ไทยกับอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ

1. บทบาทด้านการเมืองและความมั่นคง

            ไทยมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมให้อาเซียนเป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสันติภาพและลดความตึงเครียดทางการเมืองในภูมิภาคลง ทำให้อาเซียนสามารถขยายจำนวนสมาชิกจนครบ 10 ประเทศเช่นในปัจจุบัน ด้วยเล็งเห็นว่าความมั่นคงทางการเมืองในภูมิภาคมีส่วนช่วยส่งเสริมความกินดีอยู่ดีของประชาชนและพัฒนาการของภูมิภาคโดยรวม

            นอกจากนี้ ไทยยังสนับสนุนให้อาเซียนขยายความร่วมมือด้านความมั่นคง ในกรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งไทยรับหน้าที่ประธานในช่วงปี พ.ศ. 2542-2543 และผลักดันให้เพิ่มบทบาทของประธานให้สามารถทำหน้าที่ส่งเสริมความมั่นคงในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการส่งเสริมแนวคิด “การทูตเชิงป้องกัน” เพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งที่จะส่งผลกระทบต่อภูมิภาคโดยรวม

2. บทบาทด้านเศรษฐกิจ

            ไทยได้เสนอและผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ตามแนวคิดของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อให้อาเซียนรวมตัวเป็นตลาดเดียว มีการลดหรือยกเลิกภาษีสินค้าส่งออกระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้ารวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ตลอดจนเพิ่มปริมาณและคุณภาพของสินค้าและการบริการผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

3. บทบาทด้านสังคมและวัฒนธรรม

            ไทยสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค ทั้งยังผลักดันให้อาเซียมีปฏิญญาเกี่ยวกับโรคเอดส์ และเป็นผู้นำการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ รวมถึงการแก้ปัญหาภัยพิบัติ และการเตรียมการสร้างระบบเตือนภัยต่างๆ ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อน

Main Article Content

Abstract

การค้าของไทยกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปี 1956-1965 มีปริมาณสูงเป็นอันดับสอง รองจากการค้ากับประเทศในเอเชียอื่นๆ และกับญี่ปุ่น และเมื่อก่อตั้งสมาคมอาเซียนแล้ว การค้าของไทยในช่วง 1970-1976 ยังแสดงว่าไทยมีการค้ากับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะสิงคโปร์และมาเลเซียในปริมาณที่สูง แต่เป็นรองการค้ากับญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ส่วนสินค้าหลักยังเป็นข้าว ยางพารา ข้าวโพด ดีบุก มันสำ ปะหลัง นํ้าตาล กุ้ง ไม้สัก ฯลฯ โดยเฉพาะไทยส่งข้าวไปขายยังกลุ่มประเทศอาเซียนเดิมสูงมากเกือบร้อยละ 50 ในช่วงปี 1985-2000 โดยไทยทำการค้ากับมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย สูงตามลำดับ ทั้งนำเข้าจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียสูงตามลำดับ ด้วยมูลค่าการค้าระหว่างอาเซียนเดิมห้าประเทศช่วง 1970-1981 ยังอยู่ในระดับตํ่า คือไม่ถึงร้อยละ 20 มูลค่าการค้าระหว่างกันที่ไม่สูงขึ้นน่าจะมาจากกำ แพงภาษีที่ต่างตั้งไว้สูง ตัวเลขมูลค่าการค้าล่าสุดในปี 2004 ประเทศอาเซียนค้าขายด้วยกันเพียงร้อยละ 24.5 ส่วนการลงทุนระหว่างอาเซียนด้วยกันช่วงปี 1998-2008 ก็มีจำนวนไม่สูงมากทั้งในแง่เม็ดเงินและสัดส่วนเมื่อเทียบกับเงินทุนจากต่างประเทศ ในปี 2009 ไทยส่งสินค้าออกไปยังประเทศอาเซียนคิดเป็นร้อยละ 21.3 แต่ส่งออกไปนอกประเทศอาเซียนร้อยละ 78.7 ในขณะที่ไทยนำสินค้าเข้าจากประเทศอาเซียนร้อยละ 20 จากนอกประเทศอาเซียนร้อยละ 80 ทุนไทยที่นำไปลงในประเทศอาเซียนมักเจาะด้านการใช้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ไม้ ก๊าซ นํ้ามัน ถ่านหิน สัตว์นํ้า ไฟฟ้าพลังนํ้า

Thai Economy and ASEAN : Economic and Trade Relations, Past-Present

During 1956-1965, the amount of Thailand trade to Southeast Asian countries was second only to the amount of Thailand trade to Japan and other Asian countries. By 1970-1976 after the establishment of ASEAN, the amount of Thailand trade to Singapore and Malaysia was still lesser than the trade with Japan and the U.S. Exports to Thailand have been predominantly rice, rubber, maize, tin, cassava, sugar, shrimp, and teak, etc. Thailand exported rice to the five original ASEAN countries at a very high volume, that was about 50 percent. During 1985-2000, Thailand traded most with Malaysia, Singapore, and Indonesia, respectively, and imported from Singapore, Malaysia, and Indonesia respectively.

Intra trade of the former 5 ASEAN countries was low during 1970-1981; that is less than 20 percent due to high trade barrier. The latest figure in 2009 showed that ASEAN traded with each other only at 24.5 percent. Intra ASEAN investment during 1998-2008 was not high, either in terms of volume and proportion compared with total foreign direct investment. In 2009, Thailand. export to ASEAN was only 21.3 percent while the export to non-ASEAN was 78.7 percent. Thailand, of the same year, imported from ASEAN only 20 percent while imported from non-ASEAN for 80 percent. Thai investment in ASEAN countries had been predominantly in timber, gas, oil, coal, aquatic animal and hydroelectricity.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Every article published in the Romphruek journal is the opinion and point of view of the authors. Thery're not the viewpoint of Krirk University or the editored department. Any part or all of the articles for pablication must be clearly cited.

KRIRK UNIVERSITY