ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

นักวิจัยที่ศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ฮาร์วาร์ด - สมิธโซเนี่ยน เปิดเผยว่าพบคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าความแรงสูงในช่วงสั้นๆ เพียงเเค่หนึ่งในพันส่วนของวินาทีเท่านั้น แต่มีความเเรงสูงมาก โดยยังไม่รู้ว่ามาจากแหล่งกำเนิด

ในรายงานชิ้นล่าสุด ทีมนักวิจัยสงสัยว่าคลื่นที่พบนี้เป็นคลื่นวิทยุที่เล็ดลอดออกมาจากเครื่องส่งสัญญาณขนาดเท่าโลก ที่มนุษย์ต่างดาวใช้ขับเคลื่อนยานอวกาศ โดยน่าจะมาจากเเหล่งต้นกำเนิดที่อยู่ไกลโพ้น

Avi Loeb นักทฤษฎีแห่งศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์แห่งฮาร์วาร์ด - สมิธโซเนี่ยน กล่าวว่าคลื่นวิทยุที่มีความเร็วสูงที่แผ่กระจายออกมานี้มีความสว่างมาก เเม้จะแผ่ออกมาเพียงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น และมีต้นกำเนิดที่อยู่ไกลจากโลกมากก็ตาม

เขากล่าวว่า ทีมนักวิจัยยังไม่สามารถระบุต้นกำเนิดของคลื่นวิทยุนี้ได้อย่างมั่นใจ จึงสมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีการคาดเดาและการตรวจสอบตามมา

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ามีการตรวจพบคลื่นเเม่เหล็กดังกล่าวเป็นครั้งเเรกในปี ค.ศ. 2007 หรือราว 10 ปีที่แล้ว และมาจนถึงขณะนี้ มีการตรวจพบคลื่นเเม่เหล็กนี้ได้อีกมากกว่ายี่สิบครั้ง โดยใช้กล้องส่องดูดาวระบบคลื่นวิทยุขนาดใหญ่หลายตัว

และนักวิจัยเชื่อว่าคลื่นเเม่เหล็กที่ตรวจพบได้เหล่านี้น่าจะมาจากกาเเล็คซี่หลายกาเเล็คซี่ที่อยู่ห่างจากโลกไปหลายพันล้านปีแสง

ในการศึกษาวิจัยนี้ ทีมนักวิจัยได้พยายามประเมินดูความเป็นไปได้ในการสร้างเครื่องส่งสัญญาณขนาดใหญ่ พวกเขาบอกว่าเเม้ว่าการสร้างเครื่องส่งสัญญาณขนาดใหญ่ที่ว่านี้อาจจะเกินความสามารถทางเทคโนโลยีของมนุษย์ในปัจจุบัน แต่ก็มีความเป็นไปได้ หากดูตามกฏของฟิสิกส์

ทีมนักวิจัยยังได้ทำการศึกษาดูด้วยว่าการสร้างเครื่องส่งสัญญาณเเม่เหล็กขนาดใหญ่ดังกล่าวเป็นไปได้หรือไม่ในมุมมองด้านวิศวกรรม โดยเน้นศึกษาเป็นการเฉพาะว่าทำไมสิ่งที่จำเป็นต้องใช้พลังงานปริมาณมหาศาลนี้จึงไม่หลอมละลาย

พวกเขาสรุปว่าเป็นไปได้ว่า อาจจะเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่กว่าโลกสองเท่าตัว เเละมีความเย็นเหมือนน้ำเพื่อให้ทนทานต่อความร้อน

ทีมนักวิจัยตั้งทฤษฎีขึ้นมาว่า เครื่องส่งคลื่นวิทยุขนาดมหึมา อาจใช้ในการขับเคลื่อนยานอวกาศของมนุษย์ต่างดาวที่อยู่ในกาเเล็คซี่ที่ไกลโพ้นจากโลก เครื่องส่งคลื่นเเม่เหล็กมีความเเรงมากจนสามารถขับเคลื่อนยานอวกาศที่มีน้ำหนักหนึ่งล้านตัน ซึ่งเทียบได้กับเรือสำราญขนาดใหญ่บนโลกจำนวน 20 ลำรวมกัน

