แผนการ สอน ภาษาพูด ภาษาเขียน ม. 1

ภาษาพูด-ภาษาเขียน

ภาษาพูด และ ภาษาเขียน เป็นคำที่ใช้เรียกระดับของภาษา มิได้มีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า ภาที่ใช้สำหรับพูด และภาษาที่ใช้สำหรับเขียน ภาษาพูด หมายถึง ภาษาระดับลำลองหรือภาษาระดับไม่เป็นทางการ ส่วนภาษาเขียน หมายถึง ภาษาระดับแบบแผนหรือภาษาระดับทางการ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนสามารถใช้สื่อสารโดยวิธีพูดหรือโดยวิธีเขียนก็ได้ กล่าวคือ เราอาจพูดเป็นภาษาเขียน หรือเขียนเป็นภาษาพูดก็ได้ เช่น
ข้อความว่า แต่ละบ้านควรทำบัญชีให้รู้ว่าเดือนนึงๆ มีรายรับและรายจ่ายเท่าไหร่ เป็นภาษาพูด
ข้อความเดียวกันนี้ ถ้าเป็นภาษาเขียนจะใช้ว่า แต่ละครอบครัวควรทำบัญชีให้รู้ว่าแต่ละเดือนมีรายรับและรายจ่ายเท่าไร ข้อความนี้อาจใช้พูดหรือใช้เขียนก็ได้
ตามปรกติ เมื่อคนเราพูด มักใช้ภาษาที่เป็นทางการน้อยกว่าเมื่อเราเขียนภาษาพูดแม้จะไม่เป็นทางการนักแต่ก็สร้างความรู้สึกเป็นกันเองแก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง ส่วนภาษาเขียนมีลักษณะเป็นทางการ จริงจัง และสร้างความรู้สึกเหินห่างแก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง ดังนั้น การจะเลือกใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน ผู้ใช้ภาษาต้องพิจารณาสถานการณ์ ความประสงค์ของผู้ใช้ภาษา สถานภาพและระดับความสัมพันธ์กับผู้อ่านหรือผู้ฟังเป็นสำคัญ เมื่อพูดกับเพื่อน พูดกับพ่อแม่เขียนบันทึกไดอารี่ เขียนข้อความสั้นๆ ฝากให้พี่ ควรใช้ภาษาพูด แต่ถ้าพูดรายงานหน้าชั้นเรียน พูดในที่ประชุม กล่าวสุนทรพจน์ พูดสัมภาษณ์เมื่อสมัครงานหรือเรียนต่อ เขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ เขียนข้อความสั้นๆ ถึงครู ควรใช้ภาษาเขียน
ในนิยาย เรื่องสั้น หรือนวนิยาย เมื่อตัวละครพูดคุยกัน ผู้แต่งมักใช้ภาษาพูด และอาจเขียนเลียนตามเสียงที่พูด เช่นเขียนว่า รู้งี้ ชั้นไปหาเค้าที่บ้านซะดีกว่า แทนที่จะเขียนว่า รู้อย่างนี้ฉันไปหาเขาที่บ้านเสียดีกว่า
เรื่อง เพื่อนกัน เป็นเรื่องสั้น ผู้แต่ใช้ภาษาพูดอยู่ตลอดเรื่อง ภาษาพูดมีข้อควรสังเกตดังนี้
๑. เป็นภาษาที่ไม่ได้ตกแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นพิเศษ เช่น
– ผมว่าตอนนี้ปู่ชักจะพูดมากไปสักหน่อย ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ผมคิดว่าตอนนี้ปู่ค่อนข้างจะพูดมากเกินไป
– ไม่ว่าผมจะทำอะไร จะไปไหนมาไหน ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ไม่ว่าผมจะทำอะไร หรือจะไปที่ไหน
– ปู่หันขวับมาทางผมทันทีแล้วส่งเสียงดังใส่ผม ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ปู่หันมาทางผมทันทีแล้วพูดกับผมด้วยเสียงอันดัง
– นี่แหละครับ เป็นตอนที่ผมไม่ชอบ ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจะใช้คำว่า คำพูดอย่างนี้ ผมไม่ชอบครับ
– ผมละหมั่นไส้ไอ้แจ้ของปู่จริงๆ ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้วอาจใช้ว่า ผมรู้สึกขวางหูขวางตาเจ้าแจ้ของปู่มาก หรือ ผมไม่ชอบเจ้าแจ้ของปู่เลย
– ผมเป็นคนปั่นจักรยานนะครับ มีปู่อุ้มไอ้แจ้นั่งซ้อนท้าย ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ผมเป็นคนขี่จักรยานให้ปู่อุ้มเจ้าแจ้นั่งซ้อนท้าย
๒. สำนวนที่ใช้ในภาษาพูดบางสำนวน หรือบางส่วนของสำนวน อาจตัดทิ้งได้หากเป็นภาษาเขียน เช่น คำหรือข้อความที่พิมพ์ด้วยตัวเอนต่อไปนี้
– ไม่ว่าผมจะทำอะไร จะไปไหนมาไหน ปู่เป็นต้องถามอยู่นั่นแล้วว่าผมจะไปไหน
– ผมออกจะรำคาญๆ อยู่
-ห้ามเอาเปลือกอะไรต่อมิอะไร ทิ้งในถังขยะ
– คนอย่างผมน่ะหรือจะเอาตัวไปเทียบกับไก่ ไปอิจฉาไก่ ไม่มีทางหรอกพ่อ
๓. คำและสำนวนที่ใช้ใจภาษาพูดมักมีคำลงท้าย ซึ่งแสดงความรู้สึกเจตนาหรือทัศนะบางประการ เช่น นะ น่ะ สิ ละ คำลงท้ายเหล่านี้จะไม่ปรากฏในภาษาเขียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาเขียนที่เป็นคำอธิบาย หรือคำบรรยายทางวิชาการ
