรรโลงใจ มีลักษณะอย่างไร

       ก.   ให้แง่คิด คติเตือนใจ และให้กำลังใจผู้ฟัง

       ข.   ให้กำลังใจในการต่อสู้กับชีวิต

       ค.   ให้ความบันเทิงและข้อคิด

       ง.   ให้ความรู้และความบันเทิง

   9.  สารโน้มน้าวใจ มีลักษณะเด่นอย่างไร

       ก.   เสนอข้อมูลที่เกินจากความเป็นจริงไปบ้าง

       ข.   เสนอข้อคิดเห็นซึ่งปฏิบัติตามได้

       ค.   เสนอความรู้และข้อคิด

       ง.   เสนอข้อเท็จจริง

10.  การฟังสารจรรโลงใจให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด ควรทำอย่างไร

       ก.   พิจารณาคุณค่าสารที่ได้รับฟัง

       ข.   ทำความเข้าใจเรื่องที่ฟัง

       ค.   ตั้งจุดประสงค์ในการฟัง

       ง.   ตั้งใจฟัง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

การพูดโน้มน้าวใจ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  ข้อใดแสดงมารยาทในการพูดได้ถูกต้องและเหมาะสม

       ก.   ปราง กล่าวทักทายคณะครูที่มาตรวจเยี่ยมโรงเรียนอย่างเป็นกันเอง

       ข.   ปุ้ย พูดขยายข้อบกพร่องของเพื่อนที่นำเสนอผลงานเสร็จก่อน

       ค.   ปอ พูดถึงปมด้อยของป่านเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน

       ง.   แป้ง พูดกับเพื่อนในที่สาธารณะด้วยถ้อยคำสุภาพ

   2.  การโน้มน้าวใจ หมายความว่าอย่างไร

       ก.   การกระทำโดยวิธีการต่างๆ เพื่อเปลี่ยนความเชื่อ        ทัศนคติ ค่านิยมและการกระทำของบุคคล

       ข.   ความคิดที่จะให้ผู้อื่นร่วมมือกับตนกระทำในสิ่งที่         ตนเองต้องการเปลี่ยนแปลง

       ค.   ความต้องการให้ผู้อื่นมีความคิดเห็นและการกระ          ทำตามที่ตนต้องการ

       ง.   ความพยายามในการทำให้บุคคลอื่นเปลี่ยนแปลง         ทัศนคติ

   3.  การพูดโดยยกประโยชน์ ข้อดี ข้อเสียของสิ่งนั้นๆให้ผู้รับสารทราบ เป็นการพูดโน้มน้าวใจประเภทใด

       ก.   การพูดขอร้องวิงวอน    

       ข.   การพูดโฆษณา

       ค.   การพูดเชิญชวน           

       ง.   การพูดโต้แย้ง

   4.  การโต้วาที จัดเป็นการพูดโน้มน้าวใจประเภทใด

       ก.   การพูดขอร้องวิงวอน     ข.   การพูดเชิญชวน

       ค.   การพูดโต้แย้ง              ง.   การพูดโฆษณา

   5.  สจฺจํ เว อมตา วาจา คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย

       พุทธภาษิตบทนี้สอนให้มีคุณลักษณะอย่างไรในการพูด

       ก.   จริยธรรมในการพูด      

       ข.   คุณธรรมในการพูด

       ค.   มารยาทในการพูด       

       ง.   จรรยาในการพูด

อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 6-9

            เมืองไทยมีสิ่งมหัศจรรย์ที่รอท่านค้นหาอีกมากมาย ทั้งธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ผู้คนที่มีมิตรไมตรี  ยิ่งท่องเที่ยว ยิ่งเรียนรู้ ยิ่งรักเมืองไทย ร่วมภาคภูมิใจในความเป็นไทย แล้วท่านได้เดินทางไปสัมผัสความมหัศจรรย์ของเมืองไทยแล้วหรือยังคะ

   6.  ข้อความนี้เป็นการพูดในลักษณะใด

       ก.   การพูดขอร้องวิงวอน        

       ข.   การพูดเชิญชวน

       ค.   การพูดโฆษณา             ง.การพูดโต้แย้ง

   7.  วิธีการพูดจากคำตอบที่ถูกต้องในข้อ 6 มีจุดมุ่งหมายอย่างไร

       ก.   เพื่อให้ผู้ฟังมีความรู้สึกอยากกระทำตามเจตนา

            ของผู้พูด

       ข.   เพื่อชักจูงให้กระทำหรือเลิกกระทำตามที่ต้องการ

       ค.   เพื่อให้ผู้อื่นรู้สึกเห็นอกเห็นใจ

       ง.   เพื่อหักล้างเหตุผลของอีกฝ่าย

   8.  การพูดข้อความนี้ ผู้พูดใช้กลวิธีใดในการโน้มน้าวใจ

       ก.   การแสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล

       ข.   การทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมกัน

       ค.   การสร้างความน่าเชื่อถือในตัวผู้พูด

       ง.   การแสดงให้เห็นผลดี

   9.  จุดร่วมในการพูดนี้ คือประเด็นใด

       ก.   มีความชื่นชมในศิลปวัฒนธรรมไทยเหมือนกัน

       ข.   มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยเหมือนกัน

       ค.   รักการท่องเที่ยวเหมือนกัน

       ง.   เป็นคนไทยเหมือนกัน

10.  การพูดใดไม่สอดคล้องกับการแสดงความนับถือผู้ฟัง

       ก.   พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์

       ข.   รู้จักกล่าวคำปฏิสันถาร

       ค.   ใช้คำสุภาพในการพูด    

       ง.   รักษาเวลาในการพูด

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9

ลักษณะของภาษา

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  ข้อใดกล่าวถึงพยัญชนะไทยได้ถูกต้องที่สุด

       ก.   พยัญชนะไทย มี 44 รูป สามารถใช้เป็นเสียงพยัญชนะ

            ต้นได้ 8 เสียง เป็นตัวสะกด 21 เสียง

       ข.   พยัญชนะไทย มี 44 รูป สามารถใช้เป็นเสียงพยัญชนะ

            ต้นได้ 21 เสียง เป็นตัวสะกด 8 เสียง

       ค.   พยัญชนะไทย มี 44 รูป สามารถใช้เป็นเสียงพยัญชนะ

            ต้นได้ 42 เสียง เป็นตัวสะกด 8 เสียง

       ง.   พยัญชนะไทย มี 44 รูป สามารถใช้เป็นเสียงพยัญชนะ

            ต้นได้ 44 เสียง เป็นตัวสะกด 8 เสียง

   2.  ประโยคต่อไปนี้เป็นประโยคชนิดใด

       จะไปเรียนว่ายน้ำ      หรือไม่ก็      เล่นดนตรีอยู่ที่บ้าน

       ก.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

       ข.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน

       ค.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความคล้อยตามกัน

       ง.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความขัดแย้งกัน

   3.  ประโยคต่อไปนี้เป็นประโยคชนิดใด

       เขามีฐานะดี        แต่         ไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น

       ก.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

       ข.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน

       ค.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความคล้อยตามกัน

       ง.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความขัดแย้งกัน

 4.  ประโยคต่อไปนี้เป็นประโยคชนิดใด

     นกเป็นคนขยันมาก  ฉะนั้นจึง  สอบชิงทุนไปต่างประเทศได้

       ก.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

       ข.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน

       ค.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความคล้อยตามกัน

       ง.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความขัดแย้งกัน

     5.  ประโยคต่อไปนี้เป็นประโยคชนิดใด

       อาหารจานนี้อร่อย     และ     มีประโยชน์สำหรับร่างกาย

       ก.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

       ข.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน

       ค.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความคล้อยตามกัน

       ง.   ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลี

            แล้วมีใจความขัดแย้งกัน

   6.  เขาร้องเพลงเพราะ ประโยคนี้บอกลักษณะใดของภาษาไทย

       ก.   มีวรรคตอนในการเขียนและมีจังหวะในการพูด

       ข.   มีการใช้คำพูดที่เหมาะสมกับโอกาสและบุคคล

       ค.   คำขยายจะอยู่หลังคำที่ถูกขยาย

       ง.   การเรียงลำดับคำในประโยค

   7.  ข้อใดเป็นสระประสมทุกคำ

       ก.   แอะ อัว เอือ            

       ข.   เอีย เอือ อัว

       ค.   เอีย เอือ อัง             

       ง.   เอีย เอือ อัม

8. คำว่า ขึ้น ในประโยคใดหมายถึง นิยม นับถือ

       ก.   หมอดูทำนายว่าปีนี้เขาดวงดีทำอะไรก็ขึ้น

       ข.   พระจันทร์ข้างขึ้นทอแสงนวลอร่ามตา

       ค.   พระรูปนี้มีคนขึ้นมาก

       ง.   น้ำมันขึ้นราคาทุกวัน

   9เดินเร็วๆ ซิ ข้อความนี้เป็นประโยคบอกให้ทำชนิดใด

       ก.   อ้อนวอน ขอร้อง            

       ข.   ขอร้องไม่ให้ทำ

       ค.   เจตนาจะให้ทำ              

       ง.   แสดงคำสั่ง

10. ห้ามนำสุนัขเข้ามาในร้านอาหาร ข้อความนี้เป็นประโยคบอกให้ทำชนิดใด

       ก.   อ้อนวอน ขอร้อง            

       ข.   ขอร้องไม่ให้ทำ

       ค.   เจตนาจะให้ทำ              

       ง.  แสดงคำสั่ง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10

วัฒนธรรมกับภาษา

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  การอนุรักษ์ภาษาทำได้อย่างไร

       ก.   ภูมิใจในภาษาตนและใช้ภาษาให้ถูกต้องตาม

            หลักภาษา

       ข.   ใช้ภาษาแบบแผนในการสื่อสารทางราชการ

       ค.   รับภาษาอื่นเข้ามาเมื่อภาษาของเราไม่พอใช้

       ง.   พัฒนาภาษาไปตามยุคสมัย

   2.  การแบ่งประเภทของภาษาถิ่นใช้หลักการในการแบ่งอย่างไร

       ก.   แบ่งตามขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม

       ข.   แบ่งตามสภาพการปกครอง

       ค.   แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์

       ง.   แบ่งตามสภาพสังคม

   3.  ภาษาไทยมาตรฐาน มีลักษณะอย่างไร

       ก.   เป็นภาษาที่พัฒนาแล้วใช้รูปแบบไวยากรณ์ของ     ต่างชาติ

       ข.   เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของบุคคลในระดับสูง

       ค.   เป็นภาษาของผู้ที่มีการศึกษา

       ง.   เป็นภาษาที่ใช้ในเมืองหลวง

   4.  วรรณกรรมเป็นผลผลิตของการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามวัฒนธรรมข้อใด

       ก.   ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาเชิงสร้างสรรค์

       ข.   ใช้ภาษาถูกต้องตามแบบแผนของภาษา

       ค.   ใช้ภาษาถูกต้องตามสำนวนภาษา

       ง.   ใช้ภาษาถูกต้องตามความหมาย

   5.  ภาษาถิ่น หมายถึงภาษาที่มีลักษณะอย่างไร

       ก.   ภาษาที่มีต้นเค้ามาจากแหล่งเดียวกัน แต่มาแตกต่าง     ตามสภาพภูมิศาสตร์

       ข.   ภาษาย่อยของภาษาใดภาษาหนึ่งแตกต่างกัน

            ไปตามท้องถิ่น

       ค.   ภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมของคน

            ในท้องถิ่น

       ง.   ภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ใช้สื่อสารเฉพาะท้องถิ่น

   6.  เหตุใดจึงกล่าวว่า ภาษาเป็นวัฒนธรรมของชาติ

       ก.   เพราะภาษาเป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของ     คนในชาติที่สร้างสมกันมาช้านาน

       ข.   เพราะภาษามีบทบาทต่อประเทศชาติตั้งแต่อดีตจนถึง     ปัจจุบันต่อไปถึงอนาคต

       ค.   เพราะภาษาเป็นสิ่งที่คนในชาติสร้างขึ้นและพัฒนาไป     ตามยุคสมัย

       ง.   เพราะภาษาเป็นเครื่องมือบันทึกเรื่องราวของคนในชาติ

   7.  นายกิตติศักดิ์ไปพูดให้ร้ายนางสาวอารีวรรณต่อหน้าสาธารณชน แล้วมางุบงิบขอโทษในภายหลัง เหตุการณ์นี้ถ้าจะใช้เป็นสำนวนไทยให้ถูกต้องตามวัฒนธรรมการใช้ภาษา ควรใช้ว่าอย่างไร

       ก.   ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวปิดไม่มิด

       ข.   ตบหัวที่ศาลา ไปขอขมาที่บ้าน

       ค.   ปัสสาวะให้พ้นตัว

       ง.   ถ่มน้ำลายรดฟ้า

   8.  การที่ชาวบ้านในบางท้องถิ่นไม่ได้ใช้ภาษาถิ่นนั้นๆ

       แต่ไปใช้ภาษาถิ่นอื่นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร

       ก.   การผสมกลมกลืนทางเชื้อชาติ

       ข.   การรับวัฒนธรรม

       ค.   การอพยพย้ายถิ่น

       ง.   การศึกษาภาษา

   9.  คำในข้อใดใช้เป็นคำลงท้ายประโยคทุกคำ

       ก.   เจ้า ใช่ กอ              ข.  หา จา แน

       ค.   สิ นอ เห่ย              ง.   ตะ เด้อ ฮื่อ

10.  ภาษาถิ่นใดเป็นคำพูดห้วนๆ สั้นๆ

       ก.   ภาษาถิ่นกลาง         ข.  ภาษาถิ่นเหนือ

       ค.   ภาษาถิ่นอีสาน        ง.   ภาษาถิ่นใต้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11

การแต่งคำประพันธ์ประเภทร่ายและฉันท์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  คำที่ใช้ในการแต่งร่าย ควรมีลักษณะอย่างไร

       ก.   คำที่มีพลัง ใช้คำน้อย มีความหมายมาก

       ข.   มีความหมายลึกซึ้ง

       ค.   สั้นๆ เข้าใจง่าย

       ง.   ให้ภาพพจน์

   2.  การแต่งร่ายสุภาพต้องจบลงด้วยบทร้อยกรองประเภทใด

       ก.   โคลงสองสุภาพ        ข.  โคลงสามสุภาพ

       ค.   โคลงสองดั้น            ง.   โคลงสามดั้น

   3.  ลักษณะบังคับชนิดใดที่ทำให้ฉันท์มีความแตกต่างจากบทร้อยกรองประเภทอื่น

       ก.   การจบบท              ข.  ครุ ลหุ

       ค.   สัมผัส                    ง.   คณะ

   4.  ร่ายสุภาพปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องใดเป็นเรื่องแรก

       ก.   มหาเวสสันดรชาดก  ข.  โองการแช่งน้ำ

       ค.   จารึกวัดศรีชุม          ง.   ลิลิตพระลอ

   5.  คำประพันธ์ประเภทร่าย มีข้อแตกต่างจากบทร้อยกรองประเภทอื่นอย่างไร

       ก.   มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าบทร้อยกรอง           ประเภทอื่น

