โทรทัศน์ ปัญหา นั้น ทํา ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี อย่างไร

โทรทัศน์ ปัญหา นั้น ทํา ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี อย่างไร
           โทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทและมีอิทธิพลมากในยุคปัจจุบัน เพราะวิวัฒนาการด้านโทรทัศน์สามารถครอบคลุมพื้นที่บริการ แพร่ภาพและเสียงได้พร้อม ๆ กัน ทำให้ผู้ชมได้ทราบข้อมูล ข่าวสาร เนื้อหาสาระ ความรู้ และความบันเทิงอย่างแพร่หลายและรวดเร็ว จากการวิจัยพบว่า โทรทัศน์สามารถปลูกฝังความเชื่อถือ ทัศนคติ และค่านิยมต่าง ๆ ได้อย่างคงทน เนื่องจากโทรทัศน์เป็นสื่อที่ทรงพลังนี้เอง

นักการศึกษาจึงได้นำเอาโทรทัศน์มาใช้เพื่อเป็นสื่อสารประชาสัมพันธ์ พัฒนาการศึกษาในด้านต่าง ๆ เช่น ใช้กับการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนจำนวนมาก ๆ ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังใช้ในกรณีที่ขาดแคลนครูที่มีความเชี่ยวชาญการเฉพาะวิชา ใช้เป็นเครื่องมือในการรณรงค์หรือใช้เพื่อปรับปรุงระบบการเรียนการสอนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชั้นก่อนวัยเรียนจนถึงอุดมศึกษา ทั้งในการศึกษาในระบบหรือนอกระบบ และการจัดการศึกษาระบบทางไกล ซึ่งสามารถออกอากาศในระบบวงจรปิดหรือวงจรเปิดก็ได้
ประวัติความเป็นมาของโทรทัศน์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของโทรทัศน์ไว้ว่า

โทรทัศน์ เป็นกระบวนการถ่ายทอดเสียงและภาพได้พร้อมกันจากที่หนึ่งเป็นยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นเสียงและภาพให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ เรียกเครื่องที่มีหน้าที่นี้ว่าเครื่องส่งโทรทัศน์ เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้รับจากเครื่องส่งโทรทัศน์ให้กลับไปเป็นคลื่นเสียงและภาพตามเดิมว่า “เครื่องรับโทรทัศน์”

       หลังจากการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศ จนสามารถนำคลื่นนั้นมาใช้ในการสื่อสารและการกระจายเสียง ทำให้เกิดวิทยุกระจายเสียงขึ้น นักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ก็ได้คิดคำนึงขึ้นมาว่า ในเมื่อสามารถจับเอาเสียงออกอากาศได้ ทำไมจะจับภาพมาเข้าเครื่องส่งออกอากาศบ้างไม่ได้ ดังนั้นการทดลองเกี่ยวกับโทรทัศน์มีมาราวศตวรรษที่ 18 เมื่อมีการส่งสัญญาณโทรคมนาคมทางอากาศด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการทดลองเริ่มปรากฏเป็นจริงเมื่อ แอนดรู เมย์ (Andrew May) เจ้าหน้าที่โทรเลขชาวไอริช ได้ค้นพบสารเซเลเนียม ซึ่งมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ จนในปี พ.ศ. 2437 ได้มี นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ พอล นิปโคว์ (Paul Nipkow) ได้ค้นพบเครื่องมือกวาดภาพ ปรากฏบนจอได้ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นการเกิดโทรทัศน์ในปัจจุบัน

โทรทัศน์ ปัญหา นั้น ทํา ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี อย่างไร

   

จากทฤษฎีของ พอล นิปโคว์ มีนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่โอนสัญชาติเป็นอเมริกัน ชื่อ ดร. วี.เค. ซวอริคิน (Dr. V.K. Zworykin) ได้ค้นพบหลอดจับภาพสู่จอที่สมบูรณ์ขึ้น โดยเรียกว่า ไอโคโนสโคป (Inonoscope) และมีนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ จอห์น โลยี แบร์ดได้ทำการทดลองจนสามารถจับภาพเข้าเครื่องส่งออกกาศมาปรากฎบนจอได้สำเร็จ แต่ในการส่งโทรทัศน์ได้อย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรกของโลกเริ่มที่สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2469 ซึ่งเป็นการส่งเสียงและภาพไปพร้อม ๆ กันไปยังเครื่องรับที่อยู่ไกลถึง 30 ไมล์ และต่อมาก็สามารถส่งสัญญาณโทรทัศน์ไปตามสายเคเบิลจากนิวยอร์กถึงวอชิงตัน ระยะทาง 280 ไมล์ ในขณะเดียวกันที่ประเทศอังกฤษสามารถส่งภาพจากลอนดอนถึงเมืองกลาสโลว์ ระยะทาง 340 ไมล์

สถานีโทรทัศน์ บีบีซี (BBC : British Broadcasting Corporation) แห่งอังกฤษเริ่ม

ดำเนินการแพร่ภาพโทรทัศน์ออกสู่ประชาชนเป็นสถานีแรกของโลก พิธีเปิดการแพร่ภาพเริ่มขึ้น

ที่พระราชวังอเล็กซานดร้า ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 ขณะที่ทั่ว

ประเทศอังกฤษมีเครื่องรับโทรทัศน์ประมาณ 100 เครื่อง

โทรทัศน์ ปัญหา นั้น ทํา ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี อย่างไร

ต่อมาก็มีการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ที่สหรัฐอเมริกา คือ สถานีเอ็นบีซี (NBC : National Broadcasting Company) เพื่อถ่ายทอดคำปราศรัยของประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ เนื่องในโอกาสงานมหกรรมแสดงสินค้า นานาชาติที่นิวยอร์ค คณะบริหารสถานีโทรทัศน์ NBC พยายามผูกขาดกิจการโทรทัศน์ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้เกิดการก่อตั้งสถานี CBS : Columbia Broadcasting Companyและสถานี ABC (American Broadcasting Company) ความนิยมโทรทัศน์ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว 

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเซียอาคเนย์ที่ดำเนินกิจการโทรทัศน์พัฒนาการด้านโทรทัศน์ในประเทศไทย

โทรทัศน์ ปัญหา นั้น ทํา ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี อย่างไร

         

เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2495 กรมโฆษณาการ หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันได้ออกคำชี้แจงเรื่องการใช้ศัพท์ Television ในภาษาไทย คำว่า Tele แปลว่า “ไกล” หรือ “โทร” Vision แปลว่า “ภาพ” ดังนั้นจึงควรแปล Television ว่า
     “โทรภาพ” ดังที่มีผู้ใช้คำว่า “โทรทรรศ์” นั้นไม่ถูกต้อง เพราะน่าจะตรงกับคำว่า Telescopeหรือกล้องส่องทางไกลมากกว่าแต่ประชาชนไทยทั่วไปก็ยังนิยมที่จะเรียกว่า “โทรทัศน์” เปลี่ยนการสะกดจาก “ทรรศ์” เป็น “ทัศน์” เสียใหม่ และคำว่าโทรทัศน์นี้ก็ใช้กันมาจนปัจจุบัน เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่เรียกว่าโทรทัศน์ เพราะได้มีวิวัฒนาการของการส่งภาพทางระบบโทรคมนาคมเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Telepicture ซึ่งตรงกับคำว่า โทรภาพพอดี โทรภาพนี้เป็นการส่งภาพนิ่งจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง และต่อมาได้มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษกันต่าง ๆ ตามที่บริษัทเจ้าของระบบอุปกรณ์จะเรียก เช่น Radiophoto หรือ Telephoto และแม้แต่ Telex ก็สามารถส่งภาพได้ ดังนั้นคำว่าโทรทัศน์ ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของทางราชการในสมัยแรกเริ่มจึงกลายเป็นคำถูกไปโดยปริยายในระยะต่อมา แต่โทรทัศน์ในระบบกระจายเสียง (Broadcasting) ควรจะเรียกให้เต็มตามศัพท์ทางราชการว่า “วิทยุโทรทัศน์” เหมือนกับที่เราเรียก “วิทยุ” ในคำเต็มคือ “วิทยุกระจายเสียง” คำว่า “วิทยุโทรภาพ” เป็นอีกคำหนึ่งที่มีใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 โดยพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงบัญญัติขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ประชาชนยังนิยมเรียกว่า “โทรทัศน์”

     ประวัติของวิทยุโทรภาพในประเทศไทย มีระบุไว้ในหนังสือที่ระลึกงานพิธีเปิดอาคารที่ทำการใหม่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข (ที่ทำการ ปณ.กลาง ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2483 คำว่า วิทยุโทรภาพหรือวิทยุจำลองภาพ ได้ติดต่อกับเยอรมันนี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ใช้เครื่องของบริษัท Telefunken สามารถรับ – ส่งภาพขนาด 10  22 ซ.ม. ได้ 1 ภาพ ในเวลา 15 นาที ภาพนี้จะเป็นเอกสาร ภาพเขียน หรือภาพถ่ายก็ได้ ภาพวิทยุโทรภาพครั้งแรก คือ พระรูปกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน การใช้วิทยุโทรภาพตามลักษณะดังกล่าวไม่ได้เปิดให้บริการแก่สาธารณะ เข้าใจกันว่าค่าใช้จ่ายในการส่งภาพคงสูงมาก และไม่มีความจำเป็นในการใช้บริการดังกล่าว สำหรับวิทยุโทรภาพ หรือที่เรียกว่า วิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน มีความเป็นมาเท่าที่ควรทราบดังต่อไปนี้

โทรทัศน์ ปัญหา นั้น ทํา ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี อย่างไร

       รัฐบาลในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ลงมติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 เห็นสมควรให้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นด้วยเล็งเห็นคุณประโยชน์ และเพื่อให้เยาวชนได้มีความรู้กว้างไกล จึงได้มอบเรื่องให้กรมประชาสัมพันธ์พิจารณาดำเนินการ ขอตั้งงบประมาณในการตั้งสถานีส่งและจำหน่ายเครื่องรับด้วย กรมประชาสัมพันธ์เสนอยอดเงินไป 12 ล้านบาทเศษ รัฐบาลจึงนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรปรากฏว่าถูกยับยั้งมิให้ดำเนินการอ้างว่าเปลืองเงินงบประมาณโดยใช่เหตุ เมื่อทางฝ่ายรัฐบาลต้องระงับความดำริไป ประชาชนบางกลุ่มเห็นคุณค่าของโทรทัศน์ และก็มีข่าวว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่เริ่มดำเนินการติดตั้งสถานี และออกอากาศ ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2494 จึงได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นบริษัทขึ้นเพื่อดำเนินการโดยไม่ต้องใช้เงิน งบประมาณแผ่นดิน คือ “บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด” มี พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็นประธานกรรมการ มีพลโท ม.ล.ขาบ กุญชร อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นรองประธานกรรมการ และนายประสงค์ หงสนันท์ เป็นกรรมการผู้จัดการ ดำเนินการตั้งบริษัท ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2495 ผู้มีบทบาทสำคัญในการนำโทรทัศน์เข้ามาเป็นครั้งแรก คือ นายประสิทธิ์ ทวีสิน ประธานกรรมการบริษัทวิเชียรวิทยุและโทรภาพ โดยนำเครื่องส่ง 1 เครื่อง เครื่องรับ 4 เครื่อง หนักกว่า 2 ตัน ทำการทดลองให้คณะรัฐมนตรีชมเป็นครั้งแรกที่ทำเนียบรัฐบาล และต่อมาเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เปิดให้ประชาชนชมที่ศาลาเฉลิมกรุง ได้มีผู้ชมอย่างล้นหลามด้วยเป็นของแปลกใหม่

     การก่อสร้างสถานีโทรทัศน์ที่บางขุนพรหมสำเร็จเรียบร้อย บริษัทไทยโทรทัศน์ จึงส่งออกอากาศทางช่อง 4 เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นวันชาติไทย จึงนับเป็นชาติแรกในเอเชียอาคเนย์ที่มีโทรทัศน์ออกอากาศให้ประชาชนได้ชม ความนิยมของประชาชนที่มีต่อรายการโทรทัศน์ แพร่ขยายอย่างรวดเร็ว ดังนั้นทางราชการทหารได้ตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นที่สนามเป้า ถนนพหลโยธิน เปิดทำการเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ซึ่งตรงกับวันกองทัพบก

