ฎีกา พรบ ห้างหุ้นส่วน มาตรา 42

จำนวนฎีกา

981 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2517 7 982 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2499 26 983 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2511 32 984 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 111 985 พระราชบัญญัติการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 1 986 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 3 987 พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 13 988 พระราชบัญญัติการสมาคม พ.ศ.2457 2 989 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 8 990 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 57 991 พระราชบัญญัติกำกับการตรวจตรา เข้า 2462 อาญา 1 992 พระราชบัญญัติกำหนดเกษียณอายุผู้ทำงานในองค์การของรัฐ พ.ศ.2508 3 993 พระราชบัญญัติกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลบางภาษี...พ.ศ.2533 1 994 พระราชบัญญัติกำหนดเขตหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินเพื่อจัดสร้างการชลประทานจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2476 3 995 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 40 996 พระราชบัญญัติกำหนดป่าเลนปากพนังฝั่งตะวันตกในท้องที่ตำบลคลองกระบือ และตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2492 1 997 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 19 998 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2534 1 999 พระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ.2522 23 1000 พระราชบัญญัติกำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในกรณีที่ต้องหาว่าปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พ.ศ.2491 2

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙
เป็นปีที่ ๑๑ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยเป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิเสียใหม่
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นไป

*หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด

---------------------------------------

มาตรา ๓ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดใดในกรณีใช้ชื่อในดวงตรา ป้ายชื่อ หนังสือบอกกล่าวป่าวร้อง จดหมาย ใบแจ้งความ หรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจของห้างหุ้นส่วน
(๑) ถ้าเป็นอักษรไทย ไม่ใช้คำว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประกอบชื่อ แล้วแต่กรณี
(๒) ถ้าเป็นอักษรต่างประเทศ ไม่ใช้คำซึ่งมีความหมายว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ตามประกาศของกระทรวงเศรษฐการประกอบชื่อ แล้วแต่กรณี

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๑)

มาตรา ๔* ผู้ใดใช้ชื่อหรือยี่ห้อซึ่งมีอักษรไทยประกอบว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรืออักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมายดั่งกล่าวประกอบ ในดวงตรา ป้ายชื่อ หนังสือบอกกล่าวป่าวร้อง จดหมาย ใบแจ้งความ หรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจ โดยมิได้เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เว้นแต่เป็นการใช้ในการขอจดทะเบียนเกี่ยวกับการตั้งห้างหุ้นส่วน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาท จนกว่าจะได้เลิกใช้หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วแต่กรณี

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๒)

มาตรา ๔/๑* ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดใดไม่จดทะเบียนตามมาตรา ๑๐๖๔/๒ หรือมาตรา ๑๐๗๘/๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ มาตรา ๓

มาตรา ๕ บริษัทจำกัดใด นอกจากธนาคาร ในกรณีใช้ชื่อในดวงตรา ป้ายชื่อ หนังสือบอกกล่าวป่าวร้อง จดหมาย ใบแจ้งความ หรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท
(๑) ถ้าเป็นอักษรไทย ไม่ใช้คำว่า บริษัท ไว้หน้าชื่อ และ จำกัด ไว้ท้ายชื่อ
(๒) ถ้าเป็นอักษรต่างประเทศ ไม่ใช้คำซึ่งมีความหมายว่า บริษัทจำกัด ตามประกาศของกระทรวงเศรษฐการประกอบชื่อ
[ประกาศ เรื่อง อักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมายว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัด]

*ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วแต่กรณี

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๒)

มาตรา ๖* ผู้ใดใช้ชื่อหรือยี่ห้อซึ่งมีอักษรไทยประกอบว่า บริษัทจำกัด บริษัท หรือ จำกัด หรืออักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมายดังกล่าวประกอบในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจโดยมิได้เป็นบริษัทจำกัด เว้นแต่เป็นการใช้ในการขอจดทะเบียนเกี่ยวกับการตั้งบริษัท หนังสือชี้ชวนให้เข้าชื่อซื้อหุ้นหรือหนังสือบอกกล่าวป่าวร้อง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาท จนกว่าจะได้เลิกใช้หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วแต่กรณี

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๒)

มาตรา ๗* บริษัทจำกัดใดไม่เอาหุ้นซึ่งริบแล้วออกขายทอดตลาด ไม่หักใช้ค่าหุ้นที่เรียกกับดอกเบี้ยค้างชำระ หรือไม่ส่งคืนเงินเหลือให้แก่ผู้ถือหุ้นตามมาตรา ๑๑๒๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๘* บริษัทจำกัดใดไม่ทำใบหุ้นมอบให้เป็นคู่มือแก่ผู้ถือหุ้น หรือเรียกค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๑๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือไม่ทำใบหุ้นตามมาตรา ๑๑๒๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๔)

มาตรา ๙* บริษัทจำกัดใดออกใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๑๓๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือออกใบหุ้นกู้ ออกให้แก่ผู้ถือโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๓๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔

มาตรา ๑๐* บริษัทจำกัดใดไม่มีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามมาตรา ๑๑๓๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๑๑ บริษัทจำกัดใดไม่รักษาสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น หรือเมื่อผู้ถือหุ้นร้องขอไม่เปิดสมุดทะเบียนให้ผู้ถือหุ้นดูตามมาตรา ๑๑๓๙ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๑๒* บริษัทจำกัดใดเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเอง หรือรับจำนำหุ้นของตนเอง โดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๑๔๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๕)

มาตรา ๑๓* บริษัทจำกัดใดไม่จดทะเบียนตามมาตรา ๑๑๔๖ มาตรา ๑๑๕๗ มาตรา ๑๒๒๘ มาตรา ๑๒๓๙ หรือมาตรา ๑๒๔๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๑๔* บริษัทจำกัดใดไม่มีสำนักงานบอกทะเบียน หรือไม่ส่งคำบอกกล่าวตามมาตรา ๑๑๔๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๑๕* บริษัทจำกัดใด ลงพิมพ์ หรือ แสดงจำนวนต้นทุนของบริษัทโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๑๔๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๑๖* บริษัทจำกัดใด ไม่เรียกประชุมตามมาตรา ๑๑๗๑ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๑๗* บริษัทจำกัดใด ไม่ลงพิมพ์โฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ไม่ส่งคำบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้น หรือไม่ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันในคำบอกกล่าวตามมาตรา ๑๑๗๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๑๘ บริษัทจำกัดใด
(๑) ไม่ทำบัญชีงบดุลตามมาตรา ๑๑๙๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(๒) ไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบดุล ไม่นำบัญชีงบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ ไม่ส่งสำเนางบดุล หรือไม่มีสำเนางบดุล ตามมาตรา ๑๑๙๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ
(๓) ไม่จำหน่ายสำเนางบดุลแก่ผู้ปรารถนาจะซื้อตามมาตรา ๑๑๙๙ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
*ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๑๙* บริษัทจำกัดใดจ่ายเงินปันผลโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๐๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือแจกเงินปันผลโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๐๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
เงินใดๆ ที่จ่าย หรือแจก ให้แก่ผู้ถือหุ้นในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นนอกจากเงินค่าหุ้นให้ถือว่า เป็นเงินปันผลตามมาตรานี้

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๒๐* บริษัทจำกัดใดไม่บอกกล่าวว่าจะปันผลอย่างใด ๆ อันได้อนุญาตให้จ่ายตามมาตรา ๑๒๐๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)


มาตรา ๒๑* บริษัทจำกัดใด ไม่เสนอบรรดาหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นตามมาตรา ๑๒๒๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๒๒* บริษัทจำกัดใดไม่โฆษณา หรือไม่มีหนังสือบอกกล่าวความประสงค์จะลดทุนตามมาตรา ๑๒๒๖ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือจัดการลดทุนโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๒๖ วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๖)

มาตรา ๒๓* บริษัทจำกัดใด ออกหุ้นกู้โดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๒๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๕

มาตรา ๒๔* บริษัทจำกัดใดไม่โฆษณาหรือไม่ส่งคำบอกกล่าวให้ทราบรายการที่ประสงค์จะควบบริษัทเข้ากันตามมาตรา ๑๒๔๐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือจัดการควบบริษัทเข้าด้วยกันโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๔๐ วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๖)

มาตรา ๒๕* ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗ ถึงมาตรา ๒๔ กรรมการของบริษัทนั้น หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๖)

มาตรา ๒๖* กรรมการใดของบริษัทจำกัดไม่ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นและผู้ที่ขาดจากเป็นผู้ถือหุ้นตามมาตรา ๑๑๓๙ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๔)

มาตรา ๒๗* กรรมการใดของบริษัทจำกัดไม่เรียกประชุมวิสามัญตามมาตรา ๑๑๗๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๑๗๔ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๒๘ กรรมการใดของบริษัทจำกัด
(๑) ไม่ส่งสำเนางบดุลตามมาตรา ๑๑๙๙ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(๒) ไม่จัดให้ถือบัญชีตามมาตรา ๑๒๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ
(๓) ไม่จัดให้จดบันทึก หรือไม่เก็บรักษาสมุดตามมาตรา ๑๒๐๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

*ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๖)

มาตรา ๒๙* กรรมการใดของบริษัทจำกัดโฆษณาหนังสือชี้ชวน หนังสือบอกกล่าวป่าวร้อง หรือหนังสืออย่างอื่นโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๒๓ หรือมาตรา ๑๒๓๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๖

มาตรา ๓๐* ผู้ถือหุ้นใด รับหรือยอมจะรับประโยชน์เป็นพิเศษสำหรับตนหรือผู้อื่นเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะลงคะแนนเสียง หรืองดการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ผู้ใดให้ หรือสัญญาว่าจะให้ประโยชน์เป็นพิเศษแก่ผู้ถือหุ้นเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ผู้ถือหุ้นนั้นจะลงคะแนนเสียงหรืองดการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๔)

มาตรา ๓๑* ผู้สอบบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด รับรองงบดุลหรือบัญชีอื่นใดอันไม่ถูกต้อง หรือทำรายงานเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๗)

มาตรา ๓๑/๑* ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดใด ไม่โฆษณาหรือไม่มีหนังสือบอกกล่าวความประสงค์จะแปรสภาพตามมาตรา ๑๒๔๖/๑ (๒) หรือจัดการแปรสภาพโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๔๖/๑ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓

มาตรา ๓๑/๒* หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๔๖/๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓

มาตรา ๓๑/๓* คณะกรรมการของบริษัทจำกัดใด ไม่จดทะเบียนแปรสภาพภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๑๒๔๖/๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓

มาตรา ๓๒* ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ไม่กระทำตามมาตรา ๑๒๕๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๘)

มาตรา ๓๓* ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ไม่จดทะเบียนตามมาตรา ๑๒๕๔ มาตรา ๑๒๕๘ มาตรา ๑๒๖๒ หรือมาตรา ๑๒๗๐ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๖)

มาตรา ๓๔* ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด ไม่ร้องขอต่อศาลตามมาตรา ๑๒๖๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๖)

มาตรา ๓๕ ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด
(๑) ไม่ทำงบดุล หรือไม่เรียกประชุมใหญ่ตามมาตรา ๑๒๕๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(๒) ไม่ทำรายงาน หรือไม่เปิดเผยรายงานตามมาตรา ๑๒๖๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(๓) ไม่ทำรายงาน ไม่เรียกประชุมใหญ่ หรือไม่ชี้แจงกิจการตามมาตรา ๑๒๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ
(๔) ไม่มอบบัญชีและเอกสารตามมาตรา ๑๒๗๑ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
*ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๖)

มาตรา ๓๖* ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด ไม่เรียกประชุมใหญ่ ไม่ทำรายงาน หรือไม่แถลงตามมาตรา ๑๒๖๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๔)

มาตรา ๓๗* ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด แบ่งคืนทรัพย์สินโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๖๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๓)

มาตรา ๓๘* กรรมการ หรือผู้ชำระบัญชีใดของบริษัทจำกัดโดยทุจริต แสดงออกซึ่งความเท็จ หรือปกปิดความจริงต่อที่ประชุมใหญ่ในเรื่องฐานะการเงินของบริษัทนั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๖)

มาตรา ๓๘/๑* ผู้ใดใช้ชื่อของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัดใดที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนแล้วในการประกอบกิจการค้า เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดนั้นยังมิได้ถูกขีดชื่อต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทและปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาทจนกว่าจะได้เลิกใช้

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔

มาตรา ๓๙* บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบ ในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด เอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินอันนิติบุคคลดังกล่าวจำนำไว้ ถ้าได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนำ ต้องระวางจำคุกไม่เกินสามปี หรือโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๙)

มาตรา ๔๐ บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด รู้ว่าเจ้าหนี้ของนิติบุคคลดั่งกล่าว หรือเจ้าหนี้ของบุคคลอื่นซึ่งจะใช้สิทธิของเจ้าหนี้ของนิติบุคคลดังกล่าว บังคับการชำระหนี้จากนิติบุคคลดั่งกล่าว ใช้หรือน่าจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้
(๑) ย้าย ซ่อน หรือโอนให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินของนิติบุคคลดังกล่าว หรือ
(๒) แกล้งให้นิติบุคคลดังกล่าวเป็นหนี้ซึ่งไม่เป็นความจริง
*ถ้าได้กระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๙)

มาตรา ๔๑* บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด กระทำการหรือไม่กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๖)

มาตรา ๔๒ บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด กระทำ หรือยินยอมให้กระทำการดั่งต่อไปนี้
(๑) ทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอม บัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือ
(๒) ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชี หรือเอกสารของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
*ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำการเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๑๐)

มาตรา ๔๓* ผู้ใดโฆษณาชวนให้เข้าชื่อซื้อหุ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๑๐๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๖)

มาตรา ๔๔ (ยกเลิก)

*ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๗

มาตรา ๔๕ (ยกเลิก)

*ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๗

มาตรา ๔๖ ผู้ใดโฆษณาโดยอ้างถึงบุคคล ตำแหน่งหน้าที่ บัญชี รายงาน หรือกิจการอันเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด อันเป็นเท็จในสาระสำคัญ หรือปกปิดข้อความอันเป็นสาระสำคัญ เพื่อ
(๑) ลวงผู้มีส่วนได้เสียในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้ขาดประโยชน์อันควรได้จากห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทนั้น หรือ
(๒) จูงใจบุคคลให้เข้าเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ให้มอบหมายหรือให้ส่งทรัพย์สินให้แก่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น หรือให้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันหรือให้ทรัพย์สินเป็นประกันห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น
*ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๙)

มาตรา ๔๗* ผู้ใด เข้าร่วมในที่ประชุมตั้งบริษัทจำกัดหรือในที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัด และลงคะแนนออกเสียงหรืองดลงคะแนนออกเสียง โดยลวงว่าตนเป็นผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ผู้ถือหุ้น หรือ
ผู้มีสิทธิออกเสียงแทนผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น หรือผู้ถือหุ้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ผู้ใดให้อุปการะแก่การกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง โดยส่งมอบเอกสารแสดงการเข้าชื่อซื้อหุ้น หรือใบหุ้นซึ่งได้ใช้เพื่อการดังกล่าวแล้ว ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๔)

มาตรา ๔๘* ผู้ใดโดยทุจริต กำหนดค่าแรงงาน หรือทรัพย์สินที่นำมาลงในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด แทนเงินค่าหุ้นให้สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ (๖)

มาตรา ๔๘/๑* บรรดาความผิดในหมวด ๑ ตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวให้อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และเมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามที่ได้เปรียบเทียบแล้วให้คดีเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้กระทำความผิดไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในเวลาที่กำหนดให้ดำเนินคดีต่อไป

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕

มาตรา ๔๘/๒* ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามบทบัญญัติในหมวดนี้

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