ท้องร้องโครกคราก กินยาอะไร

หลายครั้งที่มีอาการจุก อึดอัด แน่นท้องขึ้นมาอยู่บ่อยๆ จนต้องเรอ หรือผายลมเพื่อระบายความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นภายในท้องจนเสียบุคลิกภาพ บางคนอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย และคนส่วนใหญ่มักเลือกทานยาบรรเทาอาการเพียงเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้หากเป็นอยู่บ่อยครั้ง หรือเป็นๆ หายๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติจากร่างกาย ที่อาจตามมาด้วยโรคระบบทางเดินอาหารแล้วก็ได้

Show

อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เป็นอย่างไร

  • ท้องอืด - เป็นอาการที่มีลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้มาก เพราะอาหารไม่ย่อย ทำให้รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทำให้เรอ ผายลมบ่อย หรือภาวะท้องโต บางครั้งอาจได้ยินเสียงโครกครากภายในท้อง และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย โดยอาการจะแสดงออกบริเวณกลางท้องส่วนบน ซึ่งอยู่ระหว่างใต้ลิ้นปี่และเหนือสะดือ
  • ท้องเฟ้อ - เป็นอาการที่มีลมในกระเพาะอาหาร เพราะอาหารไม่ย่อย หรือ อาหารเป็นพิษ เมื่อเรอมักจะมีกลิ่นเหม็น จึงใช้ว่า ท้องเฟ้อเรอเหม็นเปรี้ยว
  • ท้องเสีย - เป็นอาการถ่ายอุจจาระมีลักษณะเหลว หรือถ่ายออกเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด

ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย สาเหตุที่พบได้บ่อย

ท้องอืด ท้องเฟ้อ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ ตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงวัยสูงอายุ แต่ช่วงอายุที่พบบ่อยมาก คือ 30-40 ปีขึ้นไป เนื่องจากกลุ่มคนในวัยดังกล่าวมีการทำงานของระบบการย่อยอาหารที่เสื่อมถอยลงตามวัย สาเหตุหลักๆ มาจากในกระเพาะอาหารของเรามีแก๊สอยู่เยอะเกินไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุที่พบได้บ่อย ดังนี้

  • พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานเร็ว ดื่มเร็ว รับประทานผิดเวลา บดเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีการอัดก๊าซไว้ เช่น น้ำอัดลม เบียร์ จึงทำให้เกิดก๊าซหรือลมในท้องมากกว่าปกติ รับประทานถั่ว นม อาหารที่มีไขมันสูง หรือชอบรับประทานอาหารรสจัด เป็นต้น
  • มีลมในกระเพาะอาหารมากเกินไป เกิดจากการอักเสบ มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเนื้องอก เนื้อร้ายซ่อนอยู่ในกระเพาะอาหาร
  • ความผิดปกติของระบบการย่อยอาหารที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งในส่วนของกระเพาะอาหารเอง และในส่วนของลำไส้ น้ำย่อยจากลำไส้เล็ก ตับ หรือ ตับอ่อน ทำงานได้น้อย จำนวนแบคทีเรียที่มีประโยชน์มีปริมาณมาก หรือน้อยไป หรือเกิดจากสภาวะการบีบตัวที่ผิดปกติ
  • การกลืนอากาศเข้าไปมากเกินไประหว่างรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือพูดคุย

ท้องเสีย สาเหตุหลักมักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ปรสิต หรือเชื้อไวรัสเข้าไป ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ทั้งนี้ความเครียดวิตกกังวล การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือการแพ้อาหารบางชนิดก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน ในรายที่มีอาการท้องเสียแบบเรื้อรัง อาจเกิดจากสาเหตุโรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ


วินิจฉัยอาการด้วยการส่องกล้องกระเพาะอาหาร

หากมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องเสีย เป็นระยะเวลานาน หรือมากกว่า 2-3 สัปดาห์ โดยที่ไม่บรรเทาลงเลยหรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลด นิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนไป ปวดท้อง เหนื่อยล้าอย่างรุนแรง ถ่ายดำ หรือถ่ายเป็นเลือด ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจน

โดยในเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติ สอบถามถึงอาการป่วย และตรวจร่างกายเบื้องต้น แต่หากอาการรุนแรงหรือสาเหตุของโรคไม่ชัดเจน แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด การส่องกล้องกระเพาะอาหาร (EGD) โดยการสอดกล้องเข้าไปทางปากแล้วตรวจอวัยวะต่าง ๆ ของระบบย่อยอาหาร เป็นมาตรฐานเพื่อการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อีกทั้ง เป็นการตรวจที่สามารถทำได้ง่ายใช้เวลาไม่นาน และในโรคบางโรคแพทย์สามารถให้การรักษาได้ทันที

