สิ่ง ที่ ได้ จากการปะทุของ ภูเขาไฟ

เรียบเรียงโดย : ธนภูมิ โฆษิตานนท์ และ สันติ ภัยหลบลี้

Show

 ภูเขาไฟปะทุ (volcanic eruption) ถือได้ว่าเป็น 1 ใน 5 ภัยพิบัติทางธรณีวิทยา ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งด้วย รูปแบบของการประทุภูเขาไฟที่แตกต่างกันทำให้ระดับความรุนแรงของภูเขาไฟนั้นต่างกันไปด้วย โดยในบรรดาภูเขาไฟที่เคยปะทุและมีการบันทึกไว้ในอดีต มนุษย์ก็หลบได้บ้างไม่ได้บ้าง และมีบางเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหาให้กับมนุษย์ได้อย่างเจ็บปวด ลองไปดูกันครับว่ามีเหตุการณ์ไหนที่ติดชาร์ท ท๊อปเท็นการปะทุของภูเขาไฟที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดในโลก กันบ้าง

1) ภูเขาไฟตัมโบรา (Tambora) ประเทศอินโดนีเซีย ค.ศ. 1815 (VEI 7)

 วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) ภูเขาไฟตัมโบรา ทางตอนกลาง ของหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย เกิดการปะทุและอัดฉีดปล่อยเถ้าถ่านภูเขาไฟไปบนท้องฟ้าสูงถึง 40 กิโลเมตร ซึ่งการปะทุในครั้งนี้ถือว่าเป็นการปะทุของภูเขาไฟที่ทรงพลังมากที่สุดในรอบ 500 ปี (VEI ระดับ 7) ความรุนแรงของตะกอนภูเขาไฟที่ไหลหลากลงไปในมหาสมุทรทำให้เกิดสึนามิในท้องถิ่น ประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ภูเขาไฟปะทุในครั้งนี้ถึง 120,000 ราย นอกจากนี้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จำนวนมหาศาลฟุ้งขึ้นไปอยู่ในบรรยากาศของโลก ทำให้อุณหภูมิทั่วโลกลดลง เกิดการเสียชีวิตจากการขาดแคลนอาหารในประเทศจีนหลายพันคน ในขณะที่เกิดการระบาดของไข้ในยุโรป และ 2 ปีหลังจากการปะทุ ราคาพืชผลในสวิตเซอร์แลนด์สูงขึ้นมากกว่าเดิมถึง 4 เท่า

สิ่ง ที่ ได้ จากการปะทุของ ภูเขาไฟ
(ซ้าย) ภาพถ่ายดาวเทียม (ขวา) ภาพมุมสูงของภูเขาไฟตัมโบรา แสดงให้เห็นปากปล่องภูเขาไฟ (volcanic crater) เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 กิโลเมตร และมีความลึก 1100 เมตร (ที่มา: NASA)

2) ภูเขาไฟกรากะตัว (Krakatoa) ประเทศอินโดนีเซีย ค.ศ. 1883 (VEI 6)

เช้าวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) ภูเขาไฟกรากะตัว (Krakatoa) ที่อยู่ระหว่างเกาะสุมาตราและเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เกิดการปะทุด้วยระดับความรุนแรง VEI 6 ซึ่งถือเป็นการปะทุที่ใหญ่เป็น 4 ที่มนุษย์เคยเห็น ความรุนแรงทำให้ผนังของตัวภูเขาไฟถล่ม เกิดดินถล่มลงมหาสมุทรและทำให้เกิดสึนามิครั้งใหญ่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 36,000 ราย ทำลายบ้านเรือนและความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 1,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

สิ่ง ที่ ได้ จากการปะทุของ ภูเขาไฟ
(ซ้าย) ภาพถ่ายดาวเทียมของภูเขาไฟ (ขวา) ภาพวาดเหตุการณ์การปะทุของภูเขาไฟกรากะตัว เมื่อปี พ. ศ. 2431 (ที่มา: Parker และ Coward, Britain)

3) ภูเขาไฟลาไค (Laki) ประเทศไอซ์แลนด์ ค.ศ. 1783 (VEI 6)

