หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนัง

ขอความรู้ เรื่องโรคเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังแตกค่ะ

กระทู้คำถาม

สุขภาพกาย โรคผิวหนัง โรคในผู้สูงอายุ อาหารเสริม โภชนาการ

ทีแรกคิดว่าคุณแม่ เป็นสะเก็ดเงิน แต่หมอบอกว่าเป็นเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังแตก  อยากทราบข้อมูลเี่กี่ยวกับโรค วิธีการรักษา หรือบรรเทาอาการ คุณแม่อายุ 54 ปี วันนี้จะกลับไปเยี่ยม  ซื้อยาหรือวิตามินอะไรไปฝากดีคะ

0

0

หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนัง

อ้อล้อลม

      ทุกคนย่อมปรารถนาที่จะมีขาวใสอมชมพูกันทั้งนั้น แต่บางทีก็มีปัญหาผิวหนังที่ดูเหมือนเล็กน้อยแต่เกิดขึ้นมารบกวนความสวยใสของผิวแบบยอมกันไม่ได้เลยทีเดียว อย่างเช่นอาการที่เส้นเลือดฝอยปรากฎขึ้นอย่างเด่นชัดบนใบหน้า ล้วนเป็นที่ไม่พึงปรารถนา ทำให้สูญเสียความมั่นใจกันเลยทีเดียว ลักษณะของเส้นเลือดฝอยบนใบหน้าสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

  1. Facial Telangiectasias เป็นลักษณะที่พบได้บ่อย มักอยู่ตามบริเวณแก้มและปีกจมูก
  2. Spider Telangiectasias มีลักษณะเป็นเส้นใยแมงมุม มีจุดแดงตรงกลางและมีเส้นเลือดฝอยแผ่กระจายกิ่งก้านสาขา เมื่อสัมผัสจะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ

สาเหตุของการเกิดเส้นเลือดฝอยบนใบหน้า

Facial Telangiectasias 

          เส้นเลือดฝอยบนใบหน้าชนิด Facial Telangiectasias เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยของสภาพแวดล้อม การใช้ยา และโรคต่างๆ เช่น แสงแดด เนื่องจากรังสี UV ที่มีผลโดยตรงในการทำลายคอลลาเจนที่อยู่ในชั้นผิวหนัง ทำให้ผิวหนังบางลงจนสามารถมองเห็นเส้นเลือดฝอยในชั้นผิวได้อย่างชัดเจน การใช้ยาสเตียรอยด์ ที่มีผลทำให้ชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้บางลง เมื่อใช้อย่างต่อเนื่องจะเกิดภาวะ Steroid face ทำให้หน้าแดงและมีเส้นเลือดฝอยขึ้นชัดเจน เนื่องจากสเตียรอยด์เป็นสารที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัว ชั้นหนังแท้และเยื่อเกี่ยวพันจึงบางลงไปด้วย 

         นอกจากนี้ยังเกิดจากโรคบางชนิด เช่น  Vascular Rosasea ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไขมันร่วมกับเส้นเลือด มักพบบริเวณจมูก ทำให้จมูกผิดรูปและมีเส้นเลือดฝอยขึ้นชัดเจน รวมถึงโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก อย่างCREST Syndome และ โรครอยโปนที่ผิวหนัง (Osler Weber Rendu Syndome)

Spider Telangiectasias 

         ส่วนการเกิดเส้นเลือดฝอยบนใบหน้าชนิด Spider Telangiectasias เกิดขึ้นจากฮอร์โมนEstrogen สูงกว่าปกติ เช่น ในผู้หญิงตั้งครรภ์ การรับประทานยาคุมกำเนิด

