โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์

โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์

1. ซิฟิลิส

  • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการแตกต่างกันตามระยะของโรค เช่น มีแผลที่อวัยวะเพศ มีผื่นขึ้นตามตัว มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต หรือไม่มีอาการใด ๆ
  • ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์

2. โรคหนองใน

  • เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
  • ในเพศชายมักจะพบว่ามีปัสสาวะแสบขัดมีหนองไหลจากท่อปัสสาวะ
  • ในเพศหญิงมักไม่มีอาการหรือมีเพียงตกขาวผิดปกติ ไม่คัน

3. โรคหูดหงอนไก่

  • เกิดจากเชื้อไวรัส
  • อาการคือมีติ่งเนื้อนูนคล้ายดอกกะหล่ำ อาจมีอาการคัน, เจ็บหรือมีเลือดออก
  • มีโอกาสเป็นซ้ำได้บ่อย
  • ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัส

4. โรคไวรัสตับอักเสบบี

  • ผู้เป็นพาหะมักไม่มีอาการ
  • ผู้ติดเชื้ออาจมีตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลืองเข้ม ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
  • ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์

ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
ที่มา : อ. นพ.ธนภพ บำเพ็ญเกียรติกุล
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสุขภาพคนข้ามเพศ

สุขภาพ

Share:

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นความเสี่ยงจากการทำกิจกรรมทางเพศซึ่งบางโรคร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต บางโรครักษาไม่หาย ผู้หญิงน้อยคนนักที่จะตระหนักถึงความสำคัญของการมีเพศสำคัญอย่างปลอดภัย ทั้งที่จริงแล้ว ทุกคนควรเรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง เพื่อรู้เท่าทันอันตรายและรักษาได้ทันท่วงที

โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยในผู้หญิง

ผู้หญิงหลายคนที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจไม่มีอาการแสดงให้เห็น ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจนนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้น บางโรคอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างภาวะมีบุตรยาก อุ้งเชิงกรานอักเสบ มะเร็งปากมดลูก หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ผู้หญิงควรระวัง ได้แก่

  • โรคติดเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) พบได้มากในผู้หญิง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อเอชพีวีจะไม่มีอาการหรือบาดแผลใด ๆ ให้เห็น  ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อและอาจแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ ได้ง่าย ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นกังวลว่าตนเองอาจติดเชื้อไวรัสเอชพีวีควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ส่วนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 9-26 ปี และไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถป้องกันโรคนี้ได้ด้วยการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก 
  • หนองในแท้ เป็นอีกโรคที่เกิดจากการทำกิจกรรมทางเพศกับผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของโรค หากป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นอยู่ก่อนแล้วจะยิ่งเสี่ยงติดโรคหนองในแท้มากขึ้น นอกจากนี้ อาจติดเชื้อที่บริเวณอื่น ๆ นอกเหนือจากอวัยวะเพศได้ เช่น ตา คอ ทวารหนัก เป็นต้น หลายคนอาจสับสนระหว่างโรคนี้และกับโรคหนองในเทียม เนื่องจากมีอาการคล้ายคลึงกัน เช่น มีหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ เจ็บปวดหรือแสบร้อนเวลาปัสสาวะ แต่ผู้ป่วยหญิงหลายคนก็ไม่มีอาการแสดงให้เห็นหรือมีอาการน้อยมาก  ทั้งนี้ โรคหนองในแท้รักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ และควรพาคู่นอนเข้ารับการรักษาพร้อมกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
  • หนองในเทียม เป็นโรคที่มักติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนัก แต่พบการติดต่อทางปากและตาได้เช่นกัน อาการสำคัญที่เห็นได้ชัดคือ มีหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ หรือปวดแสบปวดร้อนขณะปัสสาวะ โรคนี้รักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับโรคหนองในแท้ แต่หลังจากรักษาหายแล้ว ผู้ป่วยควรรับการตรวจอีกครั้งภายใน 3 เดือน เพราะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้
  • เริมที่อวัยวะเพศ เป็นโรคจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็ก ไวรัส (Herpes Simplex Virus: HSV) ซึ่งจะเข้าไปฝังตัวบริเวณรากประสาทใกล้กับไขสันหลัง ทำให้เชื้อยังอยู่ในร่างกายแม้ในระยะที่อาการของโรคสงบลงแล้ว จึงไม่อาจรักษาให้หายขาด ทำได้เพียงควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ การติดเชื้อโรคเริมครั้งแรกนั้นมีอาการค่อนข้างรุนแรง โดยจะปรากฏตุ่มน้ำและมีอาการบวมแดงบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปาก ส่วนการติดเชื้อครั้งต่อไปมักไม่มีอาการรุนแรงเท่าครั้งแรก หรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต อย่างไรก็ตาม โรคเริมจะแสดงอาการเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลง ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน มีความเครียด เกิดการติดเชื้อ หรือต้องใช้ยาที่ส่งผลต่อระบบภูมิค้มกัน อาจมีอาการกำเริบได้บ่อยและเป็นนานกว่าผู้ป่วยทั่วไป
  • โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากการทำกิจกรรมทางเพศที่สัมผัสกับแผลโดยตรง อาการของโรคมักปรากฏบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือปาก โรคซิฟิลิสรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาเพนิซิลลิน หากรีบเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ทว่าหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจ สมอง หรืออวัยวะอื่น ๆ และเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งยังแพร่เชื้อจากมารดาไปสู่ทารกในครรภ์ได้
  • โรคไทรโคโมนิอาสิส (Trichomoniasis) เกิดจากการติดเชื้อปรสิตชนิดหนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก อวัยวะเพศ และทวารหนัก โดยผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น ทำให้ไม่รู้ตัวและไม่ได้รับการตรวจรักษา ซึ่งจะทำให้ให้เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้นไปด้วย โรคนี้รักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจซ้ำภายใน 3 เดือนหลังรับการรักษา เพราะมีความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้
  • การติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์ โรคติดเชื้อเอชไอวีนั้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ติดต่อกันผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด อสุจิ น้ำหล่อลื่นภายในช่องคลอด หรือนมแม่ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ได้รับเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้อเอชไอวีควบคุมอาการได้หากรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทว่าหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้นจนเข้าสู่ระยะเอดส์ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของโรคและส่งผลอันตรายถึงชีวิต

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้หญิงป้องกันได้หากรู้จักระมัดระวังและมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ควรให้คู่นอนใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ นอกจากนี้ หากมีอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาได้อย่างทันท่วงที

Share:

โรคที่ติดต่อทางเพสสัมพันธุ์มีอะไรบ้าง

เชื้อไวรัส ได้แก่ เริม (Herpes Simplex),หูดหงอนไก่ (Papilloma Virus หรือ HPV),เอดส์ (HIV) เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ หนองในแท้ (Gonorrhea),หนองในเทียม (Chlamydia),ซิฟิลิส (Syphilis) เชื้ออื่นๆ ได้แก่ เชื้อพยาธิ (Trichomanas),เชื้อรา (Candida)

โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์มีอะไรบ้าง สาเหตุ

โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์.
เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งบางชนิดรักษาหาย บางชนิดไม่มียารักษา บางชนิดจะแฝงตัวและเป็นซ้ำได้อีก เช่น เริมที่อวัยวะเพศ หูดหงอนไก่ ไวรัสตับอักเสบบี ฯลฯ.
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย รักษาหายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม ช่องคลอดอักเสบ ฯลฯ.

ผลเสียของโรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์มีอะไรบ้าง

ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ บวมโต กดแล้วรู้สึกเจ็บ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีไข้ ร่วมกับมีอาการระคายเคืองที่อวัยวะเพศ อาการผิดปกติอื่นๆ มีผื่นขึ้นตามแขนขาและลำตัว น้ำหนักลด เบื่ออาหาร

โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์ อันตรายไหม

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นความเสี่ยงจากการทำกิจกรรมทางเพศ ผู้หญิงหลายคนที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจไม่มีอาการแสดงให้เห็น ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจนนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้น ซึ่งบางโรคร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต บางโรครักษาไม่หาย ผู้หญิงน้อยคนนักที่จะตระหนักถึงความสำคัญของการมีเพศสำคัญอย่างปลอดภัย ทั้ง ...