อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

          ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏว่าอย่างน้อยก็เมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๑ ที่แคว้นสุโขทัยทั้งหมด ได้กลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ที่ชาวอยุธยาเรียกว่าเมืองเหนือแล้ว เพราะในปีนี้เป็นปีที่ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (สมเด็จเจ้าสามพระยา) ได้ส่งโอรสที่สมภพจากพระชายาราชวงศ์สุโขทัย มาครองเมืองพิษณุโลก ในตำแหน่งพระราเมศวร อันเป็นตำแหน่งพระมหาอุปราช ปกครองกลุ่มเมืองเหนือทั้งมวล โดยขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาอีกทีหนึ่ง

Show

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

อาณาจักรสุโขทัย

สร้างโดย : นางสาวอภัสรา มูลมณี นางมาลัยวรรณ จันทร
สร้างเมื่อ พฤ, 18/11/2010 – 10:10
อาณาจักรสุโขทัย

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

…………….สวัสดีคะทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม…………….

           บล็อกนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาณาจักรสุโขทัย อาทิเช่น พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัย การติดต่อทำการค้าขายกับต่างประเทศ ด้านศิลปะวัฒนธรรม ฯลฯ เนื้อหาในส่วนนี้จะเกี่ยวเนื่องกับวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งนักเรียนทุกระดับชั้น และผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาชมและศึกษาได้
           ข้าพเจ้าหวังว่าบล็อกนี้จะสามารถให้ความกระจ่างศาสตร์แก่ทุกท่าน หากผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมานั้นที่นี้ด้วย แล้วทุกท่านก็สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นหรือติชมบล็อกได้นะคะ ข้าพเจ้ายินดีที่จะปรับปรุงเมื่อมีข้อผิดพลาด ด้วยสุดความสามารถของข้าพเจ้า

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

ประวัติศาสตร์สุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย (1762-1981)

           อาณาจักร สุโขทัยได้รับการสถาปนาขึ้น ใน พ.ศ. 1762 เมื่อพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด ได้รวมกำลังกันขับไล่ขอมสมาดโขลญลำพงออกจากดินแดนสุโขทัยได้สำเร็จ  ซึ่งแต่เดิมกรุงสุโขทัยเคยมีผู้นำคนไทยปกครองมาก่อนคือพ่อขุนศรีนาวนำถม หลังจากพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขอมก็ได้มายึดอำนาจการปกครองไป  ดังนั้นทั้งสองพระองค์จึงมายึดอำนาจการปกครองคืน และได้สถาปนาให้พ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัยทรงพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย  และในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้มีการขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวางจนทำให้กรุงสุโขทัยเป็นปึกแผ่นมั่นคง

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

(ที่มา:http://server.thaigoodview.com/files/u19918/246PX-_1.jpg)

ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนากรุงสุโขทัย

  1. ขอมเริ่มเสื่อมอำนาจ ใน พ.ศ. 1762 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ของขอมสิ้นสุดอำนาจการปกครองทำให้อาณาจักรขอมเริ่มอ่อนแอลง ทำให้สุโขทัยสามารถสร้างราชธานีได้สำเร็จ
  2. ความเข้มแข็งของผู้นำ คือพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ตลอดจนความสามัคคีของคนไทยทำให้สามารถ ต่อสู้กับทหารขอมจนกระทั่งได้รับชัยชนะและประกาศตนเป็นอิสระไม่ต้องอยู่ภาย ใต้อิทธิพลของขอมอีกต่อไป
  3. คนไทยมีนิสัยที่รักความมีอิสระเสรี ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยประจำชาติอย่างหนึ่งของคนไทย เมื่อพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง มีนโยบายที่จะขับไล่พวกขอมจึงได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากคนไทยอย่างพร้อม เพรียง
  4. สภาพทำเลที่ตั้งของกรุงสุโขทัยที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมทำให้มีความสะดวก ทั้งทางบกและทางน้ำ สามารถติดต่อกับเมืองอื่น ๆ ได้และไม่ต้องหวั่นเกรงกับการถูกปิดล้อมจากข้าศึก

พระมหากษัตริย์ของสุโขทัย

           พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงของอาณาจักรสุโขทัยและมีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อมารวมทั้งสิ้น 9 พระองค์ ดังต่อไปนี้

  1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง
  2. พ่อขุนบานเมือง เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
  3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และเป็นพระอนุชาของพ่อขุนบานเมือง
  4. พญาเลอไท เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
  5. พญางั่วนำถุม เป็นพระอนุชาของพญาเลอไท
  6. พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เป็นพระราชโอรสของพญาเลอไท
  7. พระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 1
  8. พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) เป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 2
  9. พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 3

ลักษณะการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย

1. การปกครองแบบปิตุราชา หรือ พ่อปกครองลูก ระยะแรกของการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยมีจำนวนประชากรไม่มากนักโดยเฉพาะสามรัชกาลแรกแห่งสุโขทัยตอนต้น ที่มีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุนได้ใช้รูปแบบการปกครองที่ยึดหลักความสัมพันธ์ของครอบครัว พระมหากษัตริย์ทรงวางพระองค์เป็นเสมือนพ่อของประชาชนที่มีความใกล้ชิดกับราษฎร ยามใดที่ราษฎรเดือดร้อน สามารถสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่ประตูวังเพื่อร้องทุกข์ พระมหากษัตริย์สามรัชกาลแรกที่ใช้การปกครองแบบปิตุราชา ได้แก่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนบานเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

(ที่มา http://www.bloggang.com/data/mystorymontonmai/picture/1226471623.jpg)

2. การปกครองแบบธรรมราชา ธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ปฏิบัติธรรมหรือกษัตริย์ผู้มีธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรงเกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่างเดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย

สมัยสุโขทัยตอนต้น (พ.ศ.1762-1840)

           คือช่วงต้นของการสถาปนากรุงสุโขทัย จนสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยมีลักษณะการเมืองการปกครอง ดังนี้

การปกครอง  มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฏรมีลักษณะเหมือนพ่อกับลูกดังจะเห็นได้จาก

  1. คำนำหน้าพระนามกษัตริย์ใช้เรียกว่า “พ่อขุน”
  2. ให้แขวนกระดิ่งไว้ที่หน้าประตูวังเพื่อให้ราษฎรที่เดือดร้อนได้ไปสั่นกระดิ่งร้องทุกข์
  3. ในบางครั้งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจะทรงประทับบนพระแท่นมนังคศิลาบาตรเพื่อทรงอบรมสั่งสอนราษฎรด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิดในวันธรรมสวนะ  

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

(ที่มา http://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/IMG_0004%281%29.jpg)

อาณาเขตการปกครอง

           อาณาเขตการปกครองใน สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีการขยายออกไปกว้างขวางที่สุด ได้แก่

