ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ เฉลย

Sale!

สินค้า / หนังสือเรียนอาชีวศึกษา / ปวส. / หมวดวิชาทักษะชีวิต / ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ

ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ


ISBN: 9786162745881
Itemcode: 3805701100
จำนวนหน้า: 252
ชนิดกระดาษ: อาร์ตการ์ด 210 g
เนื้อในพิมพ์: ปอนด์ 80 g 2 สี
ขนาด:
ผู้เรียบเรียง: อ.สิริมา เจริญศรี

จัดทำตรงกับจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา และคำอธิบายรายวิชา หลักสูตร 2557 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ ภาษาไทยสื่อสารในงานอาชีพ สามารถนำภาษาไทยไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในงานอาชีพได้ตามหลักการ เห็นคุณค่าและความสำคัญของการใช้ภาษาไทยสื่อสารในงานอาชีพ

ตัวอย่างหนังสือแผนการจัดการเรียนรู้ข้อสอบ/เฉลย

ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ


ISBN: 9786162745881
Itemcode: 3805701100
จำนวนหน้า: 252
ชนิดกระดาษ: อาร์ตการ์ด 210 g
เนื้อในพิมพ์: ปอนด์ 80 g 2 สี
ขนาด:
ผู้เรียบเรียง: อ.สิริมา เจริญศรี

จัดทำตรงกับจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา และคำอธิบายรายวิชา หลักสูตร 2557 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ ภาษาไทยสื่อสารในงานอาชีพ สามารถนำภาษาไทยไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในงานอาชีพได้ตามหลักการ เห็นคุณค่าและความสำคัญของการใช้ภาษาไทยสื่อสารในงานอาชีพ

ตัวอย่างหนังสือแผนการจัดการเรียนรู้ข้อสอบ/เฉลย

ความสำคัญของภาษาเพื่อสื่อสาร

                นอกจากคนไทยจะใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความรู้ และความรู้สึกนึกคิดแล้ว ภาษายังแสดงวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นชาติ เราโชคดีที่มีภาษาของเราเอง มีตัวหนังสือไทยเป็นตัวหนังสือประจำชาติ เป็นสื่อแสดงว่าชาติไทยมีวัฒนธรรมสูงส่งมาแต่โบราณกาลเรามีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาไทยจึงมีความสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

๑.ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและปลูกฝังคุณธรรม

วรรณคดีไทยสะท้อนให้เห็นลักษณะสังคม ประเพณี ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม การประกอบพิธีกรรม การละเล่น

ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ เฉลย

 ๒.ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารให้คนในสังคมเดียวกันเข้าใจกัน

จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของภาษาก็คือใช้ในการติดต่อสื่อสารสังคมยางมีขนาดใหญ่มากขึ้นเพียงใด ภาษาก็ยังจำเป็นสำหรับการสื่อสารมากขึ้นเพียงนั้น วิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์นับเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยในปัจจุบัน

ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ เฉลย

๓.ภาษาเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ

ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดที่ต้องมีการติดต่อกับผู้อื่นล้วนแต่ต้องใช้ภาษาในการสื่อความหมายตลอดเวลา เช่น ครูต้องใช้ในการสอนหนังสือ นักธุรกิจ พ่อค้าแม่ค้า ต้องใช้ภาษาในการซื้อขายต่อรองกัน

ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ เฉลย

๔.ภาษาเป็นเครื่องมือในการปกครอง

ภาษาไทยเป็นสื่อสำคัญในการปกครองและบริหารราชการ ไม่ว่าจะแถลงนโยบาย การประชุมสภา การออกกฎหมาย

ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ เฉลย

๕.ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาเล่าเรียน

ความสามารถในการใช้ทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนจะช่วยให้รู้วิชาการต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

 

ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ เฉลย

ประเภทของภาษาเพื่อสื่อสาร

๑.วัจนภาษา(Verbal Languageอ่านว่า วัด-จะ-นะ-พา-สา หมายถึง ภาษาที่ใช้ตัวอักษรสัญลักษณ์ หรือภาษาพูดที่ออกเสียงเป็นถ้อยคำหรือประโยคที่มีความสามารถเข้าใจได้ เช่น คำพูดคำสนทนาที่เราใช้ทั่วไป

๒.อวัจนภาษา (Non-verbal Language) อ่านว่า อะ-วัด-จะ-นะ-พา-สา หมายถึง ภาษาที่ใช้ท่าทาง หรือ ภาษาที่ไม่ออกเสียงเป็นถ้อยคำ แต่มีลักษณะในภาษาที่แฝงอยู่ในถ้อยคำนั้น เช่น น้ำเสียง การเน้นเสียง จังหวะของการพูดและการหยุดพูด และกิริยาท่าทาง การเคลื่อนไหว การใช้สีหน้าหรือสายตา และยังรวมไปถึงสื่ออื่นๆ

 สรุปรวมถึงความหมายของภาษาต่างๆดังนี้

๒.๑ ภาษาสัญลักษณ์หรือภาษาสัญญาณ (Sing Language  )

๒.๒ ภาษาการกระทำ (Action Language)

๒.๓ ภาษาวัตถุ (Object Language)

๒.๔ ภาษากลาเทศะ (Time and space Language)

๒.๕ ภาษาน้ำเสียง (Tone Language)

๒.๖ ภาษาสัมผัส (Body Language)

ระดับของภาษา แบ่งได้ ๓ ระดับดังนี้

๑.ภาษาระดับทางการ เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นแบบแผนและมีมาตรฐานในการใช้ ดังนี้

·         คำที่ใช้ในวงราชการ เช่น เนื่องด้วย เนื่องจาก ตามที่ เสนอ พิจารณา อนุมัติ

·         คำที่ใช้ในวงการศึกษา เช่น แนวคิด นิเทศ ความคิด รวบยอด มโนทัศน์ สังกัป

·         คำราชาศัพท์ เช่น  เสวย บรรทม ประสูติ ประชวร หมายกำหนดการ พระราชทาน

·         คำสุภาพ เช่น รับประทาน ทราบ ศีรษะ ข้าพเจ้า บิดา มารดา

๒.ภาษาระดับกึ่งทางการ เป็นภาษาที่ใช้อย่างไม่เป็นแบบแผนหรือไม่เป็นพิธีรีตอง ดังนี้

·         คำที่ใช้ในโฆษณา เช่น ชีวิตดีไซน์ได้ อาณาจักรใหญ่ใจกลางเมือง

·         คำที่ใช้ในภาษาสื่อมวลชน เช่น นักหวดลูกขนไก่ เทกระจาด ไขก๊อก

·         คำเฉพาพกลุ่ม เช่น วงการกีฬา กลุ่มวัยรุ่น ทหาร แพทย์ ช่าง

๓.ภาษาระดับไม่เป็นทางการ เป็นภาษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่คำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสม

·         คำตลาดหรือภาษาปาก เช่น ผัว เมีย รถมอไซค์  กินข้าว ในหลวง

·         คำภาษาถิ่น เช่น ม่วนซื่น แซบอีหลี หัน(หมุน) กระแป๋ง

·         คำสแลงหรือคำคะนอง เช่น เริ่ด กิ๊ก ฟิน  ลั้ลลา  วืด มโน เงิบ มว๊าก

·         คำหยาบหรือคำต่ำ ได้แก่ คำด่า คำสบถ คำหยาบคาย

·         คำโบราณที่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว เช่น เผือ เขือ ศีรษะแหวน

ข้อควรระวังในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

๑.ใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย

๒.การใช้ศัพท์สำนวนให้เหมาะสมกับกาลเทศะหรือโอกาส

๓.การใช้ศัพท์สำนวนให้เหมาะสมกับระดับฐานะบุคคล

๔.การใช้สำนวนภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น

๕.การใช้คำศัพท์สแลง

๖.การใช้คำต่างระดับ

๗.การใช้คำฟุ่มเฟือยหรือซ้ำซาก

๘.การเว้นวรรคตอนที่ถูกต้อง

๙.การวางคำขยายให้ถูกที่

๑๐.การใช้ประโยคที่กะทัดรัดชัดเจน

๑๑.การใช้ประโยคที่สละสลวย

๑๒.การใช้คำกำกวม

สรุปสาระสำคัญ

    การใช้ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องเลือกใช้ประเภทของภาษา ระดับภาษา การใช้คำและสำนวนภาษาให้ถูกต้อง/เหมาะสมกับสถานการณ์และโอกาสที่ใช้

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะที่ 1