Manasvi Lingam ผู้เชี่ยวชาญแห่งสถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์แห่งฮาร์วาร์ด - สมิธโซเนี่ยน กล่าวว่า ยานขนาดใหญ่นี้ใหญ่มากจนสามารถบรรทุกผู้โดยสารที่มีชีวิตเพื่อเดินทางระหว่างดวงดาวหรือเเม้เเต่ระหว่างกาเเล็คซี่ได้

เขากล่าวว่าเพื่อขับเคลื่อนยานขนาดใหญ่นี้ในการเดินทางระหว่างดวงดาวหรือข้ามกาเเล็คซี่ จะต้องมีการบังคับให้คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความเเรงสูงนี้ตกลงที่ตัวยานอวกาศขนาดใหญ่อยู่ตลอดเวลา

This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.

เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การนาซ่าได้ออกมายืนยันเรื่องของยานนิวฮอไรซอนส์ที่บินผ่านดาวพลูโต และในตอนนี้มันก็ได้ส่งสัญญาณภาพกลับมายังโลก เพื่อช่วยคลี่คลายความลึกลับของดาวเคราะห์แคระที่มีคุณสมบัติที่แปลกประหลาดนี้ได้

ยานนิวฮอไรซอนส์ได้มุ่งหน้าเข้าใกล้ดาวเคราะห์แคระเมื่อเวลา 7.49 น. ตามเวลาท้องถิ่น (วันที่ 14 ก.ค.) ในช่วงเช้า พร้อมทั้งได้ทำการจับภาพประวัติศาสตร์ที่ดูใกล้ชิดเป็นครั้งแรกจากสถานที่อันห่างไกลจากโลกของเรา

ในระหว่างการเดินทางเข้าใกล้นั้น ยานนิวฮอไรซอนส์ก็ได้อยู่ที่ความสูง 7,800 ไมล์ (ราว 12,500 กิโลเมตร) จากพื้นผิวน้ำแข็งของดาวพลูโต ด้วยความเร็วในการเดินทางกว่า 30,800 ไมล์/ชั่วโมง (ราว 49,600 กิโลเมตร/ชั่วโมง)  

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

อลิซ โบว์แมน เจ้าหน้าที่ขององค์การนาซ่า ผู้ซึ่งได้ตั้งชื่อเล่นของภารกิจนี้ว่า "มัม (Mom)" ได้ยืนยันว่ายานนิวฮอไรซอนส์ได้ทำการส่งสัญญาณกลับมายังโลกที่สถานีในกรุงมาดริด เมื่อเวลา 20.55 น. ตามเวลาท้องถิ่น

"พวกเราได้รับการส่งข้อมูลทางไกลมาจากยานอวกาศค่ะ" เธอกล่าว พร้อมได้รับเสียงปรบมือจากเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมในการทำภารกิจครั้งนี้

"ดูเหมือนว่าพวกเราจะได้รับการเชื่อมต่อข้อมูลที่ดี ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดก็ใช้การได้เยี่ยมไปเลยค่ะ ฉันไม่สามารถที่จะแสดงสิ่งนี้ได้ ฉันสั่นไปหมดแล้วล่ะค่ะ'

"มันได้ผลตามแผนที่เราได้วางไว้ พวกเราทำได้แล้วค่ะ!"  

"ผมรู้ว่าวันนี้ พวกเราได้ทำการสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ เกี่ยวกับการสำรวจที่ประสบผลสำเร็จในครั้งนี้ และพวกเราจะเดินหน้าต่อไปเพื่อค้นพบในสิ่งที่เราไม่เคยได้เห็นกันมาก่อนครับ" ผู้บิรหารขององค์การนาซ่า ชาร์ลส โบลเดน (Charles Bolden) กล่าว

"นี่คือชัยชนะทางประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์และการสำรวจ เป็นอีกครั้งที่พวกเราได้เห็นศักยภาพที่แท้จริงของมนุษย์ครับ"

"มันเป็นเหมือนกับเครื่องหมายทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ครับ" จอห์น กรันส์เฟล์ด (John Grunsfeld) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซ่า ณ ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ ในมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ กล่าว

"ดาวพลูโตไม่ได้เป็นดาวเคราะห์ที่เต็มไปด้วยชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมไปด้วยหมอกไนโตรเจนตามที่ได้คาดกันเอาไว้ครับ"  

"มันเป็นเหมือนกับดาวที่มีความซับซ้อนและดูน่าสนใจ เป็นครั้งแรกเลยที่พวกเราได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้กันครับ"  

ตลอดเวลาที่ผ่านมายานนิวฮอไรซอนส์ได้อยู่ในโหมดของการเก็บรักษาพลังงานเอาไว้ ก่อนที่จะเริ่มต้นวิธีการสุดท้ายด้วยการใช้พลังงานสำหรับการถ่ายภาพ  

เหล่านักวิทยาศาสตร์ต้องเผชิญหน้ากับความตรึงเครียดตลอดระยะเวลากว่า 13 ชั่วโมง เพื่อรอที่จะได้ยินว่ายานลำนี้ไม่ได้รับความเสียหายใดๆ

"ฉันรู้สึกกังวลใจเล็กน้อย มันเหมือนกับการที่คุณส่งลูกของคุณออกไปค่ะ" อลิซ โบว์แมน ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติภารกิจ กล่าว  

"แต่ฉันค่อนข้างมั่นใจ แน่นอนเลยว่ามันจะทำในสิ่งที่มันควรจะทำค่ะ"  

มันได้แสดงให้เห็นดาวเคราะห์ที่เป็นสีทองแดง ปกคลุมไปด้วยสีเข้มและสีที่สว่างไสวของรูปทรงหัวใจ ซึ่งดูเหมือนว่าภาพของดาวพลูโตนั้น จะถูกนำไปเปรียบเทียบล้อเลียนกับตัวการ์ตูนที่มีชื่อว่าพลูโตอีกด้วย

รอยหลุมลึกที่เราสามารถมองเห็นได้จากพื้นผิวของดาวพลูโตนั้น บางทีอาจจะเป็นแนวของเทือกเขาหรือที่ราบน้ำแข็งขนาดใหญ่

โดยนาซ่าได้ทำการเตรียมปล่อยภาพสีของดาวพลูโตออกมาเพิ่มเติมในวันนี้ ซึ่งคาดการณ์กันว่าจะได้ภาพที่มีความคมชัดมากขึ้นให้ได้ชมกัน  

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ท่ามกลางอันตรายที่ยานนิวฮอไรซอนส์ต้องเผชิญหน้ากับวงแหวนฝุ่นที่บริเวณเส้นรอบศูนย์ของดาวเคราะห์แคระนั้น  

เพราะว่ามันเป็นยานอวกาศที่มีความเร็วมากที่สุดเท่าที่เคยได้ทำกันมา ดังนั้นการปะทะกับอนุภาคที่มีขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดข้าว จะไม่สามารถส่งผลใดๆ ต่อตัวยานได้เลย  

ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานี้ คอมพิวเตอร์ของยานได้ทำการปิดระบบลง และเข้าสู่สถานะเซฟโหมด เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการบินผ่านดาวพลูโต  

อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำได้ยืนยันว่า ภารกิจนี้ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ในวันนี้องค์การนาซ่าได้ทำการปล่อยภาพสีของดาวพลูโตและแครอน (ดาวบริวาร) ที่ได้ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เพื่อแสดงให้เห็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น  

ภาพถ่ายสีใหม่นี้ได้เผยให้เห็นรูป 'หัวใจ' ของดาวพลูโต ซึ่งจะแสดงถึงภูมิภาคที่แตกต่างกันของสีได้อย่างชัดเจน ในภาพสีจะเห็นได้ว่า รูปหัวใจทางด้านซ้ายจะมีลักษณะเป็นเหมือนกับรูปของกรวยไอศครีม ที่เป็นสีพีชในภาพๆ นี้  

ส่วนพื้นที่รูปหัวใจด้านขวาจะมีลักษณะเป็นสีฟ้า ที่มีจุดสีแดงอยู่บริเวณตรงกลาง แม้ในด้านขั้วโลกเหนือของดาวพลูโตก็จะเห็นเฉดของภาพสีที่แตกต่างกัน ทั้งสีเหลือง-สีส้มที่ทำให้เห็นความแตกต่างขององค์ประกอบบนดาวพลูโตได้อย่างชัดเจน  

ด้านพื้นผิวของดาวแครอนนั้นก็จะมีลักษณะของสีที่คล้ายคลึงกัน

จุดสีแดงเข้มทางด้านทิศเหนือของดาวแครอน จะประกอบไปด้วยไฮโดรคาร์บอนและโมเลกุลอื่นๆ ส่วนสีจุดด่างดำทางด้านล่างนั้น จะแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของภูมิประเทศบนดาวแครอน  

ในวันที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้เพิ่งเรียนรู้ว่า ดาวพลูโตซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และอยู่นอกสุดของระบบสุริยะนั้น มีขนาดใหญ่โตกว่าที่พวกเขานั้นคิดกันเอาไว้

พวกเขาเชื่อกันว่ามันมีเส้นผ่าศูนย์กลางราวๆ 1,473 ไมล์ (ราว 2,370 กิโลเมตร) โดยก่อนหน้านี้ได้เคยคาดการณ์กันเอาไว้ว่ามันน่าจะมีขนาดแค่เพียง 50 ไมล์ (ราว 80 กิโลเมตร) เท่านั้น

บนทวิตเตอร์บัญชีทางการของภารกิจในครั้งนี้ได้อธิบายว่ามันเหมือนกับ "วันคริสมาสต์ในเดือนกรกฎาคม" และทุกคนในทีมก็ต่างรอคอยกันมาตลอดคืน เพื่อรอรับการติดต่อครั้งแรกจากยานอวกาศ   

ถ้ายานนิวฮอไรซอนส์สามารถทำภารกิจได้สำเร็จ ความรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะของเราก็จะได้รับการศึกษาอย่างเสร็จสมบูรณ์

คอลัมน์หนึ่งจากสื่อ 'New York Times' ชี้ให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในวันนี้ จะมีโอกาสได้เห็นดาวดวงใหม่แบบใกล้ๆ เป็นครั้งแรก

และนี่คือ อลัน สเติร์น (Alan Stern) หัวหน้าทีมภารกิจยานอวกาศนิวฮอไรซอนส์ ได้กล่าวว่า "ภาพล่าสุด"

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานนิวฮอไรซอนส์ได้ใช้เวลาราว 8 นาทีในตอนที่เข้าใกล้ดาวพลูโตมากที่สุด เป็นครั้งแรกที่ยานอวกาศสามารถเดินทางมาได้ถึงดาวเคราะห์ดวงนี้  

หลังจากการบินผ่านไป ยานนิวฮอไรซอนส์ก็ทำให้เห็นมุมมองด้านใหม่ๆ ของดาวพลูโตและดวงจันทร์ทั้ง 5 อาทิ แครอน, สติกซ์, นิกซ์, เคอร์เบอรอส และไฮดรา   

ในช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำการติดต่อกับทางโลกทั้งหมดนั้น ยานจะใช้ทรัพยากรที่มีในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการถ่ายภาพดาวพลูโตเอาไว้  

มันจะเป็นภาพที่มีความละเอียดสูงจนสามารถแสดงให้เห็นพื้นผิวของดาวเคราะห์แคระนี้ได้ อีกทั้งยังเปิดเผยในรายละเอียดที่ไม่เคยได้พบเจอกันมาก่อนเลยอีกด้วย

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

อุปกรณ์อื่นๆ บนยานจะทำหน้าที่ในการศึกษาอุณหภูมิของพื้นผิวและธรณีวิทยา, ก้อนเมฆโดยรอบดวงดาว และเมฆฝุ่นในรอบวงโคจร  

นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะได้เข้าใกล้รูปหัวใจบนพื้นผิวของดาวพลูโต ที่ประกอบไปด้วยรอยหลุมอุกกาบาตและหน้าผาขนาดใหญ่  

พวกเขายังหวังอีกว่า จะได้เห็นหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่และเหวในพื้นผิวน้ำแข็งของดวงจันทร์แครอน  

ศาสตราจารย์ อลัน สเติร์น ได้กล่าวต่อสำนักข่าว 'Mail Online' ไว้ว่า ทีมวิจัยหลักของภารกิจยานนิวฮอไรซอนส์นั้น ต่างรอคอยที่จะได้เห็นความใกล้ชิดมาตลอดระยะเวลา 15 ปีของการทำงาน  

เขากล่าวว่า "มีโอกาสเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่ยานนิวฮอไรซอนส์ จะสูญหายกลายเป็นเศษซากชิ้นเล็กชิ้นน้อยครับ"  

"ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มันมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น 1 ใน 10,000 หรือน้อยกว่านั้นครับ แต่จนกว่าที่พวกเราจะได้รับการติดต่อจากยานกลับมา พวกเราก็ไม่รู้อะไรเลยเช่นกัน พวกเราปล่อยให้ยานบินไปโดยที่เราไม่รู้อะไรเลยครับ"  

"มันเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นมากๆ ผมนอนแค่เพียง 4 ชั่วโมงและยังรู้สึกยอดเยี่ยมอยู่เลยครับ"  

"ผมหมายถึง ลองดูที่ภาพซิครับ มันไม่เหมือนกับสิ่งไหนเลย นี่คือโลกของวิทยาศาสตร์ที่คุณไม่เคยได้พบเห็นกันมาก่อนครับ"

ในบรรดาข้อมูลชุดสุดท้ายที่ถูกส่งกลับมาจากยานนิวฮอไรซอนส์ ก่อนที่ยานจะเข้าสู่เซพโหมดนั้น ได้มีภาพถ่ายความคมชัดขนาด 600 พิกเซล ที่ทำให้เห็นลักษณะมุมมองเต็มๆ ของดาวพลูโต  

มันเป็นภาพที่มีความคมชัดมากที่สุดของดาวเคราะห์แคระ จนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ได้รับการติดต่ออีกครั้งจากยานอวกาศในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนเวลา 01.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น

อย่างไรก็ดี ครั้งแรกที่ยานอวกาศติดต่อกลับมานั้น จะเป็นข้อมูลที่รายงานเกี่ยวกับสถานะของการวิจัย นั่นเองที่ทำให้พวกเขาได้รู้ว่าภารกิจได้เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว  

ในภาพแรกนั้นเราไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับ จนกระทั่งจะถึงช่วงดึกของวันพุธนี้ มันต้องใช้เวลาเกือบ 4 ชั่วโมงในการส่งข้อความจากยานนิวฮอไรซอนส์ เพื่อเดินทาง 2.9 พันล้านไมล์ ในการกลับมายังโลก

แต่ข้อความและภาพใบแรกก็ได้รับโดยสถานีสื่อสารอวกาศระยะไกลแคนเบอร์รา เครือข่ายของนาซ่าที่ออสเตรเลีย

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

ดร. ลูอิส บอล (Dr Lewis Ball) หัวหน้านักดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์อวกาศ ได้กล่าวว่า "นั่นคือเรื่องมากมายที่พวกเราไม่เคยได้รู้กัน และไม่ใช่แค่ดาวพลูโต แต่ยังเกี่ยวข้องกับดวงดาวที่มีความคล้ายคลึงกันด้วย"

มันเป็นยานอวกาศลำแรกที่สามารถเดินทางไปได้ถึงดาวเคราะห์ที่ลึกลับและเยือกเย็นนี้ ซึ่งมีรอบวงโคจรเกือบ 3.7 พันล้านไมค์ (ราว 6 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์

ภาพที่ถูกส่งกลับมาจากยานฮอไรซอนส์นั้น จะเผยให้เห็นภาพของดาวพลูโตและดวงจันทร์ขนาดใหญ่อย่างดาวแครอน

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก

วิลเลียม เเมคคินนอน (William McKinnon) รองผู้อำนวยการของทีมวิจัยยานอวกาศนิวฮอไรซอนส์ภาคธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในเซนต์หลุยส์ ได้เปิดเผยว่า "นี่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงสร้างและพื้นผิวของดวงจันทร์แครอนครับ"

"ยานนิวฮอไรซอนส์ได้เปลี่ยนมุมมองที่พวกเราได้มองดวงจันทร์ว่าเป็นลูกบอลน้ำแข็งออกไปครับ ซึ่งมันทำให้เราได้เห็นลักษณะทางธรณีวิทยาของดาวดวงนี้ครับ"

หลังจากที่เดินทางผ่านดาวพลูโตไปแล้วนั้น ยานนิวฮอไรซอนส์จะมุ่งหน้าสู่แถบไคเปอร์ (KBOs) ต่อไป รวมถึงดวงดาวอื่นๆ นอกเหนือจากวงโครจรของดาวพลูโต โดยภารกิจนี้จะสิ้นสุดลงในช่วงปี 2026

ยานอวกาศใช้ส่งสัญญาณกลับมายังโลกใช้คลื่นอะไร

2. Sky wave เป็นคลื่นที่ถูกส่งจากเสาไปสะท้อนที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ของโลกเรา แล้วกลับลงมายังเสารับสัญญาณ ทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลนับพันกิโลเมตร

ยานโวเอเจอร์ 1 จะสามารถส่งข้อมูลกลับมายังโลกได้นานแค่ไหน?

ในช่วงปลายของปี ค.ศ. 2017 ทีมงานของวอยเอเจอร์ประสบความสำเร็จในการทดลองจุดชุดเครื่องยนต์ไอพ่นที่ใช้ในการควบคุมแนวโคจร (TCM) ซึ่งไม่ได้ใช้งานมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ส่งผลให้สามารถขยายเวลาทำภารกิจของยานไปได้อีกสองถึงสามปี โดยคาดว่ายาน วอยเอเจอร์ 1 จะสามารถทำภารกิจได้ต่อไปจนถึงปี ค.ศ. 2025 ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยความ ...

การส่งข้อมูลจากดาวเทียมมายังโลกจะส่งมาในรูปแบบคลื่นอะไร

ระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมนั้น มี 2 แบบ แบบ C – Bandจะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกอยู่ในช่วงความถี่ 3.4 – 4.2 GHz ซึ่งจะมีฟุตปริ้นท์ ที่มีขนาดกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ การให้บริการได้หลายประเทศ เช่น ของดาวเทียมไทยคม 2/5 พื้นที่ให้บริการ คือทวีปเอเซีย และยุโรปบางส่วน

เพราะเหตุใดมนุษย์อวกาศต้องสื่อสารกันด้วยคลื่นวิทยุเมื่ออยู่ในอวกาศ

1. ในอวกาศไม่มีอากาศเป็นสำหรับตัวกลางผ่านของคลื่นเสียง แต่นักบินอวกาศติดต่อกันได้ โดยผ่านกันทางวิทยุสื่อสาร ซึ่งเป็นคลื่นวิทยุ ไม่ได้ใช้เสียงพูดคุยสื่อสารกันไปตรงๆแบบบนโลก เพราะอยู่ในชุดนักบิน