ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม

นโยบายของมหาวิทยาลัย

ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการสมัยใหม่ ได้ระบุแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายให้องค์กรสร้างความตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน  และสร้างภาพลักษณ์ในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติและความรับผิดชอบต่อสังคม

จากโครงการของสำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ได้เคยจัดทำโครงการ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีกับความรับผิดชอบต่อสังคม” ขึ้น เพื่อใช้กิจกรรมทางสังคมเชื่อมต่อจิตสำนึกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่ผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา รวมถึงการระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุดและมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมต่อไปและเนื่องจากในปัจจุบันเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมไม่สามารถที่จะผลักให้เป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ภาครัฐและเอกชนต่างมีบทบาทของตัวในการทำหน้าที่ต่อสังคม ธุรกิจที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมก็จะถูกตำหนิและกลายเป็นจำเลยของสังคม สูญเสียทั้งภาพลักษณ์และลูกค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่หน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการบริการสังคมส่วนรวมอยู่แล้ว หากปฏิบัติงานโดยขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมหรือปล่อยให้เรื่องซีเอสอาร์เป็นหน้าที่ของธุรกิจฝ่ายเดียว ยิ่งต้องได้รับการตำหนิและจำเป็นต้องรีบทบทวนบทบาทของตนเองเสียใหม่ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่งานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมกิจกรรม หรือโครงการ ที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยให้สะดวกในการค้นหาข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ความรับผิดชอบต่อสังคมคืออะไร?

ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR : Corporate Social Responsibility)

เป็นแนวคิดการจัดการที่มุ่งให้องค์กรผสานการดำเนินกิจการเข้ากับความห่วงใยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งในระดับไกลและใกล้ อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

หลักแนวคิดของความรับผิดชอบต่อสังคม

ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม
การกำกับดูแลกิจการที่ดี

ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม
การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม

ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม
การเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม
ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม
การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม

ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม
การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม
การเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม

ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม
การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

หมวดหมู่ความรับผิดชอบต่อสังคม

บริการวิชาการ

การบริการวิชาการแก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันพึงให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดและในด้านที่สถาบันมีความเชี่ยวชาญ การให้บริการทางวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรืออาจคิดค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะชุมชน และสังคมโดยกว้าง รูปแบบการให้บริการทางวิชาการมีความหลากหลาย เช่น การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรของสถาบัน เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการให้คำปรึกษา ให้การอบรม จัดประชุมหรือสัมมนาวิชาการ ทำงานวิจัยเพื่อตอบคำถามต่างๆ หรือเพื่อชี้แนะสังคม การให้บริการทางวิชาการนอกจากเป็นการทำประโยชน์ให้สังคมแล้ว สถาบันยังได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ คือ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์อันจะนำมาสู่การพัฒนาหลักสูตร มีการบูรณาการเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย พัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งงานของนักศึกษาและเป็นการสร้างรายได้ของสถาบันจากการให้บริการทางวิชาการด้วย

กิจกรรมเพื่องสังคม

กิจกรรม CSR ในรูปแบบการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคมที่อยู่ในรายการอันดับต้นๆ ของสังคมไทย คือ การบริจาคเงิน การปลูกป่า การสร้างฝาย และการมอบวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของใช้สอยต่างๆ เช่น ผ้าห่ม ถุงผ้า ถังน้ำ เครื่องเขียน อุปกรณ์กีฬา ฯลฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่สามารถสื่อสารให้สังคมเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายกว่าความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการ (CSR-in-process) ธุรกิจจึงมักนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการตลาด และการสร้างตราสินค้า (Brand) มากกว่าที่จะพัฒนา CSR ให้เป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงานที่นำไปสู่ความยั่งยืน

ธุรกิจเพื่อสังคม

เป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายหลักเพื่อการแก้ไขปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการสร้างงานและรายได้เช่น เดียวกับธุรกิจอื่น แต่กำไรส่วนใหญ่ที่ได้จะนำกลับไปลงทุนเพื่อดำเนินการตามพันธกิจของกิจการ แทนที่จะส่งตรงไปให้เจ้าของ  ด้วยเหตุนี้ กิจการเพื่อสังคมจึงพัฒนาชีวิตของผู้คนในชุมชนและสังคมของเรา