ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 13 เมษายนเป็นวันที่ 1 มกราคมรัชกาลใด

น้าชาติ รู้ไปโม้ด : วันปีใหม่ 1 มกราคม

วันปีใหม่ 1 มกราคมฉบับวานนี้ (26 ..) “กุ้งมังกรให้ย้อนประวัติ ทำไมวันที่ 1 มกราคม จึงเป็นวันปีใหม่ รวมทั้งของไทย เมื่อวานอ่านที่มาของสากลแล้ว วันนี้ว่าด้วยปีใหม่ประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย แต่เดิมเรา (สยาม) ถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย (ตรงกับเดือนมกราคม) เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติพุทธศาสนาที่ถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่ม ต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ฮินดูที่รับมาพร้อมกับศาสนาจากอินเดีย รวมถึงการถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งตรงกับวันมหาสงกรานต์และนับเป็นวันเปลี่ยนรอบนักษัตรเป็นวันขึ้นปีใหม่

เกี่ยวกับการให้ฤดูหนาวเป็นจุดเริ่มต้นปี ใหม่ ด้วยโบราณคิดเห็นว่าฤดูหนาวเป็นเวลาพ้นจากมืดฝน สว่างขึ้นเปรียบเหมือนเวลาเช้า จึงได้คิดนับเอาฤดูหนาวเป็นต้นปี ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่างร้อนเหมือนกลางวัน จึงได้คิดว่าเป็นกลางปี ฤดูฝนเป็นเวลามืดครึ้มโดยมาก และฝนพรำเที่ยวไปไหนไม่ใคร่ได้ จึงได้คิดเห็นว่าเป็นเหมือนกลางคืน คนทั้งปวงเป็นอันมากถือว่าเวลาเช้าเป็นต้นวัน กลางคืนเป็นปลายวันฉันใด คนโบราณก็คิดเห็นว่า ฤดูเหมันต์คือฤดูหนาวเป็นต้นปี ฤดูคิมหันต์คือฤดูร้อนเป็นกลางปี ฤดูวัสสาน (วสันต์) คือฤดูฝนเป็นปลายปี เพราะเหตุนั้นจึงได้นับชื่อเดือนเป็น 1 มาแต่เดือนอ้าย

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 13 เมษายนเป็นวันที่ 1 มกราคมรัชกาลใด

สยามนับวันขึ้นปีใหม่อย่างนี้มาจนกระทั่ง ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แต่โดยที่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.. 2432 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน รัชกาลที่ 5 จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีต่อๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แล้วก็ตาม) ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้น ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะในชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 13 เมษายนเป็นวันที่ 1 มกราคมรัชกาลใด

ครั้นเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน มักจะไม่มีงานรื่นเริงอะไรมากนัก และเห็นสมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน พ.. 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก จนแพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆ มา โดยในปี พ.. 2479 ได้จัดงาน ปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด มีชื่อทางราชการวันตรุษสงกรานต์

ต่อมามีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งใน สมัยรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งมีนโยบายปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เป็นสากล คณะรัฐมนตรีได้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งพิจารณาเรื่องวันขึ้นปีใหม่ มี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยเหตุผลสำคัญคือ ไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ, เลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนาพุทธ, ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก และเป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม จารีตประเพณีของชาติไทย

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 13 เมษายนเป็นวันที่ 1 มกราคมรัชกาลใด

วันที่ 24 ธันวาคม พ.. 2483 รัฐบาลออกประกาศชื่อประกาศ ให้ใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่จากประกาศนี้มีผลให้ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ พ.. 2484 เป็นต้นมา และทำให้ พ.. 2483 เป็นปีที่สั้นที่สุด จากที่เคยยาวไปถึงวันที่ 31 มีนาคม ก็หดสั้นลงแค่วันที่ 31 ธันวาคม เหลือเพียง 9 เดือน เพราะได้ตัดเอาเดือนมกราคมกุมภาพันธ์มีนาคม ซึ่งนับเป็น 3 เดือนสุดท้ายปี พ.. 2483 ตามธรรมเนียมการนับปีเดิม มาเป็นสามเดือนแรกของปี พ.. 2484 แทน

และตั้งแต่นั้นมาวันขึ้นปีใหม่ของไทยตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 13 เมษายนเป็นวันที่ 1 มกราคมรัชกาลใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันขึ้นปีใหม่
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 13 เมษายนเป็นวันที่ 1 มกราคมรัชกาลใด

พลุในเม็กซิโกซิตีเมื่อเวลาเที่ยงคืนของวันปีใหม่ ค.ศ. 2013

จัดขึ้นโดยประเทศส่วนใหญ่บนโลกที่ใช้ปฏิทินกริกอเรียน
ประเภทวันสำคัญสากล
ความสำคัญวันแรกของปีปฏิทินกริกอเรียน
วันที่1 มกราคม
การเฉลิมฉลองเขียนปณิธานในวันขึ้นปีใหม่, เชิร์ชเซอร์วิส, ขบวนแห่, กิจกรรมแข่งขันกีฬา, พลุ
ส่วนเกี่ยวข้องวันสิ้นปี, คริสต์มาส
ความถี่ทุกปี

วันขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่ปฏิทินปีใหม่เริ่มต้นและนับปีปฏิทินเพิ่มขึ้นหนึ่งปี วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินกริกอเรียนที่ใช้กันทั่วโลกปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม

อนึ่ง เทศกาลปีใหม่ อาจหมายถึงวันที่นับจากวันหยุดวันแรกในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมปีก่อน จนถึงวันหยุดสุดท้ายในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม สำหรับชาวคริสต์จะหยุดตั้งแต่คริสต์มาสไปจนถึงวันขึ้นปีใหม่ รวม 8 วัน

ประวัติ

วันปีใหม่มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวเซมิติก ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอะเลกซานเดรียชื่อ เฮมดัล มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

วันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วสันตวิษุวัต

แต่ในปี ค.ศ. 1582 (ตรงกับ พ.ศ. 2125) วสันตวิษุวัตกลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงปรับปรุงแก้ไขโดยหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะปีดังกล่าว) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

การเฉลิมฉลองและประเพณีทั้งดั้งเดิมและสมัยใหม่

วันสิ้นปี

ดูบทความหลักที่: วันสิ้นปี

วันแรกของเดือนมกราคมหมายถึงการเริ่มต้นปีใหม่ หลังจากผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการรำลึกถึงปีที่ผ่านมา รวมถึงทางวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ซึ่งจะเริ่มในต้นเดือนธันวาคม ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ มีบทความส่งท้ายปลายปีที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงในช่วงปีที่แล้ว ในบางกรณี สื่อสิ่งพิมพ์อาจกำหนดงานตลอดทั้งปีด้วยความหวังว่าควันที่ปล่อยออกมาจากเปลวไฟจะนำชีวิตใหม่มาสู่บริษัท นอกจากนี้ยังมีบทความเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตามแผนหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า

วันนี้เป็นวันเฉลิมฉลองทางศาสนา แต่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1900 เป็นต้นมา ก็ได้กลายเป็นโอกาสเฉลิมฉลองในคืนวันสิ้นปี ในวันที่ 31 ธันวาคม โดยมีงานเฉลิมฉลองในที่สาธารณะ (ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการแสดงดอกไม้ไฟ) และประเพณีอื่น ๆ ที่มุ่งเน้นไปที่เวลาเที่ยงคืนและปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง บริการยามค่ำคืนยังคงเป็นที่สังเกตในหลายครั้ง[1]

วันขึ้นปีใหม่

การเฉลิมฉลองและกิจกรรมที่จัดขึ้นทั่วโลกในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่โดยทั่วไป เช่น การเดินขบวนพาเหรดสำคัญในหลายแห่ง การกระโดดแบบหมีขั้วโลก โดยชมรมหมีขั้วโลกในเมืองทางซีกโลกเหนือหลายแห่ง และการแข่งขันกีฬาสำคัญในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ

วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินอื่น ๆ

  • สงกรานต์ เดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ คือวันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ตกประมาณวันที่ 13 หรือ 14 เมษายน แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน
  • ตรุษไทย เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติไทย แต่ยกเลิกลงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกำหนดให้ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่แทน
  • ตรุษจีน เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ตกประมาณวันที่ 20 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์
  • ตรุษญี่ปุ่น เดิมใช้วันเดียวกับตรุษจีน แต่เมื่อ ค.ศ. 1873 ได้รับเอาปฏิทินเกรโกเรียนมาใช้ จึงเปลี่ยนเป็นวันที่ 1 มกราคมแทน
  • ตรุษญวน เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติเวียดนาม ตกประมาณวันที่ 20 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์
  • เราะอส์ อัสซะนะฮ์ อัลฮิจญ์ริยะฮ์ (อาหรับ: رأس السنة الهجرية) เป็นวันที่เริ่มต้นเดือนมุฮัรรอม (เดือน 1) ตามปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์ของอิสลาม วันที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับว่ามีคนมองเห็นดวงจันทร์หรือไม่ ตามสถิติเมื่อเทียบกับปฏิทินเกรโกเรียนพบว่าวันนั้นร่นเข้าไปประมาณ 10 วันทุกปี

อ้างอิง

  1. "Watch Night services provide spiritual way to bring in New Year". The United Methodist Church. pp. 288–294. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2011. The service is loosely constructed with singing, spontaneous prayers, and testimonials, and readings, including the Covenant Renewal service from The United Methodist Book of Worship

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคมในรัชกาลใด

พ.ศ. 2477 ประกาศให้มีงานรื่นเริงขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน เพื่อฟื้นฟูประเพณีวันขึ้นปีใหม่ที่ซบเซา พ.ศ. 2484 มีมติให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม

ผู้ที่เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นวันที่ 1 มกราคม ตามแบบสากล คือใคร *

สำหรับการพิจารณาเปลี่ยน "วันขึ้นปีใหม่" ในครั้งนั้น เกิดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้ขึ้นมา ซึ่งมี "หลวงวิจิตรวาทการ" เป็นประธานกรรมการ หลังจากหารือกันแล้วเสร็จ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากเดิม 1 เมษายน ให้เป็นวันที่ 1 มกราคมแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นวัน ...

ปีใหม่ของไทยก่อนเปลี่ยนมาเป็นวันที่ ๑ มกราคม คือข้อใด

เด็กรุ่นหลังอาจเข้าใจว่า วันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นมาตามอย่างสากลมานานแล้ว คือนับเอาวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ หรือบางคนรู้มากขึ้นมาอีกนิดว่า วันขึ้นปีใหม่ของไทยนั้น แต่เดิมคือวันสงกรานต์

ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วกี่ครั้ง

ใน อดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค ่า เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 ก าหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค ่า เดือน 5 ตาม คติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน Page 3 การก าหนดวันขึ้นปี ใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ ...