บุรพภาคแห่งการศึกษา มี 2 ประการ คือ

บุรพภาคแห่งการศึกษา มี 2 ประการ คือ

แบบทดสอบการเรียนรู้ 

เรื่อง ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา


 คำชี้แจง     ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


๑.  ความหมายของการศึกษาในทรรศนะของพระพุทธศาสนาคืออะไร        
ก.  การฝึกอบรมตนให้งอกงาม   
ข.  การพัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรม  
ค.  การศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง   
ง.  การควบคุมตนเองให้ประพฤติตนอยู่ในวินัย

๒.  การควบคุมกาย วาจา ไม่ให้กระทำการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน สอดคล้องกับข้อใด
ก.  การพัฒนาศีล     
ข.  การพัฒนากาย  
ค.  การพัฒนาจิตใจ     
ง.  การพัฒนาปัญญา

๓.  กระบวนการศึกษาพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า ไตรสิกขา เป็นการฝึกอบรมตนในเรื่องใด  
ก.  ด้านความแข็งแกร่งของจิตใจ ความสงบสุข  
ข.  การเพิ่มพูนความรู้ ความคิด สติปัญญา  
ค.  การรักษาสุขภาพกาย ควบคุมจิตใจ ควบคุมวาจา  
ง.  ความประพฤติทางกาย วาจา จิตใจ และปัญญา

๔  .ข้อใดจัดว่าเป็นอธิปัญญาสิกขา  
ก.  ฝึกตนเองให้มีระเบียบวินัยที่ดีงาม  
ข.  การฝึกตนเองให้เป็นผู้ที่รู้จักคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น  
ค  .การฝึกตนให้มีความพร้อมทางด้านสมรรถภาพทางจิต  
ง.  การฝึกตนเองให้เป็นผู้ที่แสดงออกทางด้านวาจาที่บ่งบอกถึงความเฉลียวฉลาด

   "เมื่อสิ่งเหล่านี้มี          สิ่งนี้จึงมี  
    เพราะสิ่งเหล่านี้เกิด     สิ่งเหล่านี้จึงเกิด ..."


๕.  ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับเรื่องใด  
ก.  หลักอริยสัจ    
ข.  กระบวนการศึกษา  
ค.  บุรพภาคของการศึกษา    
ง.  หลักปฏิจจสมุปบาท

๖.  การที่พระพุทธศาสนาสอนเน้นทั้งเหตุทั้งปัจจัย เพราะเหตุผลในข้อใด  
ก.  เพื่อให้บุคคลมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น  
ข.  เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในโลกนี้  
ค.  เพื่อให้พุทธศาสนิกชนรู้จักใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ  
ง.  เพื่อให้รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดและถูกต้อง

๗.  ข้อใดเป็นหลักแห่งการแก้ปัญหาชีวิต
ก. ปัญญา ๓  
ข. มรรค ๘  
ค. อริยสัจ ๔  
ง. อิทธิบาท ๔


๘.  องค์ประกอบสำคัญประการแรกในการแก้ปัญหานั้นคืออะไร
ก.  ศีล   
ข.  ปัญญา  
ค.  กรรม  
ง.  ภาวนา


๙.  ชานนท์มีปัญหาเรื่องผลการเรียนตกต่ำจากเดิม เมื่อเขารู้สาเหตุที่แท้จริงแล้วเขาก็พยายามแก้ไข ดังนั้น  
    เขาจะต้องใช้หลักธรรมใดมาเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้การแก้ปัญหาประสบผลสำเร็จ
ก.  ฉันทะ   
ข.  วิริยะ  
ค.  เมตตา  
ง.  กรุณา

๑๐.  การฝึกตนไม่ให้ประมาทนั้นจะต้องอาศัยหลักในข้อใดเป็นแนวทางการปฏิบัติ ก. 
ก.  สติ   
ข.  ศีล   
ค.  กรรม  
ง.  ความขยัน

๑๑  ."เมื่อไตรภพได้รับเงินเดือนจากการทำงานในบริษัทส่งออกสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน เขาก็แบ่งเงินไปฝากธนาคารจำนวนหนึ่ง
ทุกๆเดือน ทำให้เขามีเงินเก็บเพื่อไว้ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น เพื่อน ๆ พากันชมเชยว่าเขาเป็นตัวอย่างที่ดีมาก"
 การกระทำของไตรภพสอดคล้องกับข้อใด
ก.  คิหิสุข   
ข.  อัตถิสุข  
ค.  อนณสุข  
ง.  กามโภคีสุข