– ทิศเหนือ มีอาณาเขตไปถึงเมืองหลวงพระบาง
– ทิศตะวันออก มีอาณาเขตไปถึงเมืองเวียงจันทน์และเมืองเวียงคำ
– ทิศใต้ มีอาณาเขตไปถึงฝั่งทะเลจดเขตเมืองนครศรีธรรมราช
– ทิศตะวันตก มีอาณาเขตไปถึงเมืองหงสาวดี 

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

แผนที่สุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหง

(ที่มา http://4.bp.blogspot.com/_gHZdLP0ORF4/TDGn9X5PYUI/AAAAAAAABGQ/RRKjMHjv0_…)

แบบแผนการปกครอง

           การจัดแบบแผนการปกครองในราชอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย
           อาณาจักรสุโขทัยโดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีการจัดแบบแผนการปกครองในลักษณะกระจายอำนาจ จากราชธานีออกสู่หัวเมืองต่างๆ โดยแต่งตั้งให้เจ้าเมืองไปปกครองดูแลตามแต่ละหัวเมืองและได้จัดลำดับความสำคัญของเมือง ดังนี้

  1. เมืองราชธานีหรือเมืองหลวงตั้งอยู่ที่กรุงสุโขทัย เป็นเมืองที่ประทับของพระมหากษัตริย์ มีพระราชวังและวัดวาอารามที่ใหญ่โตเป็นจำนวนมาก ตลอดจนเป็นศูนย์รวมด้านการปกครอง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม พระมหากษัตริย์เป็นผู้บัญชาการและเป็นผู้ปกครอง
  2. หัวเมืองชั้นใน(เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน) เป็นเมืองที่มีความสำคัญรองมาจากราชธานี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรส หรือบุคคลในราชวงศ์ไปปกครองดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ เมืองลูกหลวงมีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ แต่ละเมืองตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ และมีระยะทางห่างจากราชธานีประมาณ 2 วัน ได้แก่
    • ทิศเหนือ ศรีสัชนาลัย
    • ทิศใต้ สระหลวง
    • ทิศตะวันออก สองแคว
    • ทิศตะวันตก นครชุม
  3. หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เมืองนี้มีที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองลูกหลวงไปอีกชั้นหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งชนชั้นเจ้านายและขุนนางไปปกครองดูแล เจ้าเมืองจะมีตำแหน่งเป็นขุนมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองตนเอง แต่ต้องเตรียมกำลังคนและเสบียงอาหารมาช่วยในยามมีศึกสงคราม เมืองพระยามหานคร ได้แก่เมืองนครสวรค์ เมืองกาญจนบุรี เมืองเชียงทอง เมืองชัยนาท
  4. เมืองประเทศราช (เมืองขึ้น) เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจนถึงชายพระราชอาณาเขตถูกรวมเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยด้วยการทำสงคราม ชาวเมืองมีทั้งคนไทยและคนต่างชาติต่างภาษา เจ้าเมืองเดิมมีสิทธิ์ขาดในการปกครองของตนเช่นเดิม เมื่อยามสงบ เมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมายังกรุงสุโขทัยตามกำหนด 3 ปีต่อครั้ง หากเมืองขึ้นถูกรุกรานกรุงสุโขทัยจะส่งกองทัพไปช่วยเหลือ หากมีข้าศึกยกมาตีกรุงสุโขทัย บรรดาเมืองประเทศราชต้องส่งกำลังมาช่วยรบ เมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองเวียงจันทร์ เมืองหลวงพระบาง เมืองหงสาวดี

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

(ที่มา http://203.172.204.162/intranet/1046_e-learning/www.e-learning.sg.or.th/act4_3/pic/Picture.jpg)

สมัยสุโขทัยตอนปลาย (พ.ศ.1841-1981)

           คือช่วงตั้งแต่สมัยพญาเลอไทไปจนถึงสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)

การเมืองการปกครอง

           หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีการจัดรูปแบบการปกครองใหม่ ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นข้อปฏิบัติ คือ “หลักทศพิธราชธรรม” อันกล่าวถึงลักษณะของกษัตริย์ที่เรียกว่า “ธรรมราชา” หรือ พระราชาผู้ประพฤติธรรม โดยพระองค์ทรงมุ่งใช้หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาให้เกิดประโยชน์ในการปกครองบ้านเมืองซึ่งลักษณะธรรมราชานี้ปรากฏอยู่ใน “ไตรภูมิพระร่วง”คือ วรรณกรรมที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ. 1888

อาณาเขตการปกครองของ สุโขทัยตอนปลาย

           หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยเริ่มเกิดความไม่มั่นคงทางการเมือง ขณะเดียวกันอาณาจักรอยุธยาเริ่มเข้มแข็ง บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ก็ตั้งตนเป็นอิสระ อาณาจักรสุโขทัยจึงมีอาณาเขตลดน้อยลง

แบบแผนการปกครองของ สุโขทัยตอนปลาย

           ยังคงปกครองบ้านเมืองแบบเดิม แต่ได้นำเอาคติธรรมราชามาใช้ในการปกครองบ้านเมืองด้วย ซึ่งทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข มีความสัมพันธ์อย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกษัตริย์กับราษฎร และหลักธรรมทางศาสนาและหลักธรรมทางศาสนาที่นำมาใช้ได้แก่ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และราชจรรยานุวัตร

ลักษณะทางสังคมและศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรสุโขทัย

ลักษณะทางสังคมของอาณาจักรสุโขทัย
กลุ่มคนในสังคมสุโขทัยแบ่งเป็นชนชั้น แต่ละชนชั้น แบ่งออกเป็น ๖ กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ชนชั้นปกครอง ได้แก่ กษัตริย์ ราชวงศ์ชั้นสูง ขุนนาง
2. ชนชั้นใต้ปกครอง ได้แก่ ไพร่ ข้า
3. ชนชั้นนักบวชในศาสนา ได้แก่ พระสงฆ์

1.ชนชั้นปกครอง ประกอบด้วย

ลำดับที่ 1 กษัตริย์หรือเจ้านายมีอำนาจสูงสุดในอาณาจักรสุโขทัย เป็นผู้บำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน สร้างความเป็นปึกแผ่นในอาณาจักร ตลอดจนการดำรงชีวิต และการทำมาหากินของประชาชน เป็นผู้นำกองทัพส่งเสริมทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา

ลำดับที่ 2 ราชวงศ์ชั้นสูงมีเชื้อสายเดียวกับพระมหากษัตริย์และเป็นชนชั้นที่พระมหากษัตริย์ทรงไว้วางใจ และมีความใกล้ชิดพระองค์ โดยกษัตริย์จะส่งไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ที่สำคัญ

ลำดับที่ 3 ขุนนางหรือข้าราชการ มีหน้าที่ดูแลบ้านเมืองปกครองประชาชน ตามพระบรมราชโองการของกษัตริย์ โดยพระมหากษัตริย์ทรงโปรดใหขุนนาง ข้าราชการ มีส่วนร่วมในการปกครองแต่ไม่มีอำนาจใดๆ ต้องรับนโยบายปกครอง และการตัดสินพระทัยจากพระมหากษัตริย์

