การ ดำเนิน การคุ้มครองผู้บริโภค ด้าน อาหาร จะต้อง ได้ รับ ความ ร่วมมือ จาก ฝ่าย ใด บ้าง

​สถาบันการเงิน​​

สถาบันการเงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการเงินของประเทศ โดยทำหน้าที่ระดมและจัดสรรเงินทุนแก่ภาคเศรษฐกิจจริง การชำระราคาและบริการ การบริหารความเสี่ยง รวมถึงการให้ข้อมูลทางการเงินเพื่อการตัดสินใจ  ดังนั้น การดูแลให้การดำเนินงานของสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับเงินฝากของประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.

ธปท. มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินภายใต้อำนาจตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 และ พ.ศ.2550 และกฎหมายอื่น ๆ อาทิ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58  โดยสถาบันการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ​ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ สาขาของธนาคารต่างประเทศ สำนักงานผู้แทนธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทบริหารสินทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (non-bank) บางประเภท ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ  

นอกจากนี้ ธปท. ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังให้ตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และ มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตในการกำกับการทำงานของบริษัทข้อมูลเครดิต

หลักการกำกับดูแลสถาบันการเงิน​

ธปท. ดำเนินนโยบายและกำกับดูแลสถาบันการเงินภายใต้กรอบหลักการ 5 ด้านดังนี้​

1. ดูแลให้สถาบันการเงินมีความมั่นคง มีความระมัดระวังและมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี โดยมีเงินกองทุนที่มีคุณภาพและเพียงพอตามมาตรฐานสากลสำหรับรองรับความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ และมีหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ด้านสภาพคล่อง ด้านปฏิบัติการ ด้านตลาด และปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชี รวมถึงการใช้เกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision) ที่สอดคล้องกับ risk profile ของสถาบันการเงิน 

 2. ส่งเสริมให้สถาบันการเงินมีประสิทธิภาพ มีการแข่งขันในระดับที่เหมาะสม และระวังไม่ให้กฎเกณฑ์การกำกับดูแลเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการทางธุรกิจ เช่น การจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน การให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และการกำกับขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน เป็นต้น​

3. ดูแลให้สถาบันการเงินมีธรรมาภิบาลที่ดี ดูแลให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของสถาบันการเงินทำหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  โดยมุ่งเน้นเรื่อง บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โครงสร้างของคณะกรรมการ การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูล และความโปร่งใส

4. ดูแลให้สถาบันการเงินมีความเป็นธรรมต่อลูกค้าและประชาชน และมีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอ โดยมีเกณฑ์ด้าน market conduct ในการกำกับดูแลการทำธุรกิจของสถาบันการเงิน ทั้งที่เป็นธุรกิจการเงินและการทำธุรกิจ cross selling เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ​และส่งเสริมให้สถาบันการเงินให้บริการทางการเงินอ​ย่างทั่วถึงและมีความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นให้มีการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคที่เป็นผู้ใช้บริการทางการเงินใน 4 เรื่อง ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง สิทธิที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้อย่างอิสระ สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย 

5. กำกับสถาบันการเงินเพื่อดูแลระบบเศรษฐกิจ (Macro Prudential) โดยใช้เกณฑ์การกำกับสถาบันการเงินเป็นเครื่องมือในการดูแลความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น การออกเกณฑ์กำกับบัตรเครดิต โดยกำหนดรายได้ขั้นต่ำของผู้ถือบัตรวงเงินสินเชื่อ และจำนวนเงินขั้นต่ำในการผ่อนชำระ เป็นต้น เพื่อดูแลการก่อหนี้ภาคครัวเรือน

​นอกจากนี้ ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ธปท. กำหนดให้สถาบันการเงินจัดส่งข้อมูล และแบบรายงานต่าง ๆ เป็นประจำ ในกรณีที่สถาบันการเงินมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติตามเกณฑ์ในเรื่องต่าง ๆ หรือการรายงาน สถาบันการเงิน สามารถติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่สัมพันธ์สถาบันการเงิน ​

คณะกรรมการและสายงานด้านการกำกับดูแลสถาบันการเงิน​

คณะกรรมการที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ได้แก่

- คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.)​​​​ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกำกับและติดตามการตรวจสอบสถาบันการเงินเพื่อให้สถาบันการเงินมีเสถียรภาพมั่นคง โดยจะกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับสถาบันการเงิน กำหนดนโยบายการเปิด/ปิดสาขาสถาบันการเงิน กำหนดอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการเงินรายใหม่ และติดตามการดำเนินงานของ ธปท. ในด้านของการเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน และการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน

- คณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับระบบการชำระเงินที่ ธปท. กำกับดูแลและระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยตลอดจนดำเนินไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ และติดตามการดำเนินงานของ ธปท. ในด้านของการการจัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน

สำหรับ สายงานที่ทำหน้าที่ด้านการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ของ ธปท. ประกอบด้วย 

- สายนโยบายสถาบันการเงิน (สนส.)มีหน้าที่กำหนดนโยบาย​และกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบสถาบัน​การเงินและระบบการชำระเงิน ออกเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน รวมทั้งการกำกับดูแลธุรกิจการเงินที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง  วิเคราะห์และติดตามฐานะการดำเนินงานของระบบสถาบันการเงิน  

- สายกำกับสถาบันการเงิน (สกส.)มีหน้าที่ในการกำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์และติดตามฐานะการดำเนินงานตลอดจนการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินเป็นรายสถาบัน รวมทั้งพิจารณาคำขออนุญาตต่าง ๆ และพิจารณากำหนดมาตรการให้สถาบันการเงินที่มีปัญหาด้านฐานะการเงินและการดำเนินงานหรือปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายทำการปรับ​ปรุงแก้ไขปัญหาที่กล่าวภายในเวลาที่กำหนด 

ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลอื่น

เนื่องจากระบบการเงินของไทยมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากขอบเขตธุรกรรมที่ขยายกว้างขึ้นและซับซ้อนขึ้นตามกระแสนวัตกรรมทางการเงินและกระแสโลกาภิวัฒน์  ธปท. จึงมีกลไกการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถดูแลความเสี่ยงในภาพรวมของสถาบันการเงินได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์​ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย​ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย​ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศต่างๆ  โดยความร่วมมือมีหลายรูปแบบ เช่น การประชุมหารือทั้งในระดับผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง การแลกเปลี่ยนพนักงาน การทำข้อตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นต้น 


ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับสถาบันการเงิน

- ประกาศ/หนังสือเวียน​​

- แนวทางการกำกับดูแลด้านเงินกองทุนและสภาพคล่องตามหลักเกณฑ์ Basel III

​- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ IAS32 IAS39 และ IFRS7​

- แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ระยะที่ 2) ​​

- คู่มือการตรวจสอบสถาบันการเงิน

- คู่มือการขออนุญาต​

- การขออนุญาต/ขอผ่อนผันของสถาบันการเงิน​

- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ธปท.