เจดีย์ สมัยสุโขทัย มี 3 แบบ คือ

เจดีย์ สมัยสุโขทัย มี 3 แบบ คือ

Show

เจดีย์ สมัยสุโขทัย มี 3 แบบ คือ

เจดีย์ สมัยสุโขทัย มี 3 แบบ คือ

เจดีย์ สมัยสุโขทัย มี 3 แบบ คือ

บัวสาย เป็นดอกไม้ประจําชาติของอียิปต์ จากข้อมูลภาพเขียนสีและซากโบราณที่ปรักหักพังในประเทศอียิปต์ ทําให้เทราบว่า เมื่อ 4,000 ปี มาแล้ว ลุ่มแม่น้ำไนล์มีบัวชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่มากมาย ภาพเขียนสีตามผนังหลุมฝังศพมีภาพ สวนไม้ผล ไม้ดอก ไม้เถาและไม้น้ำ ในสระจะปลูกปาปิรุสและบัวสายสีน้ำเงินเป็นกอๆ ส่วนลายบัวหัวเสาของอาคารโบราณที่ปรักหักพัง ก็เป็นลายจําลองจากดอกบัวสาย กกปาปิรัส และใบปาล์ม ศิลปะหลายแขนงของอียิปต์โบราณได้รับความบันดาลใจและถอดแบบลวดลาย มาจากกอบัว สายบัว ใบบัว ดอกบัวและกลีบบัว นอกจากนี้ดอกบัวยังเป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์ผู้ครองท้องฟ้า เพราะดอกบัวขยายกลีบเบ่งบานเมื่อพระอาทิตย์เริ่มไขแสง ดอกบัวจึงกลายเป็นผู้ไขแสง คือ พระอาทิตย์ ครั้นตกเย็น แสงสว่างเคลื่อนคล้อยลับลง บัวก็หุบกลีบ และรัตติกาลเข้ามาแทนที่ ชาวอียิปต์โบราณได้สร้างรูปเทพเอมอนขึ้นแทนพระอาทิตย์ มีลักษณะเป็นเด็กนั่งอยู่บนดอกบัว มีฤทธิ์มาก ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นรา บางแห่งเรียกว่า โอรัส
บัวหลวง เป็นดอกไม้ประจําชาติของอินเดีย เรียกว่าอุบลชาติ หรือ ปทุมชาติ เป็นชื่อเรียกคํากลางๆ ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีสันสฤต “อุบลชาติ” แปลงมาจากคําว่า อปูปล ในภาษาบาลี -หรือ อุตุปล ในภาษาสันสกฤต หมายถึง บัวกินสาย บัวก้านอ่อน มีการขุดค้นซากเมืองโบราณเก่าแก่ที่ร้างและจมอยู่ใต้ดินตามริมฝั่งแม่น้ำสินธุ พบศิลปวัตถุที่มีรูปทรง และลวดลายประดับประดาเป็นรูปดอกบัว กลีบบัวเป็นอันมาก

สืบเนื่องมาถึงศิลปะของไทยได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมาช้านานและได้พัฒนาสืบเนื่องผสมกับความเชื่อ การดำรงชีวิตรวมทั้งประเพณีและวัฒนธรรมในสังคมไทย จนกลายเป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จะเห็นได้ว่าศิลปะไทยนั้นถูกถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานมากมายหลายชนิด ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรมไทยและสถาปัตยกรรม
โดยผลงานศิลปะส่วนใหญ่นั้นจะเริ่มจากการนำรูปทรงของธรรมชาติมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น ดอกบัว เพราะดอกบัวนั้นมีความหมายพิเศษ ไม่ว่าจะทางพุทธศาสนาที่เปรียบเทียบว่าดอกบัวนั้นเป็นดอกไม้ที่หลุดจากโคลนตมแล้วเบ่งบานขึ้นเหนือน้ำ รูปทรงของดอกบัวนั้นจึงได้ถูกนำไปสร้างเป็นลวดลายของส่วนประกอบศาสนสถานต่าง ๆ และยังเป็นต้นแบบของลวดลายไทยมากมาย

ลายไทย

ลายไทย เป็นลวดลายที่สืบเนื่องมาแต่ครั้งโบราณกาลนับตั้งแต่มนุษย์รู้จักใช้สีเขียนเป็นลวดลายลงบนร่างกายเพื่อให้เกิดความสวยงาม และน่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็นรวมทั้งการเขียนลวดลายลงบนภาชนะดินเผา ศิลปะต่าง ๆเหล่านี้ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องและเป็นมรดกตกทอดมาตามยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน ศิลปะอันสวยงามนี้ เกิดขึ้นด้วยฝีมือและสติปัญญาอันชาญฉลาดโดยได้รับแรงบันดาลใจและอาศัยรูปทรงจากพืช พันธุ์ไม้ สรรพสัตว์ และสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ใบไม้ หางไหล เปลวไฟ มาประดิษฐ์คิดดัดแปลงให้เป็นลวดลายต่าง ๆ จัดวางรูปจังหวะให้เป็นระเบียบกลมกลืนเป็นอันดีโดยล้อเลียนของจริงตามธรรมชาติก่อนแล้วค่อย ๆ หายไปกลายเป็นลวดลายและภาพที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
รูปทรงของดอกไม้ที่ช่างไทยโบราณ ถือเอาเป็นหลักในการเรียนเขียนลวดลายคือ รูปทรงดอกบัว เนื่องจากเส้นรอบนอกรูปทรงของดอกบัว เป็นเส้นลักษณะของเส้นกระหนก จัดเป็นเส้นโค้งอ่อนได้ความสวยงาม
ลายกนก
ลายกนก เป็นลายพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญของลายไทย มีพื้นฐานจากสามเหลี่ยมชายธง อาจมีตัวเดียว หรือหลายตัวก็ได้ มักมีฐานมุมแหลมหันไปทางเดียวกัน โดยมีขนาดและสัดส่วนที่แตกต่างกันไป ลายกระหนกที่สำคัญ ได้แก่ กนกสามตัว กนกสามตัวเปลว
ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ลวดลาย “ลายช่อ” ที่มีรูปทรงพุ่ม ได้รับแรงบันดาลใจมาจากข้าวปั้นตีแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวตูมที่ใช้บวงสรวงบูชา นิยมนำไปใช้งานทางด้านที่เกี่ยวกับศาสนา
ลายกรวยเชิง
ลายกรวยเชิง เป็นลายตกแต่งเชิงหรือขอบนอกสุด เช่น เชิงผ้า เชิงขอบลายประดับคานบน เพดานโบสถ์ วิหาร เป็นต้น ลายกรวยเชิงจะมีลักษณะคล้ายลายบัวที่ยืดยาวออกไปตามความต้องการหรือขนาดของพื้นที่ ตัวลายจะเป็นรูปกรวยปลายแหลม ตัวลายวางเรียงต่อกันตามความยาวของพื้นที่ ช่างเขียนถือว่าลายกรวยเชิงเป็นแม่ลายชนิดหนึ่งที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์

