ขั้น ตอน การ เตรียม ความ พร้อม ใน การ หา งาน อย่าง มี ประสิทธิภาพ

ขั้น ตอน การ เตรียม ความ พร้อม ใน การ หา งาน อย่าง มี ประสิทธิภาพ

การเลือกอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง

1.ประเมินตนเอง อันดับแรก คุณควรมีการประเมินตนเองก่อน ว่าคุณมีความสนใจในด้านใด มีทักษะที่โดดเด่นในด้านใด มีบุคลิก มีค่านิยมอย่างไร ซึ่งจะทำให้คุณเห็นว่างานแบบ ใดที่เหมาะหรือไม่เหมาะกับคุณ โดยอาจทำแบบทดสอบทางอาชีพเพื่อดูแนวโน้มอาชีพที่เหมาะกับคุณประกอบการตัดสิน ใจ หรืออาจหาที่ปรึกษาสักคนที่สามารถให้คำแนะนำในการเลือกอาชีพที่เหมาะสมของ คุณได้

2.ทำรายการอาชีพที่สนใจ เมื่อคุณได้แนวทางอาชีพแบบกว้าง ๆ แล้ว ให้ลงมือจำกัดคนสนใจให้แคบลง ทำรายการอาชีพที่สนใจสัก 5-10 รายการ จากนั้นให้วงกลมรายการที่คุณสนใจเป็นพิเศษไว้เพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม

3.เริ่มการค้นหาข้อมูลอาชีพ ศึกษาข้อมูลรายละเอียดของงาน วุฒิการศึกษาที่ต้องการ ทักษะ และคุณสมบัติอื่นๆที่พึงมี นอกจากนี้ ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสก้าวหน้าในการงาน และผลตอบแทนที่จะได้รับด้วย

4.ขอข้อมูลจากผู้ที่อยู่ในสายอาชีพโดยตรง หลังจากที่คุณได้ข้อมูลเพิ่มขึ้น รายการอาชีพของคุณจะถูกตัดออกไปอีกจนเหลือเพียง 2-3 อาชีพเท่านั้น ขั้นตอนต่อไปนี้คือการลงมือหาข้อมูลอย่างละเอียดด้วยการพูดคุยกับผู้ที่อยู่ ในสายอาชีพที่คุณค้นหาโดยตรงถึงประเด็นต่าง ๆ ที่คุณต้องการทราบ ความคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่เขาทำ ทั้งข้อดีและข้อเสีย เพื่อทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการตัดสินใจได้ดีขึ้นอีก

5.กำหนดเป้าหมาย และเส้นทางอาชีพ เมื่อคุณได้พูดคุยกับคนในสายอาชีพต่าง ๆ แล้ว ถึงตอนนี้คุณน่าจะตัดสินใจได้แล้วว่าอาชีพไหน เป็นอาชีพที่คุณใฝ่ฝัน ก่อนลงมือหางาน คุณจะต้องกำหนดเป้าหมายในอาชีพเสียก่อนว่า คุณจะเติบโตไปสู่จุดใด และใช้เวลานานเพียงใด

6.เตรียมความพร้อมสู่การทำงาน คุณจำเป็นต้องมีการวางแผนและการเตรียมตัวเป็นอย่างดี ไม่ใช่เพื่อแข่งขันกับผู้หางานจำนวน มาก แต่ต้องทำงานให้ดีด้วย โดยคุณอาจเรียนเพิ่มเติม หากงานนั้นต้องใช้ทักษะใหม่ๆ ที่คุณยังไม่มี หรือคุณอาจหาโอกาสฝึกงานกับบริษัทที่มีชื่อเสียงในสายงานที่คุณปรารถนาก่อน ที่จะลงมือทำงานจริงก็จะทำให้คุณเห็นภาพการทำงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การพัฒนาบุคลิกภาพ

เป็นการทำให้รู้จักตนเองก่อนเป็นประการแรกว่า เราเป็นบุคคลประเภทใด มีคุณลักษณะอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย รู้จักหลักในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในการทำงานและการเข้าสังคมอย่างไร สิ่งสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลิกภาพคือ ความเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี ต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญทางด้านร่างกายที่สมบูรณ์และจิตใจที่ดี จึงต้องอาศัยสุขภาพที่ดี กล่าวคือ มีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสมส่วน มีความคล่องตัว ว่องไว ปรับตัวได้ง่าย ดังนั้น บุคคลทุกคนสามารถพัฒนาบุคลิกภาพได้โดยกระทำ ดังนี้

