เศรษฐกิจ พอ เพียง ผู้บริหาร

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
The School Administrators’ Roles in Promoting The Sufficiency Economy Philosophy in Schools under the Secondary Educational Service Area Office 32

ผู้แต่ง
กีรติกร หนูตอ, สุรินทร์ ภูสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของครู 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์การทำงานและ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 331 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Mogan แล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .313-.898 และค่าความเชื่อมั่น .987 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุตติฐาน ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้สถิติ F-test แบบ One Way ANOVA

ผลการวิจัย พบว่า

1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันและมีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน

3. ข้อเสนอแนะต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษา ที่สำคัญคือ ควรน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในทุกๆ ด้าน จัดสรรงบประมานอย่างคุ้มค่า พอประมาน พอเพียง ควรมีการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะและผูกจิตสำนึกให้คนรักองค์กร เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผน ร่วมแสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและร่วมตัดสินใจ ควรตัดสินใจภายใต้เหตุผลอย่างรอบคอบยึดหลักประหยัด สุจริตและลดอบายมุข ควรมีความโปร่งใส ส่งเสริมให้บุคลากรสร้างความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาตนเองให้เป็นคนมีความรู้ทันต่อเหตุการณ์ และยึดหลักธรรมในการบริหาร

Abstract

This research aimed: 1) to study the administrators’ roles in promoting the Sufficiency Economy Philosophy (PSE) in schools under the Secondary Educational Service Area Office 32 (SESAO 32) based on teachers’ opinion, 2) to compare the teachers’ opinion on the administrators’ roles in promoting the PSE in schools under SESAO 32 classify by school sizes and work experiences, and 3) to study the suggestions in promoting the PSE in the schools under SESAO 32. The samples were 331 teachers under SESAO 32 in the academic year of 2017. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan’s Sample Size Table and then employed stratified random sampling. The research instruments were a set of 5-rating scale questionnaire with the discrimination between .313-.898 and the reliability of .987 and structure interview. The statistics used for analyzing the data were percentage, mean, and standard deviation and the hypothesis was tested by F-test (One Way ANOVA)

The research results indicated as follows:

1. The school administrators’ roles toward the teachers’ opinion in overall was at a high level. When considering each aspect, it was found that the highest mean score was the management on morality and ethics. It was followed by the management on knowledge, reason, moderation, and self-immunity, respectively.

2. The teachers in different school sizes had the opinions on the school’s administrators’ roles in promoting the PSE in schools under SESAO 32 not different.

3. The main suggestions for the school administrators’ roles in promoting PSE in schools under SEAO 32. The school administrators should prevent the advanced debt over the allocated budget. They should accept the opinion of the majority and should always have a meeting before working. They should study the data clearly on school management and thoroughly and judge the problems from the information technology. The school administrators should manage the organization based on the Four Sublime States of Mind.

คำสำคัญ

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา/หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Keyword

The School Administrators’ Roles / The Sufficiency Economy Philosophy: Educational Service Area Office 32


"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชายไทยมาโดยตลอด นานกว่า 25 ปี โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา (ที่มา http://goo.gl/4SbjOh)

เศรษฐกิจ พอ เพียง ผู้บริหาร

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา(ห้องประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพ )มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ได้จัดเสวนาเรื่อง“บนเส้นทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ” ภายใต้งาน “รวมพลังเรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง” จัดโดยมูลนิธิยุวสถิรคุณโดยมี ผู้บริหาร ครู นักเรียน จากศูนย์การเรียนรู้ภายใต้การหนุนเสริมของมูลนิธิสยามกัมมาจล เข้าร่วมสะท้อนประสบการณ์ที่ได้นำหลักปรัชญาฯ ไปใช้จนเกิดผลกับงานและชีวิตส่วนตัวอย่างไร โดยมี ผศ.ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ ผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการศึกษา ให้เกียรติทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการในวันเดียวกันนี้ มูลนิธิสยามกัมมาจลได้ส่งมอบศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 43 แห่งให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ และมูลนิธิยุวสถิรคุณอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้บริหาร ครู นักเรียน ที่ผ่านการเป็นศูนย์การเรียนรู้และสถานศึกษาพอเพียง จากทั่วประเทศเข้าร่วมงานนี้อย่างพร้อมเพรียง

