การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ตอนที่ 27: สงครามสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา01

First revision: May 18, 2018
Last change: May 20, 2020
สืบค้น รวบรวมและเรียบเรียงโดย:
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

     ในตอนนี้ ใช้แนวจินตนาการเป็นคำตรัส คำปรารภ ทรงปฏิบัติ มีบรมราชโองการ ฯ แก้ไขสถานการณ์ที่กำลังวิกฤตของกรุงศรีฯ ของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ โดยใช้ข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ มาเสริม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถจินตภาพพินิจความเป็นไปในสถานการณ์ที่กำลังคับขันอยู่นั้นได้ไม่มากก็น้อย
  

ยุทธภูมิสุริยาศน์อมรินทร์: สงครามสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา

"แม้เลือดหยดสุดท้ายกู ไหลสิ้น....อย่าได้หมิ่น หมายศรีอยุธยาชาติ...เป็นทาสมึง"

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

ภาพเขียนพระเจ้าเอกทัศน์, กษัตริย์อยุธยา (เดิมเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นภาพสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร)
ในสมุดภาพพม่าชื่อ "นั้นเตวั้งรุปซุงประบุท" แปลว่า "เอกสารการบันทึกราชสำนัก พร้อมด้วย
ภาพเขียน" ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ British Library กรุงลอนดอน.
ที่มา: www.matichon.co.th, วันที่สืบค้น 20 พฤษภาคม 2561.

     เรื่องเล่าการพระราชสงครามครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา "ยุทธภูมิสุริยาศน์อมรินทร์" ในปี พ.ศ.2310 ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (บ้างก็เรียก เอกทัศ) (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) พระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระเชษฐาร่วมมารดาของเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ หรือ เจ้าฟ้าอุทุมพร (กรมขุนพรพินิจ หรือ ขุนหลวงหาวัด) กับการศึกครั้งสุดท้ายของอโยธยา แห่งเมืองพระรามอันยิ่งใหญ่.

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

     ***"...เมื่อการต่อรบ ย่างเข้าสู่เดือน 4 หลังจากฤดูน้ำหลากผ่านไป มันเป็นเวลานานกว่า 13 เดือนล่วงมาแล้ว ที่ทหารแห่งกรุงอโยธยา มิอาจตั้งแนวรับปะทะทัพพม่าได้ ค่ายระจันและค่ายหัวรอ ค่ายสุดท้ายของแนวตั้งรับด้านนอกพระนคร ใกล้ป้อมมหาไชยและสะพานหัวรอ ถูกทัพหน้าอังวะและทัพสวามิภักดิ์จากลุ่มน้ำปิงเข้าตีกระหนาบจนมิอาจต้านทานได้อีกต่อไป.
     ทหารหาญศรีอยุธยาทัพพระยามหามนตรี แตกทัพกระเจิดกระเจิงข้ามคลองคูเมืองเข้าสู่พระนคร อโยธยาสูญเสียไพร่พลพร้อมศัสตราวุธเป็นจำนวนมาก เหล่าไพร่ทหารอิดโรยและเสียขวัญ บ้างก็หลบหนี บ้างก็ทุรนทุรายจากบาดแผลฉกรรจ์ บ้างก็เหม่อลอยแทบเป็นบ้าเสียสติ.
     เมื่อยุทธศาสตร์และยุทธวิธีสงครามของเหล่าเสนาทหารอโยธยาผิดพลาดจนสิ้นแล้ว พลพม่ามากกว่า 70,000 ก็รุกเข้าตั้งค่ายรายล้อมชิดติดกำแพงพระนคร หมายเผด็จศึกทำลาย "เมืองที่มิอาจต่อรบได้" อย่างกรุงศรีอยุธยาให้ราบคาบ.

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

ที่มา: Facebook: EJeab Academies, วันที่สืบค้น 19 พฤษภาคม 2561.

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

แผนผัง 27 ค่ายของพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้, ที่มา: Facebook ห้อง "ผู้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ History learning group", วันที่เข้าถึง 20 พฤษภาคม 2563. ภาพประกอบ : แผนผังการตั้ง “ค่ายเมือง” ของพม่าทั้ง ๒๗ แห่งตามที่บรรยายใน Yodayar Naing Mawgun (จากบทความ “ ‘Yodayar Naing Mawgun’, by Letwe Nawrahta : A Contemporary Myanmar Record, Long Lost, of How Ayutthaya Was Conquered,” p. 10.) ตัวอักษรภาษาอังกฤษคือตำแหน่งของ “ค่ายเมือง” พม่าทั้ง ๒๗ แห่งที่ได้กล่าวไปแล้ว ส่วนตัวเลขอารบิคคือสถานที่ตั้งค่ายในพงศาวดารไทย

ความในมหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า09.
     ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาพระองค์ได้จัดให้ออกมารบครั้งใดก็มิได้ชนะ มีแต่พ่ายแพ้แตกหนีล้มตายไปทุกที ถึงกระนั้นก็ดีพระองค์มิได้ทรงย่อท้อหย่อนพระหัตถ์เลย พระองค์ทรงรับสั่งให้ช่างก่อสร้างทำเรือรบแลเรือกำปั่นเปนอันมาก ครั้นช่างทำเรือเหล่านั้นเสร็จแล้ว พระองค์ทรงรับสั่งให้พลทหารทั้งปวงเอาปืนใหญ่น้อยบรรทุกเรือนั้นทุก ๆ ลำแล้วทรงรับสั่งให้พลทหารถอยเอาเรือรบเหล่านั้นไปรักษาทางน้ำไว้โดยแน่นหนา เมื่อพระองค์จัดทางน้ำเสร็จแล้วพระองค์ทรงรับสั่งให้พลทหารก่อสร้างทำป้อมอิฐสำหรับสู้รบให้ล้อมพระนคร ๕๐ ป้อม แต่ป้อมที่ทำนั้นห่างจากคูเมืองไป ๕๐๐ เส้น รับสั่งให้ทำทั้งกลางวันกลางคืน ครั้นทำเสร็จแล้วรับสั่งให้เอาเสบียงอาหารทั้งปวงเข้าไว้ในป้อมนั้น แล้วรับสั่งให้พลทหารเอาปืนใหญ่น้อยสาตราอาวุธทั้งปวงขึ้นรักษาอยู่ที่ป้อมนั้นโดยกวดขัน แล้วทรงรับสั่งให้ลงขวากช้างขวากม้า ขวากคนแลหนามเสี้ยน แลขุดลวงดักไว้ให้ข้าศึกตกทุกหนทุกแห่ง ฝ่ายทางน้ำเล่าพระองค์ก็ทรงรับสั่งให้ลงขวากหนามแลตอไม้ทั้งปวงไว้มิให้ข้าศึกเข้ามาได้ ครั้นทรงจัดเสร็จแล้วก็ให้รักษาเมืองตั้งมั่นอยู่ ในขณะนั้นพระเจ้าช้างเผือกกรุงอังวะ มีท้องตราเร่งมาว่าให้แม่ทัพแลนายทัพนายกองทั้งปวงจงตั้งใจรีบเร่งตีกรุงศรีอยุทธยาให้แตกโดยเรวอย่าให้ช้า ครั้นแม่ทัพทั้ง ๒ แลนายทัพนายกองทั้งปวงได้ทราบทรงพระกระแสรับสั่งดังนั้น จึงได้ประชุมปฤกษากัน ในเวลานั้นมหานรทาแม่ทัพพูดว่า ด้วยเราได้เอาบุญบารมีพระเดชพระคุณเจ้าของเราทูลเกล้าฯ ยกพยุหโยธาทัพมาตีกรุงศรีอยุทธยานั้น เราได้เข้าตีหัวเมืองใหญ่น้อยตามรายทางได้แก่เราสิ้นแล้ว บัดนี้เราได้ยกเข้ามาถึงชานเมืองกรุงศรีอยุทธยาแล้วเข้าล้อมไว้ ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาก็ได้ทรงจัดให้พลช้างพลม้าแลพลทหารทั้งปวงยกออกมาตีกองทัพเราหลายครั้งหลายหนก็มีแต่พ่ายแพ้แตกหนีล้มตายไปทุกครั้งทุกที เราจับเปนไว้ได้ก็มาก ถึงกระนั้นก็ดีพระเจ้ากรุงอยุทธยามิได้ย่อท้อหย่อนพระหัตถ์เลย บัดนี้พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาก็ทรงสร้างป้อม ๕๐ ป้อมตั้งสู้รบอยู่นอกกำแพงเมืองโดยแน่นหนานั้น พวกท่านทั้งหลายจะทำอย่างไร แต่เรานั้นจะคิดขุดอุโมงค์เช่นพระมโหสถเชื้อหน่อพุทธางกูรเมื่อครั้งทรงขุดอุโมงค์ไปรับพระราชบุตรีบุตราซึ่งพระนามว่าปัญจละจันทีและบริวารนั้น โดยเหตุนี้เราก็จะสร้างเมืองใกล้เคียงกับกรุงอยุทธยาขึ้นเมืองหนึ่ง เมื่อสร้างสำเร็จแล้ว เราก็จะขุดอุโมงค์เข้าไปในกรุงศรีอยุทธยา ถ้าทลุถึงในเมืองแล้ว เราก็จะจับพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา แลพระเมหษีพระราชโอรสทั้งปวงให้จงได้ เมื่อมหานรทาแม่ทัพพูดดังนั้น สีหะปะเต๊ะแม่ทัพแลนายทัพนายกองทั้งปวงก็เหนชอบพร้อมกันแล้วเนมะโยสีหะปะเต๊ะแม่ทัพ จัดให้พลทหารทั้งปวงสร้างเมืองก่อกำแพงอิฐฝั่งทิศอิสาณของกรุงศรีอยุทธยา ห่างจากกรุงศรีอยุทธยาออกไป ๔๐๐ เส้น กว้างจัตุรัศ ๗๒๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก สีหะปะเต๊ะจัดให้สอยตองสีสูสร้างเมืองทางทิศพายัพกรุงศรีอยุทธยากำแพงสูง ๗ ศอก กว้าง ๒๐๐ เส้น แล้วจัดให้ปุญจอถิงสร้างเมืองทางทิศตวันออกกรุงศรีอยุทธยากว้างรอบ ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก แล้วจัดให้ชองอุโบ่สร้างเมืองที่ริมคลองฝั่งตวันออกกรุงศรีอยุทธยาคือในลำคลองที่น้ำไหลเข้ามาในกรุงศรีอยุทะยานั้นกว้างรอบ ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก แล้วจัดให้จอของจอสูสร้างเมืองทางตวันออกกรุงศรีอยุทธยาที่ตรงเพนียดช้างกว้างรอบ ๓๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก แล้วสีหะปะเต๊ะแม่ทัพสร้างเมืองทางทิศเหนือกรุงศรีอยุทธยาอิก ๕ เมืองเรียงไปเป็นลำดับ จัดให้ศิรนะระสร้างเมืองทางทิศตวันตกเฉียงใต้ของเพนียดช้างออกไปกว้างรอบ ๑๕๐ เส้น กำแพงเมืองสูง ๗ ศอก แล้วจัดให้ตุริงรามจอสร้างเมืองทางทิศใต้ของกรุงศรีอยุทธยากว้างรอบ ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก แล้วจัดให้ตุริงรันจอสร้างเมืองทางทิศใต้กรุงศรีอยุทธยากว้างรอบ ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก จัดให้ศิริจอชวาสร้างเมืองทางทิศใต้กรุงศรีอยุทธยากว้าง ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก จัดให้ศิริราชสังจันสร้างเมืองทางทิศใต้กรุงศรีอยุทธยากว้างรอบ ๓๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก สร้างเมืองทางตวันออกรวม ๕ เมือง แล้วจัดให้สอยตองจอชวาสร้างเมืองทางตวันออกเฉียงใต้กว้างรอบ ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก จัดให้เตชะพละจอสร้างเมืองทางทิศตวันตกกว้างรอบ ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก จัดให้สิทธิจอสูสร้างเมืองทางทิศตวันตกกว้างรอบ ๒๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก จัดให้มางยีไชยสูสร้างเมืองทางฝั่งตวันตกกว้างรอบ ๒๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก แล้วทำโซ่กั้นที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อมิให้เรือรบต่าง ๆ เข้าออกได้ แล้วจัดให้นันทอุทินจอถินสร้างเมืองที่ริมลำแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับมางยีไชยสูกว้างรอบ ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก ที่สร้างเมืองตรงกันข้ามเช่นนี้เพื่อจะได้ช่วยกันโดยทันที จัดให้พละนันทจอถิงสร้างเมืองทางทิศตวันตกของกรุงศรีอยุทธยากว้างรอบ ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก จัดให้แล๊ดแวจอชวาสร้าเมืองทางทิศตวันตกกรุงศรีอยุทธยากว้าง ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก จัดให้รันงูศิริจอถิงสร้างเมืองทางทิศตวันตกกรุงศรีอยุทธยากว้างรอบ ๑๗๐ เส้น กำแพงเมืองสูง ๗ ศอก จัดให้นันทมิตรสร้างเมืองทางทิศตวันตกเฉียงใต้กรุงศรีอยุทธยากว้างรอบ ๓๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก จัดให้สอยตองจอชวาสร้างเมืองทางทิศตวันออกเฉียงใต้กรุงศรีอยุทธยาอิกเมืองหนึ่ง ที่สร้างเมืองทางทิศฝั่งตวันออกริมแม่น้ำเจ้าพระยานั้นรวมทั้งเมืองมางยีไชยสูนั้นสร้างรวมเปน ๔ เมือง ที่นันทอุทินจอสร้างแลนันทมิตรสร้างทางทิศตวันตกเฉียงใต้นั้นรวม ๕ เมือง แล้วจัดให้สอยตองแล๊ดแวนรทาสร้างเมืองตรงทิศเหนือของเมืองนันทมิตรออกไปกว้างรอบ ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก จัดให้แล๊ดยาพละสร้างเมืองทางทิศเหนือของเมืองสอยตองแล๊ดแวนรทาออกไปกว้างรอบ ๗๐ เส้น กำแพงเมืองสูง ๗ ศอก จัดให้ศิรินันทมิตรจอถิงสร้างเมืองทางทิศเหนือของเมืองแล๊ดแวพละออกไปกว้างรอบ ๑๘๐ เส้น กำแพงเมืองสูง ๗ ศอก จัดให้ศิริจอถิงสร้างเมืองทางทิศเหนือของเมืองศิรินันทมิตรจอถิงกว้าง ๑๗๐ เส้น กำแพงเมืองสูง ๗ ศอก จัดให้สีหธรรมรัตนสร้างเมืองทางทิศเหนือของเมืองสิทธิจอถิงกว้างรอบ ๒๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก จัดให้พละปะยันชีสร้างทางทิศเหนือของเมืองสีหะธรรมรัตนกว้างรอบ ๒๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก บรรดาเมืองที่กล่าวมาข้างบนนี้ได้สร้างประชิดติดกับคูเมืองกรุงศรีอยุทธยาทั้งสิ้น เว้นแต่เนมะโยสีหะปะเต๊ะแม่ทัพที่ยกมาทางเมืองเชียงใหม่กองเดียวเท่านั้น ที่ได้สร้างเมืองห่างจากกรุงศรีอยุทธยาออกไป แต่จตุกามณีนั้นจัดให้สร้างเมืองห่างจากกรุงศรีอยุทธยาออกไปประมาณ ๕๐๐ เส้น สร้างทางทิศตวันตกเฉียงเหนือที่ตำบลพระบรมธาตุพระเจ้าช้างเผือกหงษาสร้าง คือได้สร้างอ้อมล้อมรอบพระบรมธาตุนั้นกว้างรอบ ๓๐๐ เส้น กำแพงเมืองสูง ๗ ศอก แล้วมหานรทาแม่ทัพที่ยกมาทางทวายนั้น ได้สร้างเมืองทางทิศตวันตกของเมืองจตุกามณี ห่างออกไป ๑๐๐๐ เส้น กว้างใหญ่รอบ ๕๐๐ เส้น กำแพงเมืองสูง ๙ ศอก ได้สร้างเมืองรอบพระนครทั้ง ๔ ด้าน สร้างด้วยอิฐทั้งสิ้น ๒๗ เมือง ๆ นี้ได้ก่อสร้างป้อมคูประตูหอรบไว้ทั้งสิ้นดุจเทวดาลงมานฤมิตร แล้วจัดให้พลทหารเอาปืนใหญ่น้อยสาตราวุธทั้งปวงขนขึ้นรักษาตามป้อมแลหอรบบนเชีงกำแพงโดยแน่นหนา ครั้นจัดเสร็จแล้วแม่ทัพทั้ง ๒ ก็สั่งให้พลทหารเอาปืนใหญ่ยิงเข้าไปในกำแพงกรุงศรีอยุทธยาดุจฝนแสนห่า มิได้ขาดเสียงปืน ฝ่ายพลทหารพลเมืองกรุงศรีอยุทธยาที่อยู่ในกำแพงเมืองนั้นถูกลูกกระสุนปืนล้มตายเปนอันมาก ถึงกับไม่อาจจะออกเดีนซื้ออาหารแลหาอาหารกิน ต้องซุกซ่อนเร้นหนีลูกกระสุนปืนโดยคับแคบที่สุด