ในช่วงปี พ.ศ. 2326 (ค.ศ. 1783) เกิดการปะทุของภูเขาไฟลาไค (Laki) ในประเทศไอซ์แลนด์ ซึ่งส่งผลกระทบด้านภัยพิบัติไปทั่วโลกเป็นเวลาหลายปี การปะทุครั้งล่าสุดใช้เวลาถึง 8 เดือน ทำให้เกิดลาวาไหลหลาก ซึ่งประเมินว่าลาวามีปริมาตรถึง 14.7 ลูกบาศก์กิโลเมตร เกิดก๊าซพิษฟุ้งกระจายและได้ทำลาย การปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟทำให้เกิดฝนกรด และอุณหภูมิทั่วโลกลดลง พืชพันธุ์ต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารให้กับสัตว์และมนุษย์ล้มตายเกิดภาวะความอดอยาก สัตว์ที่อยู่บนเกาะไอซ์แลนด์ร้อยละ 60 เสียชีวิตเนื่องจากขาดอาหาร และคร่าชีวิตประชาชนชาวไอซ์แลนด์ถึง 10,000 ราย หรือ 1 ใน 4 ของประชากรบนเกาะในเวลานั้น นอกจากนี้ก๊าซพิษดังกล่าว ยังแผ่ขยายไปทางตอนใต้ ทำให้ชาวอังกฤษเสียชีวิตถึง 23,000 ราย และยังเป็นผลให้เกิดความอดอยากในประเทศอียิปต์ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเกิดความอดอยากไปทั่วยุโรปและเป็นผลให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส

สิ่ง ที่ ได้ จากการปะทุของ ภูเขาไฟ
(ซ้าย) ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงแนวภูเขาไฟลาไค (ขวา) ภาพมุมสูงแสดงรอยแยกของเปลือกโลกและแนวของกลุ่มภูเขาไฟลาไค ประเทศไอซ์แลนด์ (ที่มา: Chmee2 / Valtameri / Wikimedia)

4) ภูเขาไฟเปอเล (Pelée) ทะเลแคริบเบียน ค.ศ. 1902 (VEI 4)

ภูเขาไฟเปอเล (Pelée) ในทะเลแคริบเบียน เป็นภูเขาไฟมีพลัง ที่ตั้งอยู่ในส่วนปลายด้านทิศเหนือของหมู่เกาะเวสต์อินดี ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) เกิดการปะทุของภูเขาไฟเปอเลขึ้นด้วยระดับความรุนแรงประมาณ VEI 4 เป็นการปะทุที่รุนแรงที่สุดในศตวรรษที่ 20 ผลจากการปะทุทำให้เกิดก๊าซร้อนและเศษโคลนจากภูเขาไฟถล่ม ทำลายเมือง St Pierre เกือบทั้งเมือง มีผู้รอดชีวิตเพียง 2 คน จากจำนวนประชากร 28,000 คน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

สิ่ง ที่ ได้ จากการปะทุของ ภูเขาไฟ
(ซ้าย) ภาพถ่ายดาวเทียมของภูเขาไฟเปอเล (ขวา) กลุ่มเถ้าภูเขาไฟจากการปะทุในปี ค.ศ. 1902 (ที่มา: Angelo Heilprin, US Geology 1853-1907)

5) ภูเขาไฟอิลโลปังโก (Ilopango) ประเทศเอลซัลวาดอร์ 450 ปีก่อนคริสตกาล (VEI 6+)

การปะทุของภูเขาไฟอิลโลปังโก (Ilopango) ประเทศเอลซัลวาดอร์ เมื่อประมาณ 450 ปีก่อนคริสตกาล เป็นการปะทุของภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในรอบ 200,000 ปี (VEI น่าจะสูงกว่า 6) การปะทุของภูเขาไฟครั้งนี้ได้ทำลายหลายเมืองของอาณาจักรมายัน นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าทั่วท้องฟ้าเต็มไปด้วยฝุ่นควันและขี้เถ้าภูเขาไฟเป็นเวลานานกว่า 1 ปี และคาดว่าการปะทุครั้งนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนถึง 100,000 ราย และมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยสูงถึง 400,000 คน นอกจากนี้ยังเป็นผลให้อุณหภูมิโลกเย็นลงในช่วง 535-536 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้เกิดการล้มตายของพืชพันธุ์ตั้งแต่กรุงโรม กระจายตัวไปถึงประเทศจีน

