ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีทั้งหมด 14 ทักษะ

วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
ในธรรมชาติทั้งที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตและเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต สสาร

พลังงาน และองค์ความรู้ที่มีระบบและระเบียบแบบแผน
รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์

วิทยาศาสตร์ ( Science ) มาจากคำว่า Scientic ในภาษาลา
ติน แปลว่า ความรู้ (Knowledge) ฉะนั้น วิทยาศาสตร์ คือ
ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับ ธรรมชาติที่มนุษย์ สะสมมาแต่อดีต

ปัจจุบัน และอนาคต อย่างไม่รู้จักจบสิ้น

กระบวนการ คือ แนวทางการดำเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
อย่างมีขั้นตอน ซึ่งวางไว้อย่างเป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนจบแล้ว
เสร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ขั้นตอนดังกล่าวช่วยให้การ
ดำเนินการมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์
และเป้าหมายได้ โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด การ
ดำเนินงานเป็นขั้นตอนนำไปสู่ผลที่ต้องการในการใช้หลักสูตร

ฉบับปรับปรุง กล่าวถึงกระบวนการ ดังนี้

1.จัดกิจกรรมให้เป็นกระบวนการ หมายถึง การมีขั้นตอนต่าง ๆ ให้
เด็กได้แสดงออกหรือปฏิบัติ โดยใช้ร่างกาย ความคิด การพูด ใน
การเรียน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ คือ ได้ความรู้หลังจากทำกิจกรรม

2.พัฒนาเด็กให้เกิดความสามารถเชิงกระบวนการ หมายถึง การ
ปลูกฝังให้เด็กมีความสามารถในการปฏิบัติเป็นขั้นตอนติดตัวไปใช้

ในชีวิตจริง

3.ทักษะกระบวนการ หมายถึง กระบวนการปฏิบัติหรือ
กระบวนการทำงานที่ครบขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการ
ปฏิบัติงานบรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 14 ทักษะ

1.การสังเกต (observation) หมายถึง ความสามารถใน
การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรง
กับวัตถุหรือเหตุการณ์ เพื่อหาข้อมูล หรือรายละเอียด

ของสิ่งต่างๆ โดยไม่ใส่ความเห็นของผู้สังเกตลงไป

2.การวัด (measurement) หมายถึง ความสามารถในการ
เลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดหาปริมาณของสิ่ง

ต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและ
ถูกต้อง โดยมีหน่วยกำกับเสมอ

3.การจำแนกประเภท (classification) หมายถึง การแบ่ง
พวก หรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ โดย
ใช้เกณฑ์ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์

อย่างใดอย่างหนึ่ง

4.การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปชกับสเปช
และสเปชกับเวลา (space/space relationships and
space/time relationships) สเปชของวัตถุ หมายถึง ที่
ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับ
วัตถุนั้น โดยทั่วไปแล้วสเปชของวัตถุจะมี 3 มิติ คือ ความ
กว้าง ความยาว และความสูง (หรือหนา) ความสัมพันธ์
ระหว่างสเปชกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างการ
เปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลา หรือความสัมพันธ์

ระหว่างสเปชของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับเวลา

5.การคำนวณ (using numbers) หมายถึง การนับจำนวนของ
วัตถุและการนำตัวเลข แสดงจำนวนที่นับได้ มาคิดคำนวณโดย

การบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย

6.การจัดกระทำ และการสื่อความหมายข้อมูล (organizing data
and communication) หมายถึง การนำผลการสังเกต การวัด การ
ทดลองจากแหล่งต่างๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยอาศัยวิธีการต่าง

ๆ เช่น การหาความถี่ การเรียนลำดับ การจัดแยกประเภท การ
คำนวณหาค่าใหม่ เป็นต้น เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าใจความหมายของ
ข้อมูลดียิ่งขึ้น โดยอาจนำเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ

ไดอะแกรม วงจร กราฟ สมการ หรือเขียนบรรยาย

7.การลงความเห็นจากข้อมูล (inferring) หมายถึง การ
เพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมี
เหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย

8.การพยากรณ์ (prediction) หมายถึง การสรุปคำตอบล่วง
หน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือ

ข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลักการ กฎ หรือ
ทฤษฎีในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป การพยากรณ์มีสองทาง

คือ การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลที่มีอยู่ (
interpolating ) และการพยากรณ์ภายนอกขอบเขตข้อมูลที่มี

อยู่ ( extrapolating )

9.การตั้งสมมติฐาน (formulating hypotheses) หมาย
ถึง การคิดหาคำตอบล่วงหน้า ก่อนจะกระทำการทดลอง
โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้น
ฐาน คำตอบที่คิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบหรือยังไม่เป็น
หลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน สมมติฐานหรือคำตอบที่

คิดไว้ล่วงหน้ามักกล่าวไว้เป็นข้อความที่บอกความ
สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น (ตัวแปรอิสระ) กับตัวแปร
ตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูกหรือผิดก็ได้ซึ่งจะทราบ

ภายหลังการทดลองเพื่อหาคำตอบสนับสนุน หรือ
คัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้

10.การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ คือ (defining
operationally) หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขต
ของตัวแปรที่อยู่ในสมติฐานที่ต้องการทดสอบให้เข้าใจตรงกัน

และสามารถสังเกตหรือวัดได้

11.การกำหนดและควบคุมตัวแปร (identifying and
controlling variables) หมายถึง การบ่งชี้ตัวแปรต้น ตัวแปร
ตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมติฐานหนึ่ง ๆ การควบคุม
ตัวแปรเป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ถ้า
หากไม่ควบคุมให้เหมือน ๆ กัน จะทำให้ผลการทดลองคลาด

เคลื่อน

12.การทดลอง (experimenting) หมายถึง การลงลงมือ
ปฏิบัติการทดลองจริง โดยมี 3 ประเภท คือ การทดลองแบบ
แบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบและลองผิดลอง
ถูก การทดลองเป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบหรือ
การเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลอง การบันทึกผล

การทดลอง

13.การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป
(interpreting data conclusion) การตีความหมาย
ข้อมูล คือ การแปลความหมายหรือการบรรยายลักษณะ
และสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การลงข้อสรุป หมายถึง การ

สรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด

14.การสร้างแบบจำลอง (Modeling Construction)
หมายถึง การนำเสนอข้อมูล แนวคิด ความคิดรวบยอด
เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจในรูปของแบบจำลองต่างๆ เช่น กราฟ
รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วัสดุ สิ่งของ สิ่งประดิษฐ์ หุ่น

เป็นต้น