สาเหตุจากโรคอื่นๆ 

        โดยปกติเส้นเลือดฝอยบนใบหน้าไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แค่มีผลเรื่องความสวยงามบนใบหน้าเท่านั้น แต่ในบางกรณีก็พบว่าเส้นเลือดฝอยบนใบหน้าเกิดขึ้นได้กับคนที่เป็นโรคต่างๆ เช่น โรคตับ (Hepatocellular disease) โรคตับอักเสบเรื้อรัง (Subacute and Chronic Hepatitis) โรคตับอักเสบจากพิษสุรา (Alcholic hepatitis) รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการของ CREST Syndome และโรครอยโปนที่ผิวหนัง (Osler Weber Rendu Syndome)

การวินิจฉัยเส้นเลือดฝอยบนใบหน้า

        ก่อนอื่นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังจะทำการซักถามอาการของผู้ป่วยเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุและอาจมีการสัมภาษณ์หรือให้ผู้ป่วยตอบคำถามร่วมด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยและหาแนวทางรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง

การรักษาเส้นเลือดฝอยบนใบหน้า

       การรักษาทำได้หลายวิธี เช่น ใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า, IPL และการรักษาด้วยเลเซอร์ซึ่งได้รับความนิยมและเห็นผลได้ดี เนื่องจากเลเซอร์จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับ Hemoglobin ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในเส้นเลือด และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งการรักษาด้วยเลเซอร์มี 2 ประเภท คือ

  1. Pulsed Dye Laser Treatment (PDL) เหมาะกับลักษณะของเส้นเลือดที่มีขนาด 0.2 – 1 มิลิเมตร อยู่ในชั้นผิวหนังที่ตื้น โดยการปล่อยแสง UVB ความยาวคลื่น 578 นาโนเมตร ไปยังบริเวณผิวหนังเพื่อดักจับ Oxyhemoglobin ให้เส้นเลือดหดตัวลง เมื่อเส้นเลือดฝ่อ เส้นเลือดฝอยบนใบหน้าก็จะจางหายไป
  2. Long pulse Laser เหมาะกับลักษณะของเส้นเลือดที่มีขนาด 1 – 2 มิลิเมตร เลเซอร์ประเภทนี้เป็นเลเซอร์ Long pulse Nd:YAG ที่มีความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร สามารถจับกับ Deoxyhemoglobin ทำให้เส้นเลือดที่ขยายตัวฝ่อลง หลังจากทำเลเซอร์หน้าจะแดงแล้วค่อยๆ ขาวใสขึ้น ควรทำ 3 – 4 ครั้ง และเว้นระยะห่างประมาณ 2 สัปดาห์ ถึงจะเห็นผลเป็นที่น่าพอใจ

การป้องกันเส้นเลือดฝอยบนใบหน้า

         เนื่องจากการทำเลเซอร์ทำให้ชั้นผิวบางลง จึงควรหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดด ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นเส้นเลือดฝอยบนใบหน้าได้อีกครั้ง หากมีความจำเป็นที่ต้องออกไปเผชิญแสงแดดควรทาครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องผิว และไม่ควรใช้ยาสเตียรอยด์ หากมีความจำเป็นต้องใช้สเตียรอยด์ควรใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งผู้ป่วยอาจมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นเส้นลอยฝอยบนใบหน้าได้อีกครั้งภายในระยะเวลา 1 – 2 ปี ขึ้นอยู่กับการป้องกันและการรักษาอย่างต่อเนื่อง

          ถึงแม้ว่าเส้นเลือดฝอยบนใบหน้าจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากปล่อยไว้คงดูไม่ดีแน่ จึงควรหาวิธีการรักษาก่อนที่เส้นเลือดฝอยจะลุกลามไปทั่วแก้ม จนคนอื่นอาจเข้าใจผิดคิดว่าไปโกรธใครมาถึงได้เลือดขึ้นหน้าขนาดนี้ 

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลผิวหนัง อโศก 

เบอร์โทรศัพท์ : สาขาอโศก 02-2465111

                    สาขาปิ่นเกล้า 02-4345222

หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนัง

                     Line @asokeskinhospital