สิ่ง ที่ ได้ จากการปะทุของ ภูเขาไฟ
(ซ้าย) ภาพถ่ายดาวเทียมของภูเขาไฟอิลโลปังโก (ขวา) ภาพวาดแสดงการปะทุของภูเขาไฟอิลโลปังโก ในปี พ.ศ. 2434 (ที่มา: Appleton & Company, New York, 1892)

6) ภูเขาไฟอันเซ็น (Unzen) ประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 1792 (VEI 2)

การปะทุของภูเขาไฟอันเซ็น (Unzen) ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) ซึ่งถึงแม้ว่าความรุนแรงทางกายภาพของภูเขาไฟนั้นประเมินว่าแค่ระดับ VEI 2 เท่านั้น แต่การปะทุของภูเขาไฟอันเซ็นก็ถือเป็นเหตุการณ์การปะทุของภูเขาไฟที่คร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น การปะทุครั้งนี้ทำให้เกิดการถล่มของยอดภูเขาไฟ กลายเป็นดินถล่มเข้ากลบทับเมือง Shimabara และไหลลงสู่มหาสมุทร แล้วทำให้เกิดสึนามิ ที่มีความสูงถึง 57 เมตร จากภัยพิบัตินี้ได้คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 15,000 ราย เกิดความเสียหายต่อการเกษตร และประมงในแถบนั้น ประเมินว่าความสูญเสียน่าจะประมาณ 17.4 พันล้านเยน หรือ ประมาณ 150 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

สิ่ง ที่ ได้ จากการปะทุของ ภูเขาไฟ
(ซ้าย) ภาพถ่ายดาวเทียมของภูเขาไฟอันเซ็น (ขวา) ภาพมุมสูงของภูเขาไฟอันเซ็น จังหวัดนะงะซะกิประเทศญี่ปุ่น (ที่มา: กรมอุทกศาสตร์และมหาสมุทร, หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น )

7) ภูเขาไฟเนวาโด เดล รุส (Nevado Del Ruiz) ประเทศโคลอมเบีย ค.ศ. 1985 (VEI 3)

การปะทุของภูเขาไฟเนวาโด เดล รุส (Nevado Del Ruiz) ในประเทศโคลอมเบีย เมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) ด้วยระดับความรุนแรง VEI 3 แต่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากในพื้นที่โดยรอบภูเขาไฟ โดยทำให้เกิดโคลนถล่มเข้าฝังเมือง Armero ที่มีผู้คนอาศัยอยู่ถึง 20,000 ชีวิต คิดมูลค่าความเสียหายถึง 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ

สิ่ง ที่ ได้ จากการปะทุของ ภูเขาไฟ
(ซ้าย) ภาพถ่ายดาวเทียมของภูเขาไฟเนวาโด เดล รุส (ขวา) ไอน้ำที่พุ่งขึ้นจากภูเขาไฟเนวาโด เดล รุส ในเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1985 ก่อนการปะทุครั้งใหญ่ในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1985 (ที่มา: การสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ)

8) ภูเขาไฟปินาตูโบ (Pinatubo) ประเทศฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1991 (VEI 6)

การะปะทุของภูเขาไฟปินาตูโบ (Pinatubo) ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) ถือเป็นการปะทุของภูเขาไฟที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในศตวรรรษที่ 20 (VEI 6) ผลจากการปะทุทำให้เกิดเมฆจากเถ้าภูเขาไฟสูง 35 กิโลเมตร ทำให้เกิดการถล่มของมวลตะกอนภูเขาไฟ และปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกือบถึง 20 ล้านตัน สู่ชั้นบรรยากาศ เป็นผลให้อุณหภูมิทั่วโลกลดลง ถึงแม้จะคร่าชีวิตผู้คนเพียง 722 ราย แต่ทำให้ผู้คนไร้บ้านมากกว่า 200,000 คน มีมูลค่าความเสียหายมากถึง 200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

สิ่ง ที่ ได้ จากการปะทุของ ภูเขาไฟ
(ซ้าย) ภาพถ่ายดาวเทียมของภูเขาไฟปินาตูโบ (ขวา) ปล่องภูเขาไฟปินาตูโบ ประเทศฟิลิปปินส์ (ที่มา: Thedandyman / Wikimedia)

9) ภูเขาไฟวิซุเวียส (Vesuvius) ประเทศอิตาลี 79 ปีก่อนคริสตกาล (VEI 5)