       ข.   มีการเลือกใช้คำแตกต่างจากบทร้อยกรอง                ประเภทอื่น

       ค.   มีการนำไปใช้แตกต่างจากบทร้อยกรองประเภท           อื่น

       ง.   มีฉันทลักษณ์น้อยกว่าบทร้อยกรองประเภทอื่น

   6.           ชะโดดุกกระดี่โดด     สลาดโลดยะหยอยหยอย

         กระเพื่อมน้ำพะพร่ำพรอย   กระฉอกฉานกระฉ่อนชล

         กระสร้อยซ่าสวายซิว        ระรี่ริ้วละวาดวน

         ประมวลมัจฉะแปมปน       ประหลาดเหลือจะรำพัน

       บทร้อยกรองข้างต้นเป็นฉันท์ชนิดใด

       ก.   มาณวกฉันท์ 8             ข.  วสันตดิลกฉันท์ 14

       ค.   ภุชงคประยาตฉันท์ 12   ง.  อินทรวิเชียรฉันท์ 11

   7.           เรืองรองพระมนทิรพิจิตร  กลพิศพิมานบน

         ก่องแก้วและกาญจนระคน       รุจิเรขอลงกรณ์

         ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด            ดลฟากทิฆัมพร

         บราลีพิไลพิศบวร                  นภศูลสล้างลอย

       บทร้อยกรองข้างต้นเป็นฉันท์ชนิดใด

       ก.   มาณวกฉันท์ 8             

       ข.  วสันตดิลกฉันท์ 14

       ค.   ภุชงคประยาตฉันท์ 12  

       ง.  อินทรวิเชียรฉันท์ 11

   8.           ทวย ธ กระทำ          กรรมพิเศษ

         อัศวเมธ                         ปูชยพลี

         เคลื่อนวรองค์                  ลงปฐพี

         สู่พระพิธี                        สาทรกรรม

       บทร้อยกรองข้างต้นเป็นฉันท์ชนิดใด

       ก.   มาณวกฉันท์ 8            

       ข.  วสันตดิลกฉันท์ 14

       ค.   ภุชงคประยาตฉันท์ 12  

       ง.   อินทรวิเชียรฉันท์ 11

   9.           ภาคพื้นพนารัญ        จรแสนสราญรมย์

          เนินราบสลับสม              พิศเพลินเจริญใจ

          โขดเขินศิรขรเขา             ณ ลำเนาพนาลัย

          สูงลิ่วละลานนั-                ยนพ้นประมาณหมาย

       บทร้อยกรองข้างต้นเป็นฉันท์ชนิดใด

       ก.   มาณวกฉันท์ 8             

       ข.  วสันตดิลกฉันท์ 14

       ค.   ภุชงคประยาตฉันท์ 12   

       ง.  อินทรวิเชียรฉันท์ 11

10.  ร่ายยาวนิยมแต่งเพื่อใช้ในงานประเภทใด

       ก.   บทสนุก ตลกขบขัน

       ข.   บทบวงสรวง สดุดี

       ค.   บทบรรยายทั่วไป

       ง.   บทโศกเศร้า

ข้อใดเป็นวิธีการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองประเภทฉันท์ที่ถูกต้อง

การอ่านฉันท์.
อ่านทอดจังหวะคำแต่ละวรรคตามแต่ชนิดของฉันท์.
อ่านออกเสียงคำให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับลหุครุของฉันท์แต่ละชนิด.
คำสุดท้ายวรรคที่ใช้คำเสียงจัตวา ต้องอ่านให้เสียงสูงเป็นพิเศษ เพื่อความไพเราะใช้คำเสียงจัตวาตรงท้ายคำบาทแรก.

การอ่านคำประพันธ์ควรมีความรู้ในเรื่องใดเป็นอันดับแรก

๑. ก่อนอ่านต้องสำรวจก่อนว่าบทร้อยกรองที่อ่านเป็นคำประพันธ์ชนิดใด ผู้อ่านต้องรู้ลักษณะชนิดของคำประพันธ์ที่อ่าน ๒. ต้องรู้จักข้อบังคับของคำประพันธ์ที่จะอ่าน คือ รู้จักสัมผัสคณะ ครุ ลหุ ๓. ต้องรู้จักจังหวะการแบ่งวรรคตอนคำประพันธ์แต่ละชนิด ๔. รู้จักทำนองเสนาะของคำประพันธ์แต่ละชนิด

การอ่านบทร้อยกรองที่ถูกต้องควรอ่านอย่างไร

หลักในการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง 1. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์ ศึกษาการแบ่งวรรคตอน จำนวนคำ เสียงวรรณยุกต์ เสียงหนักเบา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของคำประพันธ์แต่ละประเภท 2. อ่านให้มีลีลา รู้จักใช้เสียงเอื้อนและรู้จักทอดจังหวะให้เกิดความไพเราะ การอ่านคำประพันธ์ประเภทโคลง

การอ่านทํานองเสนาะมีความสําคัญอย่างไร

ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านทำนองเสนาะ ๑. ผู้ฟังเข้าถึงความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน ๒. ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้งในเนื้อหา ๓. เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ๔. จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วแม่นยำ ๕. ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยน ๖. ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกของชาติ