วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

การออกแรงกระทำต่อวัตถุอาจทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ หรือวัตถุอาจไม่เคลื่อนที่ เนื่องจากมีแรงย่อยอื่นมาร่วมกระทำ ทำให้เกิดการหักล้างของแรงในปริมาณเวกเตอร์ ดังนั้นวัตถุที่จะเคลื่อนที่ได้หรือไม่ได้ก็ขึ้นอยู่กับแรงลัพธ์ที่มากระทำต่อวัตถุนั่นเอง

เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุแล้ววัตถุไม่เคลื่อนที่ เนื่องจากถูกหักล้างด้วยแรงอื่นที่ร่วมกระทำต่อวัตถุนั้น แต่ไม่ว่าวัตถุนั้นจะเคลื่อนที่หรือไม่เคลื่อนที่ก็ตามจะเกิดแรงลัพธ์ของวัตถุเสมอ

แรงเป็นปริมาณที่มีขนาดและทิศทาง แรงจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ การรวมแรงต้องรวมแบบเวกเตอร์ ในการรวมแรงหลายๆ แรงที่กระทำต่อวัตถุ ถ้าผลรวมของแรงที่ได้เป็นศูนย์แสดงว่า วัตถุนั้นอยู่ในสภาพสมดุล เมื่อปล่อยวัตถุ วัตถุนั้นจะตกลงสู่พื้นดิน แสดงว่ามีแรงกระทำต่อวัตถุ ซึ่งแรงนั้นเกิดจากแรงดึงดูดที่โลกกระทำต่อวัตถุ หรือที่เรียกว่า แรงโน้มถ่วงของโลก หรือน้ำหนักของวัตถุนั่นเอง แรงโน้มถ่วงนี้จะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุ ในการลากวัตถุให้เคลื่อนที่ไปบนพื้นผิวจะมีแรงต้านการเคลื่อนที่ เรียกแรงนี้ว่า แรงเสียดทาน ซึ่งแรงเสียดทานจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะผิวสัมผัสระหว่างวัตถุทั้งสองและแรงที่วัตถุกดพื้น กิจกรรมบางอย่างต้องการให้ผิวสัมผัสมีแรงเสียดทาน แต่กิจกรรมบางอย่างต้องการลดแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส

เมื่อออกแรงแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวแรงนั้น เรียกว่า มีการทำงาน คำนวณหาค่าของงานที่ทำได้จากผลคูณของแรงและระยะทางในแนวเดียวกันกับแรง และกำหนดให้งานที่ทำได้ในหนึ่งหน่วยเวลา คือ กำลัง

ในบางกรณี เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุอาจทำให้วัตถุหมุน เรียกว่าเกิดโมเมนต์ของแรง ซึ่งเกิดเมื่อแรงที่กระทำมีทิศตั้งฉากกับระยะทางจากจุดหมุนไปยังแนวแรง การหมุนนี้มีทั้งหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกา โดยถ้าผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกาเท่ากับผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา วัตถุจะอยู่ในสภาพสมดุล

เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุทำให้วัตถุเคลื่อนที่สามารถวัดอัตราเร็วหรือขนาดของความเร็วของการเคลื่อนที่ได้จากการใช้เครื่องเคาะสัญญาณเวลา วัตถุที่เคลื่อนที่โดยมีความเร็วเปลี่ยนไป เรียกว่า วัตถุเคลื่อนที่โดยมีความเร่ง โดยความเร่งจะมีทิศเดียวกับทิศของแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุ

การเคลื่อนที่ของวัตถุนอกจากจะเคลื่อนที่ในแนวตรงแล้ว ยังมีการเคลื่อนที่แบบอื่นอีก เช่น การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่แนวโค้ง โดยได้ระยะทางในแนวราบและแนวดิ่งพร้อมๆ กัน การเคลื่อนที่ในแนววงกลม เป็นการเคลื่อนที่ที่มีแรงกระทำต่อวัตถุในทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง

แรงลัพธ์

            อำนาจอย่างหนึ่งที่ทำให้วัตถุหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ได้ หรือกล่าวได้ว่าแรงสามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ แรงเป็นปริมาณเวคเตอร์ (ปริมาณที่ต้องบอกขนาดและทิศทาง)
หน่วยของแรง คือ นิวตัน < Newton สัญลักษณ์ N >
           ถ้ามีแรงหลาย ๆ แรงมากระทำต่อวัตถุเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน เสมือนกับว่า มีแรงเพียงแรงเดียวมากระทำต่อวัตถุนั้น เรียกแรงเสมือนแรงเดียวนี้ว่า แรงลัพธ์ (หรือกล่าวได้ว่าแรงลัพธ์คือผลรวมของแรงหลาย ๆแรงที่กระทำต่อวัตถุนั้น )
การหาแรงลัพธ์ เนื่องจากแรงเป็นปริมาณเวคเตอร์ดังนั้นการหาแรงลัพธ์คิดเหมือนกับ การหาเวคเตอร์ลัพธ์ โดยแทนแรงด้วยลูกศร ความยาวของลูกศรจะแทนขนาดของแรง และทิศของลูกศรจะแทนทิศทางของแรงที่กระทำ และวัตถุจะเคลื่อนที่ไปตามทิศของแรงลัพธ์

วิธีการหาแรงลัพธ์ มี 2 วิธี
           1. การเขียนรูป (โดยแทนแรงด้วยลูกศร ) ใช้หางต่อหัว คือเอาหางของลูกศรที่แทนแรงที่ 2 มาต่อหัวลูกศรที่แทนแรงที่ 1 แล้วเอาหางลูกศรที่แทนแรงที่ 3 มาต่อหัวลูกศรที่แทนแรงที่ 2 .....ต่อกันไปจนหมด โดยทิศของลูกศรที่แทนแรงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ขนาดของแรงลัพธ์คือ ความยาวลูกศรที่ลากจากจุดเริ่มต้น ไปยังจุดสุดท้าย มีทิศจากจุดเริ่มต้นไปจุดสุดท้าย
ตัวอย่าง เมื่อมีแรง A B และ C มากระทำต่อวัตถุ ดังรูป

วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

หาแรงลัพธ์โดยการเขียนรูปได้ดังนี้
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

           2. โดยการคำนวณ
           2.1. เมื่อแรงทำมุม 0 องศา (แรงไปทางเดียวกัน) แรงลัพธ์ = ขนาดแรง ทั้งสองบวกกัน และทิศของแรงลัพธ์ มีทิศเดิม
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

           2.2. เมื่อแรงทำมุมกัน 180 องศา (ทิศทางตรงข้าม) แรงลัพธ์ = แรงมากลบด้วยแรงน้อย ทิศของแรงลัพธ์มีทิศเดียวกับแรงมาก
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

           2.3. เมื่อแรงทำมุมกัน 90 องศา หาแรงลัพธ์โดยใช้ทฤษฎีบทของพีธากอรัส
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

           2.4 มี 2 แรงทำมุมหาขนาดของแรงลัพธ์โดยใช้สี่เหลี่ยมด้านขนานให้แรงทั้งสองเป็นด้านประกอบ ของสี่เหลี่ยมด้านขนาน
เส้นทะแยงมุมคือแรงลัพธ์
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

           2.5 ถ้ามีแรงหลาย ๆแรงมากระทำกับวัตถุ การหาแรงลัพธ์ หาได้โดยวิธีการแตก แรงเข้าสู่แกนตั้งฉาก
ขั้นตอนการหาแรงลัพธมี์ดังนี้
           1.เขียนแกนตั้งฉากอ้างอิง
           2.แตกแรงเข้าสู่แกนตั้งฉาก ( 1 แรงต้องแตกเข้าแกนตั้งฉากทั้งสองแกนเสมอ )
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

ตัวอย่างการคำนวณ
           1.ชายคนหนึ่งออกแรงลากลังไม้ดังรูปด้วยแรง 100 นิวตัน จงหา
                      1. แรงดึงในแนวดิ่ง
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

                      2.แรงดึงในแนวระดับ
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

           2. จงหาแรงย่อยในแกนตั้งฉาก
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

           3. จงหาแรงย่อยในแกนตั้งฉาก
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

           ข้อสังเกต จากข้อ 2 และ 3 แรงประกอบย่อยถ้าอยู่ชิดมุม จะเท่ากับ แรง คูณด้วยค่า cos ของมุมนั้น ถ้าไม่ชิดมุม แรงประกอบย่อยจะเท่ากับ แรงคูนด้วยค่า sin ของมุมนั้น
           4. เมื่อออกแรง 3 และ 4 นิวตันกระทำต่อวัตถุ ดังรูป จงหา ขนาดของแรงลัพธ์โดยการเขียนรูป
           
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ
เขียนรูป ใช้หางต่อหัววัดขนาดแรงลัพธ์ได้ 5 N
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

           
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ
เขียนรูป ใช้หางต่อหัว วัดขนาดแรงลัพธ์ได้ 6.01 N
วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

วัตถุจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของแรงลัพธ์ เพราะ

               http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/10/Force/Force/Force1.htm