จากบันทึกเกี่ยวกับประวัติการปะทุของภูเขาไฟพบว่า ภูเขาไฟวิซุเวียส (Vesuvius) ประเทศอิตาลี มีการปะทุอยู่หลายครั้งในประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามการปะทุที่เลวร้ายที่สุดของภูเขาไฟลูกนี้ได้เกิดขึ้นในช่วง 79 ปีก่อนคริสตกาล (พ.ศ. 464) โดยในวันที่ 24 สิงหาคม ภูเขาไฟวิซุเวียสได้ปะทุขึ้นและพ่นเถ้าถ่าน โคลน และก๊าซพิษฝังกลบเมืองปอมเปอี (Pompeii) และเมืองเฮอคูลาเนียม (Herculaneum) ลงไปทั้งเมือง และคร่าชีวิตผู้คนมากถึง 16,000 ราย ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการขุดพบเมืองนี้ในปี ค.ศ. 1595 และถ้าพยายามเปรียบเทียบมูลค่าความเสียหายในปัจจุบัน มีมูลค่าอยู่ในหลักพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ

สิ่ง ที่ ได้ จากการปะทุของ ภูเขาไฟ
(ซ้าย) ภาพถ่ายดาวเทียมของภูเขาไฟวิซุเวียส (ขวา) ภาพวาดการปะทุของภูเขาไฟวิซุเวียส (ที่มา: หอศิลป์ฮันทิงตันส์ ห้องสมุดพาซาดีน่า รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา)

10) ภูเขาไฟซานตามาเรีย (Santa Maria) ประเทศกัวเตมาลา ค.ศ. 1902 (VEI 6)

เป็นเวลาหลายร้อยปี หรืออาจถึงพันปี ที่ภูเขาไฟซานตามาเรีย (Santa Maria) ประเทศกัวเตมาลา ไม่เกิดการปะทุ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่องแถบตอนกลางของอเมริกา และในระหว่างนั้นก็เกิดการปะทุของภูเขาไฟซานตามาเรียขึ้น โดยผลการปะทุของภูเขาไฟนี้ได้สร้างเถ้าภูเขาไฟขึ้นไปสูงถึง 28 กิโลเมตร และเกิดตะกอนภูเขาไฟไหลมากกว่า 19 วัน เถ้าถ่านภูเขาไฟได้ปกคลุมทำให้ท้องฟ้าของกัวเตมาลามืดครึ้มอยู่หลายวัน และแผ่ไปยังเมืองซานฟรานซิสโก ของสหรัฐอเมริกา ประเมินว่ามูลค่าความเสียหายมากกว่า 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยมีรายงานว่าการปะทุของภูเขาไฟครั้งนี้ได้คร่าชีวิตประชาชนในแถบภูเขาไฟไปอย่างน้อย 5,000 ราย แต่เชื่อว่าน้อยกว่าความเป็นจริง

ภูเขาไฟปะทุมีสาเหตุมาจากสิ่งใด

1. การระเบิดของภูเขาไฟช่วยปรับระดับของเปลือกโลกให้อยู่ในภาวะสมดุล 2. การเคลื่อนที่ของลาวาจากการระเบิดของภูเขาไฟ ทำให้หินอัคนีและหินชั้นใต้ที่ลาวาไหลผ่านเกิดการแปรสภาพ เช่น หินแปรที่แข็งแกร่งขึ้น 3. แหล่งภูเขาไฟระเบิด ทำให้เกิดแหล่งแร่ที่สำคัญขึ้น เช่น เพชร เหล็ก และธาตุอื่นๆ อีกมาก

การปะทุของภูเขาไฟ มีอะไรบ้าง

การปะทุของภูเขาไฟที่รุนแรงเกิดขึ้น เมื่อแมกมาบะซอลต์ยกตัวขึ้นลอยตัวขึ้นจากชั้นฐานธรณีภาค จะทำให้แผ่นเปลือกโลกธรณีซึ่งเป็นหินแกรนิตหลอมละลายกลายเป็นแมกมาแกรนิต แล้วดันพื้นผิวโลกให้โก่งตัวขึ้น (ภาพที่ 9 ก) แรงอัดของแก๊สร้อนดันให้ปากปล่องภูเขาไฟระเบิด พ่นฝุ่นเถ้าภูเขาไฟ (Pyroclastic flow) ซึ่งมีคามร้อนถึง 900 องศาเซลเซียส ...