วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้

วัฒนธรรมการนุ่งห่มแต่เดิมของชาวพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ดึกดำบรรพ์คือการนุ่ง “เตี่ยว” เป็นผ้าผืนเล็กแคบยาวคาดปกปิดอวัยวะเพศ ทิ้งชายผ้าหน้าหลัง ซึ่งยังพบเห็นอยู่บ้างในกลุ่มชนตามดินแดนห่างไกล เมื่อคนแถบนี้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาพร้อมๆกันในราว 1500 ปีมาแล้ว ก็เริ่มมีการใช้เครื่องแต่งกายตามแบบชาวอินเดีย คือผ้านุ่งแบบที่เรีกว่า โธตี (Dhoti)

โธตี เป็นผ้านุ่งยาวมีวิธีการนุ่งหลากหลายเช่นนุ่งปล่อยชายเป็นถุงแบบเดียวกับโสร่ง หรือพับจีบชายผ้าข้างซ้ายลอดหว่างขาเหน็บไว้ด้านหลังและชายผ้าข้างขวาพับเหน็บไว้ด้านหน้าเป็นชายพก บางแห่งเรียก ปัญจะ เพราะมาจากความยาวผ้าขนาด 5 หลา และยังมีชื่อในท้องถิ่นต่างๆของอินเดียอีกหลายชื่อที่ใช้เรียกการนุ่งผ้าแบบนี้

วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้

ที่มา  http://www.sujitwongthes.com/2013/07/madeinsea10072556/

เทวรูปรุ่นแรกๆพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอายุประมาณ พ.ศ.1100 -1200 สลักเป็นรูปบุคคลนุ่งผ้ายาว มีริ้วผ้าแสดงถึงการโยงชายผ้าด้านหน้าไปเหน็บไว้ที่หลังปล่อยชายยาวกรอมเท้า ส่วนประติมากรรมรูปบุคคลของเขมรตั้งแต่ราว พ.ศ.1400 ลงมา ผ้านุ่งสั้นลง ชายผ้าลอยอยู่เหนือหัวเข่า เรียกว่า สมพต ไทยเรียกว่า ถกเขมร หรือ ขัดเขมร เป็นชื่อที่บ่งบอกที่มาว่าการนุ่งผ้าเหน็บหางแบบสั้นนั้นปรากฏในวัฒนธรรมเขมรมาก่อน

ไทยรับเอาวิธีการนุ่งผ้าเช่นนี้จากอินเดียผ่านทางเขมรเป็นสำคัญ เพราะชื่อที่เรียกวิธีการนุ่งนั้นล้วนแต่เป็นภาษาเขมร เริ่มตั้งแต่คำว่า โจงกระเบน ผูกจากคำว่า โจง-จูง แปลว่าโยง กับคำว่า กระเบน แปลว่า หาง (ภายหลังจึงแปลคำนี้เป็นภาษาไทยว่า นุ่งผ้าจูงหาง) เพราะจะต้องจีบหรือม้วนชายผ้าด้านหน้ารวมกัน(ที่เรียกว่าหางกระเบน) แล้วโยงลอดหว่างขาไปเหน็บไว้ที่ขอบผ้านุ่งตรงก้นกบ (จึงมีคำเรียกส่วนของร่างกายตรงนั้นว่า กระเบนเหน็บ) จัดชายให้ยาวลงมาใต้หัวเข่าเล็กน้อยมิให้หยักรั้งได้ เมื่อจะทำงานต่างๆให้คล่องแคล่วก็ถลกชายผ้านุ่งให้สั้นขึ้นไปเหนือเข่าเป็นแบบ ถกเขมรดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้

ที่มารูป  http://www.wedding2hand.com/forum_
posts.asp?TID=18427&PID=65298

การนุ่งผ้าแบบโธตีซึ่งได้กลายมาถึงโจงกระเบนนั้นเป็นวัฒนธรรมนุ่งห่มร่วมกันของเอเชียใต้ (อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (พม่า มอญ มลายู- คือโสร่ง) ไปจนถึงบางส่วนของแอฟริกา (ในคาบสมุทรโซมาลีเรียก Macawis) คือนุ่งผ้าผืนเดียวพันรอบตัวแต่มีวิธีนุ่งและรูปแบบของผ้าแตกต่างกันไป

 

วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้

 ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน

โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

1. ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย

สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว

วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้
วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้

2. ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนา

      อ่าวหญ่าย (Ao dai) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงาน หรือพิธีศพ

วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้

3. ชุดประจำชาติของประเทศพม่า

ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวาระพิเศษต่าง ๆ ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (Guang Baung) ด้วย ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ

วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้
วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้
4. ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน

ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคมแบบอนุรักษ์นิยม เพราะบรูไนเป็นประเทศมุสสิม จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย

วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้

5. ชุดประจำชาติของประเทศลาว

ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย6. ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย

วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้
6. ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย

เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเตลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด

วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้
วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้
7. ชุดประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์

ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อสีครีมแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก (balintawak)

วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้
วัฒนธรรมการแต่งกายของเอเชียใต้

8. ชุดประจำชาติของประเทศไทย

สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า “เสื้อพระราชทาน”

สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน