การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21

การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21

1. ความรู้และทักษะสําคัญ การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21

ภาคีแห่งศตวรรษที่ 21 ได้นำเสนอกรอบความคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ประกอบด้วย สาระความรู้และทักษะที่สำคัญ   ที่จำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนในปัจจุบัน และอนาคต โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ในสาระวิชาแกนต่าง ๆ ให้เกิดการรู้        ความเข้าใจ และนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ มีความรู้แนวคิดที่สำคัญ    ในศตวรรษที่ 21 เรียนรู้และปฏิบัติทักษะในการทำวิจัยและปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์

โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาจะต้องให้ความสำคัญกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อให้      การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและประสบผลสำเร็จ ทั้งในมิติของวิชาแกน แนวคิดที่สำคัญ ทักษะสำคัญ และระบบสนับสนุนการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ไว้ดังนี้

1.1 ความรู้วิชาแกน

การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21

1.2 แนวคิดสําคัญในศตวรรษที่ 21

แนวคิดสำคัญที่ผู้เรียนจะต้องรู้และเข้าใจถึงความสำคัญที่มีต่อตนเองและสังคม และสามารถนำไปปฏิบัติในการดำรงชีวิตในสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและทั่วถึงกัน คือ

1) จิตสำนึกต่อโลก การอนุรักษ์ และพัฒนา

2) ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาให้เป็นผู้ที่สามารถสร้างงาน สร้างรายได้เป็นของตัวเอง

3) ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง การทำหน้าที่ของพลเมืองดีของประเทศ

4) ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ การดูแล การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

5) ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม การใช้         การดำรงรักษา การปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสม

การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21

1.3 ทักษะที่สําคัญในการจัดการศึกษา

ทักษะต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ต่อไปนี้มีความจำเป็น และมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นทั้งสาระความรู้ ความชำนาญในการปฏิบัติ และคุณลักษณะสำคัญที่ต้องปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ จัดว่าเป็นความรู้ ซึ่งต้องเรียนรู้และฝึกปฏิบัติควบคู่กันไปในการเรียนรู้ทุกสาขาวิชา เช่น

1.3.1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and lnnovation Skills) ประกอบด้วย

1.3.1.1) การคิดเชิงวิพากษ์ หรือคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ปัญหา

1.3.1.2) การคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

1.3.1.3) การสื่อสารและการร่วมมือกันทำงาน

1.3.2) ทักษะชีวิต และการทํางาน (Life and Career Skills)

เป็นทักษะที่สำคัญเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และเป็นทักษะ ที่ทุกคนต้องมีเพื่อการดำรงชีวิตและเพื่อการปฏิบัติงานในอาชีพ และผู้เรียนจะต้องได้รับการสอน การฝึกให้ปฏิบัติอย่าง      สมํ่าเสมอ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยคุณลักษณะหรือสมรรถนะที่ทุกคนต้องมี ประกอบด้วย

1.3.2.1) ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับตัว

1.3.2.2) ความคิดริเริ่ม และการชี้นำตนเอง กำกับตนเอง

1.3.2.3) ทักษะทางสังคม และการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม

1.3.2.4) การเพิ่มผลผลิต คุณภาพของตนเอง และความรู้รับผิดชอบ

1.3.2.5) ความเป็นผู้นำ และความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

1.3.3) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information Communication and Technology) ประกอบด้วย

1.3.3.1) ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ

1.3.3.2) ความรู้พื้นฐานด้านสื่อต่าง ๆ และการใช้สื่อ

1.3.3.3) ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร การเข้าถึงการใช้ข้อมูล การสื่อสารและสื่อความหมายอย่างสร้างสรรค์

2. หลักการสําคัญในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21

หลักการในการจัดการศึกษาจะต้องให้ความสำคัญในเรื่อง “การกำหนดนโยบายให้มีเอกภาพและให้มีความหลากหลายในการปฏิบัติ” โดยใช้ยุทธศาสตร์สำคัญคือ การกระจายอำนาจ  การบริหาร และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้การกระจายอำนาจการบริหาร และการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วนประสบความสำเร็จจึงจำเป็นต้องมี ได้แก่

การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21

ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้การศึกษามีคุณภาพ, สถานศึกษามีคุณภาพใกล้เคียงกัน และบุคคลได้รับสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้าถึงการศึกษาที่ทางรัฐจัดให้ และที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาในเรื่องหลักการในการจัดการศึกษาประสบความสำเร็จ จึงต้องมียุทธศาสตร์ที่สำคัญซึ่งอาจจัดทำเป็นโครงการต่างๆได้ดังนี้

1) การสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสให้เข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการศึกษาที่รัฐจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

2) การส่งเสริมหลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างในสังคม

3) การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา

3. องค์ประกอบที่สนับสนุนการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

3.1 การสร้างเจตคติและแรงจูงใจในการเรียนรู้

เป็นกิจกรรมในการเรียนการสอนที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในขณะที่วางแผนการสอน ครูจำเป็นต้องถามและตอบตัวเองเสมอว่าจะสามารถสร้างเจตคติที่ดีเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียนให้กับผู้เรียนอย่างไร จะจูงใจอย่างไรให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์จากการเรียนรู้นี้ เป็นต้น

3.2 การส่งเสริมผู้เรียนให้มีส่วนร่วมและใช้ความคิดในการเรียนรู้

เป็นการร่วมเรียนรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน เพราะการสร้างนักคิดและนักสร้างมาจากการที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในกระบวนการ การเรียนรู้ กระบวนการไตร่ตรอง ย้อนคิดเกี่ยวกับผลการเรียนรู้

3.3 การใช้เทคโนโลยี

เทคโนโลยี คือ เครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจและช่วยจัดการกับข้อมูลความรู้ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ ครูจึงควรบูรณาการให้มีการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้    ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และใช้ข้อมูลต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้เรียนจะต้องพัฒนาสมรรถนะต่าง ๆ เหล่านี้ คือ

1) การรู้หรือความรู้และความสามารถในการเข้าถึงแหล่งสาระข้อมูล และความรู้ต่าง ๆ โดยสามารถประเมินและใช้หรือจัดการกับสาระความรู้เหล่านั้นได้อย่างฉลาด

2) การรู้หรือความรู้ความสามารถเกี่ยวกับสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยสามารถรู้และเข้าใจได้ว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่นำเสนอ ถูกสร้างมาอย่างไร และสร้างเพื่อจุดประสงค์ใด

3) การรู้หรือความรู้เกี่ยวกับข้อมูล การสื่อสารสื่อความหมาย และเทคโนโลยี โดยสามารถเลือกและใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการสร้างงานได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในปัจจุบันไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่การที่จะแสงหาข้อมูลที่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีความสำคัญมากกว่า นั่นคือ ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และพัฒนาทักษะการคิด ในการเรียนรู้และใช้ข้อมูลอย่างสร้างสรรค์   โดยครูจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการสืบเสาะ

เช่น การใช้กลยุทธ์ 5As ได้แก่

1)การถามคำถามหรือใช้คำถาม (Ask)

2)การตอบคำถามโดยใช้ข้อมูลจากการสืบเสาะ (Answer)

3)การใช้ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ (Analysis) 4)การนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ไปใช้ (Apply) 5)การประเมินผล (Assess)

3.4 ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ (Life and Career Skills

เป็นทักษะที่สำคัญที่ต้องพัฒนาให้เกิดกับผู้เรียนมากที่สุดอีกด้านหนึ่ง ผลจากการวิจัยการศึกษาได้ข้อสรุปว่า การเข้าสู่อาชีพในแต่ละอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้เรียนต้องมีทั้งความรู้ และความสามารถในการใช้ทักษะต่าง ๆ ในการ ดำรงชีวิต และการปฏิบัติงานในอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ   จากการจัดลำดับทักษะสำคัญมากที่สุด ทักษะที่ผู้ที่จะเข้าสู่อาชีพแต่ละอาชีพต้องมี คือ

การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21

นอกจากการเรียนรู้ในสาระความรู้ และการใช้ทักษะต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ผู้เรียนจะต้องพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Personal Skills) ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับควบคุมตนเอง และการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (Collaboration) ซึ่งการเป็นบุคคลที่ทำงานมีคุณภาพ ผู้เรียนจะต้องมีทักษะการพัฒนาตนเองด้วย เช่น

การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21

ถึงแม้ว่าทักษะเหล่านี้จะสอนและฝึกให้เกิดขึ้นได้ไม่ง่าย  แต่การที่ให้โอกาสผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติและเห็นตัวอย่างที่ดีจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จำเป็นจะต้องผสานทุกองค์ประกอบเข้าด้วยกัน คือ สาระความรู้ในวิชาแกน ทักษะเฉพาะต่าง ๆ ความเชี่ยวชาญ และ การรอบรู้ทั้งการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ

โดยสามารถนำสิ่งที่รู้ไปปฏิบัติได้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยความรู้ความสามารถด้านการอ่าน (Reading) การเขียน (Writing) และการคิดคำนวณ (Arithmetic) ยังคงมีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการเรียนและชีวิต

นอกจากนั้นการรอบรู้และความชำนาญในอีก 4 ด้าน ได้แก่      

  1. การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดแก้ปัญหา
  3. การสื่อสาร สื่อความหมาย
  4. การร่วมมือกัน มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาอย่างจริงจังต่อเนื่อง

รวมทั้งการรู้ด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ และการมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสังคมเป็นอีกมิติหนึ่งที่สำคัญในศตวรรษที่ 21

4. แนวทางในการพัฒนาทักษะ

การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21

การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21

การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21

การคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)

  • ให้เหตุผลอย่างมีประสิทธิผล (Reason Effectively)    1.ใช้เหตุผลหลาย ๆ แบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ให้เหตุผลเชิงอุปนัย นิรนัย เป็นต้น
  • ใช้การคิดอย่างเป็นระบบหรือคิดเชิงระบบ (Use Systems Thinking)    วิเคราะห์ส่วนย่อยต่าง ๆ ภายในว่ามีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อสร้างผลรวมหรือภาพรวม ภายในระบบที่ซับซ้อนให้ชัดเจน
  • ตัดสินคุณค่าและตัดสินใจ (Make Judgments and Decisions)

การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21

การสื่อสารสื่อความหมาย (Communication)

  • แสดงความคิดและแนวคิดอย่างมีประสิทธิภาพชัดเจนทั้งด้านการพูด การเขียน การใช้ ภาษาสัญลกัษณ์ในลักษณะต่าง ๆ กันในหลาย ๆ บริบท  
  • ฟังอย่างตั้งใจ จับประเด็นความหมาย แปลความหมาย ถอดรหัสข้อมูล ความรู้ ค่านิยม  เจตคติ อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้สื่อเทคโนโลยหีลาย ๆ ประเภท ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อแต่ละ ประเภท รวมทั้งผลกระทบของสื่อเหล่านั้น
  • ใช้การสื่อสารสื่อความหมายในหลาย ๆ ช่องทาง เช่น บอก อธิบาย สอน ชักจูง จูงใจ เป็นต้น  
  • สื่อสาร สื่อความหมาย อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อม สถานการณ์ที่แตกต่างกัน

การร่วมมือกัน (Collaboration)

  • แสดงออกถึงความสามารถในการฟังอย่างมีคุณภาพ ยอมรับนับถือในความแตกต่าง  ความหลากหลายของแต่ละกลุ่ม 
  • แลกเปลี่ยนความรับผิดชอบ ร่วมมือกันทํางาน ยอมรับ ยกย่อง มองเห็นคุณค่าของสมาชิก ในกลุ่มทุกคน
  • มีความยืดหยุ่น เต็มใจช่วยเหลือกลุ่ม สร้างความปรองดองเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุ เป้าหมาย และประสบผลสำเร็จ  