เศรษฐกิจ พอ เพียง ผู้บริหาร

คุณศศินี ลิ้มพงษ์

คุณศศินี ลิ้มพงษ์ ผู้จัดการโครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ได้กล่าวถึงการมีส่วนในการร่วมขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “มูลนิธิสยามกัมมาจลร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ และโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งปัจจุบันคือมูลนิธิยุวสถิรคุณ ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมานับตั้งแต่ปี 2548โดยมูลนิธิสยามกัมมาจลมีบทบาทในการต่อยอด จุดประกาย และสร้างความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงให้กับสถานศึกษาพอเพียงปี 2551 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีเป้าหมายจะขยายผลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา 40,000 แห่งทั่วประเทศ มูลนิธิสยามกัมมาจลจึงได้จัดทำโครงการ “เสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา” ขึ้น โดยมีเป้าหมาย สนับสนุนให้สถานศึกษาพอเพียงที่มีความพร้อมได้พัฒนาตนเองเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา” โดยศูนย์การเรียนรู้มีเป้าหมายให้ผู้บริหาร และครูมีความรู้ เข้าใจหลักปรัชญาฯ อย่างถูกต้องว่า เป็น “หลักคิด หลักปฏิบัติเพื่อสร้างความสำเร็จในการดำเนินชีวิต” เมื่อเข้าใจแล้วก็นำไปใช้ตามบริบทของแต่ละคน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเห็นคุณค่า และได้รับการฝึกฝนให้นำมาใช้บ่อยๆ จนเกิดเป็นอุปนิสัย “พอเพียง”

“...สำหรับสถานศึกษาพอเพียงที่ทางมูลนิธิสยามกัมมาจลได้สนับสนุนให้พัฒนาตนเป็นศูนย์การเรียนรู้ มีทั้งสิ้นจำนวน43 แห่ง หลากหลายบริบท กระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โรงเรียนในเมือง ชายขอบห่างไกล สอนระดับประถม มัธยมและขยายโอกาส มีการนำหลักปรัชญาฯ มาปรับใช้แตกต่างกัน แต่ผลลัทธ์ได้ผู้เรียนเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่คิดเป็น ทำงานเป็น เป็นคนดี มีคุณภาพ และเห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจลหวังว่าศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 43 แห่งนี้ จะเป็นกำลังสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป”

เศรษฐกิจ พอ เพียง ผู้บริหาร

เสวนา ผุ้บริหาร ครู พี่เลี้ยง

การทำงานของมูลนิธิฯ สนับสนุนให้โรงเรียนนำเรื่องการจัดการความรู้ (KM)มาใช้ในการทำงานตั้งแต่การถอดบทเรียนการทำงานเพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น มีการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดตลาดนัดความรู้ ให้แก่ผู้บริหาร ครูเพื่อที่จะชวนคิดและกระตุ้นให้ผู้มาเรียนรู้ได้นำเสิ่งที่ได้เรียนรู้กลับไปพัฒนาตนต่อไป การจัดเวทีดังกล่าวเป็นการเสริมพลังให้คนทำงานแล้วยังเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อีก้ดวย นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ให้มาทำหน้าที่ “พี่เลี้ยง” ให้กับสถานศึกษาพอเพียงได้แก่ คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) และมหาวิทยาลัยในพื้นที่แต่ละภูมิภาค ได้แก่ ม.เชียงใหม่ ม.สงขลานครินทร์วิโรฒ ม.มหาสารคาม เป็นต้น เพื่อช่วยเติมเต็มด้านวิชาการและคาดหวังว่ามหาวิทยาลัยและโรงเรียนจะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายต่อไป จากการทำงาน 9 ปี ทำให้ค้นพบว่าปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหัวใจสำคัญคือ โรงเรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร”และเข้าใจอีกว่าเป็น “เครื่องมือ”หลักที่โรงเรียนจะใช้ในการเพาะบ่มคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่างๆ และมีครูกับผู้บริหารก็มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้นักเรียนเข้าใจหลักปรัชญาฯ ผ่านกระบวนการเรียนการสอน

สำหรับเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน และพี่เลี้ยงในเครือข่ายมูลนิธิสยามกัมมาจลได้มาร่วมสะท้อนการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษาแต่ละท่านได้สะท้อนในประเด็นต่างๆ ดังนี้...


