พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

ข้อมูลการขับเคลื่อนคุณธรรมความโปร่งใส( ITA Online ) : 2565

Show

ประกาศเจตจำนงในการบริหารงาน

ข้อมูลพื้นฐาน

การบริหารงาน

การบริหารเงินงบประมาณ

การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

การส่งเสริมความโปร่งใส

การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต

มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สถานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 และมาตรา 32 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 31 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับทุกประเภท และการอาชีวศึกษา แต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่น ที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากร เพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับ การศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มี กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง

มาตรา 32 การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือในรูปคณะกรรมการจำนวนสามองค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด ”

มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 32/1 และมาตรา 32/2 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

“ มาตรา 32/1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือส่วนราชการ ที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

มาตรา 32/2 การจัดระเบียบราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ”

มาตรา 5 ให้ยกเลิกวรรคสามของมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545

มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 35/1 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

“ มาตรา 35/1 ให้มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนาและมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบ จำนวนกรรมการคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาการเลือกและการแต่งตั้งประธานกรรมการกรรมการและกรรมการและเลขานุการวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการการอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ”

มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก

ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการอาชีวศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง สำหรับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ”

มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา ที่มิใช่การจัดการอุดมศึกษาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือกระทรวงอื่น เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการและแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ”

มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข ”

มาตรา 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 51/1 ของหมวด 7 ครูคณาจารย์ และ บุคลากรทางการศึกษา แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

“ มาตรา 51/1 คำว่า “ คณาจารย์ ” ในหมวดนี้ ให้หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน แต่ไม่รวมถึงบุคลากรซึ่งสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ”

มาตรา 11 ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการการอุดมศึกษาตามมาตรา 35/1 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น

มาตรา 12 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ เพื่อกำหนดขอบเขตในการดำเนินการของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่น ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน
สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน
สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน
สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน
สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน
สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562

ที่มา: ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก

  • แท็ก
  • พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

Facebook

Twitter

Pinterest

LINE

บทความก่อนหน้านี้แบบทดสอบความรู้เรื่องสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ( ฉบับที่ 36-40 ) ผ่านเกณฑ์ 80% รับเกียรติบัตรทางอีเมล โดยสำนักงาน กศน.จังหวัดชลบุรี 

บทความถัดไปดาวน์โหลดฟรี!! แผนการสอน วิชาภาษาไทย ป.2 ภาคเรียนที่ 1 และ 2 โดยสพป.ปัตตานี เขต 2

ครูอาชีพดอทคอม

https://www.kruachieve.com

บทความโดย : ครูอาชีพดอทคอม ติดตามได้ที่ : https://www.facebook.com/kruachieve เว็บไซต์ : https://www.kruachieve.com

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากผู้เขียน

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

แจกสื่อการสอน

แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตร : การจัดการเรียนการสอนแบบ HyFlex Classroom วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 ผ่านเกณฑ์ รับเกียรติบัตรฟรี โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

ดาวน์โหลด

แจกฟรี!! แม่แบบไฟล์ปกเอกสาร จาก Canva แก้ไขได้ สวยงานทันสมัย

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

กิจกรรมน่าสนใจ

เรียนออนไลน์ฟรี หลักสูตร การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ผ่าน OCSC e-Learning System ทดสอบหลังเรียนผ่าน 60% รับเกียรติบัตรจาก สำนักงาน ก.พ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

เรื่องราวน่าสนใจ

เกณฑ์การประเมิน รางวัล คุรุชน คนคุณธรรม โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลด คู่มือดำเนินการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุและที่ดินประเภทอื่นของสถานศึกษาและหน่วยงานสังกัด สพฐ. ปรับปรุงปี 2565

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลด คู่มือการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ไฟล์ word แก้ไขได้ โดยโรงเรียนบ้านทุ่งเศรษฐี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต3

ทิ้งคำตอบไว้ ยกเลิกการตอบ

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!

กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

คุณป้อนที่อยู่อีเมลไม่ถูกต้อง!

กรุณาใส่ที่อยู่อีเมลของคุณที่นี่

บันทึกชื่ออีเมลและเว็บไซต์ของฉันในเบราว์เซอร์นี้ในครั้งต่อไปที่ฉันแสดงความคิดเห็น

Δ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

ค้นหา

เว็บไซต์พันธมิตรฯ

สอบ IELTS  |  IELTS Life Skills

E-sports     |  รับทำบัญชี

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

ป้ายกำกับ

Active Learning COVID-19 Starfish Labz ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ การประกวด ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ครูผู้ช่วย คุรุสภา คู่มือ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ดาวน์โหลด ดาวน์โหลดฟรี ตรีนุช เทียนทอง ทดสอบออนไลน์ บรรจุครู พนักงานราชการ พุทธศาสนา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย รับเกียรติบัตรฟรี ลูกเสือ วPA วิทยฐานะ วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ วิทยาการคำนวณ วิทยาศาสตร์ สพฐ. สมัครงาน สมัครสอบ สสวท สอบครู สอบครูผู้ช่วย สื่อการสอน หลักสูตร อบรมออนไลน์ อบรมออนไลน์ฟรี อัมพร พินะสา เปิดภาคเรียน เรียกบรรจุครูผู้ช่วย เรียนออนไลน์ เสวนาออนไลน์ แผนการจัดการเรียนรู้ โควิด 19 ใบประกอบวิชาชีพ

บทความล่าสุด

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน

กิจกรรมน่าสนใจ

คุรุสภาขอเชิญเข้าร่วมฟังเสวนาวิชาการเนื่องในงานวันครู ครั้งที่ 67 พ.ศ.2566 EP.3 เรื่อง การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนด้านสะเต็มศึกษา ผ่านรูปแบบการจัดเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2565 เวลา 18.00 - 20.00 น. ปัจจุบันใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใด

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ – สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

พรบ.การศึกษาแห่งชาติแก้ไขมาแล้วกี่ฉบับ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ .ศ.2542 ดาวน์โหลด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ .ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) .ศ. 2553 ดาวน์โหลด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) .ศ. 2562 ดาวน์โหลด

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ มีกี่รูปแบบ

มาตรา ๑๕ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (๑) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่ก าหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสาเร็จการศึกษาที่แน่นอน

พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาเกิดขึ้นในสมัยใด

เมื่อเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) มีความพยายามผลักดัน “พระราชบัญญัติประถมศึกษา” เพื่อขยายการศึกษาให้ทั้งประเทศ แต่การผลักดันแต่ละครั้งจะมีอุปสรรคด้านงบประมาณ และความกังวลของผู้บริหารการศึกษาในยุคนั้นว่าจะเกิดความยุ่งเหยิงหากการศึกษาจะขยายไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ปี พ.ศ.2464 จึงมี ...