กฎหมายตรา 3 ดวง เป็นกฎหมายที่ใช้ สำหรับ ทำ อะไร

1. พระธรรมนูน เนื้อหากล่าวถึงการบัญัติหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการตัดสิน และพิจารณาความ หน้าที่ของตุลาการ ตอนท้ายเป็นตำแหน่งและตราประทับของขุนนาง 

2. พระธรรมสาตร เนื้อหากล่าวถึงตำนานของพระธรรมศาสตร์ ของพระมโนสาร หลักการและหน้าที่ของตุลาการ 10 ประการและ มูลเหตุคดีความต่างๆ 29 ประการ 

3. อินทภาษ เนื้อหากล่าวถึงคุณธรรมและหลักปฏิบัติของตุลาการที่สืบเนื่องมาจากพระอินทร์ 

4. วิวาทตีด่า เนื้อหากล่าวถึงบทบัญญัติถึงการทะเลาะวิวาทกัน การกำหนดโทษและค่าปรับ ตลอดจนการวิวาทในครอบครัว

5. พระไอยการลักษณรับฟ้อง เนื้อหากล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการฟ้องร้องคดี, การตัดสินความเมื่อรับเรื่องฟ้องร้อง, ลักษณะคดีที่ห้ามนำมาฟ้องร้อง  

6. พระไอยการลักษณกู้หนี้ เนื้อหากล่าวถึงการกู้หนี้ลักษณะต่างๆ 16 ประการ ตลอดจนการกู้ยืมระหว่างบุคคลในครอบครัว

7. พระไอยการมรดก เนื้อหากล่าวถึงการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกของบุคคลต่างๆ ได้แก่ขุนนาง พ่อค้าและสามัญชน การสืบทอดมรดกในวงศ์ตระกูล

8. พระไอยการลักษณอุธร เนื้อหากล่าวถึง หลักการและวิธีการพิจารณาความ การปรับสินไหในกรณีที่ตุลาการตัดสินผิดพลาด

9. ลักษณตระลาการ เนื้อหากล่าวถึงคุณธรรมของตุลาการ การพิจารณาของคู่พิพาท

10. พระไอยการลักษผัวเมีย เนื้อหากล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่รัก, การแต่งงาน, สามีภรรยา ตลอดจนบิดามารดาและญาติ การพิจารณาทรัพย์สิน, ชู้, รวมไปถึงการข่มขืนกระทำชำเราและการแต่งงาน

11. พระไอยการลักษณภญาน เนื้อหากล่าวถึงบทบัญญัติในการเป็นพยาน บาปของผู้เป็นพยานเท็จ ลักษณะพยาน 33 ประเภท และบุคคลที่ไม่สามารถเป็นพยานได้

12. พระไอยการลักขณโจร เนื้อหากล่าวถึงลักษณะของโจร 8 ประเภท, องคโจรคือโจรผู้ปล้นชิง 3 จำพวก, และสมโจรคือพวกสมรู้ร่วมคิดกับโจร 5 จำพวก

13. พระไอยการลักภาลูกเมีย ผู้คน เนื้อหากล่าวถึงการทำความผิดฐานลักพาลูกเมีย และทาสของผู้อื่นไป

14. พระไอยการทาษ เนื้อหากล่าวถึงประเภทและลักษณะของทาส 7 ประการ, การไถ่ถอน, หน้าที่และสิทธิของทาส

15. พระไอยการกระบดศึก เนื้อหากล่าวถึงการละเมิดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์, การทำลายพระบรมมหาราชวัง บทลงโทษและการปูนบำเหน็จผู้ทำความชอบ

16. กฎพระสงฆ์ เนื้อหากล่าวถึงข้อปฏิบัติของพระสงฆ์ บทลงโทษพระสงฆ์ที่ประพฤตินอกรีต จำนวน 10 ข้อ

17. พระราชบัญญัติ เนื้อหากล่าวถึงพระราชบัญญัติ 22 ฉบับ เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน 

18. นาทหารหัวเมือง เนื้อหากล่าวถึงยศ ราชทินนามและศักดินาของขุนนาง

19. พิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง เนื้อหากล่าวถึง การพิสูจน์ความจริงโดยการดำน้ำและลุยเพลิง วิธีการพิสูจน์ดำน้ำ ลุยเพลิง ตอนท้ายเป็นโองการที่ใช้อ่านเวลาทำพิธี

20. กฎมณเทียรบาล เนื้อหากล่าวถึง บทบัญญัติและการปฏิบัติตนในพระบรมมหาราชวัง เรื่องพระอิสริยยศพระราชกิจของพระราชาและพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนเรื่องที่เกี่ยวข้อง

21.  ตำแหน่งนาพลเรือน เนื้อหากล่าวถึงยศและศักดินาของข้าราชการพลเรือน หน้าที่ ตลอดจนบรรดา

22. พระไอยการอาชญาหลวง เนื้อหากล่าวถึงโทษผู้ที่ละเมิดพระราชอาชญาพระเจ้าแผ่นดิน โทษของการเบียดบังทรัพย์ของหลวงไปเป็นของตน

23. พระไอยการเบดเสรจ เนื้อหากล่าวถึงหน้าที่และบทบาทของคนทั่วไป ความขัดแย้ง เช่น ไร่นา หรือสัตว์พาหนะ ตลอดจนข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล

24. กฎ 32 ข้อ เนื้อหากล่าวถึงข้อกฎหมาย 36 ข้อในสมัยอยุธยา

25. พระราชกำหนดเก่า เนื้อหากล่าวถึงการจัดการบริหารราชการแผ่นดินสมัยอยุธยา การจัดการระบบการตัดสินความ จำนวน 65 ข้อ

26. พระราชกำหนดใหม่ เนื้อหากล่าวถึงการบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนจัดการยุติธรรมที่บัญญัติขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์

27. พระไอยการพรหมศักดิ เนื้อหากล่าวถึงการกำหนดค่าตัวบุคคลตามเพศ วัย และสถานะ เกณฑ์การพิจารณาค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหาย

กฎหมายตรา 3 ดวง เป็นกฎหมายที่ใช้ สำหรับ ทำ อะไร

ยูเนสโกมอบประกาศนียบัตรยื่นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลกของประเทศไทย

กฎหมายตรา 3 ดวง เป็นกฎหมายที่ใช้ สำหรับ ทำ อะไร

กฏหมายตราสามดวง

คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่าที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นปบีบีกันหนาเล่นขึ้นเมื่อจุลศักราช 1166 ตรงกับ สมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้านต่างประเทศ) ไว้ทุกเล่มเก็บไว้ ณ ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง และศาลหลวงอีกชุดหนึ่ง

กฎหมายตราสามดวงนี้ ได้ใช้อาลักษณ์หลายท่านเขียนขึ้น โดยแยกเป็น “ฉบับหลวง” และ “ฉบับรองทรง” โดยสันนิษฐานว่า สำหรับฉบับหลวง ชุดหนึ่งเป็นสมุดไทย 41 เล่ม เมื่อรวม 3 ชุด จึงมีทั้งสิ้น 123 เล่ม แต่เท่าที่พบ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 79 เล่ม โดยเก็บไว้ที่กระทรวงยุติธรรม 37 เล่ม และที่หอสมุดแห่งชาติ 41 เล่ม ส่วนอีก 44 เล่ม ไม่ทราบว่าขาดหายไปด้วยประการใด ส่วน ฉบับรองทรง นั้น ก็คือ กฎหมายตราสามดวงที่อาลักษณ์ชุดเดียวกับที่เขียนฉบับหลวง ได้เขียนขึ้น โดยเขียนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยฉบับหลวง เขียนในปีฉลู จ.ศ.1167 (พ.ศ. 2348) ส่วนฉบับรองทรงเขียนขึ้นในปีเถาะ จ.ศ. 1169 (พ.ศ. 2350) ข้อแตกต่างระหว่าง ฉบับหลวง และฉบับรองทรง ก็คือ ฉบับรองทรงจะไม่มีตราสามดวงประทับไว้ และฉบับหลวงจะมีอาลักษณ์สอบทาน 3 คนส่วนฉบับรองทรงมีอาลักษณ์สอบทานเพียง 2 คน สำหรับกฎหมายตราสามดวง ฉบับรองทรงนี้ ปัจจุบันนี้พบเพียง 18 เล่ม โดยเก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติ 17 เล่มและที่พิพิธภัณฑ์อัยการไทย สำนักงานอัยการสูงสุด 1 เล่ม

ต่อให้ไม่ได้เรียนด้านกฎหมายมาโดยตรง ก็ยังเชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อ “กฎหมายตราสามดวง” มาบ้างแล้วอย่างแน่นอน ถ้าไม่ใช่จากหนังสืออ่านนอกเวลาในสมัยเรียนก็ต้องเป็นข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์และนิตยสาร เพียงแค่อาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร และมีรายละเอียดมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะได้ยกเลิกการใช้กฎหมายตราสามดวงไปแล้ว แต่นี่เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญหลายด้านและบางส่วนก็เป็นแนวทางในการออกแบบกฎหมายที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันด้วย

กฎหมายตราสามดวง เป็นประมวลกฎหมายที่เริ่มใช้ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 1 นี่ไม่ใช่กฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย แต่เป็นกฎหมายที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงด้วยการรื้อกฎหมายเก่าทิ้งเสีย ส่วนใดที่เป็นผลดีก็เก็บไว้พร้อมกับเพิ่มแนวทางตามแบบฉบับของนักกฎหมายมากขึ้น ส่วนใดที่ใช้ไม่ได้ก็ยกเลิกไปทั้งหมด เหตุที่เรียกกันว่ากฎหมายตราสามดวงก็เป็นเพราะว่า ตัวกฎหมายจะทำออกมา 3 ชุด และทุกชุดจะต้องประทับตรา 3 ดวงเหมือนกันหมด ซึ่งตราประทับที่ว่านี้ประกอบไปด้วย

– ตราพระราชสีห์ เป็นตราสำหรับตำแหน่งสมุหนายก ตราประทับมีทรงกลม ภายในเป็นภาพราชสีห์งดงาม ห้อมล้อมด้วยลายไทยอันอ่อนช้อย

– ตราพระคชสีห์ เป็นตราสำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม ตามประทับมีทรงกลมเช่นเดียวกัน ภายในเป็นภาพคชสีห์ หากมองเผินๆ ก็จะมีรูปร่างคล้ายกับภาพราชสีห์นั่นเอง แต่จะมีฐานรองด้านล่างด้วย

– ตราบัวแก้ว เป็นตราสำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี ตราประทับมีทรงกลมพร้อมกับมีกรอบวงกลมซ้อนอีกชั้นหนึ่ง ด้านในสุดเป็นเทวดาถือดอกบัวแก้ว

สาระสำคัญของกฎหมายตราสามดวง

            อันที่จริงกฎหมายตราสามดวงจะมีสาระสำคัญอยู่ทั้งหมดมากถึง 26 ส่วน ซึ่งครอบคลุมการปกครอง การตัดสิน และการดูแลความเรียบร้อยของบ้านเมืองทั้งหมด ไม่ว่าใครก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้เท่าเทียมกัน และต่อไปนี้จะเป็นบางส่วนของสาระสำคัญที่น่าสนใจ

– ส่วนของพระธรรมศาสตร์ เนื้อหาว่าด้วยตำนานเรื่องราวการก่อตั้งเมือง มีถ้อยความที่กล่าวถึงการวางบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของตุลาการ สิ่งใดบ้างที่เป็นคุณสมบัติพื้นฐาน สิ่งใดบ้างที่จะต้องเอามาใช้ในการตัดสินใจระหว่างพิจารณาคดีความ รวมไปถึงมูลเหตุแห่งคดีความประเภทต่างๆ ล้วนรวบรวมเอาไว้ในนี้ทั้งหมด

– ส่วนของกฎมนเทียรบาล ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับพระราชวงศ์ทั้งหมด ไล่ไปตั้งแต่รูปแบบของการถวายความปลอดภัย พิธีรีตองในการเข้าเฝ้า การกำหนดลำดับชั้นยศ การจัดขบวนเสด็จ แม้แต่คำราชาศัพท์ที่ต้องใช้ในโอกาสต่างๆ ก็มีระบุไว้เช่นเดียวกัน นี่เป็นส่วนสาระสำคัญของกฎหมายตราสามดวงที่แสดงให้เห็นถึงรากฐานของประเพณีอย่างชัดเจนที่สุด

– ส่วนของพระธรรมนูญ เป็นส่วนที่พูดถึงอำนาจของศาลและผู้เกี่ยวข้องในตำแหน่งต่างๆ ทั้งในชั้นศาลเองและข้าราชการทุกลำดับชั้น เนื้อความหลักเป็นการเน้นย้ำที่กฎหมายของการบริหารบ้านเมือง และหน้าที่ของแต่ละตำแหน่ง ใครมีสิทธิอันชอบธรรมในการตัดสินใจเรื่องใดได้บ้าง หากต้องการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการจะต้องทำอย่างไร

– ส่วนของพระอัยการกรมศักดิ์ ชื่อนี้อาจฟังดูไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไร เพราะเป็นคำที่ไม่ค่อยได้ถูกนำมาใช้บ่อยนัก กฎหมายส่วนนี้ว่าด้วยเรื่องของสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลหนึ่ง เอาไว้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินพิพากษาในชั้นศาล เมื่อมีกรณีพิพาทระหว่างกันที่ต้องจบลงด้วยการจ่ายค่าเสียหาย โดยค่าเสียหายนี้จะแปรผันไปตามความรุนแรงของเหตุ เพศ วัย และสถานภาพของแต่ละบุคคล

– ส่วนของพระอัยการกบฏ การก่อกบฏก็คือการยึดอำนาจการปกครอง ไม่ว่าจะใช้ความรุนแรงหรือไม่ก็ตาม ตัวกฎหมายได้ระบุถึงโทษของผู้ก่อกบฏเอาไว้อย่างละเอียด พร้อมกับชี้แจงสิ่งที่กองทัพจำเป็นต้องทำและจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงในยามที่มีการก่อกบฏด้วย

กฎหมายตราสามดวงใช้ในสมัยใด

ต่อมามีการปฏิรูปกฎหมายและการศาลครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงนำไปสู่การยกเลิกกฎหมายตราสามดวงในที่สุด

ตราพระราชสีห์มีหน้าที่อะไร

2. ตราพระราชสีห์ใหญ่ (ทำด้วยงาช้างแกะสลัก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.3 เซนติเมตร) เป็นตราสำหรับประทับหนังสือราชการ ซึ่งเชิญพระบรมราชโองการ และเรียกหนังสือเช่นนั้นว่า “สารตรา” เช่น หนังสือถึงเจ้าประเทศราช ขึ้นต้นด้วยคำว่า ศุภอักษรบวรมงคล วิมลโลก…

กฎหมายตราสามดวงในรัชกาลที่ 1 ประกอบไปด้วยตราอะไรบ้าง

คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่าที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นปบีบีกันหนาเล่นขึ้นเมื่อจุลศักราช 1166 ตรงกับ สมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการ ...