การยกเลิกสัญญาจ้าง ระเบียบพัสดุ 2560

บอกเลิกสัญญาจ้าง แล้วงัย...
.การ บอกยกเลิกสัญญาจ้าง......
กระบวนการ/ขั้นตอนการ บอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้าง......
.ท่าน ผู้อำนวยการกองคลัง อบต. แห่งหนึ่ง ถามผมว่า..
การยกเลิกสัญญาตามระเบียบพัสดุ ข้อ 130 และข้อ 131 แตกต่าง และมีขั้นตอนอย่างไร.. (อ่านระเบียบ...แล้วไม่แม่นในกระบวนการและขั้นตอนในทางปฏิบัติ )........
ตอบ.../ คำอธิบาย..
การบอกเลิกสัญญาทั่วไปมี 2 กรณีใหญ่ๆ ( 2ข้อ) คือ..
ข้อ 1 กรณี ตามข้อ 130 แยกเป็น 2 กรณี...
กรณีที่ 1 ตามข้อ 130 วรรค แรก ..
-.ให้นายก เทศมนตรี นายก อบต. หรือ นายก อบจ. ใช้ดุลยพินิจในการบอกเลิกสัญญา.. เมื่อ..
-มีเหตุเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนด เพราะ.......
(1) กระทำผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง
(2).เพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ควบคุมงาน หรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง.
(3) ตกเป็นบุคคลล้มละลาย
(4) หรือกรณีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง.
กรณีที่ 2 ตามข้อ 130 วรรคสอง ..
:การตกลงกับคู่สัญญา...ที่จะบอกเลิกสัญาหรือข้อตกลง ให้กระทำได้เฉพาะ
(1) ที่เป็นประโยชน์ต่อหน่ายงานราชการส่วนท้องถิ่นโดยตรง
(2) เพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของหน่วยงานราชการ (หากจะต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไป)
ขั้นตอนการ บอกเลิกสัญญา/ ตามข้อ 130
กรณี ที่ 1 เชื่อได้ว่าผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นกรณีที่ผู้รับจ้าง ผิดสัญญาข้อใด ข้อหนึ่ง เช่น ทำสัญญาจ้าง แล้ว ไม่ยอมเข้า ลงมือทำงาน หรือทำงานแต่พฤติกรรมไม่ใส่ใจต่องาน (ทำบ้าง/ไม่ทำบ้าง) และหน่วยงานคาดหมายได้ว่า คงไม่อาจทำงานเสร็จตาม กำหนดสัญญาแน่แล้ว
วิธีการ
(1) หน่วยงาน (งานพัสดุ) อบต.หรือเทศบาล ทำหนังสือแจ้งผู้รับจ้างเข้าทำงานตามสัญญา ที่กำหนดไว้ในสัญญา ข้อ.......หากเพิกเฉย
(2) งานพัสดุ.ฯ ทำบันทึกแจ้งประสาน เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมงาน รายงานผลการปฏิบัติงาน พร้อมแจ้ง คณะกรรมการตรวจการจ้าง ประชุมพิจารณาเสนอความเห็น ประกอบการพิจารณาบอกยกเลิกสัญญา ของนายก เมื่อนายก อนุมัติยกเลิกสัญญา การยกเลิกสัญญาก็มีผลทันที(นับแต่วันที่ที่นายกอนุมัติ)
(3) หน่วยงานทำหนังสือแจ้ง (ทางไปรษณีย์ตอบรับ) ยกเลิกสัญญาจ้างต่อผู้รับจ้าง ต่อไป..
กรณีที่ 2 เป็นการตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญา ตามกรณี ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น.....
วิธีการ
(1) เจ้าหน้าที่พัสดุ/ หรือช่างผู้ควบคุมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง พบปัญหา-สาเหตุ..
(2) ให้รายงานปัญหา-สาเหตุ ต่อคณะกรรมการตรวจการจ้าง /ผู้เกี่ยวข้องและรวมถึงผู้รับจ้าง ทราบ พร้อมเชิญให้ผู้รับจ้าง ร่วมประชุมพิจารณา เสนอความเห็นต่อ นายกเทศมนตรี หรือนายก อบต. หรือ อบจ. แล้วแต่กรณี..
(3) การประชุมตามข้อ (2)ให้จัดทำรายงานการประชุมของผู้เกี่ยวข้องให้ชัดเจน ถึงปัญหา-สาเหตุ ประเด็นปัญหาต่างๆ รวมถึงประเด็น ข้อเรียกร้องค่าเสียหาย ของผู้รับรับจ้าง ในกรณีมีการยกเลิกสัญญาจ้าง.. และหรือประเด็นเรียกร้องค่าเสียหายต่างๆ หากมี จากผู้รับจ้าง....เป็นต้น
(4) หากปรากฏว่า ผู้รับจ้างตกลงยินยอม ยกเลิกสัญญา โดยไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ก็ให้มีบันทึกข้อตกลงไว้ต่อกันหรือให้บันทึกไว้ในรายงานการประชุม ด้วย…..
(5) จากนั้นให้รายงานต่อนายก เมื่อนายอนุมัติยกสัญญาก็มีผลให้สัญญานั้นยกเลิกแล้ว ให้หน่วยงาน ทำหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาไปยังผู้รับจ้าง ทางไปรษณีย์ตอบรับลงทะเบียน.......
(6) จากนั้น ให้งานพัสดุฯ ทำบันทึกเสนอนายก ถอนหลักประกันสัญญาคืน แก่ผู้รับจ้างโดยเร็ว..ต่อไป.. (กรณีนี้ถือว่า จากกันด้วยดี..ไม่มีอะไรต่อกันอีก )
ข้อ 2 ยกเลิกสัญญา กรณีตามระเบียบพัสดุ ข้อ 131.
-เป็นกรณีที่คู่สัญญา..ไม่สามารถทำงานให้เป็นไปตามสัญญา และต้อง มีการปรับ ตามสัญญา และจำนวนค่าปรับ จะเกินร้อยละ 10% ของราคาพัสดุ หรืองานจ้างนั้นๆ
ให้หน่วยงาน (อบต.หรือเทศบาล) พิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญา...
เว้นแต่ ผู้รับจ้างยินยอมเสียปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น (นายก..) อาจพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้ เท่าที่จำเป็น..
ฉะนั้นตามระเบียบ ข้อ 131 สรุป....
(1) ทำงานไม่เสร็จตามกำหนดระยะเวลา และมีค่าปรับใกล้ๆ จะเกินร้อยละ 10% ( อาจเป็นประมาณ 9 % กว่าๆ )
(2) ให้หน่วยงาน พิจารณาบอกเลิกสัญญาจ้าง
(3) หากปรากฏว่า ผู้รับจ้าง ยินยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ให้พิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้ เท่าที่จำเป็น.
ขั้นตอน/วิธีการ
(1) เมื่อ งานพัสดุฯ หรือช่างควบคุมงาน คำนวณค่าปรับแล้ว เห็นว่าใกล้ๆ จะเกินร้อยละ 10% ของค่าปรับตามสัญญา
(2) ให้รายงานต่อ คณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้เกี่ยวข้อง ประชุมพิจารณาการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และหรืออาจ ให้มีหนังสือแจ้งเชิญผู้รับจ้างเข้าร่วมประชุม ขี้แจงปัญหา สาเหตุ ที่ทำงานล่าช้า..
(3) พร้อมทำหนังสือแจ้งผู้รับจ้างทราบถึงจำนวน ค่าปรับ ณ ขณะนั้น ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้ว (ใกล้ๆจะเกินร้อยละ 10% ) พร้อมสอบถามถึงการยินยอมเสียปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น....
(4) หากผู้รับจ้างรับ และมีหนังสือยืนยันให้ หน่วยงานปรับ หรือยินยอมเสียปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น แจ้งตอบกลับมา ยังหน่วยงาน......
(5) หน่วยงานโดยคณะกรรมการตรวจการจ้าง ประชุมพิจารณา เสนอความเห็นต่อ นายก พิจารณาผ่อนปรนไม่บอกเลิกสัญญาจ้างได้.....เป็นต้น
(6) หากผู้รับจ้างเพิกเฉย ไม่ตอบรับ หรือเข้าชี้แจงปัญหา-สาเหตุใดๆ ให้หน่วยงานแจ้งยกเลิกสัญญาจ้าง ต่อไป (แจ้งทางไปรษณีย์ตอบรับ)
ความแตกต่างระหว่างระเบียบพัสดุ ข้อ 130 และข้อ 131 ดังนี้ ..
กรณีตามข้อ 130 .
(1)..เป็นกรณีหน่วยงานเชื่อได้ว่าผู้รับจ้างไม่อาจทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญา..
.(2) กรณีเป็นการตกลงกับคู่สัญญา ที่จะบอกเลิกสัญญา.....(มีการบอกกล่าวต่อกันว่าจะยกเลิกสัญญา )
กรณีข้อ 131
เป็นกรณีที่ทำงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา และมีค่าปรับจะเกินร้อยละ 10% ของค่าจ้าง
สิทธิของผู้ว่าจ้าง หลังบอกเลิกสัญญาจ้าง
-ตามข้อกำหนดในสัญญา ข้อ 16 ....โดยผู้ว่าจ้างมีสิทธิดำเนินการต่อไป (เรียกร้องค่าเสียหาย หรือดำเนินการอื่นๆ) ดังนี้
-ตามกรณีนัยระเบียบพัสดุ ข้อ 130 วรรคหนึ่ง และ กรณีตามข้อ 131 โดยมีสิทธิ์ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเรียกร้องตามข้อกำหนดในสัญญา...
1.1 ทำงานจ้างนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นต่อ จนแล้วเสร็จ หรือ
1.2 ผู้ว่าจ้าง หรือผู้รับจ้างทำงานนั้นต่อ มีสิทธิ์ใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ในการก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างขึ้นชั่วคราวสำหรับงานก่อสร้าง และวัสดุต่างๆ..
1.3 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิ์ ริบหลักประกันสัญญา ทั้งหมด หรือบางส่วน ตามแต่กรณี.....
1.4 ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบ ในค่าเสียหายซึ่งเป็นจำนวนเกินกว่าหลักประกันสัญญา และค่าเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อ ให้แล้วเสร็จตามสัญญา หรือ
1.5 ค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานเพิ่มขึ้น (ถ้ามี) (กรณีมีการจ้างผู้ควบคุมงาน...)
(2) กรณีมีสิทธิดำเนินการตามระเบียบพัสดุ ข้อ 138 คือแจ้งให้เป็นผู้ทิ้งงาน ตามข้อ 138 (2)ต่อไป ฉะนั้น ตามกรณีข้อ 130 (1) และข้อ 131 ต้องเดินต่อ คือแจ้งลงโทษทิ้งงาน ต่อไป...
-ที่กล่าวมาพอสังเขป เป็นเรื่อง กระบวนการแจ้งบอกเลิกสัญญา ......และขั้นตอนหรือแนวทางดำเนินการหลังบอกเลิกสัญญา......สำหรับปรับเป็นแนวทางปฏิบัติ........
...หวังว่าคงเป็นประโยชน์ สำหรับท่านผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ บ้างนะครับ.....
เพชร โพสาราช

เขียนโดย   คุณ อบต.โพกรวม