     ในพระราชพงศาวดารพม่าและวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติของพม่าชื่อ Yodayar Naing Mawgun (บันทึกแห่งชัยชนะเหนืออยุทธยา) ที่ประพันธ์โดย ลักไวนรธา (လက်ဝဲနော်ရထာ Letwe Nawrahta) กวีแห่งราชสำนักพม่าซึ่งบรรยายเหตุการณ์สงครามครั้งนั้นอย่างละเอียด ได้ระบุถึงตำแหน่งที่ตั้ง ขนาด และรายชื่อแม่ทัพนายกองผู้รับผิดชอบสร้าง “ค่ายเมือง” ทั้ง ๒๗ แห่งไว้อย่างชัดเจนดังต่อไปนี้

     ๑. ค่ายเนมฺโยสีหปเต๊ะ (နေမျိုး သီဟပတေ့ Nemyo Thihapate) หรือ เนเมียวสีหบดี แม่ทัพใหญ่สายเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง ห่างจากกำแพงกรุง ๔๐๐ เส้น (พงศาวดารไทยระบุว่าอยู่ที่ปากน้ำประสบแล้วย้ายมาโพธิ์สามต้น) ความกว้างทั้งหมด ๓๕๐ เส้น (พงศาวดารพม่าว่า ๓๒๐ เส้น) กำแพงสูง ๗ ศอก (A1).

ค่ายทิศเหนือเกาะเมือง ไล่จากตะวันตกไปตะวันออก (น่าจะชิดคูเมืองมากกว่าในภาพ)
     ๒. ค่ายชฺเวตองจีสู (ရွှေတောင်စည်သူ Shwe Taung Sithu) ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือสุดของเกาะเมือง ความกว้างทั้งหมด ๒๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (B)
     ๓. ค่ายปุญากฺยอถาง (ပုညာကျော်ထင် Ponya Kyawhtin) ความกว้างทั้งหมด ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (C)
     ๔. ค่ายชองอุโบ่ (Chaung U Bo) อยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำที่ไหลเข้าคูพระนคร (สันนิษฐานว่าคือคลองสระบัว) ความกว้างทั้งหมด ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (D)
     ๕. ค่ายกฺยอของกฺยอสู (ကျော်ခေါင်ကျော်သူ Kyaw Gaung Kyaw Thu) ตั้งอยู่ที่เพนียด ความกว้างทั้งหมด ๓๐๐ เส้น กำแพงสูง ๘ ศอก (E).

ค่ายทิศตะวันออก ไล่จากเหนือลงใต้
     ๖. ค่ายคีรีนระ (Giri Nara) ความกว้างทั้งหมด ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (F)
     ๗. ค่ายตุรังรามกฺยอ (တုရင်ရာမကျော် Tuyin Yama Kyaw) ความกว้างทั้งหมด ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (G)
     ๘. ค่ายตุรังรันกฺยอ (Tuyin Yan Kyaw) ความกว้างทั้งหมด ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (H)
     ๙. ค่ายสีริสระกฺยอชวา (Thiri Thara Kyaw Swa) ความกว้างทั้งหมด ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (I)
     ๑๐. ค่ายสีริราชสังกรัน (သီရိရာဇသင်္ကြန် Thiri Yaza Thingyan) ความกว้างทั้งหมด ๓๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (J).

ค่ายทิศตะวันออกเฉียงใต้ฝั่งตะวันออกลงมาจนถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก
     ๑๑. ค่ายชฺเวตองกฺยอชวา (ရွှေတောင်ကျော်စွာ Shwe Taung Kyaw Swa) ตั้งอยู่มุมตะวันออกเฉียงใต้ ความกว้าง ทั้งหมด ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (K)
     ๑๒. ค่ายเตชะพละกฺยอ (တေဇဗလကျော် Taza Bala Kyaw) ความกว้างทั้งหมด ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (L)
     ๑๓. ค่ายสิทธิกฺยอสู (သိဒ္ဓိကျော်သူ Thidi Kyaw Thu) ความกว้างทั้งหมด ๒๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (M)
     ๑๔. ค่ายมังกฺรีไชยสู (မင်းကြီးဇေယျသူ Mingyi Zayathu) ความกว้างทั้งหมด ๒๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก อยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ และให้สร้างโซ่เหล็กกั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ให้เรือสัญจรได้ (N).

ค่ายทิศใต้ นับตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางตะวันตก
     ๑๕. ค่ายนันทอุทินกฺยอถาง (နန္ဒဥဒိန်ကျော်ထင် Nanda Udin Kyaw Htin) ความกว้างทั้งหมด ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก ตั้งอยู่คนละฟากแม่น้ำเจ้าพระยากับค่ายมังกฺรีไชยสู (O)
     ๑๖. ค่ายพลนันทกฺยอถาง (ဗလနန္ဒကျော်ထင် Bala Nanda Kyaw Htin) ความกว้างทั้งหมด ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (P)
     ๑๗. ค่ายลักไวกฺยอชวา (လကွဲးကျော်စွာ Letwe Kyaw Swa) ความกว้างทั้งหมด ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (Q)
๑๘. ค่ายรันงูสีริกฺยอถาง (ရန်ငူသီရိကျော်ထင် Yan Ngu Thiri Kyaw Htin) ความกว้างทั้งหมด ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (R)
     ๑๙. ค่ายนันทมิตรจีสู (နန္ဒမိတ်စည်သူ Nanda Maik Sithu) อยู่มุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ ความกว้างทั้งหมด ๑๕๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (S).

ค่ายทิศตะวันตก จากใต้ขึ้นเหนือ
     ๒๐. ค่ายชฺเวตองลักไวนรธา (ရွှေတောင်လကွဲးနော်ရထာ Shwe Taung Letwe Nawrahta) ความกว้างทั้งหมด ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (T)
     ๒๑. ค่ายลักยาพละ (လက်ျာဗလ Letyar Bala) ความกว้างทั้งหมด ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (U)
     ๒๒. ค่ายสีรินันทมิตรกฺยอถาง (သီရိနန္ဒမိတ်ကျော်ထင် Thiti Yanamaik Kyaw Htin) ความกว้างทั้งหมด ๑๘๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (V)
     ๒๓. ค่ายสิทธิกฺยอถาง (သိဒ္ဓိကျော်ထင် Thidi Kyaw Htin) ความกว้างทั้งหมด ๑๗๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (W)
     ๒๔. ค่ายสีหธรรมรัต (သီဟဓမ္မရတ် Thiha Dhammarat) ความกว้างทั้งหมด ๒๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (X)
     ๒๕. ค่ายพละปฺยันชฺยี (ဗလပျံချီ Bala Pyan Chi) ตั้งอยู่หน้าค่ายสีหธรรมรัตความกว้างทั้งหมด ๒๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (Y).
     ค่ายทั้ง ๒๕ แห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณตลิ่งรอบนอกคูพระนคร.

     ๒๖. ค่ายจตุกามณิ (စတုကါမဏိ Satu Kamani) ตั้งล้อมรอบพระมหาเจดีย์ที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองทรงสร้าง (คือเจดีย์วัดภูเขาทอง) ห่างจากพระนครไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ๕๐๐ เส้น ความกว้างทั้งหมด ๓๐๐ เส้น กำแพงสูง ๗ ศอก (A3)
     ๒๗. ค่ายมหานรธา แม่ทัพใหญ่สายทวาย ตั้งอยู่ที่บ้านกานนี ห่างจากค่ายจตุกามณี ๑,๐๐๐ เส้น ความกว้างทั้งหมด ๕๐๐ เส้น กำแพงสูง ๙ ศอก (A2).

     จากรายงานการสำรวจแหล่งโบราณสถานในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของ น. ณ ปากน้ำ ในบริเวณที่ตั้งค่ายของมหานรธาที่สีกุกนั้น พบว่ามีขนาดไม่ต่างจากเมืองขนาดย่อมเมืองหนึ่ง น. ณ ปากน้ำ ได้อธิบายลักษณะของค่ายว่า
     “เนื่องจากบริเวณแถบนี้ทางแม่น้ำโค้งเป็นรูปเกือกม้า (คือ เป็นบริเวณที่ตรงข้ามกับจุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยไหลมาบรรจบกัน) พม่าจึงตั้งค่ายตรงวัดสีกุก  (รายละเอียดดูเพิ่มเติมใน "วัดสีกุก" ) และทำกำแพงตัดปลายเกือกม้าจรดสองข้างแม่น้ำ กำแพงก่ออิฐอย่างแข็งแรง แต่ถูกชาวบ้านรื้ออิฐไปขายเสียเกือบหมดแล้ว ค่ายสีกุกนี้เป็นค่ายที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ภายในค่ายกว้างขวางอาณาบริเวณหลายสิบไร่ มีโคกช้าง โคกม้าพร้อม ดูแล้วไม่ผิดอะไรกับเมือง ๆ หนึ่งทีเดียว”.

     การเลือกสถานที่ตั้ง “ค่ายเมือง” ของพม่า เข้าใจว่าใช้วัดและสถานที่สำคัญรอบพระนครเป็นหลัก ดังที่ปรากฏในพงศาวดารไทยว่า เนเมียวสีหบดีสั่งให้เผาปราสาทที่เพนียดและให้ตั้งค่ายขึ้น (คือค่ายของ กฺยอของกฺยอสู - ค่ายที่ 5 (E)) นอกจากนี้ยังตั้งค่ายสร้างและหอรบที่วัดภูเขาทอง (คือค่ายของจตุกามณี ค่ายที่ 26 (A3)) วัดการ้อง วัดพระเจดีย์แดง วัดสามพิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดแม่นางปลื้ม วัดศรีโพธิ์ ที่อยู่ในบริเวณเดียวกับแนวการตั้งค่ายในหลักฐานของพม่า ทั้งนี้วิเคราะห์ว่าเพราะวัดมีอาคารหลายหลังและมักมีการสร้างกำแพงล้อมรอบ จึงเหมาะสำหรับการใช้เป็นฐานที่มั่น นอกจากนี้ยังสามารถรื้ออิฐจากวัดมาใช้ก่อสร้างกำแพงค่ายได้ง่ายด้วย แล้วก็ค่อย ๆ ขยายแนวรบเข้ามาประชิดกำแพงพระนครมากขึ้น.

     ยุทธศาสตร์ “ค่ายเมือง” นี้ทำให้กองทัพพม่ามีฐานที่มั่นที่มั่นคงและสามารถยึดครองพื้นที่รอบพระนครได้โดยรอบ และสามารถใช้ปืนใหญ่โจมตีเข้าพระนครได้โดยสะดวก ทำให้ยุทธศาสตร์การปิดล้อมของกองทัพพม่ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถขยายแนวปิดล้อมเข้ามาประชิดกำแพงพระนครได้ จนเมื่อเวลาผ่านไปอยุทธยาก็ถูกบีบให้ต้องส่งทูตไปเจรจาสงบศึกยอมเป็นประเทศราชของอังวะ แต่ได้รับการปฏิเสธ.

     หลังจากมหานรธาถึงแก่กรรมแล้ว กองทัพพม่าก็สามารถตีค่ายของอยุทธยารอบพระนครได้ทั้งหมด เนมโยสีหปเต๊ะซึ่งได้กุมอำนาจกองทัพพม่าทั้งหมดเห็นว่าอยุทธยาอ่อนแอเต็มทีก็สานต่อยุทธศาสตร์ของมหานรธา สร้าง “ค่ายเมือง” เพื่อใช้ขุดอุโมงค์จำนวน ๕ สายเข้าไปในกำแพงพระนคร โดยให้แม่ทัพสายเชียงใหม่ในบังคับบัญชา ๓ คนคือ ฉัปปฺยากุงโบ่ (ဆပ္ပျာကုံးဗိုလ်) สิดชิ้นโบ่ (သ‌စ်ဆိန့်ဗိုလ်) และ สะโตมังถาง (သတိုးမင်းထင်)* คุมทหารคนละ ๒,๐๐๐ คน รวมเป็น ๖,๐๐๐ คน ไปสร้าง “ค่ายเมือง” ติดคูพระนครทิศเหนือบริเวณหัวรอริมป้อมมหาชัยเป็นฐานที่มั่น ทั้งหมด ๓ ค่ายเรียงต่อกันไป โดยมีความกว้าง ๒๐๐ เส้น กำแพงสูง ๑๐ ศอก โดยพงศาวดารไทยระบุว่าพม่าทำสะพานเรือกข้ามคูพระนครมาตั้งค่ายที่ศาลาดินติดกำแพง)
(*สะโตมังถาง เป็นนายทัพสายเชียงใหม่ซึ่งควบคุมทัพจากหัวเมืองล้านนาลงมาตีอยุทธยา ภายหลังได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ พงศาวดารไทยเรียกว่า “โปมะยุง่วน” ส่วนล้านนาเรียกว่า “โป่หัวขาว”).

     จุดประสงค์หลักของ “ค่ายเมือง” ทั้ง ๓ แห่งนี้คือประสานงานกับการขุดอุโมงค์ของกองทัพพม่าจำนวน ๕ สายเพื่อจุดไฟเผารากกำแพงกรุงด้วยการช่วยคุ้มกันการโจมตีจากฝั่งอยุทธยาระหว่างการขุด นอกจากนี้ยังใช้เป็นฐานที่มั่นในการโจมตีพระนครในระยะประชิดไปในตัว รวมถึงยิงสนับสนุนทหารพม่าที่บุกเข้าโจมตีด้วยการปีนขึ้นกำแพงและการลอดอุโมงค์เข้าพระนคร

     ด้วยยุทธศาสตร์นี้กองทัพพม่าจึงสามารถเผารากกำแพงตรงหัวรอป้อมมหาชัยจนกำแพงพระนครทรุดจนทำให้กองทัพพม่าสามารถเข้ากรุงได้ นอกจากนี้ยังมีการประสานงานให้ทุกค่ายระดมยิงปืนใหญ่เพื่อเป็นการโจมตีและเป็นการให้อำพรางกองทัพพม่าไปพร้อ มๆ กัน จนสุดท้ายกรุงศรีอยุทธยาก็เสียแก่พม่าในที่สุด

-----------------------------------------------------

     ค่ายใหญ่ของพม่าตั้งทัพอยู่ที่ ดอนวัดสีกุก ดอนโพธิ์สามต้น ดอนประสบ โดยมี "เนเมียวเสหบดี"02 ชาวล้านนาเชียงแสนเป็นแม่ทัพใหญ่ ส่วนค่ายย่อยหน่วยไพร่ราบ ไพร่ม้า ไพร่ช้างและไพร่ปืนใหญ่ ต่างก็รุกคืบเข้ายืดพื้นที่ดอนวัดหน้าพระเมรุ ตรงข้ามพระราชวังหลวง ตั้งฐานปืนใหญ่ที่วัดท่า วัดการ้อง เผาตำหนักและสร้างค่ายที่เพนียดคล้องช้าง พลจากเมืองสวามิภักดิ์บุกเข้าตีค่ายทหารอยุธยาที่วัดสามพิหาร เกาะวัดมณฑป วัดนางปลื้ม วัดศรีโพธิ์ ทางทิศเหนือและตะวันออกใกล้กับประตูข้าวเปลือก.
     ส่วนทางทิศใต้และตะวันตก ไพร่พลอังวะผู้ฮึกเหิมได้บุกเข้ายึดค่ายของทหารศรีอยุธยาไว้ได้ทั้งหมด ค่ายวัดภูเขาทอง วัดกระชาย วัดเต่า วัดสุเรนทร์ วัดแดง วัดพลับพลาไชย ค่ายจีนสวนพลูถูกตีแตกในคืนที่ 19. 
     ค่ายวัดไชยวัฒนาราม ถูกตีแตกใน 8 คืนของการศึกตะลุมบอน
     ค่ายเซ็นโยเซฟ บ้านโปรตุเกส บ้านฮอลันดา ต่างล้วนถูกพม่าที่แยกกำลังเป็น 27 กองพล กระจายตัวเข้าโจมตีอย่างโหดเหี้ยม.

     วันสุดท้ายของอโยธยา .....ใกล้เข้ามาทุกขณะแล้ว
...
....
***เพลานี้ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ยืนบัญชาการรบป้องกันพระนคร บริเวณค่ายประตูข้าวเปลือกด้านทิศเหนือ ท่ามกลางเหล่าแม่ทัพนายกองน้อยใหญ่ ที่เหลือรอดจากการสังหารของอังวะในศึกนอกพระนคร ต่างปรึกษาหารือกันว่า จะแก้ไขยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการป้องกันพระนครจากภายในอย่างไร ทรงมีรับสั่งให้นำปืนขนาดต่าง ๆ ที่อยู่บนเชิงเทินรอบกำแพงและบนป้อมรอบพระนคร ยิงสกัดการข้ามน้ำของทหารพม่าในทุก ๆ ทางอย่างแข็งขัน มิให้ข้ามคูน้ำมาได้โดยสำเร็จ.
.
     ทรงมีกระแสรับสั่งให้พระยามหามนตรี และมหาดเล็กหุ้มแพร นำกำลังทหารจำนวนหนึ่งตีหนีออกไปตามทิศใต้ เพื่อไปขอกำลังจากหัวเมืองตะวันออก และกำลังของกรมหมื่นเทพพิพิธ มาขนาบรบค่ายพม่าด้านนอก เพื่อหักทางแนวรบฝั่งตะวันออกให้จงได้ ทั้งยังมีรับสั่งให้เจ้าพระยาท้ายน้ำและพระยาอีก 3-4 คน หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี กรมพระตำรวจนำไพร่ทหารแยกเป็นออกเป็นหลายกลุ่ม ตีหนีออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตรงประตูเกาะแก้ว เพื่อไปขอกำลังจากหัวเมืองนครศรีธรรมราชและปัตตานีทางใต้ ให้มาช่วยกระหนาบศึกพระนคร.
.
ทันใดนั้น ทหารม้าเร็ว นำสารเข้ามากราบทูลว่า ทหารพม่าที่ตั้ง 3 ค่าย อยู่ทางสะพานหัวรอ ป้อมมหาไชย มีการขุดดินจำนวนมาก เป็นที่ผิดปกติ03.
.
พวกพม่าอังวะกำลังทำอะไรอยู่ ?
.
จึงมีรับสั่งให้ปืนใหญ่ระดมยิง พร้อมทั้งรับสั่งให้ส่งทหารออกไปทำลายค่ายที่ข้ามมาในทันที เจ้าพระยากลาโหมจึงรีบกราบทูลว่า กำลังทหารส่วนป้อมมหาไชยนั้น ยังมิเพียงพอที่จะรักษาเชิงเทิน ไม่สามารถรวบรวมไพร่ทหารออกไปตีค่ายพม่าที่เข้ามาประชิดได้อีกในช่วงเพลาอันใกล้นี้ ยังมิทันที่จะได้มีรับสั่งต่อ ทหารม้านำสารอีกนายหนึ่งก็ฝ่าวงล้อมของเหล่าราชองครักษ์ล้อมวัง เข้ามากราบทูลข่าวว่า พระราชวังหลวงถูกปืนใหญ่ถล่มไฟไหม้อย่างหนักในหลาย ๆ จุด จึงมีรับสั่งให้ย้ายเหล่าสนมนางในออกมาไว้ที่พระตำหนักสระแก้วและสวนกระต่าย ที่ติดกับวัดพระศรีสรรเพชญ์โดยเร็ว.
.
แล้วยังทรงมีรับสั่งอีกมากมาย......ในการศึก
.
.