  • การบริหารร่างกายเป็นประจำ คือการรู้จักออกกำลังกายโดยการกระทำกิจกรรมที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อได้มีการออกแรงทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น มีเหงื่อออกมากกว่าปกติ

  • รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อการบำรุงร่างกาย ตามหลักโภชนาการที่ให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และมีปริมาณที่เพียงพอแก่ร่างกาย

  • พักผ่อนร่างกาย จัดให้มีเวลาพักผ่อนร่างกายพอสมควร ภายหลังจากการเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานประจำวัน มีเวลานอนพอเหมาะกับวัย

  • บริหารจิตใจ เป็นการฝึกจิตใจให้มีสมาธิ มีพลัง มีความคิด

  • พักผ่อนในวันสุดสัปดาห์ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดและเป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้มีจิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่งสามารถกลับมาทำงานได้ด้วยความสดใส

1.2ลักษณะความมั่นคงและความก้าวหน้า

ในปัจจุบันได้มีองค์การจำนวนมากที่ได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษในการที่จะช่วยเหลือพนักงานของตนให้สามารถสร้างหนทางก้าวหน้าสำหรับอาชีพของเขาเหล่านั้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม กิจกรรมด้านนี้ที่ทำขึ้นจากฝ่ายองค์การก็ยังมีไม่มากนักเช่นกัน ถ้าหากองค์การได้มีแนวนโยบายที่จะส่งเสริมและช่วยเหลือพนักงานในเรื่องนี้ ก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวคนงาน เพื่อที่จะสามารถชี้แนวทางตลอดจนแนะนำหรือวางแผนความก้าวหน้าให้ได้

วิธีการที่จะได้ข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น Ddgar Schein ได้เคยวิเคราะห์สำรวจอาชีพของผู้สำเร็จปริญญาโททางด้านการบริหารธุรกิจจาก M.I.T. จำนวน 44 คน ซึ่งสำเร็จการศึกษาไปแล้ว 15 ปี ผลการสำรวจได้ให้ข้อเท็จจริงที่สำคัญยิ่งสำหรับการเป็นแนวทางในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพเป็นอย่างมาก ความก้าวหน้าในข้อเท็จจริงที่พบก็คือ ความก้าวหน้าในสายงานอาชีพของคนส่วนใหญ่จะอยู่ที่อาชีพของแต่ละคนที่ปักหลักอยู่นาน (Individual’s career “anchor”) หรืออาชีพที่สำคัญที่สุดที่ต้องการ (Major career need) Schein ได้ค้นพบแบบของอาชีพที่โน้มเอียงไปในทางต่าง ๆ 5 ประเภทด้วยกัน คือ

1. พวกที่มีความสามารถในทางการบริหาร(Managerial Competence)

เป้าหมายของอาชีพเบื้องต้นของกลุ่มนี้ก็คือ จะพยายามพัฒนาความรู้ความสามารถในทางการบริหาร เช่น ความสามารถในเชิงเข้ากับคน ตลอดจนความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการฝึกให้มีความมั่นคงทางอารมณ์ ตำแหน่งต่าง ๆ ของบุคคลเหล่านี้ที่ดำรงอยู่หรือที่พยายามจะได้ก็คือ การเป็นผู้อำนวยการทางด้านการบริหารแผนงานของหน่วยงานหรือการเป็นผู้อำนวยการด้านการบริหารทั่ว ๆ ไป หรือเป็นประธานของบริษัท

2. กลุ่มที่มีความสามารถทางด้านเทคนิคและการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ (Technical/Funtional Competence)

จุดโน้มเอียงของกลุ่มนี้ที่สนใจเป็นพิเศษก็คืองานที่ปฏิบัติอยู่จริง ๆ ในปัจจุบันของแต่ละคน แผนของบุคคลเหล่านี้มุ่งที่จะให้มีความก้าวหน้าต่อเนื่องที่จะทำต่อเนื่องกันไปในงานเก่านี้เอง เช่น การเป็นพนักงานผลิตและมุ่งต่อไปที่จะเป็นผู้จัดการฝ่ายโรงงานหรือผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมในโฆษณาและผู้อำนวยการวิเคราะห์ต้นทุน ตามด้านงานเทคนิคหรือหน้าที่งานที่ชำนาญอยู่แล้วเป็นด้าน ๆ ไป