โทรทัศน์ ปัญหา นั้น ทํา ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี อย่างไร

     

ในปี พ.ศ. 2503 กรมประชาสัมพันธ์ได้สร้างสถานีโทรทัศน์ และจัดออกอากาศขึ้นในภูมิภาค 3 สถานี คือ สถานีโทรทัศน์จังหวัดขอนแก่น สถานีโทรทัศน์จังหวัดลำปาง และสถานีโทรทัศน์จังหวัดสงขลา

     ในปี พ.ศ. 2510 บริษัทกรุงเทพวิทยุโทรทัศน์ ขอจัดตั้งสถานีในเครือของกองทัพบก ช่อง 7 ระบบ 625  เส้น เปิดออกอากาศวันที่ 25 พฤศจิกายน อันเป็นวันวชิราวุธ ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 กรมประชาสัมพันธ์อนุญาตให้บริษัทบางกอกเอนเตอร์เทนเมนท์ จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง อยู่ในเครือของช่อง 4 เดิม ออกอากาศทางช่อง 3 ระบบ 625 เส้นและในปีเดียวกันสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ก็เปลี่ยนเป็นระบบ 625 เส้น ออกอากาศทาง ช่อง 9 และต่อมาช่อง 7 เดิมของกองทัพบกก็เปลี่ยนเป็น 625 เส้น ออกอากาศทางช่อง 5

โทรทัศน์ ปัญหา นั้น ทํา ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี อย่างไร

     นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์ในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย  ช่อง 3, 5, 7, 9 และ 11 พยายามขยายเครือข่ายการส่งออกอากาศโดยใช้ระบบดาวเทียม และระบบไมโครเวฟภาคพื้นดิน เพื่อถ่ายทอดการออกอากาศไปยังสถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคของประเทศไทย สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ทั่วถึงกันหมด นับเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านโทรทัศน์ที่สำคัญยิ่ง

ปัญหานั้นทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีสาเหตุหรือปัจจัยมาจากหลายด้าน เช่น ปัญหา ความต้องการ ความก้าวหน้าของศาสตร์ ต่าง ๆ เศรษฐกิจ สังคม โดยอาจเป็นการปรับปรุงกระบวนการผลิต ลักษณะทางกายภาพ วัสดุ หน้าที่ใช้สอย ระบบกลไก การทำางาน การใช้งาน รวมถึงประสิทธิภาพของวิธีการ สิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์

โทรทัศน์สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาอะไร

โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี ...

โทรทัศน์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ในช่วงเวลากว่า 80 ปีที่ได้มีการคิดค้นเครื่องรับโทรทัศน์และมีการพัฒนาเทคโนโลยีมาเป็นลำดับนั้น สามารถแบ่งช่วงการพัฒนาที่ได้เป็น 5 ยุคคือ ยุคแรกเป็นยุคของโทรทัศน์ขาวดำ ต่อมาได้พัฒนาเป็น โทรทัศน์สีจอโค้ง หลังจากนั้นได้พัฒนาเป็นโทรทัศน์สีจอแบน (Flat TV) และโทรทัศน์จอแบนแบบสลิม ( Slim TV ) โดยทั้ง 4 ยุคนี้ ยังคงใช้เทคโนโลยี ...

เทคโนโลยีโทรทัศน์มีการพัฒนามาได้อย่างไร

ยุคเริ่มต้น ในการเสพสิ่งบันเทิงเริ่มต้นจากการรับฟังเสียง ผ่านเครื่องรับวิทยุ หรือ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เท่านั้น ทำให้สมัยก่อนการเสพสิ่งบันเทิงต้องใช้จินตนาการค่อนข้างสูง ยุคต่อมา เป็นยุคที่ความบันเทิงมีทั้งภาพ และเสียง เราสามารถรับชมภาพ และรับฟังเสียงผ่าน เครื่องรับโทรทัศน์ได้ในยุคนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของยุคโทรทัศน์ ...