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

อาคารสำคัญในเขตพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยาฯ, ที่มา:twitter.com/Pompeii_2475, วันที่สืบค้น 20 พฤษภาคม 2561.
1. พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์          2. พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท
3. พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์          4. พระที่นั่งวิหารสมเด็จ
5. พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์          6. เขตพระราชฐานชั้นใน
7. วัดพระศรีสรรเพชญ์          8. วิหารพระศรีสรรเพชญ์ดาญาณ
9. ศาลาลูกขุน

***เมื่อการพระราชสงครามของกรุงศรีอยุธยาเสียเปรียบฝ่ายอังวะรัตนปุระจนเห็นได้ชัด พระเจ้าเอกทัศจึงเสด็จกลับมาที่ค่ายวังหลวง พระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์มหาปราสาท ท่ามกลางเปลวเพลิงและเสียงปืนใหญ่ที่กระหน่ำยิงอย่างผิดสังเกต นางสนมกำนัลต่างย้ายเข้าไปพำนักทางตำหนักสระแก้วและสวนกระต่าย พระองค์โปรดให้มีการประชุมปรึกษาเหล่าขุนนางและเสนาทหารองครักษ์ให้เตรียมพร้อมในการตีฝ่าวงล้อมทางทิศใต้ หากหน่วยของพระยามนตรี สามารถตีฝ่าออกไปได้จริง ขุนนางผู้ใหญ่ทูลขอให้ชะลอการเสด็จหนีจนกว่าจะทราบข่าวทัพหัวเมืองตะวันออกและใต้เสียก่อน.
.

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

อย่างไรก็ดี ขุนนางผู้ใหญ่บางคนก็เสนอให้พระองค์ยอมสวามิภักดิ์กับอังวะในช่วงเวลาที่คับขันนี้ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ จึงมีรับสั่งว่า "หากพม่ามีปีกข้ามคูคลองหอรบที่เป็นดังปราการเหล็กแห่งทวารวดีเข้ามาได้เท่านั้น เราจึงยอม แต่หากในเพลานี้ เราหายอมอ่อนข้อให้ไม่ "ขุนนางในกรมพระสัสดีถวายรายงานแก่พระองค์ว่าไพร่ทหารคงเหลือราว 40,000 คน ภายในกำแพงพระนคร แต่เสบียงอาหารนี้นั้น อาจจะยันอยู่ได้อีกไม่เกินสองเดือน.
     พระเจ้าเอกทัศเสด็จฯ เข้าบรรทมกลางเสียงปืนใหญ่ที่ระดมยิง และเสียงกรีดร้องตกใจของนางสนมกำนัล ทรงโอบกอดพระมเหสีแล้วทรงปลอบใจต่าง ๆ นานา โดยทรงสัญญาว่าจะรีบชนะศึกในครั้งนี้ให้เร็วที่สุด เหล่าพระสนมนางในต่างเข้าเฝ้า  ขอบรรทมอยู่รายรอบด้วยเพราะความหวาดกลัวอย่างที่สุด.
.
คืนนั้นพม่าเกือบจะบรรลุถึงจุดหมาย ขุดรากกำแพงพระนครตรงส่วนของแนวกำแพงสะพานหัวรอแล้ว
.
.
***ราวตี 4 วันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน (7 เมษายน วันเนาสงกรานต์) พม่าอังวะก็สามารถบุกเข้าพระนครได้ เมื่อแผนพระมโหสถบัณฑิต บรรลุสู่ความสำเร็จ ทัพสวามิภักดิ์จากลุ่มแม่น้ำปิง ลอดกำแพงเข้าสู่พระนคร กำแพงส่วนหนึ่งถูกเผารากจนพังทลายลง ทัพหน้าอังวะและไพร่สวามิภักดิ์ต่างกรูกันเข้าในช่องกำแพงที่พังทลายลงนั้นอย่างกับห่าฝน.
.
....การบุกเข้ากำแพงนครด้วยการขุดอุโมงค์นี้ ไม่มีขุนศึกอยุธยาผู้ใดคาดคิดมาก่อน

สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ตกพระทัยเป็นยิ่งนัก เมื่อทหารม้าเร็วควบฝ่าวงล้อมและเหล่าขุนนางทหารมาที่พระที่นั่งในตอนเช้ามืด แจ้งข่าวร้ายว่าทัพพม่าฝ่าแนวป้องกันของค่ายวังหน้าที่ป้อมมหาไชย วัดฝางและจำปาพลได้แล้ว กำลังเข้าประชิดค่ายคลองข้าวเปลือกและกระจายกำลังไปทั่วพระนครทางใต้.
.
เสียงกลองศึกรบกัมปนาทและควันไฟพวยพุ่งอยู่ใกล้ที่ประทัยเข้ามาทุก ๆ ขณะ จึงทรงมีรับสั่งให้เร่งส่งทหารจากฟากตะวันตกและใต้ที่ไม่สามารถมาได้ทัน ให้ไปตั้งรับทหารพม่าที่ค่ายหน้าวัดมหาธาตุ แต่ทุกอย่างก็ดูจะสายเสียสิ้นแล้ว เพราะค่ายด่านวัดมหาธาตุก็เสียทีแก่พม่าไปเมื่อรุ่งสาง และเมื่อมีทหารนำสารจากจุดต่าง ๆ เข้ามารายงานว่า ทหารพม่าและทหารสวามิภักดิ์ต่างบุกฝ่าขวากหนามข้ามคูเมืองเข้าตีประตูพระนครทุกด้านพร้อม ๆ กัน บางแนวกำแพงก็สามารถข้ามเข้ามาภายในพระนครได้แล้ว จึงเกิดเหตุความวุ่นวายโกลาหลภายในพระนคร ประตูหลาย ๆ ด้านถูกเปิดออก โดยเฉพาะด้านตะวันออก.