3. กลุ่มที่คำนึงถึงความมั่นคง (Security)

ผู้บริหารเหล่านี้มักจะมองตัวเองโดยสนใจที่จะตอบสนองหรือทำงานอยู่ในองค์การใดองค์การหนึ่งต่อไปในระยะยาว บุคคลเหล่านี้จะเสาะแสวงหาความมั่นคงความปลอดภัยในองค์การ ซึ่งตำแหน่งที่หวังของกลุ่มนี้มักจะมีแตกต่างกันออกไปเป็นแบบต่าง ๆ กัน

4. กลุ่มที่มีความคิดริเริ่ม (Creativity)

สำหรับผู้บริหารกลุ่มนี้จะเห็นได้ชัดว่า ได้มีการพัฒนาแรงจูงใจขึ้นมาอย่างมากและค่อนข้างเป็นแรงจูงใจที่มีแรงผลักดันสูง ที่จะมุ่งพยายามคิดค้นสิ่งใหม่ออกมาให้ได้และมีความตั้งใจที่จะออกไปประกอบอาชีพส่วนตัว เป็นเจ้าของกิจการของตนเองและหาทางที่จะค้นคว้าสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ ให้ปรากฎ

5. กลุ่มซึ่งต้องการเป็นอิสระ (Autonomy/Independence)

บุคคลเหล่านี้จะไม่ค่อยมีการปรับตัวได้ดีนักในการทำงานในองค์การ หรือเบื่อปัญหาวุ่นวาย เส้นสาย ตลอดจนเกมการเมืองในองค์การ และมักจะมุ่งหวังที่หลักการและมักจะลาออกมาประกอบอาชีพอิสระ เป็นที่ปรึกษาทั่วไป (Consultants) ของบริษัทต่าง ๆ Schien ได้ค้นพบข้อแตกต่างในพื้นฐานของกลุ่มพนักงานเหล่านี้ด้วย ซึ่งผลการวิจัยของเขาได้ช่วยเช็คสอบตรงกับผลการวิจัยของคนอื่น ซึ่งทำให้ทราบว่า การพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพนั้น จำเป็นต้องมีการจัดขึ้นเพื่อสำหรับการก้าวหน้าในหลาย ๆ ทางด้วยกันจึงจะเหมาะสม มากกว่าที่จะจัดหรือกำหนดไว้แน่นอนเพียงทางเดียว ซึ่งในเรื่องนี้ James Walker ได้ชี้ให้เห็นเช่นกันว่า การจัดสายงานอาชีพไว้หลาย ๆ ทางนั้น ก็เป็นเรื่องยากอยู่ไม่น้อย และนอกจากนี้สายงานอาชีพหรือทิศทางก้าวหน้าที่กำหนดขึ้นก็ควรจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของความเป็นไปได้ด้วย นั่นก็คือ การต้องมีพื้นฐานที่อิงอยู่กับแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเท่าที่มีอยู่ในองค์การนั้น ๆ ด้วย

1.3 การสมัครงาน

การเตรียมตัวก่อนสมัครงาน

  • ก่อนที่จะสมัครงาน ต้องหยุดคิดสักนิดว่า คุณอยากทำงานประเภทใด คุณเหมาะสมกับงานอาชีพไหน คุณจะทำอะไรให้กับนายจ้าง ของคุณได้บ้าง และคุณจะจัดระบบการหางานของคุณให้ดีได้อย่างไร

  • คิดและไตร่ตรองเรื่องสายอาชีพให้ถี่ถ้วน อย่าไปตามแห่กับเพื่อน เห่อไปตามกระแสปรึกษาผู้รู้ ญาติสนิทมิตรสหาย ผู้เชี่ยวชาญ และ หาโอกาสสอบถามจากผู้ที่อยู่ในสายอาชีพนั้นแล้ว

  • ก่อนจะเริ่มสมัครงานใดงานหนึ่ง ใช้เวลาย้อนอดีต ฟื้นความหลัง บันทึก ประสบการณ์ วุฒิ/การศึกษา/การฝึกอบรม ความสนใจ และ ความสำเร็จของคุณไว้เป็นทุนก่อน

  • เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อนำมาใช้ในการเขียนเอกสารสมัครงานได้ทันทีเมื่อถึงเวลา