ถึงแม้ว่าทักษะทั้ง 4 ด้าน บางประเด็นจะไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะต้องรู้ทันในการจัดการเรียนการสอน ในปัจจุบัน แต่การเน้นยํ้าและส่งเสริมจะช่วยพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน การสื่อสารสื่อความหมาย และความร่วมมือกันนั้น มีความจําเป็นอย่างยิ่ง สําหรับการเรียนรู้และการพัฒนาต่อไป

5. ลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

ผู้เรียนในยคุปัจจุบัน คือผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 หรือผู้เรียนยุคดิจิทัลนั้น จะแตกต่างจากผู้เรียนใน อดีตที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง ไม่เฉพาะในเรื่องกิจกรรมการดําเนินชีวิตเท่านั้น แต่ในแง่ของวิธีการเรียนรู้และ การสื่อสารก็ยิ่งแตกต่างกัน เพราะผู้เรียนในวันนี้จะสามารถทําหลายสิ่งได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ผิดพลาด และจะเบื่อหน่ายต่อการเรียนรู้หากบริบทที่จัดขึ้นเหมือนดังในอดีตที่ผ่านมา ทั้งนี้ผู้เรียนในวัยนี้จึงมีความ แตกต่างจากผู้เรียนในอดีตอย่างชัดเจนใน 3 ประเด็น ดังนี้

1) ผู้เรียนมีวิธีการรับข้อมูลที่แตกต่าง เนื่องจากผู้เรียนปัจจุบันอยู่ในโลกสื่อประสม (Multimedia World)ตลอดจนระบบการเรียนรู้ของสมองก็ได้รับการปรับแต่งให้เข้ากับรูปแบบการเรียนรู้ จึงเป็นการยาก ที่จะให้เรียนรู้จากการนั่งนิ่ง ๆ และรอรับฟังคําบรรยาย

2) วิธีเรียนรู้พื้นฐานของทุกคนคือการเรียนรู้จากการมองเห็น (Visual) หรือการมองเห็นร่วมกับ  การสัมผสั และการปฏิบตัิการ นอกจากนี้การมองเห็นยังครอบคลุมถึงการมองเห็นการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้ ในเรื่องนั้น สิ่งนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร ตลอดจนต้องการการมีปฏิสัมพันธ์ และลงมือกระทํา

3) ผู้เรียนคือผู้เรียนเป็นรายบุคคล การที่ครูมีมุมมองในการออกแบบวิธีการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน เป็นรายกลุ่ม หรือเป็นภาพรวมเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ซึ่งการที่ครูผู้สอนได้ศึกษาทำความเข้าใจ ลักษณะของผู้เรียน แล้วนํามาเป็นข้อมูลพื้นฐานสําหรับการพัฒนาการเรียนรู้ จะทําให้บทเรียนสอดคล้องกับ ผู้เรียนยุคใหม่ยิ่งขึ้น

6. ระบบสนับสนุนการศึกษาสาหรับศตวรรษที่ 21

หน่วยงานหรือองค์กรต้นสังกัดที่รับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาจะต้องให้ความสําคัญ สนบัสนุน และพัฒนาในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้สอดคล้องกับสาระสําคัญต่าง ๆ ของการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ดังนี้

ระบบสนับสนุนการศึกษาสาหรับศตวรรษที่ 21

  • มีมาตรฐานการประเมินสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ
  • หลักสูตรและการสอนของศตวรรษที่ 21 ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • การพัฒนาในวิชาชีพของบุคลากรทางการศึกษา จะต้องมีการสนบัสนุน และพัฒนาให้สอดคล้อง กับเป้าหมาย และดําเนินไปอย่างต่อเนื่องอย่างจริงจัง
  • สภาพแวดลอ้มการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21 ต้องมีการพัฒนาให้สอดคล้องกันในทุกด้าน ซึ่งจะขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคลากรของชาติที่พัฒนาและก้าวหน้าในทุกด้านของการเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ในสังคมโลกไร้พรมแดน

การ จัดการ เรียน รู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ ตาม แนวคิด ในศตวรรษที่ 21