ประเด็นผู้บริหารสถานศึกษาที่ร่วมสะท้อนการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษาได้แก่

เศรษฐกิจ พอ เพียง ผู้บริหาร

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไสในฐานะผู้บริหารได้กล่าวแนะนำบทบาทของครูที่ควรจะต้องนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เพื่อประโยชน์แก่นักเรียนอย่างไร “ครูไม่ใช่เอาแต่สอน แบบนั้นเราใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ ใช้เทปก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ครู แต่ครูคือผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์ หาคำตอบด้วยตัวเองให้มากที่สุด ครูเกือบจะต้องไม่สอนเลย แต่สามารถแนะนำให้เด็กค้นหาข้อมูล รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง แล้วเด็กจะเก่งมากเลย และดีด้วย ไม่ใช่แข่งขันกัน เอาชนะกัน เด็กจะช่วยกันทดลอง หาคำตอบด้วยกัน รู้จักการทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราต้องการให้เด็กอยู่อย่างใช้เศรษฐกิจพอเพียง ตัวครูเองก็ต้องใช้เศรษฐกิจพอเพียง เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องเข้าใจ ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตของเราและครูคือต้นแบบจริงๆ”

ผอ.อวยพร หว่างตระกูล ผู้อำนวยการโรงเรียนดาราวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ “เศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ แล้วคือหลักคิดในการตัดสินใจและ ทำอย่างไรจะลงสู่นักเรียนได้ ครูเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ทำอย่างไรให้ครูเข้าถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูต้องเข้าใจ ที่โรงเรียนได้นำมาใช้คือเมื่อดิฉันได้เข้าการอบรมจากมูลนิธิสยามกัมมาจลก็จะนำสถานการณ์จากการอบรมนั้นๆ มาขยายต่อที่โรงเรียน โดยให้ครูนำแผนการสอนมาดูว่ามีจุดปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง บอกครูล่วงหน้าว่าเราจะมีการวิพากษ์กันไม่โกรธกันนะ เพราะจะได้รู้ว่าจุดไหนคือจุดบกพร่อง ตรงไหนคือจุดอ่อนของเรา ผอ.เองก็ทำให้เป็นตัวอย่าง คุณครูจะได้เข้าใจ หลังนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บูรณาการกับหลักปรัชญาของโรงเรียน รู้สึกว่าตนเองมีความสุขมากว่า โรงเรียน ครู นักเรียนความพอเพียงและนำหลักพอเพียงเข้าสู่ตัวนักเรียนได้จริง”

เศรษฐกิจ พอ เพียง ผู้บริหาร

ผอ.แสน แหวนวงศ์

ผอ.แสน แหวนวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จ.สุรินทร์ “หลักปรัชญาฯ เป็นหลักคิด คิดได้ คิดเป็น เข้ามาสู่หลักปฏิบัติฝึกฝนและทำความรู้อย่างต่อเนื่องอย่างเข้าใจ นักเรียนจะมีความสุขมากเพราะเขาพึ่งตนเองได้จากการเรียนรู้ ผู้บริหารต้องเป็นนักวิเคราะห์เชิงระบบในหลักปรัชญาฯ ให้ได้ เมื่อวิเคราะห์ต้องทำความเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา หลักปรัชญาฯ โดยลักษณะมีส่วนร่วมทุกคน บูรณาการ ทุกคนในโรงเรียน ครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา ทำทุกคนถึงจะสำเร็จและประโยชน์จะเกิดได้กับทุกคน และโรงเรียนคือแหล่งสร้างคนดีคืนสู่สังคมนั่นเอง”

ประเด็นเส้นทางการใช้เศรษฐกิจพอเพียงสร้างนักเรียน “พอเพียง” ของครู และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่

เศรษฐกิจ พอ เพียง ผู้บริหาร

ครูปริศนา ตันติเจริญ

ครูปริศนา ตันติเจริญ โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพ ได้กล่าวถึงวิธีการนำหลักฯ ไปใช้กับนักเรียนอย่างได้ผล“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เนื้อหา (Content) แต่เป็นกระบวนการ ดิฉันจึงออกแบบการสอนที่เลือกให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง และได้ทดลองมาเป็นเวลาเกือบ10 ปี ให้เด็กทำโครงการ/โครงงาน (Project Based Learning) ซึ่งได้ผลดีจริงๆ เพราะเด็กได้คิด ได้ทำ และสุดท้ายต้องถอดบทเรียน เพราะถ้าเพียงแค่ให้เด็ก check list ครูจะไม่รู้ว่าเด็กรู้จริงมากน้อยแค่ไหน และพฤติกรรมเขาเปลี่ยนไปหรือเปล่า วิธีการถอดบทเรียนจะใช้ทั้งให้เด็กเขียนและครูชวนคุย ซึ่งเด็กสะท้อนว่าวิธีคิดของเขาเปลี่ยนไป จากเดิมใช้เวลาว่างตามใจ เล่นเกม ดูหนังฟังเพลง แต่เดี๋ยวนี้เขาปรับใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากขึ้น”

ครูรชฎ จันพุ่ม โรงเรียนห้วยยอด จ.ตรัง “ก่อนมารู้จักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนมั่นใจตัวเองสูงมาก มั่นใจว่าตัวเองเก่ง พอมารู้ตัวอีกทีก็คิดว่าตัวเองโง่มากที่เชื่ออย่างนั้น มารู้จักเศรษฐกิจพอเพียงตอนแรกก็สามห่วง สองเงื่อนไข สี่มิติ แต่วันหนึ่งได้มีโอกาสอบรมที่โรงเรียน กับ อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ ได้ยินคำพูดว่าการติดกระดุมเม็ดแรกถ้าเราติดผิด เม็ดต่อไปเราจะติดให้เด็กผิดตลอด ดิฉันหันกลับมาดูตัวเองว่ากระดุมเม็ดแรกของเราคือการมุ่งสู่เป้าหมายต้องการให้เด็กเรียนเก่งแค่นั้น และไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้นักเรียนคะแนนแกทแพทสูง แต่วันหนึ่งได้ไปเป็นครูแกนนำให้เด็กนักเรียนทุนพอเพียง ได้ไปเป็นกิจกรรมที่สร้างให้เด็กเกิดการเรียนรู้จึงกลับมาสร้างนวัตกรรมคุณป้าที่โรงเรียน พอคลิกตรงนี้จึงเริ่มนำหลักปรัชญาฯ มาใช้ ความสำเร็จของดิฉันไม่ใช่ว่าสอบผ่านครูผู้ช่วย ได้สองขั้น แต่ความสำเร็จของดิฉันได้เห็นเด็กยิ้มก็พอแล้ว ดิฉันไม่ได้เพียงสร้างเด็กตัวเล็กๆ แต่เด็กตัวเล็กๆ ได้สร้างดิฉันด้วย ทำให้ดิฉันได้มีการกำลังใจและมั่นใจในแนวทางนี้ ในความคิดของดิฉันหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิดที่เป็นเรื่องของคนปกตที่มีเหตุผลเขาทำกัน โดยไม่ไปทำร้ายคนอื่น เราต้องมีคุณธรรม เราสร้างของขึ้นมาหนึ่งอย่าง เด็กต้องทนตาหลับขับตานอนไม่มีความสุขเลย แต่การที่ให้เขากลับไปเรียนรู้กับพ่อ แม่ แล้วกลับมาบอกว่าวันนี้ได้คุยกับพ่อแม่แล้ว อย่างไหนดีกว่ากัน”

ครูเบญจมาศ สิงห์น้อย โรงเรียนชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรที่ 206จ.ขอนแก่น “บ่มเพาะเรื่องความรักโรงเรียน รักชุมชนก่อน วิธีง่ายๆ ให้เด็กไปถามปู่ย่าตายายว่าโรงเรียนนี้สร้างมาได้อย่างไร ส่วนกิจกรรมการเรียนการสอน เราพยายามตั้งคำถาม กระตุ้นความคิดให้เด็ก ดิฉันมีความประทับใจว่าเราสอนเด็ก ใช้หลักปรัชญาฯ ทำให้เด็กรู้จักคุณค่า รู้จักรักท้องถิ่น มีความรับผิดชอบในสิ่งที่เขาทำ”

ประเด็นประสบการณ์ของ “พี่เลี้ยง” ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

­

เศรษฐกิจ พอ เพียง ผู้บริหาร

นายทรงพล เจตนาวณิชย์

นายทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข ได้นำหลักฯ นี้ไปขยายผลจนเกิดประโยชน์กับท้องถิ่น“ตอนนี้ผมนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการทำงานสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจับมือกับโรงเรียนพัฒนาเด็กและเยาวชนแต่ละตำบล แล้วให้เด็กใช้การทำโครงงานพัฒนาตัวเอง เริ่มจากให้เด็กรู้จักตั้งเป้าหมายชีวิตตนเอง ว่าอยากจะมีอาชีพอะไร เช่น การเป็นครูที่ดีต้องมีนิสัยอย่างไร ให้เด็กคิดวิเคราะห์ และตีความ ท้ายสุดให้เด็กโยงเข้าสู่การสร้างอุปนิสัยพอเพียง แล้วชี้ให้เด็กเห็นว่าถ้าเด็กฝึกฝนตนเองให้ได้อุปนิสัยเช่นนี้ ชีวิตจะประสบความสำเร็จ”