นอกจากนี้ ในภาษาไทยยังมีคำลงท้ายอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งแสดงความสุภาพในภาษาพูด เช่น ครับ ขา คะ ค่ะ จ๊ะ จ้ะ ฮะ และคำลงท้ายอีกกลุ่มหนึ่งจัดเป็นคำไม่สุภาพ เช่น ยะ ย่ะ วะ ว่ะ โว้ย คำลงท้ายทั้ง ๒ กลุ่มนี้ก็ไม่ปรากฏในภาษาเขียนเช่นเดียวกัน
๔. ในภาษาพูด มีคำจำนวนหนึ่งมักออกเสียงไม่ตรงกับรูปเขียน ได้แก่ คำที่มีความหมายเป็นคำถาม เช่น
หรือ ออกเสียงว่า รึ, เหรอ, เรอะ
อย่างไร ออกเสียงว่า ยังไง, ไง
เท่าไร ออกเสียงว่า เท่าไหร่
เมื่อไร ออกเสียงว่า เมื่อไหร่
ไหม ออกเสียงว่า มั้ย, มะ
คำสรรพนามบางคำ ก็มักออกเสียงไม่ตรงกับรูปเขียน เช่น
ฉัน ออกเสียงว่า ชั้น
ผม ออกเสียงว่า พ้ม
เขา ออกเสียงว่า เค้า
ดิฉัน ออกเสียงว่า ดิชั้น, ดั๊น, เดี๊ยน
นอกจากนี้ยังมีคำบางคำที่มักออกเสียงไม่ตรงกับรูปเขียน เช่น
อย่างนี้ ออกเสียงว่า ยังงี้, งี้
อย่างนั้น ออกเสียงว่า ยังงั้น, งั้น
สัก ออกเสียงว่า ซัก, ซะ
หนึ่ง ออกเสียงว่า นึง
คำเหล่านี้เป็นคำที่ต้องอ่านหรือออกเสียงอย่างภาษาพูด แต่ในการเขียนต้องเขียนตามรูปเขียนที่กำหนดไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

เมนูหลัก

ภาษาไทย ท ๒๑๑๐๒

แผนการจัดการเรียนรู้

  • แผนการจัดการเรียนรู้ ท ๒๑๑๐๒

โครงการ

งานวิจัยทางภาษาไทย

แผนการจัดการเรียนรู้ ท ๒๑๑๐๒

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 20:58

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 20:59

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 20:59

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 20:59

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 20:59

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 20:59

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 20:59

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

8 พ.ย. 2559 00:19

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:30

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:30

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:30

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:30

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:31

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:31

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:31

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:31

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:31

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:31

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

8 พ.ย. 2559 00:19

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:31

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:31

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:31

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

8 พ.ย. 2559 00:20

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 20:59

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 21:00

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 21:00

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 21:00

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 21:00

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 21:00

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 21:00

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 21:00

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 21:00

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

6 ก.พ. 2560 21:01

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

8 พ.ย. 2559 00:20

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:29

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:30

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:30

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:30

ĉ

ไม่ทราบผู้ใช้,

25 ม.ค. 2560 01:30