  • ใช้แหล่งข่าว หาข้อมูลจากทุกสื่อ ทุกรูปแบบ เท่าที่จะหาได้ในการหางาน

  • เก็บเอกสารเกี่ยวกับการติดต่อสมัครงานไว้อย่างเป็นระบบ ถ่ายสำเนา จดหมายสมัครงาน resume ฯลฯ ต่าง ๆ เก็บไว้อ้างอิงภายหลัง

  • ให้ความสำคัญและเคารพผู้ที่คุณใช้เป็นบุคคลอ้างอิงอย่างดี ให้ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวในเรื่องการหางานของคุณอย่างต่อเนื่อง

  • รวบรวมหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ยื่นกับนายจ้างไว้ให้เป็นที่เป็นทาง

  • อย่าลืมเตรียมถ่ายรูป และสั่งอัดไว้แต่เนิ่น ๆ

1.4 หลักการทำงาน

ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน มักพูดแนะนำอยู่เสมอถึงวิธีการที่พวกเขาปฏิบัติตัว ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อคนทำงานมาแล้วหลายต่อหลายรุ่น ดังนี้

  • ข้อแรกเลยที่จะทำให้คุณทำงานได้ดี คือ ต้องสนุกสนานกับงานที่ทำ เมื่อคุณทำงานด้วยความสนุก คุณจะมีแรงขับ ในการพยายามที่จะทำงานให้ได้ดีที่สุด และประสบความสำเร็จ

  • นอกจากสนุกสนานแล้ว ยังต้องใส่ความเอาจริงเอาจังมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จลงไปด้วย ความเพียรพยายาม จะนำพาคุณไปพบกับความสำเร็จในที่สุด

  • ความเชื่อมั่นในตนเองต้องมีอยู่เสมอ เพราะนั่นจะทำให้คุณกล้าคิดกล้าทำ ซึ่งจะทำให้คุณได้เปรียบกว่าคนอื่น ๆ ที่มักทำตัวเป็นผู้ตามที่ดี ชอบทำตามที่คนอื่นคิด มากกว่าชอบแสดงความคิดเห็น

  • มีความคิดสร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้จากความคิดสร้างสรรค์ ถ้าคุณเป็นนักคิด รับรองได้ว่า คุณจะเป็นที่ต้องการของทุกองค์กรอย่างแน่นอน แม้ว่าวันนี้ยิ่งที่คิดอาจจะยังไม่เวิร์ก แต่ถ้าคุณยังไม่หยุดคิด สักวันมันต้องเวิร์ก

  • เมื่อคนจากหลากหลายสังคมมาอยู่รวมกันในสังคมใหม่ สิ่งที่ต้องการคือการปรับตัวได้รวดเร็ว คุณอาจต้องเพิ่ม หรือลดพฤติกรรม หรือนิสัยบางอย่างของคุณ เพื่อให้เข้ากับสังคมในที่ทำงานให้ได้อย่างรวดเร็ว

  • มีทีท่าในทางบวก คนที่คิดบวกจะแสดงท่าทีในทางบวก ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นที่รักและชื่นชมของคนรอบข้าง

  • เรื่องความมีระเบียบวินัยเป็นสิ่งที่ทุกคนถูกสอนมาตั้งแต่เล็ก ๆ อยู่แล้วในการทำงานก็เช่นกัน ต้องมาทำงานตรงเวลา ส่งงานตรงเวลา ปฏิบัติตามกฎบริษัทอย่างเคร่งครัด

  • มีความซื่อสัตย์ และช่วยเหลือผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จ คนดี มีน้ำใจ อยู่ที่ไหนก็มีแต่คนรักเอ็นดู และคอยสนับสนุน ให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

  • กล้าหาญที่จะเสี่ยง แน่นอนว่าไม่มีงานใดที่จะราบรื่นไปเสียทุกงาน เมื่อพบเจอกับอุปสรรค คุณต้องกล้าพอที่จะเสี่ยง เพื่อก้าวข้ามพ้นอุปสรรคไปให้ได้

  • สุดท้าย ถึงแม้ว่าที่กล่าวมาข้างต้นคุณจะมีดีพร้อมหมดแล้วทุกอย่าง แต่หากคุณไม่สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไร้ประโยชน์ ดังนั้น คุณจึงควรพัฒนาการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอยู่เสมอ เพื่อให้คุณสามารถถ่ายทอดแนวคิดต่าง ๆ เข้าถึงทุกคนได้อย่างแม่นยำ

http://th.jobsdb.com/th

#NewYork