การ ขับ ร้องเพลง อิสระ เป็นเพลง ขับร้อง แบบ ใด

รูปแบบการขับร้องเพลงไทย

-ธันวาคม 26, 2560

              การขับร้อง เป็นศิลปะทางดนตรีที่ใช้การเปล่งเสียงร้องของผู้ขับร้อง ออกมาเป็นเสียง สูง ต่ำ สั้น ยาว ตามทำนอง จังหวะ และบทร้องที่ผู้ประพันธ์ได้เรียบเรียงหรือกำหนดไว้
             1. ประเภทการขับร้องเพลงไทย   สามารถแบ่งออกได้  3 ประเภท
              1.1 การร้องอิสระ  คือการโดยทั่วไป ที่ไม่มีดนตรีบรรเลงหรือบรรเลงประกอบแต่อย่างใด ผู้ขับร้องสามารถร้องได้ตามใจชอบ จะยึดเสียงมาตรฐานของเครื่องดนตรีหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องรักษาระดับเสียงของตนเอง ให้ถูกต้อง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง กรับ เป็นต้น





              1.2 การขับร้องประกอบการแสดง  คือ การร้องร้องประกอบท่ารำ เป็นการแสดงละคร หรือ รีวิวที่เป็นชุดเป็นตอนก็ได้  การร้องประเภทนี้จะต้องเน้นในเรื่องการใส่อารมณ์ จังหวะช้า หรือ เร็วขึ้นอยู่กับผู้แสดงเป็นสำคัญ  ผู้ขับร้องต้องเรียนรู้เกี่ยวกับลีลา ท่าทางของผู็แสดง ตลอดจนอารมณ์เพลง จึงจะสามารถขับร้องสอดแทรกอารมณ์ประกอบกิริยาอาการของผู้แสดงได้อย่างเหมาะสม และช่วยให้ผู้ชมได้รับอรรถรสครบถ้วน  เช่น การขับร้องประกอบการแสดงโขน  หุ่นกระบอก หนังใหญ่ ละคร ระบำ ฟ้อนต่างๆ เป็นต้น  นอกจากผู้ขับร้องต้องเรียนรู็ถึงท่าทางของผู้แสดงแล้ว ยังจะต้องระวังเกี่ยวกับทำนองเพลง และจังหวะให้สอดรับกับท่ารำ ไม่ควรร้องช้าหรือเร็วกว่าท่ารำ ควรร้องให้ได้จังหวะที่ลงตัวเหมาะพอดี


             1.3 การร้องส่ง  หรือ บางแห่งเรียกว่า "ร้องรับ" หมายถึง การร้องส่งให้วงดนตรีรับเป็นการขับร้องสลับกับการบรรเลงดนตรี ใช้กับวงงดนตรีไทยได้ทุกประเภท การขับร้องลักษณะนี้ผู้ขับร้องต้องขับร้องไปจนเกือบจะจบท่อนเพลง  แล้วดนตรีจึงบรรเลงสวมรับและบบรเลงไปจนจบท่อนเพลง ถ้ามีการขับร้องเพลงในท่อนต่อไป ดนตรีบรรเลงส่งเพื่อเป็นแนวทางให้คนร้องได้ร้องเพลงในท่อนต่อไปได้โดยไม่ผิดระดับเสียงหรือเสียงไม่เพี้ยน และเมื่อร้องจนเกือบจบบรรเลงทำนองเพลงให้เร็วขึ้นก่อนจะจบเพลง เพลงประเภทร้องรับ ได้แก่ เพลงเถา เพลงสามชั้น และเพลงสองชั้นทั่วๆไป เช่น เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงบุหลันเถา เป็นต้น


     ส่วนการบรรเลง และขับร้องเพลงพื้นบ้านส่วนใหญ่ เป็นการขับร้องโดยมีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะร่วมทำจังหวะ  เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน  เช่น ลำตัด พ่อเพลง  แม่เพลง  จะด้นบทร้องไปพร้อมกับผู้ตีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ คือ รำมะนา  ฉิ่ง  และร้องรับเป็นลูกคู่  เป็นต้น