๑๒.  ธรรมะพื้นฐานซึ่งถ้าบุคคลสามารถปฏิบัติได้ย่อมจะทำให้เกิดสันติภาพในสังคมคือข้อใด
ก.  อิทธิบาท ๔     
ข.  สังคหวัตถุ ๔
ค.  ขันติ-โสรัจจะ     
ง   เบญจศีล–เบญจธรรม
๑๓.  พระพุทธศาสนาสอนให้คนมีความเมตตาต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นไปตามหลักธรรมข้อใด
ก.  นิวรณ์ ๕   อกุศลมูล ๓    
ข.  อธิปไตย ๓   อิทธิบาท ๔
ค.  กุศลมูล ๓   อิทธิบาท ๔    
ง.  พรหมวิหาร ๔   สาราณียธรรม ๖

๑๔. การที่คนไทยและชาวต่างชาติร่วมมือกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ สอดคล้อง
กับหลักของพระพุทธศาสนาในเรื่องใด
ก.  การเป็นคนใจกว้าง    
ข.  การมีอัตตาที่เบาบาง
ค.  ความเสียสละภายในและภายนอก   
ง.  การเอาชนะความชั่วร้ายด้วยความดี

๑๕. ในการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อนำเสนอผลงานต่อชั้นเรียน สมาชิกของกลุ่มต่างก็เสนอวิธีการที่
หลากหลายแต่ในที่สุดก็สามารถตกลงกันได้สอดคล้องกับข้อใด
ก.  ความเสียสละ     
ข.  การเอาชนะความชั่วด้วยความดี
ค.  การให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน  
ง.   ความเป็นผู้มีใจกว้างยอมรับความแตกต่าง

********************

บุรพภาคของการศึกษา มีกี่ประการ

บุรพภาคของการศึกษา คือพื้นฐานที่จะให้เกิดระบบการศึกษาที่ถูกต้องมี ๗ อย่าง คือ ๑) กัลยาณมิตตตา ๒) ฉันทสัมปทา ๓) สีลสัมปทา

ข้อใดคือองค์ประกอบภายในของบุรพภาคแห่งการศึกษา

2. องค์ประกอบภายใน หมายถึง ผู้ศึกษาอบรมต้องรู้จักคิด พิจารณา ใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต การใช้ความคิดอย่างถูกวิธี คิดเป็น แยกแยะสิ่งนั้น ๆ ปัญหานั้น ๆ ออกให้เห็นตามสภาวะความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย องค์ประกอบนี้เรียกว่า “ โยนิโสมนสิการ” ปรโตโฆษะ ปรโตโฆษะ หมายถึง คำพูด คำแนะนำ คำชี้แจง คำโฆษณา กระแสข่าว

ศาสตร์แห่งการศึกษาในพระพุทธศาสนาประกอบด้วยอะไร

การศึกษาในพุทธศาสนา เรียกว่า “ไตรสิกขา” ประกอบด้วย (1) ศีลสิกขา คือข้อปฏิบัติส าหรับใช้ อบรมทางด้านความประพฤติ(2) จิตตสิกขา คือข้อปฏิบัติสาหรับอบรมจิตให้เกิดสมาธิและ (3) ปัญญาสิกขา คือ ข้อปฏิบัติส าหรับอบรมปัญญาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่ก่อให้เกิดความ เป็นอยู่ที่ดี และเป็นพื้นฐานส า ...

การพัฒนากายมีอะไรบ้าง

1. การพัฒนากาย (กายภาวนา) คือ การพัฒนาอินทรีย์ 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นสิ่ง เชื่อมต่อกับอารมณ์ทั้ง 6 ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ที่ใจรับรู้ การพัฒนาอินทรีย์ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ฝึกฝนในด้านการใช้งาน คือท าให้อินทรีย์เหล่านั้น มีความเฉียบคม มีความละเอียด มีความคล่องแคล่ว มีความจัด เจน ฝึกฝนใน ...