 

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

.
ถึงทหารบนเชิงเทินจะต่างเข้าต่อรบดั่งขาดใจ จนซากศพเกลื่อนไปทั่ว ก็มิอาจต้านกำลังทหารพม่าที่ไหลเลื่อนเข้ามาเป็นจำนวนมาก
.
การโอบล้อมตีปลาภายในพระนครเข้ามาถึงช่วงเพลาบ่าย ไพร่ทหารแตกกระจายจากตะวันออกมาสู่ตะวันตก ใกล้พระราชวังหลวง แนวต้านปะทะตอนนี้อยู่ที่หน้าประตูพระราชวัง พระเจ้ากรุงสยามจึงสวมพระองค์ในชุดสงครามเกราะดำ คล้าย ๆ กับชุดขององครักษ์ เพื่อพลางตัว แล้วจึงเสด็จหนีไปทางตะวันตกของพระนครที่ดูจะปลอดภัยมากที่สุดในยามนี้ ขุนทหารองครักษ์กรมล้อมวังร่วมคุ้มกันพระองค์และพระญาติของพระองค์ลงมาจากพระที่นั่ง เสด็จผ่านทางประตูมหาโภคราชของพระบรมมหาราชวัง ผ่านคลองท่อเข้าสู่พระราชวังหลัง ซึ่งในเพลานั้นทัพสวามิภักดิ์ของอังวะ หักเข้าสู่วัดพระศรีสรรเพชญ์ได้เป็นการสำเร็จแล้ว.
.
เมื่อพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเสด็จถึงพระราชวังหลัง ทรงรับสั่งให้จัดการรวบรวมไพร่ทหารเพื่อตีฝ่าออกไป ทันใดนั้น ทหารม้าเร็วประตูตะวันตกก็วิ่งเข้ามาแจ้งข่าวว่า ทหารสวามิภักดิ์04 พม่าจากหัวเมืองตะวันตก ได้ยกข้ามคูฝ่าขวากหนามเข้าสู่ประตูใหญ่ท่าวังหลังแล้ว ให้พระองค์เร่งเสด็จหนีไปทางอื่น.
.
.
แต่ก็มิทันจะกล่าวจบสิ้นในกระบวนความ ทหารม้าพม่าพร้อมปืนไฟจำนวนมาก เข้าปะทะกับทหารองครักษ์ ที่พยายามรวบรวมกันตั้งวงล้อมนำพระเจ้าเอกทัศน์เสด็จหนี เกิดการปะทะกันเป็นชุลมุนถึงขั้นตะลุมบอน เสียงดาบและปืนดังสลับกันเป็นโกลาหลใกล้ประตูใหญ่ท่าน้ำ เจ้าสวานโปงนำไพร่ทหารวิ่งฝ่าเข้าสู่พระราชวังหลัง โดยไม่ได้คิดว่ากษัตริย์อยุธยาศรีเทพทวารดีจะประทับเตรียมหนีอยู่ที่ตรงนั้น.
.
ส่วนนายทัพพม่าพละนันทจอถึง มางยีไชยสู เตชะพละจอ และพระราชบุรี ต่างก็เข้ารุมรบกับกลุ่มทหารหลวงองครักษ์
.

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

การรบที่วุ่นวายโกลาหล ไม่รับรู้ว่าใครเป็นใครที่บริเวณประตูใหญ่ท่าวังหลัง พลันเมื่อสิ้นเสียงปืนเสียงหนึ่ง ร่างของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ก็ล้มลงสวรรคตในทันที05 โดยทหารหมู่ใหญ่ของพม่าอังวะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าได้ปะทะกับทัพองครักษ์ของกษัตริย์แห่งอโยธยาอยู่ ทหารองครักษ์มีจำนวนน้อยกว่าต่างล้มตายและต้องยอมจำนนในที่สุด.

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

.
.
*** เมื่อทหารพม่าอังวะสามารถเข้ายึดครองและควบคุมส่วนต่าง ๆ ของพระนครจนสิ้นแล้ว จึงได้จำตรวนทหารอโยธยาที่เหลือไว้ตามที่ตั้งค่ายต่าง ๆ รวมทั้งเข้าปล้นยึดทรัพย์ ศัสตราวุธจากพระราชวังหลวง วัดวาอาราม รวมทั้งบ้านเรือนราษฎร หน่วยทหารหลวงพม่าเข้าควบคุมเชลย ไพร่ ทหารขุนนาง พระญาติพระวงศ์และสนมกำนัล
.
เนเมียวเสหบดีแม่ทัพใหญ่พม่าอังวะ ให้สอบสวนพระญาติพระวงศ์รวมทั้งสนมนางในว่าพระเจ้าเอกทัศน์เสด็จไปอยู่ที่ไหน แต่ก็หามีผู้ใดล่วงรู้ว่าเสด็จสวรรคตเสียแล้ว จึงมีคำสั่งให้ไปรับตัวพระเจ้าอุทุมพรมาจากวัดประดู่ทรงธรรม จนรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง ทหารม้าเสื้อแพรแดงเขียว สังกัดกรมองครักษ์หลวง ได้นำเจ้าฟ้าสอสาน พระอนุชาของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์พระองค์หนึ่งที่ถูกลงพระอาญาให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง มาสอบสวน ได้ความว่า กลุ่มของพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาได้เคลื่อนหนีไปทางตะวันตก จึงสั่งให้จัดทหารออกค้นหาร่วมกับขุนนางอโยธยาและพระญาติพระวงศ์จำนวนหนึ่ง มาพบพระบรมศพนอนสวรรคตอยู่ที่บริเวณประตูตะวันตก.
.

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

.
ทันทีที่พบพระบรมศพ แม่ทัพใหญ่พม่าและเหล่าทหารอังวะ ต่างคุกเข้าก้มลงเคารพพระบรมศพ กษัตริย์แห่งทวารวดีศรีอยุธยาเป็นครั้งสุดท้าย พร้อมปรารภว่า
.
"...พระเจ้าเซงพยูเชง06 ไม่ได้มีพระราชประสงค์ให้พระองค์สิ้นชีวิตเช่นนี้ หากแต่ต้องการจับพระองค์แบบขัตติยราชา เฉกเช่นจักรพรรดิราชพึงจะสามารถกระทำได้ ... เพื่อเป็นพระเกียรติยศแห่งอังวะรัตนปุระ" เมื่อเสร็จความพระบรมศพ07 เนเมียวผู้แม่ทัพใหญ่ จึงมีคำสั่งเรียกให้นายทัพหน่วยที่เข้ารบปะทะกับเหล่าองครักษ์และฝ่าวงล้อมของพระเจ้ากรุงสยาม นายทัพพม่า และพระราชบุรีเข้ามารายงานด้วยสำนึก มีคำสั่งให้ประหารชีวิตนายทัพในทันที เหตุเพราะการสังหารกษัตริยราชา เป็นการขัดพระราชโองการศึกของพระเจ้ามังระในพันธะแห่งจักรพรรดิราช ทำให้เสื่อมพระเกียรติยศไปทั่วแว่นแคว้น แต่ได้ปูนบำเหน็จให้กับลูกเมียที่อังวะและราชบุรีในความดีความชอบที่ได้พึงกระทำ.
.
แล้วจึงสั่งให้เชลยศึกศรีอยุธยาที่เหลืออยู่ นำพระบรมศพไปถวายพระเพลิงที่วัดพระศรีสรรเพชญ์08 พร้อมกับจัดการเฉลิมฉลองกองทัพในการพระราชสงครามที่พระเจ้าช้างเผือกทรงมีชัยชนะเหนือเมืองที่มิอาจต่อรบ ลงราบคาบได้ฉะนี้

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

ที่มาและคำอธิบาย:
01.  ใคร่ขอนำแกนเรื่อง ตอนที่ 25 นี้มาจากบทความของคุณวรณัย พงศาชลากร EJeab Academies เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า ที่แสดงไว้ใน Facebook เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 เป็นหลักในการบรรยาย รจนา ค้นคว้าและเรียบเรียง โดยตอนท้ายบทความระบุว่า ปรับปรุงสำนวนใหม่ จากเอกสารประกอบสัมมนาเรื่อง “ยุทธภูมิสุริยาศน์อมรินทร์ 2302 - 2310” 20 มิถุนายน 2545 มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
.
*** เขียนขึ้นด้วยระลึกถึง การต่อสู้ของทหารหาญแห่งกรุงศรีอยุธยา 
ที่ไม่เคยอ่อนแอ ไม่เคยยอมแพ้ ต้องตายคาพระนครอันเป็นที่รักนับเรือนหมื่นเรือนแสน
.
แต่กลับไม่เคยมี ...อนุสาวรีย์ หรืออนุสรณ์สถาน ใด ๆ ของพวกเขา ให้เห็นจนทุกวันนี้ครับ

02.  จากการที่ผมได้ไปทัศนศึกษากับชมรมพิพิธสยาม ระหว่างวันที่ 8-9 เมษายน 2560 เมื่อได้ชมค่ายสีกุก จากการบรรยายของ อจ.ปัทพงษ์ ชื่นบุญ ก็ทราบว่า ที่นี่เป็นค่ายที่แม่ทัพมังมหานรธา ยกทัพมาจากทางใต้ ได้มาตั้งทัพที่นี่ และเสียชีวิต ณ ค่ายสีกุกนี้ ในเวลาต่อมา เนเมียวสีหบดี จึงเป็นแม่ทัพนายกองขั้นสูงสุดในการโจมตีกรุงศรีอยุธยา (รายละเอียดดูใน http://huexonline.com/knowledge/24/173/ )
03.  ผมเคยได้รับฟังจากนักวิชาการประวัติศาสตร์ (อาจารย์เทพมนตรี ลิมปะพยอม) ว่า พม่าไม่ได้ขุดดินทางสะพานหัวรอ หรือ ป้อมมหาไชยแต่อย่างใด แต่เป็นการยิงปืนใหญ่เข้ามา ซึ่งนักวิชาการทางประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ ก็จะต้องทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป เพื่อหาข้อเท็จจริง.
04.  ทหารสวามิภักดิ์จากพม่านี้ มีทั้งมอญ คนไทยตามรายทางต่าง ๆ ที่ทัพพม่าจากทางทิศตะวันตก นำโดยมังมหานรธาเป็นผู้ชักจูง กวาดต้อน หว่านล้อมมา กล่าวกันว่า มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่หันไปช่วยเหลือพม่า เล็งเห็นว่าพม่าได้เปรียบมีโอกาสตีกรุงศรีฯ แตก จึงเอาตัวรอดเข้ามาฝ่ายพม่ากันเป็นจำนวนมาก.
05.  ประเด็นเรื่องการสวรรคตของพระเจ้าเอกทัศน์ ปัจจุบันยังมีการสันนิษฐานไว้อยู่สามแนวทาง คือ หนึ่ง) หลักฐานส่วนใหญ่ของไทยบันทึกไว้ว่าพระองค์เสด็จสวรรคตจากการอดพระกระยาหารเป็นเวลานานกว่า 10 วัน หลังจากที่เสด็จหนีไปซ่อนตัวที่ป่าบ้านจิก ใกล้กับวัดสังฆาวาส ทหารพม่าเชิญเสด็จไปที่ค่ายโพธิ์สามต้น เมื่อเสด็จสวรรคต นายทองสุกได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ที่โคกพระเมรุตรงหน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพขึ้นถวายพระเพลิงตามโบราชประเพณี (ที่มา: พระเจ้าเอกทัศครองเมืองกรุงศรีอยุธยา...ไม่สามารถ Search ค้นต้นตอใน internet ได้, 7 มิถุนายน 2561) สอง) ฝ่ายพงศาวดารพม่าระบุว่า เกิดความสับสนระหว่างการหลบหนีในเหตุการณ์กรุงแตก จึงถูกปืนยิงสวรรคต (สอดคล้องกับบทความข้างต้น) ที่ประตูท้ายวัง (ที่มา: กรมตำรา กระทรวงธรรมการ, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช 1128-1144. พิมพ์ครั้งที่ 4; พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, 2472. หน้า 23. และ สุนทรภู่, นิราศสุนทรภู่ ตอนนิราศพระบาท (พระนคร: คุรุสภา 2519) หน้า 123-124.)) และ สาม) ส่วนคำให้การของแอนโทนี โกยาตัน ตำแหน่ง Head of the foreign Europeans เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2311 มีว่า "กษัตริย์องค์ที่สูงวัย [พระเจ้าเอกทัศ] ถูกลอบปลงพระชนม์โดยชาวสยามเช่นเดียวกัน" หรือไม่พระองค์ก็ทรงวางยาพิษตนเอง(ที่มา: จรรยา ประชิตโรมรัน, การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310, กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.). ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 7 มิถุนายน 2561.
06.  เซงพยูเชง หมายถึง พระเจ้ามังระ หรือบ้างก็เรียก ซินพะยูชิน (Hsinbyushin) คำว่า "เซงพยูเชง" นี้ เป็นพระนามที่พระองค์ตั้งเอง อันเป็นพระนามเดียวกับพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งแปลว่า "พระเจ้าช้างเผือก" ก่อนที่จะยกทัพตีอยุธยา พระเจ้ามังระได้ยกความชอบธรรมเหนือดินอยุธยามาแต่ครั้งพระเจ้าชนะสิบทิศบุเรงนอง.
07.  เป็นข้อมูลที่ขัดแย้งกับ สันนิษฐานในข้อ หนึ่ง) ของ 05. ข้างต้น ซึ่งจะต้องมีการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงต่อไปในเบื้องหน้า.
08.  วัดพระศรีสรรเพชญ์

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

ภาพวัดพระศรีสรรเพชญ์ปัจจุบัน ถ่ายเมื่อ 26 พ.ย.2560.

การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ
          
การตั้งรับ ในเมือง ของอยุธยา เมื่อ มี ข้าศึก มาล้อม มี ข้อ ที่ เสียเปรียบ คือ

ภาพจากซ้ายไปขวา: แบบจำลองวัดพระศรีสรรเพชญ์  และเศียรของพระพุทธรูป สันนิษฐานว่า
เป็นพระประธานของวิหารพระศรีสรรเพชญ์ดาญาณ ปัจจุบันแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (พช.) พระนคร ในพระที่นั่งศิวโมกข์

09.  เอกสารอ้างอิง
      - ต่อ, นาย, ผู้แปล. มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า (พงศาวดารพม่า ฉบับหอแก้ว)
      - พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
      ภาพประกอบ : แผนผังการตั้ง “ค่ายเมือง” ของพม่าทั้ง ๒๗ แห่งตามที่บรรยายใน Yodayar Naing Mawgun (จากบทความ “ ‘Yodayar Naing Mawgun’, by Letwe Nawrahta : A Contemporary Myanmar Record, Long Lost, of How Ayutthaya Was Conquered,” p. 10.)
      ตัวอักษรภาษาอังกฤษคือตำแหน่งของ “ค่ายเมือง” พม่าทั้ง ๒๗ แห่งที่ได้กล่าวไปแล้ว ส่วนตัวเลขอารบิคคือสถานที่ตั้งค่ายในพงศาวดารไทย