หลักการขับร้องเพลง
     การขับร้องเป็นการสร้างสรรค์ทางดนตรีวิธีหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีเปล่งเสียงออกมาให้เป็นเพลงต่าง ๆ โดยอาศัยองค์ประกอบทางดนตรี เพื่อทำให้เพลงที่ร้องมีความไพเราะขึ้น
     1.  ประเภทของการขับร้อง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
          1.  การขับร้องอิสระ คือ การขับร้องทั่วไป โดยไม่มีดนตรีประกอบผู้ขับร้องสามารถขับร้องตามที่ตนเองถนัดหรือต้องการ โดยไม่คำนึงถึงระดับเสียงของเครื่องดนตรี
          2.  การขับร้องประกอบดนตรี คือ การขับร้องให้เข้ากับการบรรเลงเครื่องดนตรี โดยคำนึงถึงทำนอง จังหวะ และรูปแบบของเพลง
          3.  การขับร้องประกอบการแสดง คือ การขับร้องเพื่อบรรยายเนื้อเรื่องหรือเนื้อเพลงประกอบการแสดงต่าง ๆ
          4.  การขับร้องหมู่ คือ การขับร้องพร้อมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การขับร้องทำนองเดียวกันและการร้องประสานเสียง
     2.  การขับร้องเพลงไทย การขับร้องเพลงไทย ควรเริ่มจากท่าทางการร้อง เนื่องจากเพลงไทยมีลักษณะเฉพาะ ผู้ขับร้องจะนั่งร้องเป็นส่วนใหญ่และมียืนร้องบ้างตามโอกาส ซึ่งผู้ขับร้องควรจะแสดงท่าทางให้เหมาะสม ดังนี้
          1.  ท่านั่ง ผู้ขับร้องส่วนใหญ่จะนั่งราบกับพื้นเวทีเช่นเดียวกับนักดนตรีซึ่งจะต้องนั่งพับเพียบให้เรียบร้อย สำรวมกิริยา นั่งตัวตรงไม่กระดุกกระดิก หรือเคลื่อนไหวมากเกินไป ขณะร้องให้หันหน้าไปทางผู้ชมเสมอ
          2.  ท่ายืน ในบางโอกาสผู้ขับร้องอาจจะได้ยืนร้อง ซึ่งผู้ขับร้องควรยืนร้อง ซึ่งผู้ขับร้องควรยืนอย่างสำรวมกิริยาท่าทาง และระวังการเคลื่อนไหวมือ เท้า และลำตัว
          การขับร้องเพลงไทย มีหลักการปฏิบัติ ดังนี้
          1.   ร้องให้มีระดับเสียงสอดคล้องกับเสียงดนตรี
          2.  หายใจเข้า-ออก ให้สอดคล้องกับช่วงจังหวะ ทำนอง และเนื้อเพลง
          3.  ออกเสียงพยัญชนนะ สระ คำควบกล้ำ ตามอักขรวิธี
          4.  ร้องให้ถูกต้องตามวรรคตอนของเนื้อเพลง เพราะหากร้องไม่ถูกวรรคตอน อาจทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนได้
          5.  เนื่องจากเพลงไทยมีการเอื้อน ให้ระมัดระวังในเรื่องการออกเสียงควรเอื้อนให้มีน้ำเสียงสม่ำเสมอตามจังหวะและทำนองเพลง
 การขับร้อง

     การขับร้องเพลง เป็นกิจกรรมสร้างสรรรค์ทางดนตรีวิธีหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้ร้องและผู้ฟัง ซึ่งการขับร้องอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่
     การขับร้องเดี่ยว หมายถึง การร้องเพลงโดยบุคคลเพียงคนเดียวว อาจมีดนตรีประกอบหรือไม่มีก็ได้
     การขับร้องหมู่ หมายถึง การร้องเพลงโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อาจมีดนตรีประกอบหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งการขับร้องแบบหมู่นี้อาจจะร้องแบบเป็นทำนองเดียวกันหรือร้องแบบประสานเสียงกันก็ได้
     การขับร้องเพลงประเภทต่าง ๆ ให้มีความไพเราะ ต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ และใช้หลักการขับร้องที่ถูกต้อง ดังนี้

