บทบาทสำคัญของผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอนแบบ project based learning

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning)

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน


แนวคิดที่นักการศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจและเห็นว่าสอดคล้องกับการจัดการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 มากที่สุด คือ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivist Learning Theory) ได้แก่ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และทฤษฎีการสร้างความรู้ ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) ซึ่งมีความเชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อ ผู้เรียนได้สร้างความรู้ที่เป็นของตนเอง สร้างความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจของตนเอง และมีส่วนร่วมในการเรียน (Active Learning) มากขึ้น รูปแบบจากการเรียนรู้ที่เกิดจากแนวคิดนี้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative Learning) การเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent Investigation Method) รวมทั้ง การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–Based Learning) (ยรรยง สินธุ์งาม, 2556)

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน


การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) เป็นวิธีการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้และทักษะผ่าน กระบวนการศึกษาค้นคว้าและการใช้ความรู้ในชีวิตจริง ขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมและการแก้ปัญหา ที่ท้าทายร่วมกัน โดยมีผลงานที่แสดงถึงศักยภาพและความสำเร็จของผู้เรียนซึ่งขั้นตอนการดำเนินการ มี 6 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อม เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับผู้สอนและผู้เรียน เป็นการเตรียมความพร้อมผู้สอนเพื่อให้เข้าใจบทบาทผู้สอนในการทบทวนสร้างความเข้าใจกับกิจกรรมในแผน การจัดการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้พร้อมต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ส่วนการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเป็นการสร้างความเข้าใจในบทบาทผู้เรียน ให้เกิดความตระหนักถึงเป้าหมายการเรียนรู้และบทบาทผู้เรียนที่ต้องมีส่วนร่วมในการเรียน

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดและเลือกหัวข้อ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของแต่ละหัวข้อที่จะทำโครงงาน รวมถึงการศึกษาความคุ้มค่าของโครงงานที่จะทำของผู้เรียนการกำหนดและเลือกหัวข้อเป็นกิจกรรม ที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกำหนดหัวข้อที่จะทำเป็นโครงงาน ศึกษาความเป็นไปได้ ความคุ้มค่าของ แต่ละหัวข้อเพื่อเลือกโครงงานที่จะจัดทำ

ขั้นตอนที่ 3 การเขียนเค้าโครงของโครงงาน เป็นการสร้างผังมโนทัศน์ (Conceptual Map) หรือแผนที่ ความคิด (Mind Map) ที่แสดงถึงภาพรวมทั้งหมดของโครงงานตั้งแต่ต้นจนจบ ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ แผนงาน และขั้นตอนในการทำโครงงานตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น

ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติงานโครงงาน เป็นการนำขั้นตอนวิธีการตามเค้าโครงของโครงงานสู่การปฏิบัติ หลังจากที่ผู้เรียนได้รับความเห็นชอบจากครูผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาแล้ว

ขั้นตอนที่ 5 การนำเสนอผลงาน เป็นการจัดทำรายงานและการนำเสนอผลการปฏิบัติโครงงาน ได้แก่ กระบวนการและผลงาน เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนปฏิบัติงานโครงงานเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนที่ 6 การประเมินโครงงาน เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของ โครงงานในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่ก่อนทำโครงงานจนถึงเสร็จสิ้นโครงงาน ซึ่งเป็นการประเมินอย่าง ต่อเนื่องด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เน้นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ทั้งความรู้ กระบวนการ พฤติกรรมของผู้เรียน ผลงาน และข้อค้นพบที่ผู้เรียนได้จากการทำโครงงาน

วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน


วัฒนา มังคสมัน (2551) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานไว้ 4 หลักการ คือเมื่อใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานแล้ว ผู้เรียนมีลักษณะสำคัญดังนี้

   1. สามารถพัฒนากระบวนการคิดของตนเอง

   2. สามารถลงมือปฏิบัติกิจกรรมได้ด้วยตนเอง

   3. สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นกระบวนการ

   4. เห็นคุณค่าในตนเอง

การประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน


บุญเลี้ยง ทุมทอง (2548) กล่าวถึงการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้โครงงาน โดยใช้การประเมินผลตามสภาพจริง ดังนี้

   1. ประเมินผลในขณะผู้เรียนแสวงหาความรู้

   2. ประเมินผลการใช้ภาษาในการถาม – ตอบของผู้เรียน ในทุกขั้นตอนของการเรียน โดยยึดหลักที่ว่า “ยิ่งพูด ยิ่งอธิบายมาก ยิ่งถามมาก ยิ่งสงสัยมากก็ยิ่งได้คะแนนมากเท่านั้น”

   3. ประเมินผลจากการทดสอบที่กำหนด 2 ช่วงคือ กลางภาค และปลายภาค

อังคณา ตุงคะสมิต (2559) กล่าวถึงการประเมินโครงงานที่ใช้เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถประเมินได้ 2 ส่วนคือ 1) ส่วนของนักเรียนที่ปะเมินตนเอง และ 2) ส่วนที่ครูใช้ประเมินคุณภาพของโครงงาน การทำงานของนักเรียน ประเมินความก้าวหน้าในระหว่างการทำงานและเมื่อโครงงานสิ้นสุด โดยมีข้อคำนึงในการประเมิน ดังนี้

   1. ต้องให้นักเรียนเป็นผู้ประเมินหลัก

   2. อาจใช้การอภิปรายเป็นกระบวนการประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน

   3. อาจให้นักเรียนเขียนแสดงความรู้สึกต่อผลงานของตนเองหรือที่เรียกว่า Reaction sheet

ประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน


ลัดดา ศิลาน้อย และอังคณา ตุงคะสมิต (2556) ได้กล่าวถึงคุณค่าของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานต่อการเรียนรู้ของนักเรียนไว้ดังนี้

   1. การเรียนรู้มิได้เกิดจากการสอนของครูอย่างเดียว แต่เกิดจากตัวของนักเรียนเอง

   2. นักเรียนได้เรียนรู้จากการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับประสบการณ์ใหม่

   3. การเรียนอย่างต่อเนื่องจากการทำโครงงาน ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากรูปธรรมเป็นนามธรรมได้

       4. การเรียนรู้เกิดจากการลงมือปฏิบัติของนักเรียนเอง โดยผ่านขั้นตอนการทำงานที่เป็นกระบวนการซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมมั่นให้กับตนเอง

       5. เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพราะการทำงานของนักเรียนต้องมีการติชม วิพากษ์วิจารณ์ และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไขที่ดีขึ้น

       6. ความคาดหวังของนักเรียนที่มีต่อผลงาน เพราะในกระบวนการของการทำโครงงาน นักเรียนจะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

       7. นักเรียนได้พัฒนาความสามารถที่มองสะท้อนตัวเองได้ (Self-reflection) โดยฝึกการติดตามความคิด ตรวจสอบความคิด ติดตามงานและฝึกแก้ปัญหาจากผลของการติดตามงานนั้น ๆ

อ้างอิง


     การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Problem-based Learning: PBL) อ้างอิงจาก: https://www.krupatom.com/wp-content/uploads/2019/07/PJBL.pdf.

     บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2548). แนวการออกแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์. ในประมวลองค์ความรู้และงานวิจัยหลักสูตรและการเรียนรู้. ฉันทนา กล่อมจิต, ลัดดา ศิลาน้อย และพรชนิตว์ ลีนาราช. (บรรณาธิการ). ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

     ลัดดา ศิลาน้อย และอังคณา ตุงคะสมิต. (2556). ยกระดับครูสังคมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21.  ขอนแก่น: สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

     วัฒนา มังคสมัน. (2551). การสอนแบบโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Project Base Learning มีความสำคัญต่อกระบวนการคิดของผู้เรียนอย่างไร

การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning ) หมายถึงการเรียนรู้ที่จัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริงอย่างมีระบบ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา วิธีการหาความรู้ความจริงอย่างมีเหตุผล ได้ทำการทดลอง ได้พิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ...

กระบวนการในการจัดการเรียนรู้แบบ Project Based Learning มีขั้นตอนอย่างไร

1.2 การเตรียมการ (Preparation) 1) เลือกเนื้อหา 2) เรียงลำดับเนื้อหา 3) กำหนดเวลา 4) เสนอกิจกรรม 5) เตรียมสื่อประกอบการนำเสนอ 6) เขียนแผนการนำเสนอ ซึ่งประกอบด้วย จุดประสงค์ การกำหนดเนื้อหา ขั้นตอนนำเสนอการดำเนินการ 7) ซักซ้อมการนำเสนอ

ารเรียนรู้โดยใช้ Project Based Learning มีลักษณะอย่างไร

การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน (Project-Based learning - PBL) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้น การใช้ปัญหาจริงเป็นการเรียนรู้และวิธีแสวงหาความรู้บนพื้นฐานแนวคิดของ John Dewey ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการปฏิบัติจริง (Learning by Doing) จะประกอบด้วย การรู้ (Knowing) และ การลงมือกระท า (Doing) ความรู้และความสามารถในการใช้ความ ...

ข้อใดคือบทบาทของครูผ้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบ PBL

การจัดการเรียนรู้แบบ PBL ครูผู้สอนจะทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา คอยให้คำปรึกษา กระตุ้นให้นักศึกษาเอาความรู้เดิมที่มีอยู่มาใช้และเกิดการเรียนรู้โดยการตั้งคำถาม การใช้ IT ส่งเสริมให้นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งเป็นผู้ประเมินทักษะของนักศึกษาและกลุ่ม พร้อมให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้นักศึกษาได้เกิด ...