ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ล่าสุด

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ

ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน

พ.ศ. ๒๕๖๓


โดยที่เป็นการสมควรกำหนดข้อปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติในการไว้ทรงผมของนักเรียน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการของสถานศึกษา มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และการปฏิบัติตนของนักเรียนเป็นไปด้วยความถูกต้อง รวมทั้งเป็นการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ  ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๖๓"

ข้อ  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ  ในระเบียบนี้

"นักเรียน" หมายความว่า บุคคลซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา

"สถานศึกษา" หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดหรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เว้นแต่การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

"หัวหน้าสถานศึกษา" หมายความว่า ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

ข้อ  นักเรียนต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไว้ทรงผม ดังนี้

(๑) นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย

(๒) นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาว ให้เป็นไปตามตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย

ข้อ  นักเรียนต้องห้ามปฏิบัติตน ดังนี้

(๑) ดัดผม

(๒) ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม

(๓) ไว้หนวดหรือเครา

(๔) การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะกับสภาพการเป็นนักเรียน เช่น การตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย

ข้อ  ความในข้อ ๔ และข้อ ๕ มิให้นำมาใช้บังคับแก่นักเรียนที่มีเหตุผลความจำเป็นในการปฏิบัติตามหลักศาสนาของตนหรือการดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษา

ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต

ข้อ  ภายใต้บังคับข้อ ๔ ให้สถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือคณะกรรมการบริหารโรงเรียน วางระเบียบเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนที่มีความเฉพาะเจาะจงได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้

การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ยึดถือหลักความเหมาะสมในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีของนักเรียน และการมีส่วนร่วมของนักเรียน สถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชนท้องถิ่น

ข้อ  ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

  • ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
  • ณัฐพล ทีปสุวรรณ
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

บรรณานุกรม[แก้ไข]

  • "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563". (2563, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137, ตอนพิเศษ 103 ง. หน้า 6–7.

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ล่าสุด

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ

ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา

พ.ศ. ๒๕๔๙


โดยที่เห็นสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา ให้มีความเหมาะสมกับการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ  ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙"

ข้อ  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ  ให้ยกเลิก

(๑) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๒๐ เรื่อง กำหนดปีการศึกษา

(๒) คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป ๔๕๘/๒๕๒๗ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๗ เรื่อง กำหนดวันเปิดปิดภาคเรียนสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

(๓) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ เรื่อง การสั่งปิดสถานศึกษาชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ

(๔) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๐ เรื่อง การสั่งปิดสถานศึกษาชั่วคราวเนื่องจากเหตุพิเศษหรือสาธารณภัย

(๕) คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ อศ ๒๖๑/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๓๓ เรื่อง กำหนดวันเปิดปิดภาคเรียนสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา

(๖) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดเรียนและปิดสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๘

(๗) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓

บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ  สำหรับสถานศึกษาที่มีกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบ กำหนดในเรื่องนี้ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบนั้น

ข้อ  ในระเบียบนี้

"กรณีพิเศษ" หมายความว่า กรณีจำเป็นต้องใช้สถานศึกษาเพื่อประชุม สัมมนา ฝึกอบรม จัดสอบ พักแรม จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร หรือกิจกรรมอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือเหตุจำเป็นอื่นที่ไม่อาจเปิดเรียนได้ตามปกติ

"เหตุพิเศษ" เป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติสาธารณะ

"เลขาธิการ" หมายความรวมถึง อธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมด้วย

"สถานศึกษา" หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ของรัฐหรือเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามประกาศกระทรวง

"หัวหน้าสถานศึกษา" หมายความว่า ครูมหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อธิการบดี หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในลักษณะเดียวกัน

"นักเรียนและนักศึกษา" หมายความว่า บุคคลซึ่งกำลังรับการศึกษาอยู่ในสถานศึกษา

ข้อ  ในรอบปีการศึกษาหนึ่ง วันเริ่มต้นปีการศึกษา คือ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม และวันสิ้นปีการศึกษา คือ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ของปีถัดไป

ข้อ  ให้สถานศึกษาเปิดและปิดภาคเรียนตามปกติในรอบปีการศึกษาหนึ่งตามที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้

(๑) ภาคเรียนที่หนึ่ง วันเปิดภาคเรียน วันที่ ๑๖ พฤษภาคม วันเปิดภาคเรียน วันที่ ๑๑ ตุลาคม

(๒) ภาคเรียนที่สอง วันเปิดภาคเรียน วันที่ ๑ พฤศจิกายน วันปิดภาคเรียน วันที่ ๑ เมษายน ของปีถัดไป

สถานศึกษาใดประสงค์จะเปิดและปิดภาคเรียนแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นผู้กำหนดตามที่เห็นสมควร

ข้อ  ผู้มีอำนาจสั่งปิดสถานศึกษาเป็นกรณีพิเศษ คือ

(๑) หัวหน้าสถานศึกษา สั่งปิดได้ไม่เกินเจ็ดวัน

(๒) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สั่งปิดได้ไม่เกินสิบห้าวัน ส่วนสถานศึกษาที่ไม่ได้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้ขอต่อส่วนราชการเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น

เมื่อได้สั่งปิดสถานศึกษาไปแล้ว สถานศึกษาต้องทำการสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนวันที่ปิดนั้น

ข้อ  การปิดสถานศึกษาเนื่องจากเหตุพิเศษ ให้สั่งปิดสถานศึกษาชั่วคราวเพื่อระงับเหตุหรือเพื่อป้องกันภยันตรายอันอาจจะเกิดขึ้น โดยให้ปฏิบัติ ดังนี้

(๑) หัวหน้าสถานศึกษา สั่งปิดได้ไม่เกินสิบห้าวัน

(๒) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สั่งปิดได้ไม่เกินสามสิบวัน ส่วนสถานศึกษาที่ไม่ได้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้ขอต่อส่วนราชการเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น

เมื่อได้สั่งปิดสถานศึกษาไปแล้ว สถานศึกษาต้องทำการสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนวันที่ปิดนั้น

ข้อ ๑๐ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งปิดสถานศึกษาตามข้อ ๙ ได้สั่งปิดสถานศึกษาไปแล้ว แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่สงบ หรือมีเหตุจำเป็นที่จะต้องสั่งปิดต่อไปอีก ให้อยู่ในดุลยพินิจหัวหน้าสถานศึกษา

ข้อ ๑๑ ในระหว่างปิดสถานศึกษาชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษตามข้อ ๘ หรือในระหว่างปิดสถานศึกษาชั่วคราวเนื่องจากเหตุพิเศษตามข้อ ๙ หัวหน้าสถานศึกษาอาจสั่งให้ครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ประจำสถานศึกษานั้น ๆ มาปฏิบัติงานตามปกติหรือตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายก็ได้

ข้อ ๑๒ การสั่งปิดสถานศึกษาชั่วคราว ให้ทำเป็นหนังสือ เว้นแต่การสั่งด้วยวาจาหรือการสั่งโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่น เมื่อผู้มีอำนาจได้สั่งปิดสถานศึกษาชั่วคราวแล้ว ให้ทำคำสั่งเป็นหนังสือภายในสามวันนับแต่วันที่สั่งการด้วยวาจาหรือสั่งโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่น

ข้อ ๑๓ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙

  • กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
  • (คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา)
  • ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

บรรณานุกรม[แก้ไข]

  • กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. 2549. สืบค้นจาก http://kormor.obec.go.th/discipline/dis084.pdf