ศิลปะการแสดงละคร

ความหมายของศิลปะการแสดง

            ศิลปะการแสดง เป็นคำที่ใช้เทียบคำภาษาอังกฤษว่า ‘Performance Arts’ หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือประยุกต์ ได้แก่ การละคร การดนตรี และการแสดงพื้นบ้าน นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่าศิลปะการแสดงอีกหลายรูปแบบ อาทิ อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก ให้คำนิยามคำว่า “ศิลปะการแสดง คือ การเลียนแบบธรรมชาติ

ศิลปะการแสดงละคร

            ลีโอ ตอลสตอย ให้คำจำกัดความว่า เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งระหว่างมนุษย์ ด้วยการใช้คำพูดถ่ายทอดความคิด และศิลปะของการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก

ศิลปะการแสดงละคร

            ดับเบิลยู.เอช. ปาร์กเกอร์ (W.H.Parker) กล่าวไว้ว่า ศิลปะการแสดง คือ การแสดงออกถึงจินตนาการ ความปรารถนาในจิตใจของมนุษยชาติ

ศิลปะการแสดงละคร

            รองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล ผู้ก่อตั้งภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ศิลปะการแสดง คือ ศิลปะที่เกิดขึ้นจากการนำภาพจากประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่อง และจัดเสนอในรูปแบบของการแสดง โดยมีผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมายและเรื่องราวต่อผู้ชม

“ศิลปะการแสดง  เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งระหว่างมนุษย์ ด้วยการใช้คำพูดถ่ายทอดความคิด และศิลปะของการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก” (ลีโอ ตอลสตอย, 2528, น.3)
ศิลปะการแสดงจึงเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่มนุษย์เราใช้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดของตน เพื่อถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้เข้าใจรับรู้ถึงสิ่งที่ตนต้องการจะแสดงออก การแสดงถือเป็นศิลปะของการสื่อสารที่ปรากฏภาพเป็นรูปธรรม ซึ่งผู้ชมสามารถรับรู้และเข้าใจได้ง่ายโดยไม่ยุ่งยากในการตีความ ส่วนอารมณ์ความรู้สึกแม้จะอยู่ในรูปลักษณะที่เป็นนามธรรมก็จริง แต่ผู้ชมทั่วๆ ไปสามารถสื่อสัมผัสได้โดยตรงจากผู้แสดง

ศิลปะการแสดงละคร

            “ศิลปะการแสดง คือ การแสดงออกถึงจินตนาการ ความปรารถนาในจิตใจของมนุษยชาติ” (W.H.Parker, น.12)ในขณะที่การแสดงเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ เราทุกคนมีความปรารถนาอยากเป็นนักแสดงเสมอ  บางครั้งความรู้สึกนี้อาจถูกเก็บซ่อนไว้ภายในใจ ความรู้สึกอยากเป็นนักแสดงเกิดขึ้นกับทุกๆ คน และเป็นความรู้สึกที่อยากแสดงออก อยากถ่ายทอดระบายความรู้สึกในสิ่งที่ตนประทับใจอย่างเปี่ยมล้น หรือบางครั้งเพียงเพื่อต้องการสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ เป็นความจริงว่าความรู้สึกอยากแสดงออกของเรานั้นไม่มีในงานศิลปะแขนงอื่น ไม่ใช่ว่าเราทุกคนอยากจะเป็นนักดนตรี จิตรกร ประติมากร สถาปนิก นักประพันธ์ ด้วยเหตุนี้ความเป็นนักแสดงจึงได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ มนุษย์เราทุกคนเป็นนักแสดงได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม เพราะการแสดงไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ลักษณะใด จะเป็นการกระทำที่ยั่วยวนจิตใจมนุษย์ได้มากที่สุด เราสนใจพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกัน และพร้อมที่จะแสดงออกเช่นกัน นอกจากนั้นในบางครั้งเราเสแสร้งแกล้งทำคิดว่าเราเป็นบุคคลอื่น