เศรษฐกิจ พอ เพียง ผู้บริหาร

นายไพโรจน์ คีรีรัตน์

นายไพโรจน์ คีรีรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เผยว่าเข้าใจหลักฯเพราะเรียนรู้ร่วมกันกับครูในฐานะเป็นพี่เลี้ยงและนำมาสอนนักศึกษาเองด้วย“ผมเคยสอนเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกันนะแต่สอนเป็นความรู้ ตอนแรกที่ทำงานกับโรงเรียนไปเรียนรู้โรงเรียนนะ แล้วพยายามสอนเรื่องคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเราวางรากฐานของการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลเข้าไปด้วยแต่ไม่ได้ผล ครูไม่นำวิธีคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลไปใช้เลย สุดท้ายเราเข้าใจแล้วว่าการสอนคิดคือการตั้งคำถาม จึงเริ่มตั้งคำถามกับครู สอนเรื่องการตั้งคำถาม พาไปดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ก็ตั้งคำถามไปเรื่อยๆ เข้าไปดูในห้องเรียน แล้วกลับมาสะท้อนกันตรงๆ เราฝึกวิธีการประเมินการเรียนรู้ให้ด้วยว่าให้ดูที่เด็กสอนดีไม่ดีดูที่การตอบคำถามของเด็ก ถ้าไม่ใช่เราช่วยให้ครูตั้งคำถามเป็น... โรงเรียนที่เราทำงานด้วยแล้วประสบความสำเร็จคือโรงเรียนที่ผู้บริหารสนใจ และให้ความร่วมมือ... ตอนนี้ผมให้นักศึกษาของผมลงไปทำโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงกับโรงเรียน...เรียนรู้จากกระบวนการทำงาน ”

เศรษฐกิจ พอ เพียง ผู้บริหาร

ดร.ดุษิต พรหมชนะ



ดร.ดุษิต พรหมชนะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย “ผลจากงานวิจัยที่โรงเรียนทำภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิ เราค้นพบว่า แท้ที่จริงแล้ว มุมมองหนึ่งของหลักปรัชญาคือการพัฒนานิสัยตนเอง การรู้จักตนเอง รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ อะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ ถ้าได้ 4 เรื่องนี้ที่เกิดขึ้นในตัวเด็ก เป็นประเด็นที่เด็กใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งหมด เราจึงได้ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนในโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาของโรงเรียน คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาอุปนิสัย เราจึงนำ 2 เรื่องนี้เดินไปด้วยกันตามกรอบนโยบายของโรงเรียน”

ผศ.ดร.กาญจนา เกียรติมณีรัตน์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “นำหลักปรัชญาฯ มาสอนนักศึกษา ในรายวิชาบริโภคศึกษา ลักษณะการสอนแบบบูรณาการสอดแทรกและจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสามห่วง สองเงื่อนไข ให้นักศึกษาได้ลองคิดสร้างสรรค์กิจกรรมเป็นโปรเจคเบส นักศึกษาได้เรียนรู้มากและขยายผลไปที่นักศึกษา ปี 5และการไปเป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนโซนภาคเหนือ 20 โรงเรียนมีการแลกเปลี่ยนกันทำให้ได้เรียนรู้เพิ่มเติมว่าหลักปรัชญาฯ สามารถนำไปใช้ได้กับทุกกิจกรรมในการเรียนการสอน เพียงแต่ว่าเราจะหยิบหรืออธิบายได้ให้รู้อย่างลึกซึ้งและนำไปใช้อย่างเข้าใจ ความรู้ที่ได้เรียนรู้ต้องได้เติมเต็มอย่างตลอดด้วยการถอดบทเรียน การใช้ KM ผลที่เกิดขึ้นทำให้ดีใจที่ได้มีส่วนในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

เศรษฐกิจ พอ เพียง ผู้บริหาร

ประเด็นอุปนิสัย “พอเพียง” เกิดขึ้นเมื่อไร และอย่างไร “นักเรียน” ซึ่งถือว่าเป็นตัวพิสูจน์ผล ได้แก่

นายอยู่ยง เชาวน์ปรีชา ศิษย์เก่าโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จ.เพชรบุรี กล่าวว่า “ผมได้นักหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้จากโรงเรียนและผ่านการอบรมต่างๆ นำมาใช้กับชีวิตตัวเอง ปัจจุบันผมมาช่วยพ่อแม่ ทำกิจการที่บ้าน ปัญหาที่เจอคือเรื่องบุคลากร ต้องพึ่งบุคลากรที่มีฝีมือและเครื่องจักรที่ต้องควบคู่กันไป ที่ผมใช้คือรักษาความ “พอดี” ให้ทำงานให้พอดีไม่ให้เหนื่อยจนเกินไป พอเขาเจอปัญหาอะไรในการทำงานก็รับฟังและพยายามทำความเข้าใจ เป็นการรักษาความพอดีในองค์กรครับ”

นางสาวธัญญลักษณ์ อะวิชิน ศิษย์เก่าโรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม จ.ร้อยเอ็ด กล่าวถึงผลของการที่ตนเองได้นำหลักฯ ไปใช้จนสามารถแก้ไขปัญหาได้“จากที่เคยเรียนได้ที่ 1 ของโรงเรียน เมื่อมาเรียนพยาบาล เกรดตกเหลือเพียง 2.09 ทำให้ต้องมาทบทวนว่าจะสอบเอ็นทรานซ์ใหม่หรือไม่ เมื่อไตร่ตรองแล้ว ได้คิดว่าจะละทิ้งความใฝ่ฝันที่จะเป็นพยาบาลของตนเองได้จริงหรือ จึงตัดสินใจวางแผนปรับแบ่งเวลาในการเรียน อ่านหนังสือ และการทำกิจกรรมใหม่ ทำให้เกรดเทอมต่อมาสูงขึ้นเป็น 2.9เศรษฐกิจพอเพียงทำให้หนูรู้จักกระบวนการจัดการกับตนเอง เรารู้ว่าตัวเองทำได้ ถ้าเรารู้สิ่งที่บกพร่องของตนเองแล้วปรับเปลี่ยนแก้ไขใหม่”

นายสถาพร พันธุ์ประดิษฐ ศิษย์เก่าโรงเรียนห้วยยอดจ.ตรัง กล่าวถึงการนำหลักฯ นี้ไปใช้ได้อย่างได้ผล “หลักปรัชญาต้องนำไปใช้ภายใต้บริบทที่ตัวเองเป็น ทุกคนมีสภาวะที่เผชิญที่ต่างกัน ทุกคนมีความดีที่ต่างกัน ไม่มีใครเกิดมาไม่ดีหรอก อยู่ที่ว่าเราเรียนรู้ความเป็นเราไหม เราเรียนรู้ความเป็นคนอื่นไหม และถ้าจะให้ดี หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต้องนำมาสอนตั้งแต่เด็กชั้นอนุบาล เพราะถ้าเด็กรู้จักตัวเอง ภูมิใจในตัวเองตั้งแต่เล็ก เมื่อเขาโตขึ้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเขาจะไม่ทำอะไรที่ไม่ดีเลย เขาจะแยกแยะดีชั่วได้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้คนแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดีชั่ว และหลักปรัชญาจะทำให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เมื่อเจอสภาวะที่เป็นปัญหาจะหาทางแก้ปัญหาได้ ไม่หาทางออกที่ทำร้ายตัวเอง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือทางออกของชีวิตคน”

นางสาวชวนา สุทธินราธร ศิษย์เก่าโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์จ.จันทบุรี เล่าถึงความเข้าใจหลักปรัชญาฯ นี้เพราะครูเชื่อใจ“หนูได้เข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากขนาดนี้ เพราะครูให้ความเชื่อใจ และไว้วางใจให้หนูลงมือทำงานและช่วยกันคิดเอง ให้โอกาสหนูไปทำโครงการจิตอาสาเอง พวกหนูได้วางแผนเอง ตัดสินใจแก้ปัญหาเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะ เรารู้สึกได้ว่าสิ่งที่เรากำลังทำเป็นงานของเรา ไม่ใช่ภาระหน้าที่ที่ครูมอบหมายให้แล้วเราทำส่งเหมือนการบ้าน เรารู้สึกว่าต้องพยายามทำงานนี้ให้ประสบความสำเร็จ ทำให้เราเข้าใจหลักปรัชญาจริงๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่น่าจดจำนำไปใช้ในชีวิต”

ผศ.ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ ได้สรุปเส้นทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติไว้อย่างน่าคิดว่า

“แต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้และนำหลักปรัชญาไปใช้แตกต่างกันไปแต่หลังจากตกผลึกทางความคิด ทุกคนมองว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเปลี่ยนความเชื่อ เปลี่ยนทัศนคติ สุดท้ายนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรม”


เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆดังนี้