ทองคำ ก้อน ใหญ่ที่สุดในโลก

แหล่งแร่ทองคำที่สำคัญของโลก

ประเทศที่มีการทำเหมืองผลิตแร่ทองคำ มีประมาณ ๘๒ ประเทศทั่วโลก โดยอัตราเฉลี่ยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔ ปรากฏว่า ทั่วโลกผลิตทองคำได้ปีละประมาณ ๒,๕๐๐ เมตริกตัน ประเทศผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ ประกอบด้วย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน อินโดนีเซีย รัสเซีย แคนาดา และเปรู ประเทศที่มีแหล่งแร่ทองคำมากที่สุดในโลก คือ แอฟริกาใต้ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา และบราซิล

ใน พ.ศ. ๒๕๔๗ สหรัฐอเมริกาได้ประเมินปริมาณสำรองแหล่งแร่ทองคำที่ยังคงเหลืออยู่ทั่วโลกมีประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ เมตริกตัน

ใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ผลผลิตทองคำทั่วโลกลดต่ำลงเหลือประมาณ ๒,๓๔๐ เมตริกตัน โดยประเทศไทยผลิตทองคำได้เพียงประมาณ ๒.๔๐ เมตริกตัน ผลผลิตทองคำของแต่ละประเทศที่สำคัญ มีรายละเอียดดังนี้

๑. ประเทศจีน  ผลิตทองคำได้ประมาณ  ๒๗๕ เมตริกตัน
๒. ประเทศแอฟริกาใต้  ผลิตทองคำได้ประมาณ  ๒๕๒ เมตริกตัน
๓. ประเทศออสเตรเลีย  ผลิตทองคำได้ประมาณ ๒๔๖ เมตริกตัน
๔. สหรัฐอเมริกา  ผลิตทองคำได้ประมาณ ๒๓๘ เมตริกตัน
๕. ประเทศปาปัวนิวกินี  ผลิตทองคำได้ประมาณ ๑๗๐ เมตริกตัน
๖. ประเทศอินโดนีเซีย  ผลิตทองคำได้ประมาณ ๑๑๗ เมตริกตัน

แหล่งแร่ทองคำที่ใหญ่ที่สุดและมีประวัติการทำเหมืองแร่ที่ยาวนานที่สุดในโลกคือ แหล่งแร่ทองคำในพื้นที่แอ่งที่ราบวิตวอเตอร์สแรนด์ (Witwatersrand Basin) ในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นแหล่งแร่ทองคำที่เกิดแบบทุติยภูมิ หรือแหล่งแร่ทองคำแบบลานแร่ ที่มีหน่วยหินหลักคือ หินกรวดมน (conglomerates) โดยในพื้นที่แหล่งแร่ทองคำแห่งนี้ ได้มีการทำเหมืองแร่ทองคำมาแล้วกว่า ๑๐๐ ปี และได้ผลิตโลหะทองคำไปแล้วรวมประมาณ ๔๑,๐๐๐ เมตริกตัน

ออสเตรเลีย

เป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ที่ก้าวหน้า และเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด ทองคำเป็นสินค้าออก ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เป็นอันดับที่ ๒ รองจากแร่ถ่านหิน โดยใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประเทศออสเตรเลียสามารถผลิตทองคำได้ประมาณ ๒๔๖ เมตริกตัน เป็นอันดับที่ ๓ รองลงมาจากประเทศจีน และประเทศแอฟริกาใต้เท่านั้น ส่วนปริมาณสำรองแหล่งแร่ทองคำมีประมาณร้อยละ ๑๐ ของปริมาณสำรองแหล่งแร่ทองคำของโลก หรือประมาณ ๑๐,๐๐๐ เมตริกตัน ซึ่งเป็นอันดับที่ ๓ รองจากประเทศแอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกา

เป็นประเทศที่มีการสำรวจและการทำเหมืองแร่ทองคำมาเป็นเวลานาน ใน พ.ศ. ๒๕๕๐ สามารถผลิตทองคำได้ประมาณ ๒๓๘ เมตริกตัน เป็นอันดับ ๔ ของโลก และด้วยเทคโนโลยีการทำเหมืองแร่ที่ทันสมัย ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศ ที่มีผลผลิตแร่ทองคำอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกมาโดยตลอด ประกอบกับเนื้อที่ของประเทศที่มีขนาดกว้างใหญ่ และมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดแร่ทองคำ จึงมีโอกาสสูง ที่จะสำรวจพบแหล่งแร่ทองคำเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต สหรัฐอเมริกามีการทำเหมืองแร่ทองคำจากแหล่งกำเนิดแร่ทองคำทั้ง ๒ แบบ คือ แหล่งแร่ทองคำแบบทุติยภูมิหรือแบบลานแร่ โดยมีการทำเหมืองแร่ทองคำหลายพื้นที่ เช่น ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) รัฐอะแลสกา (Alaska) รัฐไอดาโฮ (Idaho) และรัฐออริกอน (Oregon) ส่วนแหล่งแร่ทองคำแบบปฐมภูมิ ก็มีการทำเหมืองแร่ทองคำหลายพื้นที่เช่นกัน เช่น ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) รัฐโคโลราโด (Colorado) รัฐเนวาดา (Nevada) รัฐอะแลสกา (Alaska) และรัฐเซาท์ดาโกตา (South Dakota)

จีน

เป็นประเทศที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีหลายพื้นที่ที่ยังไม่มีการเข้าไปสำรวจ ซึ่งคาดว่า ยังมีแหล่งแร่ทองคำอีกมาก ในปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีการทำเหมืองแร่ทองคำมากที่สุดในโลก โดยใน พ.ศ. ๒๕๕๐ สามารถผลิตทองคำได้ถึงประมาณ ๒๗๕ เมตริกตัน พื้นที่แหล่งแร่ทองคำที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในมณฑลเสฉวน (Szechwan) กานซู (Gansu) มองโกเลียใน (Inner Mongolia) และหูหนาน (Hunan) นอกจากนี้ยังมีการค้นพบแหล่งแร่ทองคำแห่งใหม่ที่มณฑลฉ่านซี (Shaanxi) ซึ่งคาดว่า เป็นแหล่งแร่ทองคำขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก จากการประเมินในเบื้องต้นพบว่า มีปริมาณสำรองแหล่งแร่ทองคำประมาณ ๑๖ ล้านเมตริกตัน ที่ค่าความสมบูรณ์ของทองคำประมาณ ๕ กรัมต่อเมตริกตัน คาดว่า จะสามารถผลิตทองคำได้ประมาณ ๘๐ เมตริกตัน

ทองคำ : ราคาทองคำพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ไม่นานมานี้ เพราะโควิด-19 หรือว่าทองกำลังจะหมดโลก

25 กันยายน 2020

ทองคำ ก้อน ใหญ่ที่สุดในโลก

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ในช่วงวิกฤตโควิด-19 บางเหมืองต้องปิดทำการ นักลงทุนมองว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มั่นคงที่สุดในช่วงที่เศรษฐกิจสั่นคลอน

เดือนที่แล้ว ราคาทองคำสูงกว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 63,000 บาท ต่อออนซ์ ถือว่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

จริงอยู่ที่ผู้ซื้อ-ขายทองคำมีส่วนทำให้ราคาสูงขึ้น แต่นี่ก็ทำให้หลายคนสงสัยว่าแร่ล้ำค่านี้กำลังจะหมดไปจากโลกหรือเปล่า

ทองคำเป็นที่นิยมสำหรับผู้ลงทุน เป็นสัญลักษณ์ของฐานะ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิด

แต่ทองคำก็เป็นทรัพยากรที่วันหนึ่งจะต้องหมดไป ไม่เหลือให้คนทำเหมืองแร่ได้อีก

จุดพีค

ผู้เชี่ยวชาญด้านทองคำมีคำว่า "peak gold" ซึ่งหมายถึง "จุดพีค" ที่เราสามารถขุดแร่ทองได้มากที่สุดในแต่ละปี บางคนเชื่อว่าเราได้มาถึงจุดนั้นแล้ว

สภาทองคำโลก (World Gold Council) ระบุว่า ปี 2019 มีการขุดแร่ทองคำได้ 3,531 ตัน ซึ่งต่ำกว่าปี 2018 1% ถือว่าต่ำลงครั้งแรกตั้งแต่ปี 2008

ฮานาห์ แบรนด์สแตทเตอร์ โฆษกสภาทองคำโลก บอกว่า อาจจะเร็วไปที่จะสรุปว่าโลกไม่สามารถขุดทองคำได้มากกว่านี้แล้วในแต่ละปี แม้ว่าปีต่อ ๆ จากนี้ อาจผลิตทองได้น้อยลงเพราะว่าแร่ทองคำในแหล่งสำรองเริ่มหมดไป และไม่มีการค้นพบแหล่งทองคำใหม่ ๆ

แม้ว่าจะถึง "จุดพีค" ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ปีต่อ ๆ จากนี้ การผลิตทองคำก็จะไม่ได้น้อยลงไปอย่างน่าตกใจ แต่จะค่อย ๆ ลดลงในช่วง 2-3 ทศวรรษที่จะมาถึง

เหลือทองคำอยู่ในโลกแค่ไหน

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

การขุดเหมืองแร่ทองคำยากและใช้ต้นทุนสูงขึ้นเรื่อย ๆ

บริษัทเหมืองทองต่าง ๆ ประเมินปริมาณแร่ทองคำที่เหลืออยู่ในดินสองวิธีด้วยกัน

หนึ่ง แหล่งสำรอง คือแร่ทองคำในบริเวณที่คุ้มทุนที่จะทำเหมืองแร่เมื่อพิจารณาราคาทองคำในปัจจุบัน

สอง แหล่งทรัพยากร คือแร่ทองคำในที่ ๆ อาจจะคุ้มทุนที่จะทำเหมืองแร่เมื่อสืบค้นหาข้อมูลเพิ่ม หรือว่าราคาทองคำสูงขึ้น

เราสามารถคำนวณปริมาณแร่ทองคำที่เหลืออยู่ในแหล่งทรัพยากรได้แม่นยำมากกว่า แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US Geological Survey) ระบุว่า ประเมินการณ์ว่าโลกเหลือแร่ทองคำในพื้นดินอยู่ราว 50,000 ตัน

พูดให้เห็นภาพก็คือ ถึงตอนนี้ มนุษย์เราได้ขุดแร่ทองคำไปแล้วราว 190,000 ตัน อย่างไรก็ดี บางฝ่ายก็ประเมินตัวเลขนี้แตกต่างกันออกไป

เมื่อดูจากตัวเลขประเมินนี้ เรายังเหลือทองคำให้ขุดอีกราว 20% แต่ตัวเลขนี้ก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หรือปัญญาประดิษฐ์ ก็อาจจะลดกระบวนการและลดต้นทุนการทำเหมืองแร่ทองได้เช่นกัน ขณะนี้มีการใช้หุ่นยนต์ที่เหมืองแร่ทองคำบางแห่งแล้ว และคาดว่าจะกลายเป็นเทคโนโลยีมาตรฐานในการสำรวจเหมืองในอนาคต

  • เหมืองทองอัครา : "คิงส์เกต" บริษัทแม่ของอัครา ระบุ เป็นท่าทีเชิงบวกที่รัฐบาลไทยอนุญาตเอากากแร่ทองและเงินออกขายได้
  • คสช.ออกคำสั่งยกเลิก 3 องค์กร-ระงับกิจการเหมืองแร่ทองคำ
  • บริษัทเหมืองแร่แถลงการณ์ "ขอโทษ" ที่ระเบิดถ้ำโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ของชาวอะบอริจิน
  • โควิด-19 : เวียดนามเปิดโรงแรมทองคำแห่งแรกของโลก หวังดึงดูดนักท่องเที่ยวหลังพ้นโรคระบาด

แหล่งใหญ่ที่สุด

แอ่งที่ราบวิตวอเตอร์สแรนด์ (Witwatersrand Basin) ในแอฟริกาใต้เป็นแหล่งแร่ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือคิดเป็น 30% ของทองคำทั้งหมดที่เคยถูกขุดขึ้นมา

เหมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ เหมืองมะโปเน็งในแอฟริกาใต้ เหมืองซูเปอร์พิต และนิวมอนต์ บอดดิงตัน ในออสเตรเลีย และเหมืองกราสเบิร์กในอินโดนีเซีย และอีกหลายแห่งในรัฐเนวาดาของสหรัฐฯ

ขณะนี้ จีนเป็นผู้ทำเหมืองแร่ทองคำรายใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่แคนาดา รัสเซีย และเปรู ก็เป็นผู้ผลิตรายใหญ่เช่นกัน

กิจการร่วมในนาม เหมืองทองเนวาดา (Nevada Gold Mines) ในรัฐเนวาดา ซึ่งบริษัทแบร์ริค โกลด์(Barrick Gold) ถือหุ้นใหญ่ ถือว่าเป็นเครือข่ายเหมืองทองที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยพวกเขาผลิตทองราว 3.5 ล้านออนซ์ต่อปี

ผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า แม้จะพบแหล่งทองคำใหม่เรื่อย ๆ แต่ที่เป็นขนาดใหญ่จะพบได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ นี่เป็นผลให้การผลิตทองคำส่วนใหญ่มาจากเหมืองเก่า ๆ ที่มีการขุดทองคำกันมาหลายทศวรรษแล้ว

ขุดยากขึ้นไหม

การขุดเหมืองขนาดใหญ่ต้องใช้เงินทุน เครื่องจักร และความเชี่ยวชาญมาก ที่จะขุดบนหรือภายใต้พื้นผิวดิน

ทุกวันนี้ การทำเหมืองราว 60% มาจากการขุดเหมืองบริเวณพื้นผิว ส่วนที่เหลือเป็นใต้พื้นผิว

รอส นอร์แมน จากเว็บไซต์ MetalsDaily.com บอกว่า การขุดเหมืองยากขึ้นสำหรับเหมืองใหญ่ ๆ และใช้ต้นทุนต่ำ อย่างในแอฟริกาใต้ที่ขุดจนทองใกล้จะหมดขึ้นเรื่อย ๆ

"ในทางตรงกันข้าม เหมืองทองในจีนเล็กกว่า ดังนั้นก็จะต้องใช้ต้นทุนสูงกว่า" นอร์แมน อธิบาย

ภูมิภาคที่ยังไม่ได้ถูกสำรวจก็มีอย่างในภูมิภาคฝั่งตะวันตกของแอฟริกาซึ่งไม่ค่อยมีเสถียรภาพทางการเมือง

สูงเป็นประวัติการณ์

แม้ราคาทองคำจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือน ส.ค. แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีการทำเหมืองมากขึ้นด้วย

ที่จริงแล้ว ต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าที่ปริมาณการผลิตจะส่งผลต่อราคาทองคำ

นอกจากนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังเกิดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ด้วย บางเหมืองต้องปิดทำการ ราคาทองคำสูงขึ้นเพราะนักลงทุนมองว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มั่นคงที่สุดในช่วงที่เศรษฐกิจสั่นคลอน

ที่อื่น

ที่มาของภาพ, Getty Images

ที่จริงแล้ว แร่ทองคำก็มีบนดวงจันทร์เช่นกัน อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายที่จะเดินทางไปที่นั่นเพื่อทำเหมืองแร่และนำกลับมาโลกยังไม่คุ้มทุน เช่นเดียวกับที่แอนตาร์กติกา ที่อาจจะไม่มีวันคุ้มทุนที่จะทำเหมืองแร่ทองคำเนื่องจากสภาพอากาศ พื้นมหาสมุทรก็มีแร่ทองคำ แต่ก็ไม่คุ้มทุนอีกเช่นกัน

แต่ข้อดีของทองคำคือ มันจะไม่มีวันหมดไป สามารถถูกนำกลับมารีไซเคิลได้เสมอ

ทองเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิด และก็มีการริเริ่มนำอุปกรณ์เหล่านั้นที่คนเลิกใช้แล้วมารีไซเคิลเอาทองกลับมาใช้ใหม่แล้ว