2.ชนชั้นใต้ปกครอง ประกอบด้วย

ลำดับที่ 1 ไพร่ คือราษฎรสามัญชนธรรมดา มีอิสระในการดำรงชีวิตอยู่ภายใต้การควบคุมของขุนนาง ตามพระราชโองการของพระมหากษัตริย์ จะถูกขุนนางเกณฑ์แรงงานไปรับใช้แก่ราชการเป็นครั้งคราว เช่น การเกษตรกรรม การก่อสร้าง และการชลประทาน นอกจากนั้นไพร่ในสุโขทัยได้รับสิทธิหลายด้านได้แก่ สิทธิในการประกอบอาชีพ ทรัพย์สิน การรับมรดก จากหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 เรียกชนชั้นนี้ว่า ลูกบ้านลูกเมือง

ลำดับที่ 2 ข้า พวกข้ามิใช่พวกทาส ข้าในสมัยสุโขทัยเป็นผู้ติดตาม คอยรับใช้ชนชั้นปกครอง มีอิสระในการดำรงชีวิตของตนเองอยู่บ้าง

3.ชนชั้นนักบวชในศาสนา

ลำดับที่ 1 พระสงฆ์ เป็นผู้สืบทอดเผยแผ่พระพุทธศาสนา สั่งสอนประชาชน ให้ความศรัทธาต่อพระสงฆ์ ตลอดจนเป็นผู้เชื่อมโยงให้ชนชั้นปกครอง และชนชั้นใต้ปกครองอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

ลักษณะทางเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัย

           ลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย ขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของราษฎร คือ การเกษตรกรรม หัตถกรรม และ ค้าขาย

การเกษตร

           อาชีพหลักของชาวสุโขทัย คือ เกษตรกรรมได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และการเลี้ยงสัตว์ ชาวสุโขทัยมีการสร้างระบบชลประทานที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากสุโขทัยมีปัญหาความแห้งแล้งในฤดูแล้ง เพราะดินเป็นดินปนทราย ทำให้ดินไม่อุ้มน้ำ จึงมีการสร้างเขื่อนดินทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัย เขื่อนดินนี้ เรียกว่า สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง สำหรับเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขา และขนระบายน้ำเข้าไปใช้ภายในตัวเมือง และบริเวณใกล้เคียงตัวเมือง นอกจากนี้ภายในตัวเมืองยังมีการขุดสระน้ำที่เรียกว่า ตระพัง เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้สอย

           พืชที่ปลูกมาก คือ ข้าว รองลงมาเป็นผลไม้ เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว หมากพลู เป็นต้น โดยพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มทางแถบเมืองศรีสัชนาลัย ชากังราว สองแคว และนครชุม

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

(ที่มา http://2.bp.blogspot.com/_MbRYxkD-emI/Suf9Uo4S_DI/AAAAAAAAKbE/WzKV2sRqUo…)

อุตสาหกรรม

           ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากของสุโขทัยคือ เครื่องสังคโลก มีแหล่งผลิตอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย สินค้าเครื่องสังคโลกที่ผลิต ได้แก่ ถ้วย โถ จาน ไห กระปุก เป็นต้น นอกจากค้าขายกันภายในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งจากการสำรวจทางโบราณคดีได้พบแหล่งเตาเผามากมาย โดยเฉพาะบริเวณทิศเหนือนอกกำแพงเมืองสุโขทัย น้ำโจน และเมืองศรีสัชนาลัย ริมฝั่งแม่น้ำยม  ที่รู้จักกันดี คือ เตาทุเรียงสุโขทัย เตาทุเรียงป่ายาง และเตาทุเรียงเกาะน้อย

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้
เตาทุเรียง

(ที่มา http://www.siamfreestyle.com/forum_classic/uploads/post-1-1192264874.jpg)

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้
เครื่องสังคโลก

ที่มา http://www.amulet1.com/showimg.php?img=detail&id=47 

การค้าขาย

           การค้าขายในสุโขทัยที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายอยู่ 2 ประเภท คือการค้าขายภายในอาณาจักรและการค้าขายกับต่างประเทศ การค้าภายในอาณาจักรเป็นการค้าแบบเสรี มีตลาดเป็นศูนย์กลางการค้า เรียกว่า ” ปสาน “ไว้สำหรับประชาชนจากถิ่นต่างๆ ที่เดินทางมาแลกเปลี่ยนสินค้ากัน การค้าขายระหว่างเมืองจะไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่าน ที่เรียกว่า ” จกอบ ” ดังศิลาจารึก กล่าวว่า “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง” ทำให้ประชาชนค้าขายได้อย่างเสรี

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้
ปสาน

(ที่มา http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/sukhotai/img24.jpg)

           การค้าขายกับต่างประเทศ เช่น การค้ากับหงสาวดี ขอม มลายู ชวา ซึ่งสินค้าออกที่สำคัญได้แก่ เครื่องเทศและของป่า เช่น พริกไทย ไม้ฝาง งาช้าง หนังสัตว์ ไม้หอม นอแรด ส่วนสินค้าเข้าเป็นประเภทผ้าไหม เครื่องประดับ โดยเฉพาะผ้าไหมที่พ่อค้าจีนนำมาขายเป็นที่ต้องการของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงและขุนนางสุโขทัย

ระบบเงินตรา

           สุโขทัยมีการค้าขายในชุมชนของตนเองและกับพ่อค้าต่างบ้านต่างเมือง จึงมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและการซื้อขายในระบบเงินตรา เงินตราที่ใช้ คือ “เงินพดด้วง” ซึ่งทำจากโลหะเงิน ก้นเบี้ยหอย มีขนาดตั้งแต่ 1-4 บาท โดยมีการใช้เงินตราเป็นสื่อการในการแลกเปลี่ยน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการซื้อขาย

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

(ที่มา http://www.izeeyou.net/images/862_6.jpg )  

การเก็บภาษีอากร

           สุโขทัยไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่าน หรือ จกอบ แต่จะเก็บภาษีอื่น ๆ เช่น ธรรมเนียมต่าง ๆ ภาษีรายได้การค้า ค่านา เป็นต้น 

ด้านภาษา

           การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 คือ ลายสือไทย สันนิษฐานว่า ดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอมหวัด และมอญโบราณ นับว่าเป็นมรดกอันยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรมสุโขทัย อักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้น มีลักษณะการวางรูปตัวอักษร คือ สระ พยัญชนะ จะอยู่บรรทัดเดียวกัน สระจะอยู่หน้าพยัญชนะ มีวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ เสียงเอกและเสียงโท ในสมัยต่อมาได้มีการปรับปรุง โดยนำสระเขียนไว้ ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลังของพยัญชนะ เพิ่มวรรณยุกต์จนออกเสียงได้ครบ และได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับจนเป็นอักษรที่ใช้กันทุกวันนี้ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ตัวอักษรแล้ว โปรดฯให้จารึกเรื่องราวสมัยสุโขทัยลงในหลักศิลาจารึก โดยมีหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 เป็นหลักแรก ที่แสดงถึงเรื่องอักขรวิธีของภาษาไทยและเรื่องราวต่างๆ ด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของสุโขทัย

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

(ที่มา http://203.144.136.10/service/mod/heritage/king/sukhotai/th28.jpg )

ด้านวรรณกรรม

           วรรณกรรมในสมัยกรุงสุโขทัยมีอยู่หลายประเภท ส่วนใหญ่ออกมาในรูปของ การสดุดีวีรกรรม ศาสนา ปรัชญา โดยมีวรรณกรรม ที่สำคัญ ดังนี้

  • หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้จารึกตัวอักษร ลงบนหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 นับว่าเป็นหลักแรกที่แสดงถึงอักขรวิธีของภาษาไทย และเป็นวรรณกรรมที่แสดงถึงสภาพสังคม วัฒนธรรม ประเพณีของอาณาจักรสุโขทัย
  • ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) เป็นผู้พระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 1888 โดยพระองค์มีพระราชประสงค์ ใช้เทศนาโปรดพระราชมารดาและสั่งสอนประชาชนของสุโขทัย ให้บรรลุถึงนิพพาน วรรณกรรมไตรภูมิพระร่วงจะบรรยายถึงภาพของนรกสวรรค์ไว้อย่างชัดเจน โดยสอนให้รู้จักบาปบุญ คุณโทษ รู้ชั่ว เกรงกลัวต่อโทษที่จะได้รับจากการทำความชั่ว

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

(ที่มา http://www.thaisecondhand.com/view/productpic/09/01/p7193226n1.jpg)

  • สุภาษิตพระร่วง นับว่าเป็นวรรณกรรมที่มีค่ายิ่ง มีวัตถุประสงค์ที่จะสอนคน ให้มีความรู้และการปฏิบัติตนต่อบุคคลอื่น

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

(ที่มา http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/Pasit2.jpg)

  • ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ วัตถุประสงค์ในการแต่งวรรณกรรมเรื่องนี้ เพื่อให้คำแนะนำตักเตือนข้าราชการ สำนักฝ่ายในให้มีกิริยามารยาทที่เหมาะสมกับศักดิ์ศรีของตนเอง เป็นการเชิดชูเกียรติยศของพระมหากษัตริย์

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

(ที่มา http://i365.photobucket.com/albums/oo93/chirapattras/loykrathong.jpg)

ลักษณะทางศิลปและวัฒนธรรมของอาณาจักรสุโขทัย

           สุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปะ มีช่างที่ชำนาญหลายสาขา มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีความงดงามมาก ได้แก่ ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ดังปรากฏจากซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ นับได้ว่าเป็นมรดก อันล้ำค่าที่คนไทยต้องช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป ศิลปะสมัยสุโขทัยที่ยังหลงเหลืออยู่ มีดังนี้

ด้านสถาปัตยกรรม

           สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย เป็นสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนา ได้แก่

  • เจดีย์ เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประดิษฐานพระมหาธาตุ และใช้สักการะพระพุทธเจ้า ก่อสร้างด้วยอิฐ หินหรือศิลาแลง มีลักษณะเป็นยอดแหลม เจดีย์ที่นิยมสร้างในอาณาจักรสุโขทัยมี 3 รูปทรง ดังนี้

           1. เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม เจดีย์รูปทรงนี้ส่วนฐานสร้างเป็น รูปสี่เหลี่ยมย่อมุม บนยอดเจดีย์เป็นรูปดอกบัวตูม เช่น เจดีย์วัดตระพังเงิน จังหวัดสุโขทัย เจดีย์พระศรีมหาธาตุ อำเภอศรีสัชนาลัย และเจดีย์ทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์ เป็นแบบเฉพาะของศิลปะสุโขทัย

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

ที่มา http://mcrutak.ob.tc/picture/12413/1241309812mcrutak.jpg

           2. เจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกา (ทรงระฆังคว่ำ)เจดีย์รูปทรงนี้เป็นพระเจดีย์ทรงกลม ลายกลีบบัวประกบบริเวณส่วนล่างขององค์ระฆัง เช่น เจดีย์วัดช้างล้อม อำเภอศรีสัชนาลัย นอกจากนั้นเจดีย์ทรงกลมนิยมสร้างมากในกรุงสุโขทัย

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

ที่มา http://static.panoramio.com/photos/medium/32022618.jpg

           3. เจดีย์ทรงเรือนธาตุ เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างศรีวิชัยผสมลังกา เจดีย์รูปทรงนี้มีฐานเป็นสี่เหลี่ยมสถูปแบบศรีวิชัย ตอนบนเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา เช่น เจดีย์ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

ที่มา http://www.pixpros.net/forums/attachment.php?attachmentid=206301&stc=1&d…

  • วิหาร อาณาจักรสุโขทัย นิยมสร้างวิหารที่มีขนาดใหญ่กว่าโบสถ์เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีอุปสมบท ประกอบสังฆกรรมของพระสงฆ์ ประดิษฐานพระพุทธรูปและใช้เป็นที่ประชุมเพื่อฟังธรรมของประชาชนจำนวนมาก วิหารมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วัสดุที่ใช้ในการสร้างวิหารได้แก่ ศิลาแลง อิฐ ไม้ วิหารที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในอาณาจักรสุโขทัย ได้แก่ วิหารหลวง ที่วัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

ที่มา http://www.pixpros.net/forums/attachment.php?attachmentid=219307&stc=1&d…

  • มณฑป เป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีขนาดเล็กกว่าวิหารลักษณะของมณฑป จะก่อเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีหลังคาสูง 

ด้านประติมากรรม

           ผลงานด้านประติมากรรมของอาณาจักรสุโขทัย ส่วนใหญ่เป็นการสร้างพระพุทธรูป มักนิยมหล่อด้วยสำริดและปั้นด้วยปูน โดยนิยมสร้างด้วยอริยาบททั้ง ๔ คือ ยืน นอน นั่ง และเดิน ร่องรอยที่ปรากฏแรกๆ การสร้างพระพุทธรูป มักสร้างด้วยปูน เช่น พระอจนะ ซึ่งประดิษฐานภายในมณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ต่อมาได้รับอิทธิพลการสร้างพระพุทธรูปมาจากศิลปะลังกา ได้มีการหล่อด้วยสำริด และโลหะ เช่น พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้
พระอจนะ วัดศรีชุม

ที่มา http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/9/96/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B…

ลักษณะของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

           พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เป็นศิลปะแบบไทยแท้จะต่างจากศิลปะของลังกาและอินเดีย มีลักษณะเด่น คือ มีลักษณะส่วนโค้งที่งามสง่าอ่อนช้อย ประณีต มีพระเกศาทำขมวดเป็นก้นหอยแหลมสูง ยอดพระเมาลีเป็นเปลวเพลิง พระพักตร์รูปไข่สงบ มีรอยยิ้มเล็กน้อย พระเนตรฉายแววเมตตา พระนาสิกแหลมงุ้ม และมีพระสังฆาฏิที่ยาวจรดพระนาภี นอกจากงานประติมากรรมของสุโขทัยที่มีการสร้างพระพุทธรูปแล้ว ยังมีการหล่อเทวรูปด้วยสำริดและโลหะ มักนิยมสร้างเป็นรูปพระอิศวร พระนารายณ์ พระวิษณุ ประดิษฐานไว้ที่หอเทวาลัยมหาเกษตร เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู

สาขาจิตรกรรม

           จิตรกรรมที่พบสมัยสุโขทัยมีทั้งภาพลายเส้น และภาพสีฝุ่น มีภาพจำหลักลายเส้นลงในแผ่นหินชนวนเป็นภาพชาดก พบที่วัดศรีชุมเมืองสุโขทัย

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

ที่มา http://www.jitdrathanee.com/thaksinawat/suwat/images/sri-chum_26.jpg

ด้านศาสนา

           ศาสนาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งในสมัยสุโขทัย เพราะถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย นอกจากนั้นยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอื่น เช่น การปกครอง ประเพณี เริ่มแรกคนไทยในสุโขทัยนับถือผีสางเทวดา ต่อมาได้มีชนชาติอื่นนำศาสนาที่มีหลักปฏิบัติที่มีแบบแผนเข้ามาเผยแผ่ จึงได้นำความเชื่อของศาสนาเหล่านั้นมาผสมผสานกับความเชื่อเดิมของตน เช่น จากขอม จากศาสนาพราหมณ์ จากพุทธนิกายมหายานจากจีน

ความเจริญทางพระพุทธศาสนา

  • สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามา มีบทบาทมากในกรุงสุโขทัยพระองค์ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มั่นคง โดยประชาชนชาวสุโขทัยมีโอกาสศึกษาธรรมและฟังเทศน์จากพระสงฆ์ที่พระองค์ทรงอาราธนามาจากเมืองนครศรีธรรมราชทุกๆวันธรรมสวนะ จะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงสร้างพระแท่นมนังศิลาบาตรไว้ที่กลางดงตาลเพื่อให้พระสงฆ์แสดงธรรมแก่ประชาชน นอกจากนั้นพระองค์ยังเป็นกษัตริย์ที่ทรงอุปถัมภ์ศาสนา โดยพระองค์ทรงสร้างวัดวาอารามเป็นจำนวนมากในกรุงสุโขทัย
  • สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดในกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ โดยผ่านความเจริญเข้ามาทางเมืองนครพันและได้มีพระสงฆ์จากสุโขทัยหลายรูป เดินทางไปศึกษาประวัติพระพุทธศาสนาที่เมืองนี้ แล้วนำเข้ามาเผยแผ่ยังกรุงสุโขทัย

ความเจริญทางพระพุทธศาสนาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1

  1. พระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงศึกษาพระธรรมคำสอนจนแตกฉาน และทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาคือ ไตรภูมิพระร่วง
  2. พระองค์ทรงออกผนวชระหว่างครองราชย์ที่วัดป่ามะม่วง กรุงสุโขทัย พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์และธรรมราชา
  3. มีปูชนียสถานเกิดขึ้นมากมาย พระองค์ทรงสร้างพระพุทธรูปด้วยสำริดหลายองค์ที่มีความงดงาม และทรงสร้างวัดในเขตกำแพงเมือง และนอกกำแพงเมือง
  4. พระพุทธศาสนาออกไปเผยแผ่ยังดินแดนอื่น โดยพระองค์ทรงส่งคณะสงฆ์จากสุโขทัย ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเมืองเชียงใหม่ เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง

ประเพณีที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย

  • ประเพณีการทำบุญตักบาตรและฟังธรรม ประชาชนชาวสุโขทัยยึดปฏิบัติเป็นประจำ คือ การทำบุญตักบาตรทุกวันตอนเช้า หรือไปทำบุญที่วัดในวันธรรมสวนะ วันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันทอดกฐิน
  • ประเพณีการบวชโดยมีความเชื่อว่าการบวช เป็นการช่วยอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดีและทดแทนพระคุณพ่อแม่ ตลอดจนศึกษาพระธรรมวินัย
  • ประเพณีการสร้างวัดในเขตพระราชวังโดยไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แต่เพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญๆ ได้แก่ วัดมหาธาตุ นับว่าเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในเขตพระราชวังแห่งกรุงสุโขทัย

พระราชพิธีที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย

  1. พระราชพิธีจองเปรียง-ลอยพระประทีปหรือพิธีลอยกะทง
  2. พระราชพิธีวันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ในวันสำคัญนี้ประชาชนชาวสุโขทัยทำบุญตักบาตร ถืออุโบสถ และรักษาศีล
  3. พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศของไทยสมัยสุโขทัย

จุดมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศของไทยสมัยสุโขทัย

  1. เพื่อขยายขอบเขตและอำนาจของอาณาจักรสุโขทัยให้กว้างขวางออกไป
  2. เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึกศัตรูภายนอก
  3. เพื่อรักษาความมั่นคงของอาณาจักร
  4. เพื่อผลประโยชน์ด้านการค้า และเศรษฐกิจของอาณาจักร
  5. เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีอันดีกับดินแดนอื่น
  6. เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

สร้างความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง.

รูปแบบของการสร้างความสัมพันธ์

อาณาจักรล้านนา

           ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรล้านนาได้แก่ พญามังราย เป็นพระสหายสนิทกันรวมทั้งพญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา ได้ผูกมิตรไมตรีกันอย่างแน่นแฟ้นเพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล นอกจากนั้นพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพญางำเมือง ยังเสด็จขึ้นไปช่วยพญามังรายเลือกชัยภูมิที่เหมาะสมและวางผังเมืองแห่งใหม่ของอาณาจักรล้านนา คือ เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

           ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) อาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรล้านนา ได้มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมทาง พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ โดยพระเจ้ากือนาแห่งอาณาจักรล้านนา ได้แต่งทูตมาขอพระสุมนเถระ ซึ่งเป็นพระภิกษุของอาณาจักรสุโขทัยขึ้นไปสืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่อาณาจักรล้านนา

           ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 ตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) กษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยาได้ยกทัพไปตีหัวเมืองหลายแห่ง และพระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงขอกำลังทัพสนับสนุนจากเจ้าเมืองล้านนาในขณะนั้น ก็ได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างดีและในขณะนั้นอาณาจักรสุโขทัยมีกำลังอ่อนแอมาก เกรงว่าอาณาจักรล้านนาจะเข้ามาครอบครองอาณาจักรสุโขทัย พระมหาธรรมราชาที่ 2 จึงยกทัพเข้าโจมตีอาณาจักรล้านนาจนได้รับความเสียหายมาก ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับล้านนายุติลง

การสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในทวีปเอเชีย

ความสัมพันธ์กับลังกา

           ลังกามีที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตอนใต้ เป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดียอาณาจักร สุโขทัยกับลังกามีความสัมพันธ์กันทางด้าน พระพุทธศาสนาโดยสุโขทัยถ่ายทอดวัฒนธรรม การนับถือพระพุทธศาสนาให้กับสุโขทัย ในชั้นแรกผ่านมาทางแคว้นนครศรีธรรมราช และหัวเมืองมอญ ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ได้มีพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามณี พระภิกษุสงฆ์ที่มีเชื้อพระวงศ์กษัตริย์สุโขทัยได้ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกาโดยตรง นอกจากนั้นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 แห่งอาณาจักรสุโขทัย ยังได้ส่งคณะทูตจากสุโขทัยไปอาราธนามหาสามีสังฆราชจากเมืองพัน(เมืองเมาะตะมะ) ซึ่งมีวัตรปฏิบัติแบบลังกามายังสุโขทัย

           อาณาจักรสุโขทัยกับลังกาส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันทางด้านพระพุทธศาสนา

           ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  สุโขทัยได้รับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาจากเมืองนครศรีธรรมราช  พระองค์ได้ทรงส่งราชทูตไปยังลังกาพร้อมกับราชทูตของเมืองนครศรีธรรมราช  เพื่อขอพระพุทธสิหิงค์มาไว้สักการบูชาที่อาณาจักรสุโขทัย  ทำให้อาณาจักรสุโขทัย ได้แบบอย่างพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาถือปฏิบัติกันในอาณาจักรสุโขทัยอย่างจริงจัง

           ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เป็นสมัยที่ให้การยอมรับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  โดยพระองค์ทรงนิมนต์พระสงฆ์มาจากเมืองนครศรีธรรมราชมาประจำอยู่ที่สุโขทัยและแสดงธรรมในวันธรรมสวนะ (วันพระ) ที่กลางดงตาลให้กับประชาชนชาวสุโขทัย และช่วยส่งเสริมทางการศึกษาทางศาสนาและการปฏิบัติทางวินัย  นอกจากนั้นยังมีประเพณีในด้านศาสนาเกิดขึ้นแล้ว เช่น การทำบุญ การทอดกฐิน

           ในสมัยพระเจ้าเลอไท พระสงฆ์บางรูป เช่น พระมหาเถรศรีศรัทธา ได้เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกในประเทศลังกา  เมื่อเดินทางกลับได้นำพระศรีมหาโพธิ์  พระศีวาธาตุ (กระดูกส่วนบนร่างกาย เช่น กรามหรือไหปลาร้า) และพระทันตธาตุมาประดิษฐานไว้ที่กรุงสุโขทัย  นอกจากนั้นพระองค์ยังนำพระวินัยที่เคร่งครัดของพระสงฆ์ในนิกายมหาวิหาร  มาเผยแผ่ในกรุงสุโขทัย

           ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท)  เป็นสมัยที่อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญด้านพระพุทธศาสนามากที่สุด  โดยพระองค์ได้โปรดให้พิมพ์รอยพระพุทธบาท จากประเทศศรีลังกามาจำหลักลงบนแผ่นหิน  แล้วนำไปประดิษฐานยังยอดเขาสุมณกุฎ (ปัจจุบันคือ “เขาหลวง” อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองสุโขทัยเก่า) และเมื่อครั้งพระองค์ฯ เสด็จออกผนวชก็ได้โปรดให้เชิญพระอุทุมพรบุปผาสวามีชาวลังกามาเป็นพระอุปัชฌาย์

ความสัมพัน์กับจีน

           ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน มีความสัมพันธ์ในลักษณะการค้าระบบรัฐบรรณาการ โดยเริ่มในสมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สุโขทัยได้ส่งคณะทูตพร้อมกับเครื่องราชบรรณาการไปจีน จากการที่สุโขทัยมีความสัมพันธ์กับจีน ทำให้สุโขทัยได้รับประโยชน์จากจีนหลายอย่าง เช่น ทางการค้า ความรู้เรื่องการเดินทะเล เรียนรู้เรื่องเทคนิคการทำเครื่องปั้นดินเผา (การทำสังคโลก) จนสามารถส่งขายเป็นสินค้าออก นอกจากนั้นพ่อค้าจากสุโขทัยที่ไปค้าขายยังเมืองจีน จะได้รับความสะดวกและสิทธิพิเศษในเรื่องการซื้อการขาย ทำให้การค้าระหว่างไทยกับจีนระยะต่อมามีความเจริญเป็นลำดับ

ผลจากการเปิดสัมพันธภาพกับจีน

  1. ทางด้านการเมือง ทำให้อาณาจักรสุโขทัยรอดพ้นจากการรุกรานจากจีน  นอกจากนั้นจีนยังไม่เข้าแทรกแซงการขยายอาณาเขตของไทยไปยังแหลมมลายูจนเกินขอบเขต
  2. ทางด้านเศรษฐกิจ  เป็นการส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับจีน  ในระบบบรรณาการทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากการค้าระบบนี้  โดยคณะทูตได้รับอนุญาตให้มีการซื้อขายสินค้าโดยไม่ต้องเสียภาษี
  3. ทำให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตเครื่องสังคโลกขึ้น  ผลิตตั้งแต่ชิ้นใหญ่ลงไปถึงชิ้นเล็ก ๆ โดยเฉพาะบริเวณสุโขทัยและสวรรคโลก  ต่อมาการผลิตเครื่องสังคโลกได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้เศรษฐกิจ สุโขทัยเจริญขึ้นด้วยการส่งเครื่องสังคโลกไปจำหน่ายยังเมืองต่าง ๆ
  4. ทางด้านวัฒนธรรม ชาวไทยยุคนี้ได้รับวัฒนธรรมบางอย่างจากจีน เช่น การจุดดอกไม้ไฟ

พระมหากษัตริย์สุโขทัยที่สำคัญกับพระราชกรณียกิจ

           พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยหลายพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เสริมสร้าง ความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นปึกแผ่น ของอาณาจักรก่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรและอาณาจักร ปรากฏหลักฐานอย่างเด่นชัด พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์สุโขทัยพระองค์ต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

           พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยหรือราชวงศ์พระร่วง พระนามเดิม คือ พ่อขุนบางกลางหาว แห่งเมืองบางยาง พระองค์ทรงร่วมกับ พระสหาย พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ช่วยกันรวบรวมคนไทย ยึดเมืองสุโขทัยจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งเข้าครอบครองเมืองสุโขทัยอยู่ขณะนั้นจนเป็นผลสำเร็จ และตั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี พ่อขุนบางกลางหาวทรงได้รับการสถาปนาจากพ่อขุนผาเมืองขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงมีพระมเหสี พระนามว่าพระนางเสือง มีพระราชโอรสที่ครองราชย์ต่อจากพระองค์อยู่ 2 พระองค์ คือ พ่อขุนบานเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระราชกรณียกิจ

  1. ทรงก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยโดยพระองค์ทรงรวบรวมผู้คน ยึดอำนาจจากขอมเป็นผลสำเร็จและทรงสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเป็นราชธานี ทำให้คนไทยมีอิสรภาพโดยไม่ตกอยู่ภายใต้ของอาณาจักรขอมต่อไป
  2. ทำศึกสงครามเพื่อป้องกันและขยายอาณาเขต ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้นำกองทัพเข้ามารุกรานเมืองตากซึ่งเป็นเมืองชายแดนของอาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พร้อมด้วยพ่อขุนรามคำแหง พระราชโอรสองค์เล็กทรงยกทัพเข้าสู้รบจนได้รับชัยชนะ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยได้เมืองตากกลับคืนมา

พระมหาธรรมราชาที่ 1

           พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง อาณาจักรสุโขทัย เป็นพระราชโอรสของพญาเลอไท และเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ขึ้นครองราชย์ด้วยการปราบดาภิเษก

พระราชกรณียกิจ

  1. ด้านการเมืองการปกครอง
    หลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยอ่อนแอ ไม่มีความเป็นปึกแผ่น ดังนั้นเพื่อสร้างอาณาจักรสุโขทัยให้เข้มแข็งเป็นปึกแผ่นให้เหมือนแต่ก่อน พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ทรงฟื้นฟูด้านการเมือง การปกครอง โดยพระองค์มุ่งด้านธรรมานุภาพมากกว่าเดชานุภาพ ทรงนำหลัก การปกครองแบบธรรมราชาซึ่งเป็นหลักธรรมกับคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา (หลักทศพิธราชธรรม) มาใช้ควบคุมดูแลราษฎรในอาณาจักร และสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงยึดปฏิบัติเพื่อปกครองราษฎรด้วยเมตตาธรรม
  2. ด้านวัฒนธรรมและประเพณี
    • ทรงออกผนวชระหว่างครองราชย์
      พระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงออกผนวชเพื่อศึกษาพระธรรมระหว่างครองราชย์โดยผนวชที่วัดป่ามะม่วง กรุงสุโขทัย เมื่อพ.ศ. 1904 โดยมีพระอุทุมพรบุปผาสวามีแห่งเมืองพันเป็นพระอุปัชฌาย์ ทำให้ชายไทยในสุโขทัยพากัน ออกบวชเป็นจำนวนมากถือว่าเป็นประเพณีการออกบวชของชายไทยมาจนถึงทุกวันนี้
    • ทรงสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่งดงาม
      พระมหาธรรมราชาที่ 1 โปรดฯให้สร้างพระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนสักการะพระพุทธรูปที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปสำริด ปัจจุบันประดิษฐานที่วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ทรงสร้างวัดในเขตกำแพงเมือง ได้แก่ วัดมหาธาตุ ที่สุโขทัย เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุด ใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมสำคัญทางศาสนา ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทรงโปรดฯให้สร้างหอเทวาลัยมหาเกษตรที่วัดป่ามะม่วง สำหรับประดิษฐานเทวรูป พระอิศวร พระนารายณ์ เป็นเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อให้ผู้คนชาวสุโขทัยมากราบไหว้บูชา
    • ทรงพระราชนิพนธ์ วรรณกรรมไตรภูมิพระร่วง(เตภูมิกถา) เป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เล่มแรกของไทย กล่าวถึง ภูมิทั้ง 3 ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ บรรยายภาพนรกสวรรค์ ความดีความชั่ว และบาปบุญคุณโทษ พระพุทธศาสนา ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 มีความเจริญรุ่งเรืองมาก นอกจากนั้นพระองค์ได้มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่น โดยส่งพระสงฆ์หลายรูปเดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัยที่เมืองพัน เมื่อศึกษาสำเร็จแล้วได้ส่งไปเผยแผ่ พระพุทธศาสนายังเมืองเชียงใหม่ น่าน อยุธยา เป็นต้น

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

           เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรสุโขทัย ทรงเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระนางเสือง พระองค์ทรงได้รับการยกย่องเป็น “มหาราช” เนื่องจากพระองค์ทรงทำคุณประโยชน์อย่างมากแก่ชนชาวไทย นับว่าเป็นการวางรากฐานความมั่นคง ทางการเมือง และทางวัฒนธรรม

พระราชกรณียกิจ

  1. ด้านการเมืองการปกครอง
    ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านการรบ เพื่อขยายอาณาเขตของอาณาจักร โดยพระองค์ทรงเสด็จไปนำกองทัพของพระราชบิดา (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) และทรงนำช้างเข้าชนขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด จนกองทัพขุนสามชนพ่ายไป อาณาจักรสุโขทัยได้รับชัยชนะ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตที่กว้างไกล ตลอดจนเมืองต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง มาขอสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัยอีกหลายเมือง ทรงใช้รูปแบบการปกครองแบบปิตุราชาหรือแบบพ่อปกครองลูก โดยพระองค์ทรงสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนเป็นไปอย่างใกล้ชิดดุจดั่งพ่อปกครองลูก ประชาชนคนใดมีทุกข์ร้อน หรือมีเรื่องเดือดเนื้อ ร้อนใจก็สามารถไปสั่นกระดิ่ง ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดฯให้มีการแขวนไว้ที่หน้าประตูวังแล้วพระองค์ จะเสด็จออกมารับฟังเรื่องราวตัดสินปัญหาและคดีความด้วยความเป็นธรรม ทรงปกครองดูแลบ้านเมืองบริวารอย่างทั่วถึง อาณาจักรสุโขทัยมีรูปแบบการปกครองแบบกระจายอำนาจ โดยพ่อขุน รามคำแหงมหาราชทรงแต่งตั้งให้ชนชั้นเจ้านายและขุนนางไปปกครองยังเมืองลูกหลวง และเมืองพระยามหานคร ทั้งนี้อยู่ภายใต้นโยบายและอำนาจการตัดสินใจของส่วนกลางหรือพระมหากษัตริย์
  2. ด้านเศรษฐกิจ
    • ส่งเสริมการค้าขายแก่ประชาชน
      พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้นโยบายที่เอื้อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจแก่ประชาชน โดยให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ สามารถทำการค้าขายได้อย่างอิสระเสรี ไม่มีสินค้าต้องห้ามและไม่เก็บภาษีผ่านด่าน(จังกอบ) จากพ่อค้าแม่ค้าภายในอาณาจักรสุโขทัย
    • จัดระบบชลประทาน
      อาณาจักรสุโขทัยมีสภาพทางธรรมชาติไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก เนื่องจากในฤดูน้ำหลากจะมีปริมาณน้ำมาก ไหลบ่ามาจากทางตอนเหนือ ทำให้มีน้ำท่วมขังและในฤดูแล้งน้ำจะแห้ง ประกอบกับสุโขทัยมีสภาพดินเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่อุดมสมบูรณนัก์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงโปรดฯให้สร้างเขื่อนดินขนาดใหญ่สำหรับเก็บกักน้ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัย ได้แก่ “เขื่อนสรีดภงส์” หรือทำนบพระร่วง และภายในตัวเมืองได้ขุดสระน้ำขนาดใหญ่หลายแห่ง เรียกว่า “ตระพัง” ทำให้อาณาจักรสุโขทัย มีน้ำใช้สอยได้อย่างเพียงพอ
    • ทรงโปรดฯให้สร้างเตาเผาเครื่องสังคโลก
      พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงโปรดฯให้สร้างเตาทุเรียง เพื่อใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา(เครื่องสังคโลก)เป็นจำนวนมากในอาณาจักรสุโขทัย เพื่อผลิตใช้ในอาณาจักร และส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
  3. ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
    • อาณาจักรล้านนา
      อาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรล้านนา มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดมา โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระสหายสนิทกับพญามังรายมหาราชแห่งอาณาจักรล้านนา ดังจะเห็นได้จาก พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา ทรงช่วยพญามังรายเลือกชัยภูมิที่เหมาะสมในการสร้างเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของอาณาจักร ล้านนา
    • แคว้นนครศรีธรรมราช
      ความสัมพันธ์กับแคว้นนครศรีธรรมราช จะเน้นในเรื่องพระพุทธศาสนา โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นไปสั่งสอนลัทธิลังกาวงศ์ ที่อาณาจักรสุโขทัยทุกๆวันธรรมสวนะ
  4. ด้านศิลปวัฒนธรรม
    ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยที่มีชื่อว่า “ลายสือไทย” ขึ้น สันนิษฐานว่าดัดแปลง มาจาก อักษรขอมหวัดและมอญโบราณเมื่อประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้จารึกตัวอักษรบนหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 นับเป็นหลักฐานที่สำคัญในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ทรงอาราธนาพระสงฆ์จากเมืองนครศรีธรรมราชที่กลับจากการไปศึกษาพระพุทธศาสนาจากลังกา มาสอนพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ที่กรุงสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างพระแท่นมนังคศิลาบาตรไว้กลางดงตาล อยู่ภายในกำแพงเมืองสุโขทัย ในวันธรรมสวนะโปรดเกล้าฯให้พระสงฆ์แสดงธรรมแก่ประชาชน

ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย

           อาณาจักร สุโขทัยมีการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองมาโดยตลอด โดยเฉพาะสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงวาง รากฐานการปกครองแบบปิตุราชา (พ่อปกครองลูก) และในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ได้นำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง เป็นการปกครองแบบธรรมราชา ทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีกำลังทหารเข้มแข็ง จนกระทั่งสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจและสูญเสียอำนาจโดยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด เนื่องมาจากสาเหตุดังนี้

  1. การแตกแยกทางการเมืองภายในราชธานี เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการแย่งชิงอำนาจ ระหว่างเจ้านายในราชวงศ์ของอาณาจักรสุโขทัย จนถึงมีการรบพุ่งกันเองทำให้เกิดความอ่อนแอทางการเมืองภายในราชธานี เป็นเหตุให้อาณาจักรอยุธยาเข้าแทรกแซงอำนาจได้
  2. สุโขทัยมีการปกครองแบบกระจายอำนาจที่หละหลวม พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย ได้ให้อำนาจกับเจ้าเมืองต่างๆ ในการบริหารและควบคุมกำลังคนภายในเมืองของตนอย่างเต็มที่ เป็นเหตุให้หัวเมืองเหล่านั้นแยกตัวเป็นอิสระได้โดยง่าย
  3. สุโขทัยมีข้อเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสุโขทัยมีสภาพที่ตั้งลึกเข้าไปในแผ่นดินซึ่งอยู่ห่างจากทะเลมาก ทำให้ไม่มีเมืองท่าเป็นของตนเอง เมื่อมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากับต่างชาติ ต้องอาศัยผ่านเมืองเมาะตะมะ หรือ ผ่านเมืองต่างๆ ตามแม่น้ำเจ้าพระยาไปสู่ทะเลอ่าวไทย
  4. อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีกำลังทหารและเศรษฐกิจที่เข้มแข็งกว่าสุโขทัย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาได้ยกทัพมาตีอาณาจักรสุโขทัยจนได้เป็นประเทศราช และต่อมาอาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1981

ผู้จัดทำ

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้
นางสาวอภัสรา มูลมณี

อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทิศใต้

แหล่งข้อมูล

  • http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/utaradit/songsri-s/sukhothai/sec03p01.html
  • http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k4/0042/Introduce%20Kingdom%20of%20thai/webpage/webpage/12.html
  • http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k4/0042/Introduce%20Kingdom%20of%20thai/webpage/webpage/13.html
  • http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k4/0042/Introduce%20Kingdom%20of%20thai/webpage/webpage/15.html
  • http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k4/0042/Introduce%20Kingdom%20of%20thai/webpage/webpage/19.html
  • http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/utaradit/songsri-s/sukhothai/sec04p01.html
  • http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k4/0042/Introduce%20Kingdom%20of%20thai/webpage/webpage/20.html
  • http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k4/0042/Introduce%20Kingdom%20of%20thai/webpage/webpage/24.html
  • http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k4/0042/Introduce%20Kingdom%20of%20thai/webpage/webpage/24.html

ประวัติศาสตร์สุโขทัย พญางั่วนำถุม พญาเลอไท พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) พระมหาธรรมราชาที่ 2 พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) พ่อขุนบานเมือง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สื่อการเรียนรู้ สุโขทัย อาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยอยู่ในภาคอะไร

ภูมิศาสตร์ ตามการแบ่งจังหวัดเป็นภาคโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติและราชบัณฑิตยสภา จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ในภาคกลาง บริเวณตอนบนของภาค หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศและเศรษฐกิจ สังคม จะจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครตามระยะทางหลวงแผ่นดินประมาณ 440 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

อาณาเขตของกรุงสุโขทัยมีอย่างไรบ้าง

ที่ตั้งและอาณาเขต อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ มีเมืองแพร่ (ปัจจุบันคือแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้

อาณาจักรสุโขทัยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณใด *

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจ อยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขต ...

เมืองสุโขทัยและเชลียงตกอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรใด

เมืองสุโขทัยกำเนิดขึ้นในช่วงที่อิทธิพลขอมได้แผ่เข้าครอบครองดินแดนลุ่มน้ำ ม 1761) เนื่องจากพบร่องรอยการแผ่อิทธิพลของขอมจะเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724- ซึ่งมีทั้งโบราณสถานและโบราณ วัตถุ เช่น ซุ้มประตูวัดพระบรมธาตุเชลียงที่เมืองศรีสัชนาลัย ศาลตาผาแดง วัดศรีสวาย และวัด