     การขับร้อง มีหลักในการฝึกปฏิบัติ ดังนี้
     1.  การออกเสียง ในการขับร้องเพลงจะต้องออกเสียงให้เต็มเสียงตามจังหวะและทำนองของเพลง ซึ่งจะต้องมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ขาดช่วง
     2.  การหายใจเข้าออก เนื่องจากการร้องเพลง ต้องอาศัยลมในการเปล่งเสียง ดังนั้น การหายใจเข้าออก จึงมีความสำคัญในการร้องเพลง เพราะเกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนของลมในร่างกาย การหายใจเข้าออกให้สอดคล้องกับการร้องเพลง จึงมีส่วนช่วยทำให้ร้องเพลงได้ดีขึ้น
     3.  การใส่อารมณ์กับเพลง เพลงที่ขับร้องมีหลายประเภท บางเพลงให้อารมณ์สนุกสนาน บางเพลงให้อารมณ์เศร้า ผู้ขับร้องควรรู้ความหมายจังหวะและทำนองเพลง เพื่อจะได้ปรับอารมณ์และความรู้สึกให้เข้ากับเพลงจะทำให้ร้องเพลงได้ดี
     4.  การเปล่งเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี การเปล่งเสียงร้องเพลงควรให้ถูกต้องตามอักขรวิธี คือ ออกเสียงพยัญชนะ วรรณยุกต์ให้ชัดเจนตามหลักการออกเสียง โดยเฉพาะคำควบกล้ำ
     5.  ท่าทางในการร้องเพลง การร้องเพลง ควรแสดงท่าทางให้เหมาะสมไม่ล้วง แคะ แกะ เกา ซึ่งเป็นการสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ฟัง และควรสร้างบรรยากาศร่วมกับผู้ฟัง ให้ผู้ฟังได้มีอารมณ์ร่วมกับเพลงที่ร้อง พื้นฐานการขับร้อง

   การขับร้องของนักร้อง หรือนักร้องประสานเสียง ควรพัฒนาเทคนิคการขับร้องเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การวางท่าทางที่ถูกต้อง การใช้ลมอย่างสมบูรณ์ การเปล่งเสียงที่ถูกวิธี ซึ่งพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ร้องมีเทคนิคการร้องที่ดี ป้องกันการร้องเพี้ยน ซึ่งจะทำให้เจ็บคอ เจ็บกล้ามเนื้อ จนไปถึงไม่สามารถร้องเพลงได้ 

วาทยากร (Conductor) ในที่นี้จะหมายถึงผู้อำนวยเพลงของคณะนักร้องประสานเสียง ซึ่งเป็นผู้ฝึกสอนคณะนักร้องประสานเสียง โดยใช้เวลาการฝึกซ้อม สม่ำเสมอ ปูพื้นฐานการร้องเพลงที่ถูกวิธี การเลือกเพลงร้องที่เหมาะสม ดูช่วงกว้างของระดับเสียงว่าเหมาะสมกับคณะนักร้องหรือไม่ จังหวะ และความเข้มของเสียงที่พอดี และองค์ประกอบอื่นๆ ให้เหมาะสมกับคณะนักร้องประสานเสียงที่สุด 

การฝึกซ้อม การสร้างเสียงประสาน ขั้นตอนการขับร้องเดี่ยว จะแตกต่างกับการฝึกนักร้องประสานเสียง แต่ยังคงใช้หลักการฝึกร้องเพลงเหมือนกัน เพื่อพัฒนาเทคนิคการขับร้องและสร้างเสียงที่มีคุณภาพ ในการขับร้องประสานเสียงนั้น นักร้องต้องพยายามร้องให้เสียงกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นั่นหมายถึงทุกคนจะต้องเปล่งเสียงพยัญชนะสระอย่างพร้อมเพรียงกัน ด้วยเทคนิคการร้องเหมือนกัน การสื่อความหมายของเพลง เข้าใจตรงกัน นอกเหนือจากที่จะต้องร้องให้พร้อมเพรียงกันในแนวเสียงเดียวกัน เพื่อให้สื่อความหมายของเพลงได้อย่างสมบูรณ์ 

จุดมุ่งหมายของการฝึกซ้อมการขับร้องเพลง 

1. ท่าทางการยืน – มีท่าทางที่ดี มั่นใจ ไม่เกรง ปล่อยตามสบาย แต่มั่งคง ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้หายใจได้ถูกวิธีและร้องออกมาได้ดี 

2. การหายใจและการควบคุมการใช้ลม – ซี่โครง (rib) ให้ขยายออกได้อย่างสบาย อกไม่ยุบเมื่อหายใจออก หายใจไม่มีเสียงดัง ควบคุมลมหายใจได้ดี และให้คงขยายซี่โครงไว้ตลอดเวลาในขณะร้องเพลง 

3. ร้องสระได้ชัดเจน – สามารถร้องเพลงได้ชัด ทำรูปปากให้ถูกต้อง

4. ร้องพยัญชนะได้ชัดเจน – ไม่เกร็งขากรรไกร ไม่เกร็งลิ้นและขยันปากได้คล่อง

5. ภาษาชัดเจน – มีความสามารในการร้องเพลงภาษาต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ถูกต้องตามหลักของภาษานั้นๆ 

6. มีเสียงก้องกังวาน – เข้าใจวิธีการทำให้เสียงมีความก้องกังวาน และรู้จักที่จะใช้เทคนิคการสั่นเสียงได้อย่างพอเหมาะพอดี 

7. รู้จักเสียงของตนเอง – รู้ขีดความสามารถของเสียงตนเอง รู้จักช่วงเสียงที่เหมาะสมของตน รู้จักข้อดีข้อเสียของตนอยู่ที่ใด จะนำมาใช้อย่างไร 

8. รู้จักวิธีการฝึกซ้อม – เข้าใจวิธีการฝึกซ้อมอย่างมีประสิทธิภาพ รู้ขั้นตอนและวิธีการศึกษาเพลงอย่างละเอียด

9. รู้จักวิธีการตีความบทเพลง (Interpretation) – สามารถตีความบทเพลงและถ่ายทอดอารมณ์เพลงได้ถูกต้อง 

10. แสดงได้ – มีความสามารถที่จะนำเสนอ แสดงการขับร้องต่อหน้าผู้ชมด้วยความมั่นใจได้

11. ร้องประสานเสียงได้- นำความรู้ด้านทักษะการขับร้องเกียวไปใช้ในการขับร้องปรานเสียงได้ โดยสามารถแยกแยะเทคนิคการเปล่งเสียงในการขับร้องเดียวและในการขับร้องกลุ่ม

12. รักษาสุขภาพ – รักษาสุขลักษณะที่ดี กินอาหารถูกต้องตามโภชนาการ และดูแลรักษาสุขภาพรักษากล่องเสียง และรู้วิธีการขับร้องที่ไม่ทำลายเสียง

ลูกเอื้อน เป็นการขับร้องเพลงรูปแบบใด

2. คนไทยน าเอื้อนไปใช้ในการขับร้องเพลงประเภทต่างๆ เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงพื้นบ้าน ท านองสวดและท านองเทศน์ การขับเสภา และการเห่เรือ พระราชพิธี ซึ่งหลายประเภทเป็นท านองที่อยู่ในวิถีชีวิตของคนไทย จึงเป็น เครื่องยืนยันได้ว่า เอื้อน เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการขับร้อง ที่นิยมน ามาใช้ ในท านองรูปแบบต่างๆ จึงได้มีการถ่ายโยง และ ...

การร้องเพลงแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

การขับร้องเพลง เป็นกิจกรรมสร้างสรรรค์ทางดนตรีวิธีหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้ร้องและผู้ฟัง ซึ่งการขับร้องอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่

การขับร้องมี3ประเภทอะไรบ้าง

การเปล่งเสียงร้องเพลงที่มีทำนองและมีจังหวะตามแบบแผนของไทย” การร้องเพลงไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ร้องธรรมดาหรือร้องเล่น ไม่ต้องพะวงถึงบันไดเสียงและจังหวะ ร้องคนเดียวสบายๆ ตามความสะดวก ร้องประกอบดนตรี อาจจะเป็นการร้องคลอด้วยดนตรี หรือร้องรับด้วยวงมโหรี ปี่พาทย์ ซึ่งจะต้องร้องให้ถูกบันไดเสียงและถูกต้องตามจังหวะจะโคน

การขับร้องประกอบดนตรีมีอะไรบ้าง

การขับร้องประกอบดนตรี หมายถึง การขับร้องประกอบการบรรเลงเครื่องดนตรีอาจจะบรรเลงรวมเป็นวงหรือไม่เป็นวงก็ได้ การขับร้องประเภทนี้ผู้ขับร้องต้องคำนึงถึงระดับเสียงรูปแบบแนวทำนอง และจังหวะให้กลมกลืนเหมาะสมกับการบรรเลงเครืองดนตรี ซึ่งมีหลายลักษณะ ได้แก่ คลอ เคล้า ลำลอง และร้องส่ง หรือร้องรับ