การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินธุรกิจโดยการพิจารณาจากความสามารถในการพึ่งตนเองว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง

การประยุกต์แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในแผนธุรกิจ

                        แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต และผู้บริโภคดำรงชีวิตภายใต้ขอบเขตของทรัพยากรที่มีอยู่  กล่าวคือข้อจำกัดของรายได้เพื่อลดความพึ่งพา  หลีกเลี่ยงการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมผลผลิตได้ด้วยตนเองและลดภาวะการเสี่ยงจากการที่ขัดสน  การใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะของตนเองและครอบครัว     

                      ส่วนที่เป็นปรัชญาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการธุรกิจคือ

ความพอประมาณ หมายถึง ความเพียงพอแก่ฐานะของตนเองและ ครอบครัว  ไม่สร้างความเดือดร้อนทั้งตนเอง และผู้อื่นกล่าวคือทำการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณส่วนที่เหลือนำไปขายเพื่อมาทำทุนหมุนเวียน   
ความมีเหตุผล หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุว่าทำไมจะต้องดำเนินการเช่นนั้น  โดยจะต้องคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกัน หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่ความเป็นไปได้ด้านต่าง ๆทั้งภายในและภายนอกที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ขยัน  อดทน  ประหยัด  ตลอดจนมีการใช้องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ  ที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจขนาดย่อมมาวางแผน  ควบคุม  การตัดสินใจอย่างรอบครอบและตระหนักถึงเรื่องของจริยธรรมทางธุรกิจ  กล่าวคือดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ  รับฟังข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนจากลูกค้า ผลิตและจำหน่ายแต่สินค้าที่มีคุณภาพ  ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

                     ตัวอย่างจากการนำกล้วยที่เป็นผลผลิตที่เหลือจากสวนมาจัดการแบ่งไว้รับประทานเองให้พอเพียงกับสมาชิกในครอบครัว  ที่เหลือแบ่งปันให้ญาติเพื่อนบ้าน ที่ไม่มีการปลูกกล้วย  เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน  ส่วนที่เหลือนำไปขายเพื่อนำเงินมาจุนเจือครอบครัวแต่เนื่องจากผลผลิตล้นตลาดมีมากจนกระทั่งจะต้องลดราคากันทั้งนี้เป็นกลไกอย่างง่ายทางเศรษฐศาสตร์  กล่าวคือเมื่อปริมาณสินค้ามีมากราคาจะลดลง  แต่ถ้านำผลผลิตมาทำเป็นกล้วยตากกล้วยกวนจะเป็นการสร้างมูลค่าปรับปรุงดัดแปลง  สินค้าให้มีความแตกต่าง  จากคู่แข่ง  เพื่อวางขาย จะต้องพิจารณาว่าสินค้านั้นมีความต้องการมากแค่ไหน จะขายให้  ลูกค้ากลุ่มไหน หาช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสม  เปรียบเทียบราคากับคู่แข่ง การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐบาล ลูกค้ามีแนวโน้มจะมีความต้องการผลิตภัณฑ์จากล้วยในรูปแบบใด  เป็นการใช้ความรู้เกี่ยวกับวิชาการด้านคหกรรมศาสตร์และสุดท้ายผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการดำเนินการแล้วจะเกิดผลเสียกับตัวเองและผู้อื่นหรือไม่ เช่นผลเสียกับสิ่งแวดล้อม  ชุมชนและจริยธรรมทางธุรกิจเป็นการใช้คุณธรรมในการดำเนินการตามเงื่อนไขของการตัดสินใจเพื่อดำเนินธุรกิจให้อยู่ในระดับพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง     

            ความพอเพียงที่ว่านี้ไม่ใช่ผลิตน้อย ๆ  เพียงแต่ผลิตให้พอขาย ใช้ความรู้ มีเหตุผลในการวางแผน  ควบคุม  การจัดการให้เกิดประโยชน์  มีกลไกการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในอนาคต  เหมือนกับทฤษฎีแนวคิดเรื่อง  Just  in  time    และ  EOQ บวกกับจริยธรรมทางธุรกิจ นั่นเอง 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที


  • ตอนที่ 1 : เกริ่นนำ
  • ตอนที่ 2 : แผนธุรกิจมีความจำเป็นด้วยหรือ
  • ตอนที่ 3 : วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ
  • ตอนที่ 4 : ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดี
  • ตอนที่ 5 : การเริ่มต้นทำธุรกิจ คิดก่อนลงมือทำ
  • ตอนที่ 6 : องค์ประกอบของแผนธุรกิจ
  • ตอนที่ 7 : องค์ประกอบของแผนธุรกิจ (ต่อ)
  • ตอนที่ 8 : การเขียนบทสรุปผู้บริหารที่ทำให้น่าสนใจ
  • ตอนที่ 9 : ประวัติความเป็นมา (Company Summary)
  • ตอนที่ 10 : หลักการวิเคราะห์ SWOT
  • ตอนที่ 11 : หลักการวิเคราะห์ SWOT (ต่อ)
  • ตอนที่ 12 : ความแตกต่างที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับSWOT
  • ตอนที่ 13 : สภาพแวดล้อมอื่น ๆ และวัตถุประสงค์ของแผนธุรกิจ
  • ตอนที่ 14 : แผนการตลาด
  • ตอนที่ 15 : เทคนิคการเขียนแผนการตลาด
  • ตอนที่ 16 : เทคนิคการเขียนแผนการตลาด (ต่อ)
  • ตอนที่ 17 : ขั้นตอนการเขียนแผนการตลาด
  • ตอนที่ 18 : คุณลักษณะที่ดีของแผนการตลาด
  • ตอนที่ 19 : บางสิ่งที่แผนการตลาดที่ดีจะต้องมี
  • ตอนที่ 20 : หลักการกำหนดราคา
  • ตอนที่ 21 : แนวทางของธุรกิจเพื่อนำไปจัดทำแผนการตลาด
  • ตอนที่ 22 : อีกหนึ่งช่องทางที่แผนการตลาดไม่ควรมองข้าม
  • ตอนที่ 23 : Five Force Model Analysis
  • ตอนที่ 24 : ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน
  • ตอนที่ 25 : ภัยคุกคามจากคู่แข่งขันรายใหม่
  • ตอนที่ 26 : อำนาจต่อรองจากผู้ส่งมอบ
  • ตอนที่ 27 : แผนการเงิน
  • ตอนที่ 28 : แผนการเงิน(ต่อ)
  • ตอนที่ 29 : งบกำไรขาดทุน
  • ตอนที่ 30 : งบดุล
  • ตอนที่ 31 : แผนการจัดการ
  • ตอนที่ 32 : แผนการผลิตและการดำเนินการ
  • ตอนที่ 33 : ทำเลในการประกอบการ
  • ตอนที่ 34 : ความเสี่ยง (Critical Risks) แผนฉุกเฉินหรือแผนสํารอง
  • ตอนที่ 35 : ภาคผนวก
  • ตอนที่ 36 : บุคคลหรือองค์การที่สามารถให้การรับรอง
  • ตอนที่ 37 : รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ
  • ตอนที่ 38 : ความสำคัญของการวิจัยตลาดสำหรับการจัดทำแผนธุรกิจ
  • ตอนที่ 39 : ประเทศญี่ปุ่นกับงานวิจัย
  • ตอนที่ 40 : การใช้เทคโนโลยีสำหรับธุรกิจ
  • ตอนที่ 41 : การมีเว็บไซต์สำหรับกิจการธุรกิจขนาดย่อม
  • ตอนที่ 42 : จริยธรรมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ
  • ตอนที่ 43 : ความสำคัญของจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
  • ตอนที่ 44 : การนำเสนอแผนธุรกิจ
  • ตอนที่ 45 : การนำเสนอแผนธุรกิจ(2)
  • ตอนที่ 46 : การประยุกต์แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในแผนธุรกิจ
  • ตอนที่ 47 : การพยากรณ์ยอดขาย (Sales Forecast)
  • ตอนที่ 48 : หน้าปกของแผนธุรกิจ

ประโยชน์ที่องค์กรธุรกิจจะได้รับจากการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร

ภาคธุรกิจเอกชนที่มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้ธุรกิจของตนดำเนินงานได้อย่างมีเหตุผล รู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้ตนเอง รวมทั้งพนักงานมีความรู้ และยึดมั่นในคุณธรรมได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจน จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีเครื่องป้องกันผลกระทบจากภาวะความเสี่ยงภัยจากการดำเนินธุรกิจได้อย่าง ...

นักเรียนจะนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างไร

- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ - ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ - ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต - ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง

ลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้/ใช้ชีวิตอย่างพอควร/คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ/มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป/การเผื่อทางเลือกสำรอง ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ /มีจิตสำนึกที่ดี /เอื้ออาทรประนีประนอม /นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ด้านสังคม

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ

ประโยชน์ที่องค์กรธุรกิจจะได้รับจากการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร นักเรียนจะนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างไร การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญอย่างไร ใบงานที่ 9.4 เรื่องแนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการประกอบธุรกิจ ประกอบการควรนำคุณธรรมมาใช้ในการดำเนินธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไรบ้าง การนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจําวัน10ข้อ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้