บุคคลที่เป็นผู้ร้องหรือผู้ยื่นคําฟ้องต่อศาล คือ

เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นและไม่มีทางอื่นใดนอกจากจะต้องฟ้องร้องคดีต่อศาล โจทก์จะต้องเตรียมตัวอย่างไร ก่อนฟ้องจำเลย และมีวิธีการขั้นตอนการดำเนินคดีอย่างไร

เมื่อมีปัญหาขัดแย้งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งได้ โจทก์จึงควรรีบปรึกษาทนายความพร้อมกับแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดี โดยการสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ แล้วจึงนำข้อเท็จจริงมาปรับเข้ากับข้อกฎหมายเพื่อตั้งรูปเรื่องของคดีว่าจะไปในทิศทางใด แล้วจึงร่างคำฟ้อง เพื่อยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลต่อไป

ทนายความโจทก์ต้องจัดเตรียมเอกสารที่กฎหมายกำหนดดังต่อไปนี้ คำฟ้อง คำขอท้ายฟ้อง บัญชีระบุพยาน สำเนาเอกสาร ใบแต่งทนายความ คำแถลงขอส่งหมาย ทะเบียนราษฎร์หรือหนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนบริษัทของจำเลย เพื่อส่งให้ศาลและตามจำนวนจำเลย

โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ศาลไหนได้บ้าง (เขตอำนาจศาล)

1. คำฟ้องทั่วไป ให้ยื่นต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิด (มูลเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิ ที่ทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง)

2. คำฟ้องเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้ยื่นต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

หากคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลหลายศาล โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ศาลใดศาลหนึ่งที่อยู่ในเขตอำนาจก็ได้

นอกจากนี้ทนายความยังต้องดูจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องจากจำเลยประกอบด้วย คือ

1. คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสนบาท อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวง (ถ้าจังหวัดใดไม่มีศาลแขวง จะต้องฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด)

2. คดีมีทุนทรัพย์เกิน 3 แสนบาท และคดีไม่มีทุนทรัพย์ อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัด หรือศาลแพ่ง

โจทก์จะขอยกเว้นค่าขึ้นศาลได้หรือไม่

โจทก์สามารถยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาลได้ ถ้าโจทก์ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือหากไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรเมื่อพิจารณาถึงสถานะของโจทก์

เมื่อยื่นคำฟ้องแล้วทนายความโจทก์จะต้องทำอะไรบ้าง

เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องต่อเจ้าหน้าที่จะได้หมายเลขคดีดำมา โจทก์ต้องกำหนดวันนัดพิจารณา พร้อมกับชำระค่าขึ้นศาลตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและชำระค่านำส่งหมายเรียกให้กับจำเลย

หลังจากวันที่ยื่นคำฟ้อง โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องตามคำสั่งศาลว่ารับฟ้องหรือไม่ พร้อมกับตามผลการส่งหมาย ว่าเจ้าหน้าที่ส่งหมายให้จำเลยได้หรือไม่ หากส่งได้ก็ต้องดูด้วยว่าส่งให้จำเลยเมื่อวันที่เท่าไหร่ ส่งโดยวิธีธรรมดาหรือโดยวิธีอื่น เพื่อดูว่าจำเลยจะต้องยื่นคำให้การภายในวันใด แต่ถ้าส่งไม่ได้โจทก์จะต้องยื่นคำแถลงต่อศาลว่าจะดำเนินการส่งหมายอย่างไรต่อไป

ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ทนายความโจทก์จะต้องทำอย่างไร

ในคดีแพ่งสามัญ เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วไม่ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัด ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอดังกล่าวภายในกำหนด ศาลอาจมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้

แต่ถ้าเป็นคดีมโนสาเร่ / คดีไม่มีข้อยุ่งยาก / คดีผู้บริโภค แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลก็จะให้โจทก์สืบพยานไปฝ่ายเดียว โดยโจทก์ไม่ต้องยื่นคำขอชนะคดีเหมือนอย่างในคดีแพ่งสามัญ

จากนั้นโจทก์ก็จะต้องไปศาลในวันนัดพิจารณา ก็จะมีการนัดพร้อม ไกล่เกลี่ย นัดไต่สวนคำร้องคำขอ นัดสืบพยานโจทก์ นัดสืบพยานจำเลย และนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนมากประกอบกับข้อกฎหมาย การฟ้องคดีของโจทก์จึงจำเป็นต้องมีทนายความเข้ามาช่วยเหลือดำเนินคดีแทน