เจดีย์

เจดีย์ หรือ สถูป เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา พบได้ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชีย
เจดีย์ หมายถึงสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง สถูป หมายถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้เคารพนับถือได้สักการบูชา ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชนอยู่เพียง 4 พวก เรียกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ
สำหรับประเทศไทย คำว่า สถูป และ เจดีย์ เรามักรวมเรียกว่า “สถูปเจดีย์” หรือ “เจดีย์” มีความหมายเฉพาะ ถึงสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ในสมัยหลังลงมาคงมีการสร้างสถานที่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุ และเพื่อเคารพบูชาระลึกถึงพร้อมกันไปด้วย
เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นเจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพราะลักษณะเฉพาะที่เด่นชัดของเจดีย์ เป็นสัญลักษณ์ของแคว้นสุโขทัย รูปแบบโดยรวมของเจดีย์ เกิดจากการคลี่คลายมาจากเจดีย์ทรงระฆังและปราสาทแบบขอม
ชื่อของเจดีย์ทรงนี้เรียกกันหลายอย่าง ที่เรียกตามลักษณะของยอดโดยตรงซึ่งคล้ายกับดอกบัวตูม ดังบางองค์ทำกลีบบัวประดับทรงดอกบัวตูมนี้ด้วย รูปทรงของเจดีย์เพระยอดสอบขึ้นจากส่วนล่าง เรื่อยขึ้นไปตามจังหวะของชุดฐานที่ซ้อนลดหลั่นกันเพื่อรับเรือนธาตุทรงแท่ง และยอดทรงดอกบัวตูม
รูปแบบของเจดีย์เกิดขึ้นในสมัยศิลปะสุโขทัย นิยมสร้างกันเพียงในช่วงเวลาสมัยศิลปะสุโขทัยเท่านั้น ความที่เจดีย์แห่งนี้มีลักษณะเฉพาะของศิลปะสุโขทัย ไม่เหมือนเจดีย์แห่งอื่นใด และได้รับความนิยมในช่วงที่กรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ ทำให้คิดว่าเป็นเพราะลักษณะเฉพาะที่เด่นชัดของเจดีย์ เป็นสัญลักษณ์ของแคว้นสุโขทัย เป็นเหตุให้ไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไปภายหลังที่สุโขทัยหมดอำนาจและถูกรวมไว้ภายใต้อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ซึ่งอาจนับเป็นเหตุผลทางการเมืองอย่างหนึ่งก็เป็นได้
ลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เกิดจากการที่นำเอาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมชนิดต่าง ๆ มาปรับปรุงเข้าด้วยกันให้เป็นเจดีย์ทรงใหม่ ส่วนล่างประกอบด้วยฐาน 2 ชนิด คือ ฐานเขียงซ้อนลดหลั่นเป็นชุด สอบขึ้นรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ซึ่งปรับทรงให้สูงขึ้น ต่อจากนั้นไปเป็นส่วนกลางหรือเรือนธาตุ ประกอบด้วยฐานทำซ้อน 2 ฐาน โดยปรับปรุงลักษณะมาจากปราสาทขอมมาก่อน แต่บีบทรงให้ยืดเพรียว มีการประดับกลีบขนุนตามุมด้านบนของเรือนธาตุตามแบบแผนของทรงปราสาทขอมอีกด้วย ส่วนยอดซึ่งเป็นทรงดอกบัวตูมอาจคลี่คลายมาจากทรงระฆัง โดยบีบส่วนล่างของทรงระฆังให้สอบเพื่อตั้งบนเรือนธาตุ ทรงดอกบัวตูมต่อยอดแหลมเรียวให้เป็นรูปกรวย ส่วนล่างของกรวยควั่นเป็นปล้อง ต่อขึ้นไปคือกรวยเรียบอีกอันเป็นส่วนยอดสุดของเจดีย์ เทียบได้กับส่วนยอดของเจดีย์ทรงระฆัง คือ ปล้องไฉน และ ปลี
เจดีย์ทรงระฆัง หรือดอกบัวคว่ำ
มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า แบบลังกา ตามทฤษฎีเดิมเชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากลังกาโดยตรง แต่ถ้าพิจารณาในแง่ของแบบอย่างศิลปะแล้ว จะเห็นว่าอิทธิพลทางศิลปะของลังกามีไม่มากนัก เพราะในระยะที่อิทธิพลของพระพุทธสาสนาหินยานจากลังกาทวีปหลั่งไหลเข้ามาสู้ศรีสัชนาลัยนั้น อิทธิพลศิลปะอินเดียได้เข้ามาก่อนแล้ว เช่น สกุลช่างปาละ-เสนะ (Pala-Sena School) สกุลช่างโอริสสา(Orissan School) และสกุลช่างโจฬะ (Chola School)
เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยมิได้มีลักษณะที่ลอกเลียนมาจากลังกาโดยตรง แต่เป็นแบบที่ศิลปินสุโขทัยประดิษฐ์ขึ้นจากการผสมผสานแต่งเติมจนมีสัดส่นกลมกลืน และมีรูปทรงสูงสวยงาม อันเป็นอิทธิพลที่ได้มาจากคติมหายานแบบอย่างของเจดีย์แบบปาละ และโจฬะ เช่น การประดิษฐ์ฐานสูงซ้อนกันหลายชั้น การประดิษฐ์บัวปากระฆัง การทำรูปทรงระฆังให้พองออกในตอนบนและคอดในส่วนที่เป็นปากระฆัง เจดีย์บางองค์มีการจัดซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ เช่น เจดีย์วัดนางพญา เจดีย์วัดเขาสุวรรณคีรี เจดีย์วัดชมชื่น อำเภอศรีสัชนาลัย เจดีย์วัดสระศรี เจดีย์วัดต้นจันทน์ และเจดีย์วัดเขาพระบาทน้อย อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นต้น
พระเจดีย์ทรงระฆังองค์ที่ใหญ่ที่สุดและมองเห็นได้ในระยะไกลที่สุดได้แก่ เจดีย์วัดเขาสุวรรณคีรี อยู่บนเนินเขากลางเมืองศรีสัชนาลัย

เสา

เสา พบว่ามีการตกแต่งปลายเสาหรือบัวหัวเสาปั้นปูนประกอบเป็นรูปดอกบัวบนอาคาร พระอุโบสถและวิหาร ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาแล้วได้แก่บัวกลุ่มและบัวจงกล ช่างจะปั้นเป็นรูปทรงดอกบัวแบบบัวจงกลและ บัวสัตบุตย์ในธรรมชาติ แต่งเป็นกลีบซ้อนขึ้นไปที่ปลายเสาที่มีสัณฐานกลมมีส่วนคอหรือเอวคั้น แล้วทาสีชาดทับ ต่อมาในสมัยอยุธยาเปลี่ยนจากเสาสัณฐานกลมเป็นแปดเหลี่ยมแต่ยังนิยมปั้นเป็นบัวจงกลอยู่จนกระทั่งเข้าสู่สมัยอยุธยาตอนกลางทาเสาเป็นสัณฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมปั้นบัวหัวเสาเป็นกลีบบัวยาวเรียวเรียกว่าบัวแวง บางแห่งมีกาประดับกระจกสีแทนการทาสีชาด ต่อมาใน สมัยรัตนโกสินทร์มีเสาอาคารแบบใหม่เป็นสัณฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมลเหลี่ยมโค้งไม่มีการตกแต่งบัวหัวเสายกเว้นอาคารที่สร้างเลียนแบบสมัยอยุธยาที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบประเพณีนิยม