ให้ ประธาน รัฐสภา เป็น ผู้ ลง นาม รับ สนอง พระบรม ราชโองการ แต่งตั้ง ประธาน องคมนตรี

ร.10 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "นายนุรักษ์ มาประณีต" เป็นองคมนตรี

4 พฤษภาคม 2020

ให้ ประธาน รัฐสภา เป็น ผู้ ลง นาม รับ สนอง พระบรม ราชโองการ แต่งตั้ง ประธาน องคมนตรี

ที่มาของภาพ, ราชกิจจานุเบกษา

วันนี้ (4 พ.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ "ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี" โดยมีพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า

ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งองคมนตรีตามประกาศ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พุทธศักราช 2561 แล้วนั้น

บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 11 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นายนุรักษ์ มาประณีต เป็น องคมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2563 เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์

ประธานองคมนตรี

นุรักษ์ มาประณีต คือใคร

ข้อมูลจากเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า นายนุรักษ์ เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ เขาเกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2492

ที่มาของภาพ, เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ

คำบรรยายภาพ,

นุรักษ์ มาประณีต

สำหรับประวัติการศึกษาของนายนุรักษ์

  • นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ประวัติการทำงาน

  • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 4 กันยายน 2557 - 31 มีนาคม 2563
  • ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 28 พฤษภาคม 2551
  • ผู้พิพากษาศาลฎีกา วันที่ 1 ตุลาคม 2549
  • ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ ภาค 7 วันที่ 1 ตุลาคม 2547
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ภาค 8 วันที่ 1 ตุลาคม 2542
  • รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 6 วันที่ 1 ตุลาคม 2539
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต วันที่ 1 พฤษภาคม 2533

นายนุรักษ์ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด คือ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

ไอลอว์ เผย"นุรักษ์" เป็นตุลาการนานสุด ยุบแล้ว 29 พรรคการเมือง

ข้อมูลจากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ระบุไว้เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ที่ผ่านมาว่า นายนุรักษ์ ดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญมายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของศาลรัฐธรรมนูญ คือ 13 ปี เริ่มดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2549

หลังจากนั้นรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีทั้งหมดเก้าคน และดำรงตำแหน่งได้ 9 ปี ซึ่งนุรักษ์ ได้รับการแต่งตั้งอีกครั้งโดยมาจากการออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ซึ่งนุรักษ์จะต้องพ้นตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม 2560 พร้อมกับชัช ชลวร, บุญส่ง กุลบุปผา, อุดมศักดิ์ นิติมนตรี และจรัญ ภักดีธนากุล เนื่องจากทั้ง 5 คนหมดวาระ 9 ปีแล้ว แต่ก็ได้อยู่ต่อ เนื่องจากวันที่ 20 เมษายน 2560 หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจ "มาตรา 44" ออกคำสั่งฉบับที่ 24/2560 ให้งดเว้นการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามคำสั่งก่อนหน้านี้เอาไว้ก่อน และยืดอายุให้ตุลาการทั้ง 5 คนทำงานต่อไปได้ จนกว่าจะมีการประกาศใช้ พรป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

เมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ พร้อมด้วยการประกาศใช้ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ในบทเฉพาะกาลก็พบว่า ตุลาการทั้งชุดยัง "ได้ไปต่อ" ไม่ถูก "เซ็ตซีโร่" คนที่อยู่ในตำแหน่งที่ยังไม่หมดวาระสามารถอยู่ในตำแหน่งต่อได้ ไม่ต้องทำการสรรหาใหม่ทั้งหมด ส่วนตุลาการที่หมดวาระแล้วแต่ คสช. ใช้ "มาตรา 44" ช่วยยืดอายุไว้ ก็ให้ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่จนกว่าจะมีการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่แล้วเสร็จ

ที่มาของภาพ, BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

อดีตหัวหน้า คสช. เคยใช้อำนาจ "มาตรา 44" ออกคำสั่งฉบับที่ 24/2560 ให้งดเว้นการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและยืดอายุให้ตุลาการทั้ง 5 คนทำงานต่อไปได้ ในจำนวนนั้นคือ นายนุรักษ์

นับตั้งแต่การเปิดประชุมรัฐสภาชุดใหม่เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นเวลากว่า 8 เดือน ที่กระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังไม่แล้วเสร็จ ตุลาการที่หมดวาระทั้ง 5 คน ก็ยังได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ นายนุรักษ์ จึงยังคงอยู่ในตำแหน่งเรื่อยมา

ตลอดเวลา 13 ปีของนายนุรักษ์ เป็นตุลาการที่ร่วมพิจารณาตัดสินคดีการยุบพรรคมาทุกคดี ตั้งแต่ปี 2549 และร่วมตัดสินคดียุบพรรคมาแล้วทั้ง 29 พรรค รวมทั้งพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคไทยรักษาชาติ พรรคอนาคตใหม่ เรียกได้ว่า ประสบการณ์เต็มเปี่ยม และยังอยู่ในชุดที่ตัดสิน "ไม่ยุบ" พรรคประชาธิปัตย์ด้วย

ข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรีเพิ่ม 3 คน
  • อำพน กิตติอำพน เจ้าของกระแส "นายกฯ คนนอก" กับปณิธาน ขอรับใช้พระเจ้าอยู่หัว

รัฐธรรมนูญ เรื่องที่ 2 คณะองคมนตรี

คลิปนี้ตัดมาจาก
ชุดติว “BoxSet พิชิตข้อสอบท้องถิ่น 2564”
คลิก ดูรายละเอียดและสั่งซื้อ

คณะองคมนตรี จะอยู่ใน หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ในหมวดนี้ปกติข้อสอบก็แทบจะไม่นำมาออกข้อสอบอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องสถาบัน (ให้อ่านผ่านๆ พอเข้าใจก็พอ) ส่วนที่ต้องต้องจำให้ได้คือ องคมนตรี ส่วนราชการหลายหน่วยงานที่เคยเปิดสอบชอบนำประเด็นนี้มาออก

กรอบแนวคิดในการศึกษา รัฐธรรมนูญ เรื่องที่ 2 คณะองคมนตรี

  1. พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นองคมนตรี
  2. คณะองคมนตรี ประกอบด้วย ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน (บทบัญญัติใช้คำว่า “ไม่เกิน” บางครั้งจำนวนอาจจะไม่ครบ 18 คนก็ได้)
  3. “ประธานรัฐสภา” เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง “ประธานองคมนตรี” หรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
  4. “ประธานองคมนตรี” เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง “องคมนตรีอื่น” หรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง
  5. ข้อห้ามในการเป็นองคมนตรี คือ ต้องไม่เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ฯ (ในส่วนนี้เป็นหลักทั่วไปอยู่แล้วอ่านผ่านๆ ก็พอ)

แนวข้อสอบ (ดูเฉลยในวิดีโอ)

6. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนคณะองคมนตรี
1. ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน
2. ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกเกิน 18 คน
3. ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 19 คน
4. ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกเกิน 19 คน

7. ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี
1. ประธานศาลฎีกา
2. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
3. ประธานรัฐสภา
4. ประธานองคมนตรี

8. ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี
1. ประธานศาลฎีกา
2. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
3. ประธานวุฒิสภา
4. ประธานองคมนตรี

สำหรับท่านใดที่ดูวิดีโอ และอ่านเนื้อหานี้แล้ว สนใจ “BoxSet พิชิตข้อสอบท้องถิ่น 2564” แบบหวังผลในลำดับเรียกบรรจุ ราคา 1,990.- จัดส่งฟรี รายละเอียดที่จะได้รับ

  1. Flash Drive (แฟลชไดร์ฟ) จำนวน 1 อัน ขนาด 32GB บรรจุวิดีโอติวภาค ก. กฎหมาย 11 รายวิชา จำนวน 29 ชั้วโมง
  2. คู่มือประกอบวิดีโอติวภาค ก. กฎหมาย 11 ฉบับ (ทุกตำแหน่งต้องสอบ) จำนวน 317 หน้า
  3. คู่มือเตรียมสอบภาค ก. ท้องถิ่น 64 (ทุกตำแหน่งต้องสอบ) จำนวน 136 หน้า
  4. เจาะข้อสอบ 1,000 ข้อ กฎหมายภาค ก. ท้องถิ่น 64 จำนวน 211 หน้า

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างได้เลยครับ

ให้ ประธาน รัฐสภา เป็น ผู้ ลง นาม รับ สนอง พระบรม ราชโองการ แต่งตั้ง ประธาน องคมนตรี

BoxSet พิชิตข้อสอบท้องถิ่น 64 วิดีโอติวภาค ก. กฎหมาย 11 ฉบับ จำนวน 29 ชั่วโมง พร้อมคู่มือเตรียมสอบภาค ก. วิชาความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผล วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ และเจาะข้อสอบกฎหมายภาค ก. ท้องถิ่น 1,000 ข้อ ราคา 1,990.- จัดส่งฟรี