ตราประจําตําแหน่งและหน้าที่

ตราประจําตําแหน่งและหน้าที่

รัตนโกสินทร์ตอนต้น
           ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงรัชกาลที่ ๑- รัชกาลที่ ๓ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยมีความคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาและธนบุรี ดังนี้
การปกครอง
การดำเนินการด้านการปกครอง
           ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้ในการปกครองประเทศนั้น ทรงเอาแบบอย่างซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม และ สมุหนายก ตำแหน่งสมุหนายก มีเสนาบดี 4 ตำแหน่ง ที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาโดยตรงที่แตกต่างออกไปคือ ทรงแบ่งการปกครองพระราชอาณาเขตออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนหัวเมือง และการปกครองเมืองประเทศราช
การปกครองส่วนกลาง
           สมุหพระกลาโหม มียศและพระราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งด้านการทหาร และพลเรือน สมุหนายก มียศและพระราชทินนามไม่ทรงกำหนดแน่นอน ที่ใช้อยู่ได้แก่ เจ้าพระยาจักรี บดินทร์เดชานุชิต รัตนาพิพิธ ฯลฯ ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งด้านการทหารและพลเรือน
จตุสดมภ์ มีดังนี้
           1. กรมเวียง หรือ กรมเมือง เสนาบดี คือ เจ้าพระยายมราช มีตราพระยมทรงสิงห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร
           2. กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ
           3. กรมคลัง หรือ กรมท่า ใช้ตราบัวแก้ว เป็นตราประจำตำแหน่งมีเสนาบดีดำรงตำแหน่งตามหน้าที่รับผิดชอบคือ
                      - ฝ่ายการเงิน ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาราชภักดี
                      - ฝ่ายการต่างประเทศ ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาศรีพิพัฒน์
                      - ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาพระคลัง
           4. กรมนา เสนาบดีมีตำแหน่ง พระยาพลเทพ ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษีข้าว และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับที่นา

ตราประจําตําแหน่งและหน้าที่

     https://sites.google.com/site/kruchuychay/innovation/unit-three-historical-rattanakosin

ตราประจําตําแหน่งและหน้าที่

ต่อให้ไม่ได้เรียนด้านกฎหมายมาโดยตรง ก็ยังเชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อ “กฎหมายตราสามดวง” มาบ้างแล้วอย่างแน่นอน ถ้าไม่ใช่จากหนังสืออ่านนอกเวลาในสมัยเรียนก็ต้องเป็นข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์และนิตยสาร เพียงแค่อาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร และมีรายละเอียดมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะได้ยกเลิกการใช้กฎหมายตราสามดวงไปแล้ว แต่นี่เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญหลายด้านและบางส่วนก็เป็นแนวทางในการออกแบบกฎหมายที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันด้วย

กฎหมายตราสามดวง เป็นประมวลกฎหมายที่เริ่มใช้ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 1 นี่ไม่ใช่กฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย แต่เป็นกฎหมายที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงด้วยการรื้อกฎหมายเก่าทิ้งเสีย ส่วนใดที่เป็นผลดีก็เก็บไว้พร้อมกับเพิ่มแนวทางตามแบบฉบับของนักกฎหมายมากขึ้น ส่วนใดที่ใช้ไม่ได้ก็ยกเลิกไปทั้งหมด เหตุที่เรียกกันว่ากฎหมายตราสามดวงก็เป็นเพราะว่า ตัวกฎหมายจะทำออกมา 3 ชุด และทุกชุดจะต้องประทับตรา 3 ดวงเหมือนกันหมด ซึ่งตราประทับที่ว่านี้ประกอบไปด้วย

– ตราพระราชสีห์ เป็นตราสำหรับตำแหน่งสมุหนายก ตราประทับมีทรงกลม ภายในเป็นภาพราชสีห์งดงาม ห้อมล้อมด้วยลายไทยอันอ่อนช้อย

– ตราพระคชสีห์ เป็นตราสำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม ตามประทับมีทรงกลมเช่นเดียวกัน ภายในเป็นภาพคชสีห์ หากมองเผินๆ ก็จะมีรูปร่างคล้ายกับภาพราชสีห์นั่นเอง แต่จะมีฐานรองด้านล่างด้วย

– ตราบัวแก้ว เป็นตราสำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี ตราประทับมีทรงกลมพร้อมกับมีกรอบวงกลมซ้อนอีกชั้นหนึ่ง ด้านในสุดเป็นเทวดาถือดอกบัวแก้ว

สาระสำคัญของกฎหมายตราสามดวง

            อันที่จริงกฎหมายตราสามดวงจะมีสาระสำคัญอยู่ทั้งหมดมากถึง 26 ส่วน ซึ่งครอบคลุมการปกครอง การตัดสิน และการดูแลความเรียบร้อยของบ้านเมืองทั้งหมด ไม่ว่าใครก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้เท่าเทียมกัน และต่อไปนี้จะเป็นบางส่วนของสาระสำคัญที่น่าสนใจ

– ส่วนของพระธรรมศาสตร์ เนื้อหาว่าด้วยตำนานเรื่องราวการก่อตั้งเมือง มีถ้อยความที่กล่าวถึงการวางบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของตุลาการ สิ่งใดบ้างที่เป็นคุณสมบัติพื้นฐาน สิ่งใดบ้างที่จะต้องเอามาใช้ในการตัดสินใจระหว่างพิจารณาคดีความ รวมไปถึงมูลเหตุแห่งคดีความประเภทต่างๆ ล้วนรวบรวมเอาไว้ในนี้ทั้งหมด

– ส่วนของกฎมนเทียรบาล ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับพระราชวงศ์ทั้งหมด ไล่ไปตั้งแต่รูปแบบของการถวายความปลอดภัย พิธีรีตองในการเข้าเฝ้า การกำหนดลำดับชั้นยศ การจัดขบวนเสด็จ แม้แต่คำราชาศัพท์ที่ต้องใช้ในโอกาสต่างๆ ก็มีระบุไว้เช่นเดียวกัน นี่เป็นส่วนสาระสำคัญของกฎหมายตราสามดวงที่แสดงให้เห็นถึงรากฐานของประเพณีอย่างชัดเจนที่สุด

– ส่วนของพระธรรมนูญ เป็นส่วนที่พูดถึงอำนาจของศาลและผู้เกี่ยวข้องในตำแหน่งต่างๆ ทั้งในชั้นศาลเองและข้าราชการทุกลำดับชั้น เนื้อความหลักเป็นการเน้นย้ำที่กฎหมายของการบริหารบ้านเมือง และหน้าที่ของแต่ละตำแหน่ง ใครมีสิทธิอันชอบธรรมในการตัดสินใจเรื่องใดได้บ้าง หากต้องการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการจะต้องทำอย่างไร

– ส่วนของพระอัยการกรมศักดิ์ ชื่อนี้อาจฟังดูไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไร เพราะเป็นคำที่ไม่ค่อยได้ถูกนำมาใช้บ่อยนัก กฎหมายส่วนนี้ว่าด้วยเรื่องของสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลหนึ่ง เอาไว้ใช้สำหรับประกอบการตัดสินพิพากษาในชั้นศาล เมื่อมีกรณีพิพาทระหว่างกันที่ต้องจบลงด้วยการจ่ายค่าเสียหาย โดยค่าเสียหายนี้จะแปรผันไปตามความรุนแรงของเหตุ เพศ วัย และสถานภาพของแต่ละบุคคล

– ส่วนของพระอัยการกบฏ การก่อกบฏก็คือการยึดอำนาจการปกครอง ไม่ว่าจะใช้ความรุนแรงหรือไม่ก็ตาม ตัวกฎหมายได้ระบุถึงโทษของผู้ก่อกบฏเอาไว้อย่างละเอียด พร้อมกับชี้แจงสิ่งที่กองทัพจำเป็นต้องทำและจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงในยามที่มีการก่อกบฏด้วย