อย่างไรก็ตาม การป้องกันอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ สามารถทำได้ตั้งแต่การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการ ไม่รับประทานอาหารปริมาณมากเกินไป รวมทั้งรักษาความสะอาดและเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยเพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องเสียได้ นอกจากนี้ยังควรสำรวจความผิดปกติของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และควรรีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องเสียที่ผิดปกติ

แผลในกระเพาะอาหาร หรือโรคกระเพาะอาหาร โรคปวดท้องทรมานของหลายคน และมักเป็นๆหายๆ แต่จริงๆ แล้วหลายครั้งโรคนี้รักษาให้หายขาดได้ สำหรับผู้มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาความเสี่ยง หรือโรคที่อาจซ่อนอยู่เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

สาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร

สาเหตุคือ กรดและน้ำย่อย ที่หลั่งออกมาทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ส่วนปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ ความเครียด อาหารเผ็ด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์

ปัจจุบันพบว่า เชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร - Helicobacter pylori หรือเอช ไพโลไร - H. pylori เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ ทำให้แผลหายช้า

หรือทำให้แผลที่หายแล้วเกิดเป็นซ้ำได้อีก รวมทั้งยังเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีก 3-5 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ติดเชื้อดังกล่าว

ตำแหน่งที่พบแผลได้บ่อยคือ กระเพาะอาหาร - Gastric Ulcer : GU มักพบที่กระเพาะอาหารส่วนปลาย พบมากในคนอายุ 40-70 ปี และแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น - Duodenal Ulcer : DU พบได้บ่อยในทุกอายุตั้งแต่ 20-70 ปี

อาการของแผลในกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง ?

  • พบบ่อยที่สุดคือ ปวดท้อง หรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือท้องช่วงบน มักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว หรือปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว
  • อาการปวดจะเป็นมากขึ้นหลังทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
  • อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ และหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก
  • บางรายไม่ปวดท้อง แต่จะมีอาการอืดแน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายในท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือกลางท้องรอบสะดือ ท้องอืดหลังกินอาหาร มีลมมาก ท้องร้องโครกคราก
  • อาจมีคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยหลังอาหาร หรือช่วงเช้ามืด
  • อาจมีน้ำหนักลด ซีดลง
    ท้องร้องโครกคราก กินยาอะไร

ภาวะแทรกซ้อนของแผลในกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง ?

ภาวะแทรกซ้อนพบได้ประมาณร้อยละ 25-30 ได้แก่

  • เลือดออกในกระเพาะอาหาร พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำเหลว หรือหน้ามืด หรือมาด้วยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เกิดจากเสียเลือดจากแผลเปปติกทีละน้อยอย่างเรื้อรัง
  • กระเพาะอาหารทะลุ มีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมาก
  • กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะอิ่มเร็ว อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

การวินิจฉัยแผลในกระเพาะอาหารทำได้อย่างไร ?

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการใช้ยาแก้ปวด การตรวจร่างกาย และทำการทดสอบต่างๆ ได้แก่

ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างไร ?

  • หลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดเชื้อเอช ไพโลไร ซึ่งติดต่อผ่านการบริโภคอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ ป้องกันโดยการกินอาหารที่สะอาดปรุงสุก ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือให้สะอาด
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพราะมีผลให้เยื่อบุกระเพาะอ่อนแอ ทำให้แผลหายช้า และเกิดแผลกลับเป็นซ้ำได้บ่อยมาก
  • งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ - NSAID
  • ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
  • กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ รวมทั้งให้ยากำจัดเชื้อ เอช ไพโลไรด้วย
  • ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน ปวดท้องรุนแรง หรือเบื่ออาหารน้ำหนักลดลงมาก ควรรีบไปพบแพทย์

ควรกินอาหารชนิดไหนในผู้ป่วยแผลในกระเพาะอาหาร ?

  • กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินบ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
  • ดื่มนมได้ถ้าดื่มแล้วท้องไม่อืด
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง เพราะทำให้ระคายเคืองแผลมากและปวดมากขึ้น
  • อาหารทอด หรือไขมันสูงเพราะย่อยยากจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารขยายตัวมากทำให้ปวดมากขึ้น
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ช็อกโกแลต และงดน้ำอัดลมเพราะมีแก๊สมากกระเพาะขยายตัวทำให้ปวดมากขึ้นและกระตุ้นให้หลั่งกรดเพิ่มขึ้นด้วย
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นจัด

ควรรับประทานอาหารชนิดใดเมื่อมีอาการปวดแน่นท้อง ?