โดยปกติคดีอาญาจะเริ่มจากการที่ผู้เสียหายแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจโดยกล่าวหาว่ามีผู้กระทำผิด และการกระทำนั้นเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ซึ่งการกล่าวหานั้น ผู้เสียหายมีเจตนาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ (เรียกว่า คำร้องทุกข์)
เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจรับแจ้งเหตุแล้วจะสืบสวนและสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานจัดทำเป็นสำนวนคดี
เมื่อพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จก็จะสรุปสำนวนการสอบสวน แล้วมีความคิดเห็นทางใดทางหนึ่งประกอบสำนวน
ในบางกรณีผู้เสียหายจะเลือกฟ้องคดีต่อศาลเองโดยตรงก็ได้

การประกันตัวในชั้นศาลมี 2 ช่วง

ช่วงแรก เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการนำตัวผู้ต้องหามาขอฝากขังต่อศาลและศาลอนุญาตให้ขัง ซึ่งถือว่าผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจควบคุมของศาลแล้ว
ช่วงที่สอง ช่วงที่ศาลประทับฟ้องของโจทก์  ผู้ต้องหามีสถานะเป็นจำเลยซึ่งต้องถูกควบคุมตัวอยู่ในอำนาจของศาล

ดังนั้น  หากผู้ประกันประสงค์จะขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา หรือ จำเลยก็จะต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณา  แล้วแต่กรณี

กำหนดเวลาที่ศาลอนุญาตให้ประกัน  ดังนี้

ชั้นสอบสวน มีกำหนดเวลาเท่ากับระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ฝากขังจนกระทั่งมีการฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี
ชั้นพิจารณาของศาล สัญญาประกันใช้ได้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมตัวโดยศาล  ผู้ประกันสามารยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้หลักประกัน คือ  การใช้หลักทรัพย์เป็นประกัน  หรือ การใช้บุคคลเป็นประกัน

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอประกันตัว ควรสอบถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาลเท่านั้น

1. ฟ้องที่ศาลใด
พิจารณาว่าความผิดเกิดขึ้นในเขตศาลใด หรือจำเลยมีที่อยู่ หรือถูกจับในเขตศาลใด หรือพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในเขตศาลใด  ศาลนั้นมีอำนาจพิจารณาคดี             

2.  คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
คือ  คดีที่การกระทำผิดอาญาเป็นเหตุให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย หรือค่าทดแทน หรือเรียกให้คืน หรือใช้ราคาทรัพย์ที่ผู้เสียหายต้องเสียไปจาการกระทำผิดอาญานั้น จะฟ้องจำเลยต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญา  โดยมีคำขอส่วนแพ่งรวมอยู่ในคำฟ้องอาญา

3.  วิธีการอ่านคำฟ้อง  เมื่อได้รับสำเนาคดีคำฟ้อง  ควรตรวจดูคำฟ้องดังนี้

4.  ข้อควรปฎิบัติเมื่อศาลประทับฟ้อง  หากจำเลยจะสู้คดีควรปฎิบัติ ดังนี้

5. ชั้นพิจารณาคดี

โจทก์มีหน้าที่ต้องมาศาลทุกนัด หากไม่มา ศาลต้องยกฟ้อง เว้นแต่ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มาศาลโดยมีเหตุอันสมควร ศาลจะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้ หากจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดหรือตามหมายเรียก (กรณีจำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว) ศาลจะออกหมายจับจำเลยและปรับนายประกันในทางปฏิบัติแล้วหากศาลไม่แน่ใจว่าจะจับจำเลยได้เมื่อใดก็จะจำหน่ายคดีชั่วคราว จนกว่าจะได้ตัวจำเลยมาพิจารณาคดีต่อไป

การสืบพยาน

คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานเข้าสืบก่อนจำเลยเสมอ และเมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว จำเลยจึงนำพยานเข้าสืบต่อไป ก่อนสืบพยานโจทก์และจำเลยมีสิทธิแถลงเปิดคดี  และหลังสืบพยานเสร็จแล้วโจทก์และจำเลยมีสิทธิแถลงปิดคดีได้
ในระหว่างพิจารณา ถ้าศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานหรือทำการอะไรอีก จะสั่งงดพยานหรือการนั้นเสียก็ได้
คำพิพากษาของศาลอาจแยกเป็นพิพากษายกฟ้อง หรือพิพากษาลงโทษ

