โครงการ โซ ล่า เซลล์ กระทรวงพลังงาน

หนุนโซลาร์ฟาร์ม8หมื่นล้าน800หมู่บ้าน

 นางกุลวรีย์ บูรณสัจจะวราพร ผู้อำนวยการกลุ่มนวัตกรรม สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ ฟาร์ม) ซึ่งรัฐบาลวางเป้าหมายผลิตให้ได้ 1 เมกะวัตต์ ต่อ 1 ชุมชน เป้าหมายผลิตติดตั้งรวม 800 เมกะวัตต์ ใน 800 หมู่บ้านนั้น ล่าสุดจากการประเมินมูลค่าลงทุนต่อ 1 เมกะวัตต์พบว่าอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท ทำให้วงเงินที่รัฐบาลจะสนับสนุนต่อชุมชนรวมเป็น 80,000 ล้านบาท คาดว่าวงเงินกู้ดังกล่าวจะมาจากธนาคารของรัฐ อาทิ ธนาคารออมสิน

 สำหรับ ขั้นตอนการดำเนินงานเป็นอำนาจของกระทรวงพลังงานร่วมกับสำนักงานกองทุนหมู่ บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ดำเนินการพัฒนาโครงการ จากนั้นคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่มีรมว.พลังงานเป็นประธานจะรับไปดำเนินการออกระเบียบหลักเกณฑ์ในการพัฒนา โครงการ รวมถึงคัดเลือกหมู่บ้านที่มีศักยภาพ เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ คำนึงถึงประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ความสามารถรองรับของระบบสายส่ง และรายงานผลการคัดเลือกให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานรับทราบ

 นางกุลวรีย์กล่าวว่า เมื่อพัฒนาโครงการ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ เรกูเลเตอร์ จะรับหน้าที่ดำเนินการออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าสำหรับโครงการต่อไป โดยกกพ.จะพิจารณาค่าใช้จ่ายในการรับซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย (กฟผ.) ที่เกิดขึ้นในโครงการ ต่างจากค่าซื้อไฟฟ้าเฉลี่ยจาก กฟผ. ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นค่าใช้จ่ายตามนโยบายภาครัฐในสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ 

ดังนั้น จึงได้อนุมัติให้มีการจัดตั้ง คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน เพื่อทำหน้าที่ประสานการดำเนินโครงการฯ และเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ โดยให้กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองเป็นเจ้าของโครงการ และให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และธนาคารออมสิน เป็นผู้สนับสนุน และพัฒนาโครงการจนสามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ และให้ กฟภ. กับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้ โดยได้อนุมัติอัตรารับซื้อไฟฟ้าระบบ Feed-in Tariff (FiT) ในอัตราพิเศษ ปีที่ 1 - 3 ระบบ FiT อัตรา 9.75 บาทต่อหน่วย ส่วน ปีที่ 4 - 10 ระบบ FiT อัตรา 6.50 บาทต่อหน่วย และ ปีที่ 11 - 25 ระบบ FiT อัตรา 4.50 บาทต่อหน่วย

อย่างไรก็ตาม การคัดเลือกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่จะเข้าร่วมโครงการนั้น ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสม มีระบบจำหน่ายไฟฟ้ารองรับเพียงพอตามที่ 3 การไฟฟ้ากำหนด และจะต้องไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาติ รวมทั้งโรงไฟฟ้าในโครงการ ต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยตลอดอายุโครงการ 25 ปี และให้มีการรับประกันประสิทธิภาพแผงเซลล์แสงอาทิตย์ตลอดอายุโครงการ

นั่นเป็นอีกนโยบายหนึ่งที่รัฐบาลต้องการ ผลักดันให้มีโรงไฟฟ้าชุมชนขนาดเล็กเกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ โดยรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ มาเพื่อรองรับ และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและเป็นเจ้าของโครงการได้ ซึ่งหากโครงการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการผลิตไฟฟ้าที่ประชาชนสามารถเป็นเจ้าของได้

กกพ. มีมติเห็นชอบประกาศรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย พ.ศ. 2565 ที่ราคาหน่วยละ 2.20 บาท รับเป้าหมายปีละ 10 เมกะวัตต์ ระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี

คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ กำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า กกพ. มีมติเห็นชอบประกาศการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ โดยรับซื้อต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565 สอดรับกำหนด เป้าหมายปีละ 10 เมกะวัตต์ สำหรับพื้นที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 5 เมกะวัตต์ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 5 เมกะวัตต์ โดยรับซื้อไฟฟ้าที่ 2.20 บาทต่อหน่วย ระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี กำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ตามสัญญา (SCOD) ภายใน 270 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

“การประกาศครั้งนี้เป็นการดำเนินการโครงการโซล่าร์รูฟท็อปภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัยในปี 2565 ต่อเนื่องจากการดำเนินการในปี 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ประกาศครั้งนี้ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อ อำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการโดยมีสาระสำคัญ ของประกาศดังนี้

  1. ไม่จำกัดเวลาการยื่นคำขอขายไฟฟ้า แต่ยังคงเน้นกระบวนการพิจารณาคำขอขายตามเวลาที่กำหนดและผู้เสนอขายไฟฟ้าส่วนเกินจะต้องดำเนินการติดตั้งและตรวจสอบระบบให้แล้วเสร็จ ภายใน 270 วัน นับจากวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และหาก ดำเนินการไม่ทันตามกำหนดให้ยื่นหนังสือถึงการไฟฟ้าแจ้งความพร้อม เพื่อขอขยายเวลาได้อีก 90 วันก่อนยกเลิกสัญญา
  2. กรณีคำขอขายไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างพิจารณาในปี 2564 ให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายแจ้งผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าดำเนินการ ต่อตามขั้นตอนตามประกาศฉบับนี้
  3. กรณีคำขอขายที่ผ่านการพิจารณาแล้วในปี 2564 และยังไม่ถูกยกเลิกให้การไฟฟ้าแจ้งผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้ามาลงนามสัญญา ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง

การส่งเสริมให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าใช้เองโดยติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อปในบ้าน ที่อยู่อาศัยเพื่อบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและสามารถนำส่วนที่เหลือมาขาย เข้าระบบได้ โดยเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการลดการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้า ด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ผันผวน และมีราคาสูงจากผลของภาวะวิกฤตการณ์ ราคาพลังงานโลกที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ด้วย” นายคมกฤช กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถยื่นคำขอจำหน่ายไฟฟ้าได้ที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)  และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั่วประเทศ ตามพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ สำนักงาน กกพ. (www.erc.or.th)