แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

              คอมพิวเตอร์ Computer  คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น  เพื่อช่วยให้การทำงานที่มีความซับซ้อนขึ้น  หรือมีปริมาณมากเสร็จลงได้อย่างถูกต้องภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว  การทำงานของคอมพิวเตอร์  จะทำงานตามลำดับคำสั่งที่เก็บไว้ภายในหน่วยความจำและสามารถรับข้อมูลภายนอก  คำนวณหรือเปรียบเทียบ  เพื่อให้ได้ผลลัพธ์  ซึ่งสามารถเก็บไว้เพื่อนำไปใช้ต่อไป

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

               1. HARDWARE (ฮาร์ดแวร์) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์
               2. SOFTWARE (ซอฟท์แวร์) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ
               3. PEOPLEWARE (พีเพิลแวร์) หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นคือ ผู้ใช้เครื่อง และผู้เขียนโปรแกรม ฯลฯ

        

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

               1. จอภาพ (MONITER   เรียกว่า  มอนิเตอร์)      เป็นหน่วยแสดงผล ใช้แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากหน่วยประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนปากของคนเราที่สามารถบอกข่าวสาร หรือพูดจากับคนอื่นได้รู้เรื่อง
              2. เครื่องดิสไดรฟ์ (DISK DRIVE  เรียกว่า ดีส  ไดรพ์)   เป็นหน่วยความจำเพิ่มเติมใช้อ่านหรือบันทึกข้อมูลในแผ่นดิสเก็ต  เปรียบเสมือนกับตาของคนเราที่ใช้อ่านหนังสือต่างๆ เพื่อส่งผ่านสมองให้จดจำ
              3. CPU  (CENTRAL PROCESSING UNIT  เรียกว่า   ซีพียู  )     เป็นหน่วยประมวลผลกลางที่ใช้บันทึก คิดคำนวณ รวมถึงการทำงานในส่วนต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เปรียบได้กับสมองของคนเราที่ใช้จดจำสิ่งต่างๆ คิดคำนวณ และควบคุมการทำงานในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
              4. แป้นพิมพ์ (KEYBOARD เรียกว่า  คีย์บอร์ด) เป็นหน่วยรับข้อมูลที่ใช้ในการป้อนคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ เปรียบได้กับหูของคนเรา ที่สามารถฟังแล้วเข้าใจว่าคนอื่นพูดอะไรกับเรา
              5. เครื่องพิมพ์ (PRINTER  เรียกว่า  ปริ๊นเตอร์)   เป็นหน่วยแสดงผลของข้อมูลใช้ในการพิมพ์ผลงานที่ได้ จากหน้าจอภาพแสดงปรากฏที่กระดาษ (Paper) เปรียบได้กับปากของคนเรา เช่นเดียวกับจอภาพนั่นเอง

        

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

              1. จุดกระพริบ (CURSOR)   เป็นจุดที่บอกตำแหน่งที่รอรับคำสั่งจากผู้ใช้ ซึ่งจุดกระพริบจะอยู่ในสถานะใดนั้นขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้งาน โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ในรูปของขีด   ( | )
              2. ปุ่มเปิด - ปิด    (POWER)  เป็นปุ่มที่ใช้สวิสต์สำหรับเปิดหรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ตำแหน่งของปุ่มอยู่ที่ CPU  ส่วนลักษณะรูปร่างของปุ่มขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของเครื่องคอมพิวเตอร์
              3. RESET  เป็นปุ่มที่ใช้กำหนดให้คอมพิวเตอร์เริ่มต้นการทำงานใหม่ (ใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ค้างหรือแฮ้งก์)

        

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

              หลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ  จะต้องป้อนข้อมูลผ่าน  หน่วยรับข้อมูล  (Input Unit)  จากนั้นข้อมูลจะส่งผ่านเข้าสู่กระบวนการทำงานของ   หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกว่า  ซีพียู (CPU: Central Processing Unit)   โดยจะทำงานร่วมกับ หน่วยความจำหลัก  (Memory  Unit)  และ  หน่วยความจำสำรอง  (Secondary  Memory Unit) ของระบบเพื่อประมวลผลคำสั่งและแสดงผลการทำงานออกทาง หน่วยแสดงผล  (Output  Unit)  ดังภาพด้านล่าง

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

        

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

              หน่วยรับข้อมูล  หมายถึง  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลชนิดต่าง ๆ  เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์หลายชนิด ได้แก่ แป้นพิมพ์ , เมาส์ , สแกนเนอร์ เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด  , ไมโครโฟน  และกล้องดิจิตอล เป็นต้น

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

        

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

              หน่วยประมวลผล  หมายถึง  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่ง  เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ป้อนคำสั่งให้   โดยผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล  หน่วยประมวลผลหรือ หน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ซีพียู  (CPU: Central Processing Unit)

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ


              ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางเป็นวงจรไฟฟ้ามีหน่วยสำคัญที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน 2 หน่วย ได้แก่  หน่วยควบคุม (Control Unit :CLU)  และ  หน่วยคำนวณและตรรกะ  หรือ เอแอลยู (Arithmetic  and Logic  Unit :ALU)

                

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
หน่วยควบคุม (Control Unit :CLU)

              หน่วยควบคุมเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงาน  และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์  หน่วยนี้ทำงานคล้ายกับสมองคนซึ่งควบคุมให้ระบบอวัยวะต่าง ๆ  ของร่างกายทำงานประสานกัน  และยังทำหน้าที่ควบคุมให้อุปกรณ์รับข้อมูล  ส่งข้อมูลไปที่หน่วยความจำ  ติดต่อกับอุปกรณ์แสดงผลเพื่อสั่งให้นำข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์แสดงผล   โดยหน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์จะแปลความหมายของคำสั่งในโปรแกรมของผู้ใช้  และควบคุมให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานตามคำสั่งนั้น ๆ

                

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
หน่วยคำนวณและตรรกะ  (Arithmetic  and Logic  Unit :ALU)

              หน่วยคำนวณและตรรกะเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่คำนวณทางเลขคณิตได้แก่  การบวก ลบ คูณ หาร และเปรียบเทียบทางตรรกะเพื่อทำการตัดสินใจ  เช่น  ทำการเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าปริมาณหนึ่ง น้อยกว่า เท่ากับ หรือ มากกว่า  อีกปริมาณหนึ่ง  แล้วส่งผลการเปรียบเทียบว่าจริงหรือเท็จไปยังหน่วยความจำเพื่อทำงานต่อไป  ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในเงื่อนไข  การทำงานของเอแอลยู คือ รับข้อมูลจากหน่วยความจำมาไว้ในที่เก็บชั่วคราวของเอแอลยูซึ่งเรียกว่า  เรจิสเตอร์  (Register)  เพื่อทำการคำนวณแล้วส่งผลลัพธ์กลับไปยังหน่วยความจำ  ทั้งนี้ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ข้อมูลและคำสั่งจะอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านระบบส่งถ่ายข้อมูลผ่านในที่เรียกว่า บัส (Bus)

        

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

               หน่วยความจำ  คือ  หน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง  ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง    หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งในระหว่างการประมวลผลและมีกระแสไฟฟ้า  เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะหายไป  ซึ่งหน่วยความจำนี้ มีความสำคัญมากในการทำงานร่วมกับซีพียู  โดยทั่วไปแล้วหน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
                            - หน่วยความจำที่ใช้พื้นที่สำหรับการประมวลผลของซีพียู  เรียกว่า  หน่วยความจำหลัก  มีอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการทำงานคือ  รอม   (Read Only  Memory : ROM)  เป็นหน่วยความจำชนิดถาวรที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  ข้อมูลที่บรรจุในหน่วยความจำชนิดนี้จะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้วก็ตาม  และหน่วยความจำหลักอีกประเภทหนึ่งคือ แรม (Random  Access  Memory : RAM)  เป็นหน่วยความจำหลักที่สามารถนำโปรแกรมและข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกหรือหน่วยความจำสำรอง   ซึ่งแตกต่างจากรอมคือสามารถเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่เท่านั้น  หากปิดเครื่องข้อมูลจะหายไปทันที และข้อมูลจะกลับมาทำงานใหม่ก็ต่อเมื่อมีการเปิดเครื่องอีกครั้ง
                            - หน่วยความจำที่ใช้บันทึกแฟ้มข้อมูลประเภทต่าง ๆ  เรียกว่า  หน่วยความจำสำรอง เช่น  แผ่นบันทึก  (diskette) ,ซีดีรอม (Compact  Disk Read Only  Memory : CD-ROM)  , Flash Drive  เป็นต้น

        

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

               หน่วยแสดงผล    หมายถึง  อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลการทำงานของคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์นั้น ๆ เช่น การแสดงผลออกทางมอนิเตอร์หรือจอภาพ (Monitor) ,  การพิมพ์ข้อความออกทางเครื่องพิมพ์ (Printer) ,  การนำเสียงออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้ลำโพง (Speaker)  หรือ หูฟัง (Headphone)  , Projector  เป็นต้น

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

        

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

            คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาททั้งทางตรงและทางอ้อม ในการสร้างสนเทศที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เรา  การที่เราจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมโลกปัจจุบันที่สภาวการณ์ต่าง ๆ  มีการเปลี่ยนแปลงเราจะต้องปรับตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น  ซึ่งจำเป็นจะต้องแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ    และสารสนเทศที่เหมาะสมมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ    ปัจจุบันนี้ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อมนุษย์เราแทบทุกด้าน  ดังนี้

                

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
บทบาทต่อการดำเนินชีวิต
                        ในการดำรงชีวิตประจำวันของเราในแต่ละวันมีการนำคอมพิวเตอร์ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการทำงานต่าง ๆ  มากมาย  เช่นใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ทันสมัยนานาชนิด  โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น    จุดประสงค์เพื่อให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

                

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
บทบาทต่อการศึกษา
                        คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่มีบทบาททางด้านการศึกษา ทั้งในด้านการจัดการระบบการเรียนการสอน  ในระดับต่าง ๆ  ตั้งแต่ประถมศึกษา  มัธยมศึกษา  จนถึงระดับอุดมศึกษา  เช่นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI: Computer  Assisted  Instruction)    การสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ

                

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
บทบาทในองค์กร
                        คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทและมีความสำคัญต่อองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  เช่น  การพิมพ์เอกสารต่าง ๆ  หรือ  การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการช่วยงานฝ่ายต่าง ๆ  เช่น  โปรแกรมการบริหารงานบุคคล  โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลลูกค้า  เป็นต้น

                

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
บทบาทต่อสังคม
                        สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน  เช่น  เราใช้อินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นแหล่งข้อมูล  เป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้และข่าวสารต่าง ๆ  สู่สังคม

                

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
บทบาทด้านสุขภาพ
                        มีการนำคอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางการแพทย์มากมาย  เช่น  เครื่องมือทางการแพทย์  การตรวจรักษา  การทดลองต่าง ๆ  ในห้องทดลอง  เป็นต้น

                

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
บทบาทด้านการติดต่อสื่อสาร
                        การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวาง  สะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย  ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เช่น การส่งจดหมายอิเล็คทรอนิคส์   การสนทนาผ่านทางอินเตอร์เน็ต

                

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
บทบาทด้านการพักผ่อนและความบันเทิง
                        ในปัจจุบันเราใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาพัฒนาทั้งในด้าน ภาพ เสียงทำให้มีความบันเทิงในด้านต่าง ๆ  มากมายเช่น  ดูหนัง  ฟังเพลง  หรือ คาราโอเกะ

        

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

            พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง  จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่  ใช้พลังงานไฟฟ้ามากและอายุการใช้งานต่ำ  เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชิ้นซิลิคอนเล็ก ๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำและผลิตได้จำนวนมาก  ราคาถูก  ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัวบรรจุบนชิ้นซิลิคอนเล็ก ๆ เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (Microchip)   และใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์  ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง
            ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่  เช่น  ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล  ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก  หรือทำไมโครโพรเซสเซอร์  หมายถึง  หน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ  การบวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบ  การดำเนินการทางตรรกะ  ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
            การพัฒนาไมโครชิปที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการกระทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ  จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจน  เพราะเทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว  ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่   แต่อย่างไรก็ตามพอจะจำแนกชนิดคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยี ที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งานได้ดังนี้

                1.  ไมโครคอมพิวเตอร์  (Microcomputer)
                ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก  หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล  จึงมีการเรียกชื่ออีกอย่างว่า         พีซี ( Personal  Computer : PC )  เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งตามขนาดของเครื่องเป็นประเภทได้ดังนี้
                    

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ  (Desktop  Computer)  เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กได้รับการออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ  มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และ แผงแป้นอักขระ

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ


                   

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer)เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

                   

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อป

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

                   

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

                2.  สถานีงานวิศวกรรม (Engineering  workstation)
                  ผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นในเรื่องกราฟิก การสร้างรูปภาพและการทำภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่ายทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น เช่นโปรแกรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์ งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักร การซื้อสถานีงานวิศวกรรมต่างจากการซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จ   สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ส่วนการซื้อสถานีงานวิศวกรรมนั้นยุ่งยากกว่า สถานีงานวิศวกรรมมีราคาแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก การใช้งานก็ต้องการบุคลากรที่มีการฝึกหัดมาอย่างดี หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้   สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ประสิทธิภาพของซีพียูของระบบอยู่ในช่วง 50-100 ล้านคำสั่งต่อวินาที (Million Instruction Per Second : MIPS) อย่างไรก็ตามหลักจากที่ใช้ซีพียูแบบริสก์ (Reduced Instruction Set Computer :RISC) ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถเชิงคำนวณของซีพียูสูงขึ้นได้อีก ทำให้สร้างสถานีงานวิศวกรรมให้มีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้มากกว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

                3.  มินิคอมพิวเตอร์  (Minicomputer)
                  มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรมงานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม   มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่องให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

                4.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์  (Mainframe  Computer)
                   เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี   บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม

                5.  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)  หรือคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High  performance  computer)
                   ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณ ที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชั้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน

        

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
แบ่งการทำงานออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

                   1. กลุ่มฟังก์ชั่นคีย์ (FUNCTION KEYS) เป็นกลุ่มที่อำนวยความสะดวกในการสั่งงานหรือใช้

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

                   โปรแกรม คือ คีย์ F1 – F12 โดยแต่ละคีย์จะบรรจุคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ เอาไว้ในแต่ละโปรแกรมคำสั่งในฟังก์ชันคีย์จะแตกต่างกันไป ซึ่งประกอบด้วยปุ่มต่าง ๆ ดังนี้
                   2.  กลุ่มคีย์อักขระ  (The Alphanumeric Key)   ประกอบด้วย คีย์อักขระ คีย์ตัวเลข เครื่องหมายต่าง ๆ ได้แก่ ตัวอักษร A-Z  ตัวเลข 0-9 สำหรับคีย์ตัวอักษร A-Z สามารถพิมพ์ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ได้ โดยใช้คีย์ SHIFT และ CAPSLOCK
                   3.   กลุ่มคีย์ควบคุม (The Control Keys) เป็นกลุ่มที่ใช้ควบคุมการทำงานหรือใช้งานต่าง ๆ ซึ่งอยู่กระจายทั่วไปในแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งประกอบด้วยปุ่มต่าง ๆ ดังนี้

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (ย่อมาจาก  ESCAPE อ่านว่า เอสแคป) เป็นปุ่มที่ใช้สำหรับยกเลิกการทำงานที่ใช้ในโปรแกรมต่าง ๆ ในขณะนั้น (หน้าที่อื่น ๆ ของปุ่ม ESC  ขึ้นอยู่กับแต่ละโปรแกรม)

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (อ่านว่า แท็บ) ใช้เลื่อน Cursor ไปทางขวามือ หรือซ้ายมือตามค่าของ  Tab   ที่กำหนดไว้ในแต่ละโปรแกรมที่พิมพ์

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (อ่านว่า แคปล็อค) เป็นปุ่มที่ใช้ล็อคคีย์อักษรเพื่อพิมพ์อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในอักษรภาษาอังกฤษ หรือ พิมพ์ตัวอักษรที่อยู่แถวบนของปุ่มพิมพ์ดีดภาษาไทย ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายกับปุ่ม SHIFT

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (อ่านว่า ชิฟ) เป็นปุ่มที่ทำหน้าที่คล้ายกับปุ่ม CAPSLOCK แต่วิธีการใช้ต่างกันตรงที่ปุ่ม SHIFT จะใช้พิมพ์อักษรตัวไหนจะต้องกดค้างไว้แล้วถ้าต้องการใช้ปุ่มไหนก็ให้กดปุ่มนั้น ๆ ตาม เช่น  A ต้องกด SHIFT ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม A

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (CONTROL อ่านว่า คอนโทรล) เป็นปุ่มที่ใช้ร่วมกับปุ่มอื่นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน วิธีการใช้ต้องกดปุ่ม CTRL ค้างไว้ แล้วกดปุ่มอื่นตาม เช่น CTRL + C  กดปุ่ม CTRL  ค้างไว้แล้ว กด C ตามแล้วปล่อยพร้อมกัน

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (ALTERNET อ่านว่า อัลเทอร์เนต) เป็นปุ่มที่ใช้ทำงานร่วมกับปุ่มอื่นเช่นเดียวกับปุ่ม CTRL แต่ถ้าใช้ร่วมกันกับ CTRL และ Del จะเป็นการสั่งให้เครื่องเริ่มต้นบูตเครื่องใหม่หรือ รีเซตโปรแกรม นั่นเอง

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (อ่านว่า สเปซบาร์) เป็นปุ่มที่ใช้เคาะให้เกิดช่องว่างระหว่างตัวอักษร

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (อ่านว่า เอ็นเท่อ) เป็นปุ่มที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในแต่ละครั้งตามที่ต้องการ

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (ปุ่ม BACKSPACE อ่านว่า แบ็คสเปซ)   เป็นปุ่มที่ใช้ลบอักษรที่ใช้เลื่อน Cursor ไปด้านซ้ายมือ โดยเมื่อผ่านอักษรจะทำการลบอักษรที่ผ่านไปด้วย

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  ( อ่านว่า ปริ้นสกรีน) เป็นปุ่มที่ใช้สำหรับสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์ข้อความที่แสดงอยู่ในขณะนั้นออกมาที่เครื่องพิมพ์ (ในหน้าจอของโปรแกรม DOS)

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (อ่านว่า สกอร์ล็อค) เป็นปุ่มที่ใช้กำหนดปุ่มตัวเลขในการสร้างตาราง ในโปรแกรม CU-WRITER

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (อ่านว่า พอซ หรือเรียกว่า เบรก) เป็นปุ่มที่ใช้สำหรับสั่งให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงานชั่วขณะ

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (อ่านว่า นัมล็อค) เป็นปุ่มที่ใช้กำหนดสถานะการใช้ 2 สถานะนั่นคือ ถ้ากดปุ่ม Num Lock แล้วมีแสงไฟสีเขียวสว่างที่สถานะของ Num Lock หมายถึง สามารถใช้พิมพ์ตัวเลขในกลุ่มตัวเลขได้ แต่ถ้ากดปุ่ม Num Lock อีกครั้งหนึ่งแล้วไฟที่แถบสถานะของ Num Lock หาย กลุ่มตัวเลขจะกำหนดให้ใช้เลื่อน Cursor ตามทิศทางของลูกศร

                   4.  คีย์ตัวเลข (The Numeric Keypad) เป็นคีย์ที่ใช้สำหรับพิมพ์ตัวเลข ซึ่งจัดตำแหน่งคีย์คล้าย ๆ กับเครื่องคิดเลข เหมาะกับการป้อนข้อมูลที่เป็นตัวเลขล้วน ๆ เวลาจะใช้ต้องกด Num Lock Led ให้ กลุ่มตัวเลขทำหน้าที่  2  สถานะ ถ้าไฟที่แถบสถานะของ Num Lock สว่างหมายถึง กดปุ่ม Num Lock แสดงว่าอยู่ในสถานะของการใช้กลุ่มตัวเลขจะอยู่ในสถานะของการใช้กลุ่มตัวเลข แต่ถ้าไฟที่แถบสถานะของ Num Lock ดับ หมายถึง กดปุ่ม Num Lock อีกครั้ง แสดงว่ากลุ่มตัวเลขจะอยู่ในสถานะของการเลื่อน Cursor

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ

                   5.  คีย์พิเศษสำหรับควบคุมการเลื่อน Cursor   สำหรับคีย์รุ่นใหม่จะแยกคีย์ที่ใช้ควบคุม Cursor  และคีย์ตัวเลขมาใช้ต่างหาก เพื่อความสะดวกเวลาใช้งานมีรายละเอียดดังนี้

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  (กลุ่ม ARROW KEY อ่านว่า แอโร่คีย์) เป็นกลุ่มที่ใช้เลื่อน Cursor   ตามทิศทางของลูกศร

                             

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ
  -  เป็นกลุ่มที่ใช้ในโปรแกรมต่าง ๆ โดยมีวิธีการใช้ดังนี้
                                                                  -  Insert (อินเสริท) เป็นปุ่มที่สั่งให้คอมพิวเตอร์อยู่ในสภาวะ  แทรกคำหรือทับคำ
                                                                  -  Delete (ดีลีส)  เป็นปุ่มที่ใช้ลบตัวอักษร ณ ตำแหน่งของ Cursor
                                                                  Home (โฮม)   เป็นปุ่มที่ใช้เลื่อน Cursor ไปอยู่ต้นบรรทัด
                                                                  End (เอ็น)       เป็นปุ่มที่ใช้เลื่อน Cursor ไปอยู่ท้ายบรรทัด
                                                                  Page Up (เพ็คอัพ)    เป็นปุ่มที่ใช้เลื่อนจอภาพเพื่อดูหน้าต่อไป
                                                                  -  Page Down (เพ็คดาวน์)  เป็นปุ่มที่ใช้เลื่อนกลับไปดูหน้าจอภาพผ่านมาแล้ว

แถบข้าง เปรียบเสมือนส่วนใดของหนังสือ