  • ในรายที่ปวดรุนแรง อาจต้องกินเป็นอาหารเหลวทุกชั่วโมง เช่น น้ำข้าว น้ำซุป น้ำเต้าหู้
  • เมื่อดีขึ้น เริ่มกินโจ๊กได้
  • เมื่อทุเลามากขึ้น จึงเปลี่ยนเป็นข้าวต้มและข้าวสวยได้ตามลำดับ
  • ถ้ามีอาการแน่นท้องมาก ควรกินวันละ 6 มื้อ โดยแบ่งปริมาณมาจากมื้ออาหารปกติครึ่งหนึ่ง คือมื้อเช้าแบ่งเป็นเช้าและสาย มื้อกลางวันแบ่งเป็นกลางวันและบ่าย และมื้อเย็นแบ่งเป็นเย็นและค่ำ รวมเป็น 6 มื้อ (แต่ละมื้อให้กินปริมาณอาหารน้อยลง แต่กินให้บ่อยขึ้น)

ท้องร้องโครกคราก กินยาอะไร

แผลในกระเพาะอาหารจะกลายเป็นมะเร็งได้หรือไม่ ?

โรคแผลในกระเพาะอาหารจะไม่กลายเป็นมะเร็ง นอกจากจะเป็นแผลชนิดที่เกิดจากมะเร็งของกระเพาะอาหารเองตั้งแต่เริ่มแรกโดยตรง

เนื่องจากอาการเริ่มแรกของโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและแผลในกระเพาะอาหารจะคล้ายกันมาก ไม่สามารถแยกจากกันได้โดยการซักประวัติหรือตรวจร่างกาย

จึงจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้องกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยในการวินิจฉัย

อาการที่บ่งชี้ว่าอาจมีโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ซีดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ่ายอุจจาระดำหรืออาเจียนเป็นเลือด อาเจียนมาก และเป็นติดต่อกันเป็นวันในคนสูงอายุ หรืออายุมากกว่า 45 ปี ที่เริ่มมีอาการครั้งแรกของโรคกระเพาะอาหาร หรือผู้ที่มีอาการมานานแล้วมีการเปลี่ยนแปลงของอาการ เช่น ปวดท้องรุนแรงขึ้น ในภาวะต่างๆ เหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์

แผลในกระเพาะอาหารจะหายขาดหรือไม่ ?

  • หายได้ แต่กลับเป็นใหม่ได้ ถ้าไม่ระวังเรื่องการปฏิบัติตัวและการใช้ยาบางอย่าง
  • สำหรับผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อ H. pylori วิธีบรรเทาอาการของโรคคือ ปฏิบัติตัวตามหลักการที่ได้กล่าวไว้แล้ว บางรายอาจต้องใช้ยาติดต่อเป็นระยะเวลาหลายเดือนเพื่อควบคุมไม่ให้มีอาการ
  • สำหรับผู้ที่มีการติดเชื้อ H. pylori ร่วมด้วย พบว่าหลังจากที่กำจัดเชื้อได้แล้ว มีโอกาสหายขาดได้ ยกเว้นจะรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายใหม่ หรือมีเหตุอื่นที่ทำให้เกิดแผลอีก

แผลในกระเพาะอาหาร เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากมีอาการควรไปพบแพทย์ อาจต้องทำการส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาต่อไป และควรตรวจเช็คร่างกายประจำปี เพื่อหาความผิดปกติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อีก

ท้องร้องโครกครากเป็นเพราะอะไร

อาการท้องร้องเกิดจากการทำงานของร่างกายในขณะที่กระเพาะของเรามีสารอาหารไม่เพียงพอ “สมอง” จะเป็นส่วนที่กระตุ้นให้เรา “รู้สึกหิว” นึกอยากอาหารขึ้นมาและจากนั้นก็จะหลั่งนำ้ย่อยออกมา บริเวณกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารจะมีการหดตัวและเกิดการสั่นจนได้ยินเป็นเสียงร้องจ๊อก ๆ หรือเสียงโครกครากออกมานนั่นเอง

ท้องร้องโครกครากอันตรายไหม

ทั้งนี้ เสียงท้องร้องโครกคราก มักเป็นสภาวะที่ไม่อันตราย อาจมีส่วนน้อยที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า มีสภาวะอันตรายเกิดขึ้น แต่มักจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การปวดท้องรุนแรง จุกเสียด อาเจียน อาจจะส่งผลก่อใหเ้กิดโรคอื่น ๆ ตามมา ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษาให้ทันท่วงที

ท้องร้องแต่ไม่ได้หิวคืออะไร

อาการท้องร้องโครกคราก เกิดจากการที่ลำไส้เล็กมีการเคลื่อนไหวและบีบตัวในการย่อยและดูดซึมอาหาร เราอาจจะเห็นการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้ง่ายขึ้น ในขณะที่นอนราบ แต่หากอาการท้องร้องเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือร้องเสียงดัง อาจเกิดได้จาก 1. อาหารค้างในลำไส้เล็กมาก จากการทานอาหารปริมาณมากไป ลำไส้จึงใช้เวลานานในการย่อย

ทำไมกินข้าวเสร็จแล้วท้องร้อง

อาจเป็นเพียงแค่เสียงลำไส้บีบตัวครับ เนื่องจากเกิดการทำงานหลังจากทานอาหารเข้าไป ไม่ได้เกี่ยวกับโรคกระเพาะหากไม่ได้มีอาการอื่นๆร่วมด้วยครับ