คู่มือสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2564

คู่มือสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2564

ใบความรู้ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  โรงเรียนตากพิทยาคม

             โรงเรียนตากพิทยาคม ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และร่วมสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชว่า “การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้นควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอน การอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่าหากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดอันตรายแก่ตนเองทำให้เด็กเกิดความเครียดซึ่งเป็นผลเสียต่อประเทศในระยะยาว” โดยได้ดำเนินงานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชน ครู ตลอดจนบุคลากรทุกคนรักและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามพระราชดำริของพระองค์ท่าน ด้วยการดำเนินงานทั้ง ๕ องค์ประกอบ และพืชศึกษา จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกระดับชั้น   การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนส่งผลต่อความสามารถในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของนักเรียน พัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมได้อีกทางหนึ่งด้วย

     พืชศึกษาของโรงเรียนตากพิทยาคม คือ ต้อยติ่งไทย ชื่อวิทยาศาสตร์   Ruellia siamensis J. B. Imlay

ลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 30 -50 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีหรือรูปหอกกลับ ออกตรงข้ามเป็นคู่ ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นดอกเดี่ยวๆ สีม่วงอมน้ำเงิน ออกตามยอด และซอกใบเป็นช่อๆ ราว 3-6 ดอก แต่จะบานทีละดอกหรือสองดอก กลีบดอกเป็นรูปกรวยหงายยาวประมาณ 3 ซม. ปลายแผ่เป็น 5 แฉกเท่าๆกัน จะออกดอกมากและหนาแน่นในช่วงฤดูฝน ส่วนผลเป็นฝัก รูปทรงกระบอก ยอดแหลม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลเข้ม และเมื่อแก่จัดหรือถูกน้ำจะแตกเป็น 2 ซีกตามยาว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะกลมแบน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด พบได้ทั่วไปในบริเวณกว้าง เรียกว่าสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยตัวเอง

             ต้อยติ่งไทยและต้อยติ่งเทศ มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันในเรื่องความสูงของลำต้น ใบ และดอก ต้นต้อยติ่งฝรั่งจะต้นเล็กกว่าต้อยติ่งไทยแต่จะโตเร็วกว่า ใบจะเรียวยาวแคบ เป็นสีน้ำตาลแดง ดอกออกเป็นช่อหรือบางทีก็ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ มีดอกสีม่วง สีขาว หรือสีชมพู

             สรรพคุณของต้อยติ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ราก ซึ่งนำมาใช้กับโรคไต ไอกรน ล้างพิษในเลือด ทำให้อาเจียน ใช้ดับพิษในร่างกาย และบรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ ใบใช้ดับกลิ่นตัวกลิ่นปาก กลิ่นเท้า ล้างพิษ ต้านการเสื่อมถอย ชะลอวัย และใช้พอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ     ในเมล็ดมีสารลูทอีโอลิน (Luteolin) ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่พบในน้ำนมแม่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีแร่ธาตุและสารอาหารในปริมาณสูง ให้ความชุ่มชื้น และช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อโปรโตซัว รวมทั้งมีคุณสมบัติในการเสริมสุขภาพและความงาม    นอกจากนี้ เมล็ดยังใช้พอกฝีเพื่อดูดหนอง ช่วยลดการอักเสบ พอกแผลเรื้อรัง ช่วยสมานบาดแผล ช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น และแก้อาการผดผื่นคัน

วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ นางสาวกมลวรรณ กลั่นเกลี้ยง รองศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว ได้คำกล่าวรายงาน ต่อนายธีรชัย ลิ้มประสิทธิศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักสูตรเสริมสร้างองค์ความรู้และขับเคลื่อนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเทคนิควังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้วซึ่งโครงการดังกล่าวมีความเป็นมาของการจัดกิจกรรม ดังนี้

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ในกิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช โดยการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช ปลูกรักษา อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ จัดทำศูนย์ข้อมูลพันธุ์พืช สร้างจิตสำนึกในการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยการนำพระราชกระแส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี คือ “ทำอย่างไรให้ชุมชน โดยเฉพาะนักเรียน และประชาชน ได้มีส่วนร่วม ช่วยในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการ อนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การดำเนินงานพฤกษศาสตร์โรงเรียน” จะเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความสวยงาม อันจะ

ก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณ โดยสามารถดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน ชุมชน และสามารถถ่ายทอดสู่การอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่นของตน

ปัจจุบันสถานศึกษาทุกสังกัดในจังหวัดสระแก้ว จำนวน ๓๒๔ แห่ง สมัครเข้าร่วมโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน ๗๘ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๐๗ ดังนั้น เพื่อเป็นการรณรงค์ ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาทุกแห่งในจังหวัดสระแก้ว

ได้ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเพิ่มขึ้น เพื่อให้สถานศึกษาได้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการอนุรักษ์พันธุพืช การฝึกทักษะอาชีพ การสร้างฐานการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน ประชาชน และชุมชน และเพื่อสนองพระราชดำริ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สิ่งแวดล้อม สามารถเผยแพร่แลกเปลี่ยน ความรู้สู่ชุมชน และผู้สนใจทั่วไป ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเป็นคนดีของชุมชน

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยได้รับการสนับสนุน

งบประมาณจากจังหวัดสระแก้ว ซึ่งในการจัดโครงการครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จากสถานศึกษาทุกสังกัดในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว รวม ๒๒๔ คน รูปแบบการจัดกิจกรรม เป็นการบรรยาย และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการนำงานสวนพฤกษศาสตร์

โรงเรียนบูรณาการสู่การเรียนการสอน ซึ่งคาดว่าผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้ ทักษะและประสบการณ์จากการดำเนินกิจกรรม จากคณะวิทยากร ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโดยตรง ซึ่งได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยบูรพา และ

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นำโดยนายณัฐพัชร์ พินพัฒนกุล ที่ปรึกษางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์สนับสนุนห้องประชุมและเครื่องอำนวยความสะดวก จากวิทยาลัยเทคนิควังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็นจังหวัดสระแก้ว