ศิลปะการแสดงละคร

            “การแสดง คือ ศิลปะของการทิ้งบุคลิกของตนเอง แล้วนำเอาบุคลิกความรู้สึกของตัวละครมาสวมใส่ และทำให้การสวมใส่นั้นดูเป็นจริงเป็นจังสำหรับผู้ชม” (Edward A.Wright, 1972, p.128)การแสดงจึงเหมือนการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร ผู้แสดงต้องสวมใส่บุคลิกนั้นอย่างมีชีวิต ต้องรู้สึกในบทบาทการแสดง หากการแสดงเป็นเพียงการเสแสร้างแกล้งทำ และเพียงให้ดูเหมือนจริงผู้ชมก็จะสังเกตเห็นถึงข้อบกพร่องเหล่านั้นได้
ผู้แสดงมีหน้าที่ในการควบคุมร่างกาย จิตใจ น้ำเสียง อารมณ์ความรู้สึกด้วยจิตสำนึกและรู้สึกจริงใจในสิ่งที่ตนเองกระทำอย่างจริงใจ นอกจากนั้นผู้แสดงต้องจำบท คำพูด ต้องศึกษาถึงบุคลิกตัวละครนั้น โดยทิ้งบุคลิกความเป็นตนเองตลอดเวลาที่สวมบท เพื่อให้ผสมกลมกลืนกันไปกับการแสดงของตัวละครอื่น การแสดงจึงคล้ายกับ “การเล่นสมมติ” เป็นความเพลิดเพลินที่มนุษย์เราทุกคนเล่นมาตั้งแต่วัยเด็ก ประสบการณ์เช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์เราเกือบทุกคน ในความพยายามที่จะหลีกหนีจากความเป็นตัวเอง ไปเป็นผู้อื่นไปมีชีวิตอยู่ในจินตนาการใหม่ ในสถานการณ์ใหม่ที่เราไม่อาจจะหาพบในชีวิตประจำวัน เราพยายามเสแสร้างคิดว่าเป็นผู้อื่น ในขณะที่มีจิตสำนึกปกติดีอยู่ทุกประการ การเสแสร้งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่เราสามารถนำมาใช้ เพื่อประเมินผลของความเป็นนักแสดงได้ในที่สุดเราต้องไม่ลืมไม่ว่า ศิลปะการแสดงเป็นผลิตผลที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินนักแสดง และจากมันสมองของความเป็นมนุษย์นอกจากผลงานแล้ว สิ่งที่ติดตามมาในความเป็นศิลปะก็คือ ความคิด ทัศนคติ ศิลปินนักแสดงสร้างขึ้นมาด้วยอารมณ์ ความรู้สึกจากจินตนาการบางครั้งเป็นความกดดันอย่างรุนแรงด้วยความเจ็บแค้น ความทุกข์ยาก ความอยุติธรรม ผลงานจึงไม่ได้แสดงออกแต่ในเรื่องของความสุข ความสมหวัง ความเอื้ออาทร หากแต่เป็นความรู้สึกที่อัดอั้นจากภายในที่ทรงพลัง รุนแรง บ่อยครั้งที่งานแสดง งานศิลปะเหล่านี้มีอิทธิพลอำนาจอย่างน่ามหัศจรรย์ สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ชม ผู้เสพงานศิลปะเหล่านี้ได้ และบ่อยครั้งอีกเช่นกันที่งานศิลปะได้สร้างจิตสำนึกที่ดีและไม่ดีได้

ศิลปะการแสดงละคร

            ศิลปะการแสดงจึงเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่มนุษย์เราใช้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดของตน เพื่อถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้เข้าใจรับรู้ถึงสิ่งที่ตนต้องการจะแสดงออก การแสดงถือเป็นศิลปะของการสื่อสารที่ปรากฏภาพเป็นรูปธรรม ซึ่งผู้ชมรับรู้และเข้าใจได้ง่ายโดยไม่ยุ่งยากในการตีความ ส่วนอารมณ์ความรู้สึกแม้จะอยู่ในรูปลักษณะที่เป็นนามธรรมก็จริง แต่ผู้ชมทั่วๆ ไปสื่อสัมผัสได้โดยตรงจากผู้แสดง

ส่วนนาฏศิลป์ ถือเป็นแหล่งรวมศิลปะและการแสดงไว้ด้วยกัน เป็นสาขาหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ ที่ประกอบด้วย จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรีและนาฏศิลป์

นาฏศิลป์ จึงหมายถึง ศิลปะของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความประณีตงดงาม เพื่อให้ความบันเทิง ให้ผู้ที่ได้ดูมีความรู้สึกคล้อยตาม การร่ายรำนี้ต้องอาศัยเครื่องดนตรีและการขับร้องการแสดง เช่น ฟ้อนรำ ระบำ โขน ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป สาเหตุหลักมาจากภูมิอากาศ ภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่ ที่มาของของนาฏศิลป์ไทย มาจาก 1.การเลียนแบบธรรมชาติ นำปรับประยุกต์นำเอากิริยาท่าท่างต่างๆ มาเรียบเรียงสอดคล้องติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้สวยงาม 2.การเซ่นสรวงบูชา การฟ้อนรำบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พัฒนามาให้มีการฟ้อนรำถวายกษัตริย์ในฐานะเป็นสมมติเทพ กระทั่งกลายมาเป็นฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป 3.การรับอารยธรรมมาจากอินเดีย ที่สืบทอดมายังชนชาติมอญและขอมซึ่งเป็นชนชาติที่ติดต่อใกล้ชิดกับไทย ทำให้ไทยพลอยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของอินเดียไปในตัว อาทิ ภาษา ประเพณี และศิลปะการละคร ได้แก่ ระบำ ละคร และโขน

ส่วนประเภทของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่ โขน ละคร การแสดงรำและระบำ การละเล่นพื้นเมือง มหรสพไทย

การสร้างความเชื่อ
การแสดงออกซึ่งกิริยาท่าทางของตัวละคร คือการสวมบทบาทของตัวละครในเรื่องนั้น ผู้แสดงจะต้องสร้างความเชื่อให้คนดูเกิดความเชื่อให้ได้ว่าตนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบฉากในเรื่อง เป็นเรื่องจริง ๆ การที่ผู้แสดงจะมีความสามารถตีบทได้อย่างสมจริงนั้น ผู้แสดงจะต้องศึกษาบทละคร ตัวละครที่ตนต้องแสดงอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม นับตั้งแต่บุคลิกลักษณะ นิสัยของตัวละคร กิริยาท่าทาง อารมณ์ของตัวละคร ในการสร้างความเชื่อให้กับผู้ชมละคร ผู้แสดงจะต้องมีสมาธิ รู้จักการใช้จินตนาการ เห็นภาพลักษณ์ และอุปนิสัยใจคอของตัวละครในบทละคร ถ้าผู้แสดงละครทำให้ผู้ชมเชื่อว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าเขานั้นเป็นเรื่องจริง แสดงว่าผู้แสดงละครผู้นั้นตีบทแตกได้อย่างสมจริงประหนึ่งว่าผู้แสดงกับตัวละครเป็นบุคคลเดียวกัน หรือกล่าวได้ว่าสามารถเข้าถึงศิลปะของการแสดงละคร

การแสดงร่วมกับผู้อื่น
การแสดงละคร ผู้แสดงจะต้องแสดงร่วมกับตัวละครอื่น ๆ ในเรื่อง ฉะนั้นในการฝึกซ้อมละคร ผู้แสดงจะต้องฝึกการเจรจากับผู้ร่วมแสดง ไม่ควรท่องบทเพียงลำพังคนเดียว ทั้งนี้เพื่อจะได้สัมผัสกับปฏิกิริยาของตัวละครอื่น ๆ ผู้แสดงต้องแสดงทั้งบทรับ บทส่งตลอดเวลา การมีปฏิกิริยากับผู้อื่น เช่น การฟัง การแสดงกิริยาท่าทาง การรับรู้ด้วยการแสดงสีหน้า พอใจ ไม่พอใจ ดีใจ ยิ้ม หรือหน้าบึ้ง จะช่วยทำให้สามารถเข้าถึงบทบาทของตัวละครได้ลึกซึ้งขึ้น เวลาแสดงจริงจะได้สอดคล้องประสานกัน
ในฉากที่มีตัวละครเป็นจำนวนมาก ที่เป็นตัวประกอบประเภทสัมพันธ์บท เช่น แม่บ้าน คนรับใช้ คนสวนหรือตัวประกอบ ที่เสริมลักษณะเรื่องให้สมจริง อาทิ ประชาชน ทหาร ตำรวจ ไพร่พล ผู้แสดงต้องสื่อประสานได้ทั้งตัวละครที่เป็นตัวเอก ตัวสำคัญ และตัวประกอบ แม้ว่าตัวละครที่เป็นตัวประกอบจะไม่มีบทพูดแต่ก็ต้องแสดงบุคลิกลักษณะให้สมบทบาทตามเนื้อเรื่อง เพราะตัวละครที่แสดงอยู่บนเวทีต่อหน้าผู้ชม จะมีความสำคัญทุกตัว ผู้แสดงละครที่ดี นอกจากจะแสดงบทบาทของตนให้สมจริงแล้ว จะต้องมีทักษะและความสามารถในการร่วมแสดงกับผู้อื่นด้วย

บทบาทและหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ในการสร้างละคร
                       ทีมงานสร้างงานละครจะประกอบด้วยบุคคลที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ มากมายหลายสาขา ซึ่งแต่ละฝ่ายล้วนมีบทบาทสำคัญในอันที่จะทำให้การจัดการแสดงละครประสบผลสำเร็จ ซึ่งความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างทีมงานทุกฝ่าย นับเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้การแสดงละครสัมฤทธิผลตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ มีความรับผิดชอบ ละเว้นการก้าวก่ายงานของผู้อื่น มีน้ำใจรู้จักให้อภัยต่อกัน
บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการแสดงละครที่สำคัญ ประกอบด้วยบุคคลต่างๆ ดังนี้

  1. ผู้อำนวยการแสดง (Producer) คือ ผู้จัดหรือหัวหน้าคณะในการจัดแสดงละครแต่ละครั้ง เป็นผู้กำหนดนโยบาย รูปแบบการแสดง เรื่องที่จะนำมาแสดง จัดสรรหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ดูแลงบประมาณ เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ
  2. ผู้กำกับการแสดง (Director) ควบคุมผู้แสดงให้แสดงให้สมบทบาทตามบทที่กำหนดไว้ จัดองค์ประกอบต่าง ๆ ของละครให้มีความสมจริง
  3. ผู้กำกับเวที (Stage Manager) เป็นผู้รับผิดชอบต่อจากผู้กำกับการแสดง เฉพาะในเรื่องการแสดงบนเวที มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของเวที เป็นผู้เดียวที่สั่งให้การแสดงเริ่มหรือหยุด ติดต่อสั่งงานเกี่ยวกับไฟแสง เสียงประกอบ ตลอดจนการเปิดปิดฉากละคร
  4. ผู้เขียนบท (Play Wright) เป็นผู้ทำหน้าที่เขียนบทละคร สร้างโครงเรื่อง คำพูดและเหตุการณ์ ผู้เขียนบทละครนับเป็นหัวใจสำคัญของการละคร ละครจะสนุกได้รับผลดีเพียงใด อยู่ที่ผู้เขียนบทละครเป็นสำคัญ ผู้เขียนบทจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เป้าหมายหลักคืออะไร ต้องการสื่ออะไรกับผู้ดู เช่น แนวคิด คติสอนใจ เป็นต้น
  5. ผู้จัดการฝ่ายธุรการ (House Manager) เป็นฝ่ายจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับธุรกิจของโรงละคร จัดสถานที่แสดง ดูแลการจำหน่ายบัตรที่นั่ง รับผิดชอบเกี่ยวกับผู้ดู
  6. เจ้าหน้าที่เครื่องแต่งกายและแต่งหน้า (Costume & Make up) ต้องรู้ว่าฉากใด ผู้แสดงมีตัวละครกี่ตัว ใช้ชุดสีอะไรแบบไหน ส่วนเครื่องแต่งหน้าต้องเตรียมให้พร้อม และควรมีความสามารถในการแต่งหน้าตัวละครได้สมจริง เช่น แต่งหน้าในบทของคนชรา คนต่างชาติ คนที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

 เทคนิคการเขียนบทละคร
               การสร้างบทละครนั้นเป็นความสามารถที่ต้องอาศัยทักษะและความคิดสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก แต่บุคคลหลายคนก็สามารถจะเขียนบทละครได้ แม้แต่ตัวผู้เรียนเอง หรือศิลปินในท้องถิ่นก็สามารถสร้างบทละครที่มีคุณภาพโดยสะท้อนความคิด ศิลปะ และวิถีชีวิตของท้องถิ่นได้เช่นกัน ละครจึงเป็นกิจกรรมที่ไม่มีกฎเกณฑ์เฉพาะตายตัว อาทิ ดนตรีประกอบการแสดง อาจเป็นดนตรีพื้นบ้านเพียงชิ้นเดียว เช่น ขลุ่ย แคน หรือเพลงที่ผู้เขียนชอบนำมาประกอบการเล่าเรื่องก็ได้ ละครจึงเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ทำงานร่วมกัน สามารถทดลองค้นคว้าหาเรื่องราวที่น่าสนใจมานำเสนอต่อผู้ชมอยู่ใหม่ ๆ ได้เสมอ

รูปแบบในการสร้างบทละคร

การสร้างบทละครมีวิธีการสร้างเรื่องดำเนินเรื่องหลายหลายรูปแบบ ดังนี้

  1. บทละครที่เป็นแบบฉบับ (Tradition Play) จะใช้แสดงในโรงละคร เรื่องราวที่นำเสนอมาจากวรรณกรรม นิทานพื้นบ้าน ถ้าเป็นวรรณกรรมเรื่องยาว เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา พระลอ ผู้ประพันธ์บทก็ต้องเลือกตอนที่น่าสนใจมาเสนอ จากนั้นเปิดเรื่องด้วยฉากที่นำเสนอตามแบบฉบับคือภาพหรือเหตุการณ์ สถานการณ์ของเรื่อง แนะนำตัวละครที่เป็นตัวเอกพร้อมทั้งข้อมูลที่จะนำไปสู่ความเข้าใจพฤติกรรมต่อ ๆ มาอย่างรวบรัดชัดเจน โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

– เหตุการณ์นั้นมีความสัมพันธ์ต่อเหตุการณ์อื่น ๆ ของเรื่องหรือไม่

– เหตุการณ์นั้นมีคุณค่า มีความจำเป็นและสัมพันธ์กับละครทั้งเรื่องอย่างไร

– เหตุการณ์ดังกล่าวเสริมสร้าง เน้นจุดมุ่งหมาย ประโยคหลักของเรื่องเช่นใด

– เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดแรงกระตุ้น ความสะเทือนใจต่อตัวละครเพียงใด

– เหตุการณ์นั้นก่อให้เกิดปฏิกิริยาการค้นพบ อุปนิสัยและการกระทำของตัวละครอย่างไร

  1. บทละครที่ไม่เป็นแบบฉบับ (Non Illusion Style) ผู้เขียนบทละครควรเน้นที่การเล่าเรื่อง (Story Theatre) จินตนาการ (Imagination) การเริ่มเรื่องจะเป็นการเล่าเรื่องโดยใช้ลีลาท่าทางประกอบดนตรี การขับร้องเพื่อให้ผู้ชมทราบกติกาการนำเสนอ ต่อจากนั้นก็ใช้วิธีประสานเรื่องราวต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อทำให้แนวคิดของเรื่องมีคุณค่าให้ประโยชน์แก่ผู้ชม การเขียนบทประเภทนี้จึงเน้นที่บรรยากาศ รูปแบบการนำเสนอ การเรียบเรียงเรื่องราว กฎเกณฑ์ในการเข้าสู่เรื่องและออกจากเรื่องเมื่อเรื่องหนึ่งจบลง
  2. บทละครที่เด็กมีส่วนร่วมแสดง (Partiicipatory Theatre) การเขียนบทประเภทนี้จะต้องเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดง เช่น ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัวละครที่คอยช่วยเหลือตัวละครในเรื่อง ช่วยเป็นฉาก ถืออุปกรณ์ประกอบฉาก ผู้ชมจะนั่งดูล้อมเป็นวง ทำให้ละครกลับเป็นประสบการณ์ตรงที่เด็ก ๆ ได้รับ ผู้ชมจะเชื่อบทบาทและปฏิบัติตามที่ตัวละครสั่ง
  3. บทละครเพื่อการศึกษา (TIE ย่อมาจาก Theatre In Education) เป็นละครเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความคิดของเยาวชนในโรงเรียน ก่อให้เกิดความคิดเชิงวิจารณ์นำไปสู่การพูดคุย การเขียนบทจะแบ่งออกเป็นฉาก ๆ แล้วใส่โครงเรื่องตัวละครประมาณ ๕-๖ คนลงไป ประเด็นที่นำเสนอมักเป็นปัญหาการขัดแย้ง เปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์จริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร
  4. บทละครจากการรวบรวมข้อมูลและเทคนิคละครสด (Collective Improvisation Theatre) การจะได้บทละครจากการแสดงละครสดนั้น จะต้องสนใจการทำงาน

ประโยชน์

1.คายความเครียด  หรือบางครั้งก็กระตุ้นอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น ทำให้มนุษย์มีความสุข กระตือรือร้นในการดำเนินชีวิต

2.สมอง ให้คุณค่าทางสติปัญญา โดยการดูละครแล้วกลับมาพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับตนเอง เกี่ยวกับมนุษยชาติและเกี่ยวกับสังคมส่วนรวม

3.จิตใจ ความสัมพันธ์ของศิลปะการละครกับจิตใจของมนุษย์มีมาแต่โบราณ จะเห็นได้ว่าการละครตะวันออกและตะวันตก ล้วนถือกำเนิดจากพิธีบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อขอพระ และให้เทพเจ้าบันดาลสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์ปรารถนาหรือถ้าจะให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก็พิจารณาได้จากละครเวที ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในละครเวที มีลักษณะเหมือนชีวิตจริง ๆ ของมนุษย์ คือเหตุการณ์เกิดขึ้นมาแล้วก็ผ่านเลยไป ผู้ชมไม่สามารถหยุดพักเหมือนการอ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ เช่น เมื่อรู้สึกเบื่อก็สามารถปิดหนังสือโทรทัศน์ได้ แต่ผู้ชมละครจะต้องนั่งอยู่ในโรงละคร เพื่อร่วมรู้เห็นการกระทำ (Action) ของตัวละครจนจบเรื่อง จะให้ละครหยุดพักการแสดงเมื่อเราไม่อยากชมและถ้าจะชมต่อ ก็จะให้เริ่มแสดงตรงช่วงนั้น ๆ ต่อเนื่องไปย่อมไม่สามารถจะกระทำได้ เพราะละครแม้จะเป็นผู้แสดงชุดเดียว บทเดียวกัน แต่ต่างช่วงเวลา การแสดงย่อมจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียวทั้งหมด ละครเวทีจึงมีลักษณะเหมือนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ๆ
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าละครสามารถให้ได้ทั้งความบันเทิง กระตุ้นเร้าความคิด ให้การศึกษา ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน สอนบทเรียน ให้ความฝันที่คนดูปรารถนาและเป็นเสมือนโลกที่งดงาม ให้ผู้คนหลีกหนีจากชีวิตที่สับสน ได้มาพักสมองผ่อนคลายความเครียดได้ชั่วขณะหนึ่งของนักแสดงตามหัวข้อที่มอบหมายให้แสดง และนำข้อมูลเรื่องราวกลับมาสู่กลุ่มผู้แสดงละครเพื่อสร้างตัวละครและเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามแผนงานที่กำหนด ตัวละครและเหตุการณ์ต่าง ๆ ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและค้นหาจุดเปลี่ยนจากบทบาทหนึ่งไปสู่อีกบทบาทหนึ่ง อารมณ์ ความรู้สึกของนักแสดงและของตัวละครที่ต่อเนื่องถ่ายทอดกันได้ดี จะทำให้ตัวละครน่าสนใจและมีชีวิตชีวาน่าเชื่อมากขึ้น