โทษที่ศาลพิพากษา  คือ

คำพิพากษาของศาลจะทำเป็นหนังสือ  ยกเว้นในศาลแขวง  คำพิพากษาจะทำด้วยวาจาก็ได้  โดยบันทึกไว้พอได้ใจความ
จำเลยจะต้องมาฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งตามวันเวลาที่ศาลนัด ถ้าจำเลยไม่มาและศาลมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจะหลบหนีหรือจงใจไม่มาศาลศาลจะออกหมายจับจำเลย ถ้ายังไม่ได้ตัวจำเลยมาศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันออกหมายจับ ศาลอาจอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นลับหลังจำเลยได้โดยถือวาจำเลยได้ฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นแล้ว

                1. เมื่อศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา  คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์หรือฎีกาฟัง  หากยื่นไม่ทันภายในกำหนดอาจยื่นคำร้องขอขยายระยะอุทธรณ์หรือฎีกาได้ แต่ต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาและต้องอ้างเหตุที่ยื่นไม่ทันภายในกำหนด
                2. การยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา  ทำได้โดยยื่นคำฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาพิพากษาคดี
                3. กรณีจำเลยที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ จำเลยอาจยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อพัสดีภายในกำหนดอายุอุทธรณ์หรือฎีกา เพื่อให้พัสดีส่งไปยังศาลก็ได้
                4. กรณีที่ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์หรือสำเนาฎีกา ให้แก่ คู่ความอีกฝ่ายไม่ได้ เช่น ตัวไม่พบ หรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับ ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป
                5. เมื่อศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยหากเป็นคดีที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาและจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกาก็ได้
                6. เนื้อหาฟ้องอุทธรณ์จะมีรายละเอียดว่าเป็นคดีประเภทใด ใครเป็นคู่ความ ใครเป็นผู้อุทธรณ์ ฟ้องเพื่ออะไร จำเลยให้การว่าอย่างไร ข้อเท็จจริงในทางพิจารณามีอย่างไร ศาลชั้นต้นตัดสินอย่างไร ผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยและโต้แย้งคำพิพากษาในประเด็นใดพร้อมด้วยเหตุผลและคำขอท้ายอุทธรณ์ เช่น ขอให้กลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ชื่อผู้เรียง ผู้พิมพ์ และลายมือชื่อผู้อุทธรณ์
                7. หากศาลชั้นต้นเห็นว่าอุทธรณ์มีข้อความที่ต้องแก้ไข ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งคืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์นำกลับไปแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด แต่หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่ต้องหาอุทธรณ์หรือยื่นเกินกำหนด ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับอุทธรณ์
                  ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์  ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 15 วัน นับแต่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเช่นใดแล้วถือว่าคำสั่งนั้นเป็นที่สุด
                8. ในชั้นอุทธรณ์ คดีที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ เว้นแต่
                   - ศาลพิพากษาให้จำคุก หรือกักขังแทนโทษจำคุก
                   - ศาลพิพากษาให้จำคุก แต่ให้รอการลงโทษ
                   - ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอกำหนดโทษ
                   - ศาลลงโทษปรับจำเลยเกิน 1,000 บาท
                   - ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยและอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายรับรองให้อุทธรณ์
                9. ในชั้นฎีกา มีข้อห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คือ
                      1. ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น หรือแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จำคุกไม่เกิน 5 ปี ห้ามโจทก์และจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
                      2. ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น หรือแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ไม่ว่ามีโทษอื่นหรือไม่ ห้ามโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
                      3. ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอุทธรณ์คงลงโทษไม่เกินกว่านี้ ห้ามโจทก์และจำเลยฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่ ศาลอุทธรณ์แก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จำเลยมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
                   คดีที่ต้องห้ามฎีกาข้างต้น ผู้อุทธรณ์อาจยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีหรือที่ลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา หรือขอให้อัยการสูงสุดรับรองฎีกาได้แต่ต้องเป็นปัญหาสำคัญที่สมควรที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย      
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต่างยกฟ้องโจทก์ คู่ความจะฎีกาอีกไม่ได้
                10.  เมื่อคดีถึงที่สุด จำเลยหรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องมีสิทธิยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอรับพระราชทายอภัยโทษ ถ้าหากจำเลยต้องจำคุกอยู่ในเรือนจำ จะยื่นต่อพัสดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำก็ได้
                    จำเลยที่ต้องโทษประหารชีวิต จะทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวได้เพียงครั้งเดียวภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษา ส่วนโทษอื่นจะยื่นทูลเกล้าฯ เมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าถูกยก จะยื่นใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้น 2 ปี นับแต่วันที่ถูกยกครั้งก่อน
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว คู่กรณีสามารถตกลงไม่เอาความกันได้ซึ่งมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ โดยอาจตกลงกันในชั้นพนักงานสอบสวน หรือเมื่อฟ้องคดีต่อศาลแล้ว โดยไม่จำกัดให้กระทำในศาลเท่านั้น ผู้เสียหายกับจำเลยอาจทำความตกลงกันนอกศาลหรือผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์แล้วมาแถลงให้ศาลทราบก็ได้ ซึ่งศาลจะได้จำไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่าผู้เสียหายกับจำเลยทำความตกลงกันได้และไม่เอาความกันอีกต่อไป หรือผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์เสีย ซึ่งทำให้สิทธิของโจทก์ที่นำคดีมาฟ้องระงับไปและศาลจะให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเป็นต้น
                แม้อยู่ในระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา ถ้ามีการยอมความหรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ต้องสั่งจำหน่ายคดี
                ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ยอมความได้  เช่น หมิ่นประมาทม, โกงเจ้าหนี้, พาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร, ยักยอก เป็นต้น
เมื่อศาลพิพากษาให้ริบของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดแล้ว เจ้าของทรัพย์ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด อาจยื่นคำร้อง ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ขอให้ศาลสั่งคืนของกลางได้ ศาลจะนัดไต่สวนโดยผู้ร้องและโจทก์ (หากจะคัดค้าน) ต้องนำพยานเข้าสืบ เมื่อสืบพยานเสร็จศาลจึงจะมีคำสั่งว่าให้คืนของกลางให้ผู้ร้องหรือไม่
หากปรากฎตามคำพิพากษาของศาลที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด บุคคลนั้นหรือทายาทย่อมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายตามสมควร ตลอดจนบรรดาสิทธิที่เสียไป เพราะผลแห่งคำพิพากษานั้นคืน

                คดีได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลต้องรับโทษทางอาญาแล้วอาจมีการร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ หากมีเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
                1. พยานบุคคลซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิจารณาพิพากษาคดีได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังว่าเบิกความเท็จ หรือไม่ถูกต้องตามความจริง
                2. พยานหลักฐานอื่น ซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิจารณาพิพากษาคดี ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังว่าเป็นพยานหลักฐานปลอมหรือเป็นเท็จหรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง
                3. มีหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี ซึ่งถ้าได้นำมาสืบในคดีที่ถึงที่สุดจะแสดงว่าบุคคลที่ได้รับโทษทางอาญานั้นไม่ได้กระทำผิด
ผู้เสียหายในคดีอาญา  หมายถึง ผู้ที่ได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต หรือร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องจากการกระทำความผิดทางอาญาของผู้อื่นและตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยกับการกระทำความผิดนั้น เช่น ความผิดฐานทำให้แท้งลูก, ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เป็นต้น              
      ค่าตอบแทนที่ผู้เสียหายจะได้รับ ดังนี้
                 - ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรณภาพทางร่างกายและจิตใจ
                 - ค่าตอบแทนในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
                 - ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
                 - ค่าตอบแทนความเสียหายอื่น

วิธีการยื่นคำขอรับสิทธิ             

ผู้มีสิทธิยื่นคำขอ ต้องยื่นคำขอต่อคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ณ สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา อาคารกระทรวงยุติธรรมเลขที่ 99 หมู่ 4 ชั้น 25 ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11120 โทรศัพท์ 0 2502 6500, 0 2502 6539
                1. ในกรณีผู้เสียหาย ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำผิด
                2. ในกรณีจำเลย ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเพราะปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดแล้วแต่กรณี
       
ผู้มีสิทธิยื่นคำขอ
                1. ผู้เสียหาย
                2. ทายาทซึ่งได้รับความเสียหายกรณีที่ผู้เสียหายหรือจำเลยถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย
                3. ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาล บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา กรณีผู้เสียหาย หรือจำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือไม่สามารถยื่นคำร้องด้วยตนเองได้
                4. บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหาย ให้เป็นผู้ยื่นคำขอแทน
จำเลยในคดีอาญา  หมายถึง  จำเลยในคดีอาญาที่ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการ ถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี และปรากฎหลักฐานชัดเจนว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดและมีการถอนฟ้องในระหว่างดำเนินคดี หรือปรากฎตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด

ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายที่จำเลยจะได้รับ ดังนี้
                 - ค่าทดแทนการถูกคุมขัง คำนวณจจากจำนวนวันที่ถูกคุมขังในอัตราที่กำหนดไว้สำหรับการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา
                 - ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ หากความเจ็นป่วยของจำเลยเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี
                 - ค่าทดแทนในกรณีที่จำเลยถึงแก่ความตายและความตายนั้นเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดีจำนวนไม่เกินที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
                 - ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ระหว่างถูกดำเนินคดี
                 - ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินคดี

วิธีการยื่นคำขอรับสิทธิ

ผู้มีสิทธิยื่นคำขอ ต้องยื่นคำขอต่อคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ณ สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา อาคารกระทรวงยุติธรรมเลขที่ 99 หมู่ 4 ชั้น 25 ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11120 โทรศัพท์ 0 2502 6500, 0 2502 6539
                1. ในกรณีผู้เสียหาย ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำผิด
                2. ในกรณีจำเลย ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเพราะปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดแล้วแต่กรณี
ผู้มีสิทธิยื่นคำขอ
                1. ผู้เสียหาย
                2. ทายาทซึ่งได้รับความเสียหายกรณีที่ผู้เสียหายหรือจำเลยถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย
                3. ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาล บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา กรณีผู้เสียหาย หรือจำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือไม่สามารถยื่นคำร้องด้วยตนเองได้
                4. บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหาย ให้เป็นผู้ยื่นคำขอแทน

ความรู้เกี่ยวกับการคุมประพฤติ

การคุมความประพฤติเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ศาลให้โอกาสผู้กระทำความผิดที่ศาลรอการลงโทษโดยสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ภายใต้เงื่อนไขในการควบคุมความประพฤติ ซึ่งมีพนักงานคุมความประพฤติเป็นผู้สอดส่องดูแลให้บุคคลนั้นกลับตนเป็นพลเมืองดีไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก

การคุมความประพฤติแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
                 1. การสืบเสาะและพินิจ
                 เป็นขั้นตอนก่อนศาลพิพากษาคดี โดยศาลมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับจำเลยตลอดจนสภาพความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีซึ่งจะนำมาประมวลวิเคราะห์และรายงานต่อศาล เพื่อที่จะใช้ประกอบดุลยพินิจในการพิจารณาว่าจะพิพากษาลงโทษจำเลยสถานใดหรือสมควรจะใช้วิธีการคุมความประพฤติหรือไม่
                 2. การควบคุมและสอดส่อง 
                 เป็นขั้นตอนภายหลังศาลพิพากษาให้คุมความประพฤติจำเลยแล้ว โดยให้พนักงานคุมประพฤติเป็นผู้คอยช่วยเหลือ แนะนำ ตักเตือนในเรื่องนิสัยความประพฤติ การประกอบอาชีพและอื่นๆ เพื่อให้จำเลยมีโอกาสและปรับปรุงตนเองให้เป็นพลเมืองดีต่อไป

การคุมประพฤติเด็กและเยาวชนเมื่อศาลมีคำพิพากษา

ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิพากษาลงโทษหรือวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น เช่น ปรับ จำคุก ว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไปโดยมอบเด็กหรือเยาวชนให้บิดามารดาหรือผู้ปกครอง หรือกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติไว้ด้วย หรือส่งตัวเด็กและเยาวชนไปไว้ในสถานฝึกและอบรม และมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัย เช่น เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปเข้ารับการฝึกและอบรมเป็นเวลาตามที่ศาลกำหนด แต่ไม่ให้เกินกว่าผู้นั้นมีอายุครบ 24  ปีบริบูรณ์ รวมทั้งทีอำนาจสั่งรอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษเด็กหรือเยาวชน แม้ว่าเด็กหรือเยาวชนเคยถูกศาลพิพากษาว่าได้กระทำความผิดมาแล้ว